City Break Paris Part XXXVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 38

Dinner in Paris (Restaurant ตอนที่ 1)
ประสบการณ์อาหารมื้อเย็นในปารีสเมื่อ 2 ตอนที่แล้ว ผมได้แนะนำร้านอาหารในแบบ Brasserie บราสเซรี กันไปแล้ว ซึ่งมันเป็นอะไรที่ค่อนข้าง Traditional คงไว้ซึ่งจารีตประเพณีและการอนุรักษ์เก็บรักษาของดีในอดีตเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งร้านหรือรายการอาหารที่เป็นอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ มาคราวนี้อยากจะแนะนำร้านอาหารในแบบ Restaurant ซึ่งจริงๆแล้วคำว่า Restaurant นั้นก็มาจากภาษาฝรั่งเศสนั่นเอง พวก Bristro, Café หรือ Brasserie มันก็เป็นแขนงหนึ่งหรือ sub-set ของ Restaurant อีกต่อหนึ่งคือทุกแบบก็เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มทั้งสิ้น แต่ในสมัยก่อนคำว่า Restaurant ในฝรั่งเศสจะหมายถึงร้านอาหารที่เป็นทางทางการที่สุดส่วนใหญ่จะอยู่ในโรงแรม มีเมนูเล่มใหญ่พิมพ์อย่างดีไม่ใช่เขียนบนกระดานดำ, มี Wine List ให้เลือกเยอะจากทุกภูมิภาค ในขณะที่ Bristro อาจมีให้เลือกเฉพาะท้องที่ ในภัตราคารจะมีการจัดโต๊ะ เรียงมีดเรียงแก้วไวน์แดงขาวหรือน้ำแบบเฉพาะเจาะจง มีพนักงานเสิร์ฟแต่งเครื่องแบบดำขาว และผู้ไปใช้บริการก็ต้องมีมารยาทในการกินและการแต่งกาย คือต้อง observe พวกTable Etiquette และ Dress code แต่ยุคสมัยนี้มันเปลี่ยนไปแล้วไม่มีร้านไหนสนใจเรื่องมารยาทหรือการแต่งกายเท่าไร ขอให้เราเอาเงินไปจ่ายเยอะๆเป็นใช้ได้ การเลือก Restaurant สมัยนี้ก็เปลี่ยนไป เพราะจะต้องเน้นเรื่อง Social Media ด้วย จานต้องแต่งสวยร้านต้องมีดาวมิเชลลินมันถึงจะอินเทรนด์

เรารู้กันอยู่ว่าสถาบันมิชลินมันเป็นของฝรั่งเศสและรู้จักอาหารฝรั่งเศสดีที่สุด ทำหน้าที่ตัดสินคัดเลือกอาหารฝรั่งได้อย่างเป็นที่ยอมรับแพ่รหลาย(อาหารชาติอื่นยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร) แล้วปารีสก็เป็นเมืองหลวงที่ได้ดาวมิชลินมากกว่าทุกเมืองในยุโรป คือ 100ดวง (ปี2017) โดยเป็นร้านที่ได้ 3 ดาว ถึง 10 ร้าน ไหนๆเรามาถึงปารีสกันแล้วควรหาโอกาสลองร้านอาหารฝรั่งเศสติดดาวสักมื้อก็ไม่เลวนะครับ

ผมก็เลยจะขอแนะนำร้านอาหารติดดาวมิชลินในปารีสแบบ 2 ตอนจบ โดยตอนแรกจะเป็นร้านติดดาว (1-2 ดวง) ที่เราสามารถไปกินได้โดยกระเป๋าไม่ฉีก คือมีราคาสมเหตุผลไม่ต่างกับร้านทั่วไปมากนัก ส่วนตอนที่2 ผมจะแนะนำร้านที่สำหรับผู้ที่ไม่เกี่ยงราคาถ้าดีจริง ก็เลยจะแนะนำเฉพาะร้านที่ได้มิชลิน 3 ดาวในปารีสทั้ง 10 ร้าน
ที่มาของ มิชลินสตาร์เป็นอย่างไร คงไม่พูดถึงแล้วนะครับเพราะน่าจะเคยเขียนถึงไปแล้ว

 

ร้านอาหารติดดาว 8 ร้านในปารีสที่เราสามารถไปกินมื้อเย็นได้ในงบประมาณที่เหมาะสม

1.ร้าน LES FABLES DE LA FONTAINE เล ฟ๊าฟบ์ เดอลา ฟองตานน์
ร้านอาหาร, อาหารทะเล, ฝรั่งเศส, เมดิเตอเรเนียน, $$$

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 12

เชฟ David Bottreau ได้รับโอนร้าน Les Fables de la Fontaine มาจากเชฟ Christian Constant ในปี 2548 แล้ว Bottreau ก็ได้นำเชฟสาวดาวรุ่งที่ชื่อ Juliet Sedefdjian มาเป็นหัวหน้าพ่อครัว โดยมีสถาปนิกคือ Luis Aleluia รับผิดชอบออกแบบตกแต่งสถานที่แห่งนี้ให้เรียบง่ายจากวัสดุธรรมชาติเช่นไม้ หินและเหล็กดัด
แล้วก็ตั้งใจเน้นเป็นรายการอาหารทะเลจากทางใต้ (French Riviera) ที่นำเสนอจานคลาสสิกในรูปแบบใหม่ โดยราคานั้นไม่ต่างกับร้านอาหารทั่วๆไปในปารีส คือ เมนูอาหารชุดกลางวันในวันธรรมดาเริ่มต้นจาก 28 ยูโร ส่วนมื้อเย็นจะเป็นเมนูที่น่าตื่นเต้นมากขึ้นใช้ชื่อว่าเมนู Carte Blanche ราคาเริ่มต้นที่ 75 ยูโรคุ้มมากๆ

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 16

จานปลาที่ Les Fables de la Fontaine

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 18

จานเรียกน้ำย่อยหรือ ENTRÉES ที่ Les Fables de la Fontaine

 

2.Septime เซปติมม์
ร้านอาหารร่วมสมัย, ฝรั่งเศส, $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 25

Septime เป็นร้านอาหารที่น่าสนใจบนถนน Rue de Charonne ดังนั้นการได้รับยืนยันการจองโต๊ะที่นี่สำหรับมื้อเย็นถือเป็นเรื่องท้าทาย แต่มันเป็นความพยายามที่คุ้มค่าสำหรับประสบการณ์ที่ได้มากินที่นี่แน่นอน อาหารสมัยใหม่สดทันสมัยและนำเสนอได้ดี มีแต่รายการ Tasting Menu 4 steps หรือ 7 steps คือเหมือนเราไม่มีสิทธ์เลือก มันขึ้นอยู่กับเชฟที่นำเสนอและคัดเลือกรายการอาหารที่เหมาะกับวันนั้นเป็นแบบอาหารญี่ปุ่นสไตล์ โอมากาเสะ Omakase อาหารจานพิเศษของที่นี่คือประกอบด้วย raw venison with tarragon เนื้อกวางดิบกับใบเทอรากอน และ Kalamata olives, whiting with endives and orange butter,ปลาทรายแก้วกับมะกอกคาลามาต้า และผักชิโคริกับซอสเนยส้มส่วนของหวานก็พายมะตูมป่น quince and verbena crumble

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 2

Paris Cray ที่ Septime
City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 26

อาหารจานปลาที่ Septime

 

3. BENOIT เบนัวต์
ร้านสไตล์ Bistro, French, $$$

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 11

บิสโทรแท้ๆอายุกว่า100ปี ที่เชฟระดับโลก Alain Ducasse ได้มาเป็นเจ้าของ

มีประวัติมากมายที่ Benoit เพราะเป็นร้านเก่าแก่เปิดให้บริการมากว่า100 ปีแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2455 ถือเป็นร้านอาหารบิสโทรแบบคลาสสิกเพียงแห่งเดียวของกรุงปารีสที่ได้ดาว Michelin ครอบครัวตระกูล Petit เป็นเจ้าของมา 93 ปีแล้วจึงส่งต่อไปยังทีมงาน Alain Ducasse เชฟระดับโลกที่ได้ดาวเยอะแยะ ตั้งแต่ในปี 2005 บรรยากาศที่นี่อบอุ่นเสมอจากการตกแต่งภายในด้วยกำมะหยี่สีแดงกับขอบทองเหลืองเงาวับ สลับกับกระจกแกะสลักและคอลัมน์หินอ่อน เชฟ Alain Ducasse ตั้งใจที่จะนำเสนอจานคลาสสิกของอาหารฝรั่งเศสทั้งหมด ให้ท่านสามารถสั่งได้ที่นี่ เพราะเดี๋ยวนี้เชฟส่วนใหญ่ไปเน้นจานfusionกันหมด มาที่นี่เพื่อการดูมีรสนิยมในการเลือกร้าน ถ้าต้องการประหยัดก็ให้ลองเมนูอาหารกลางวัน 39 ยูโรที่ การันตีในรสชาติมีการปรุงอย่างรอบคอบ ต้องถือว่าข้อเสนอที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 8

จานเรียกน้ำย่อยที่เบนัวต์

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 6

จานปลาที่เบนัวต์

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 9

จานหลัก สเต็กกับเห็ดตามฤดู

 

4.LA TABLE D’EUGÈNE ลาต๊าบล์ดูจีนน์
ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 21

ความสมดุลของจารีตประเพณีกับความทันสมัยที่ La Table d’Eugène ได้รับการยึดถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยChefชื่อ Geoffroy Maillard และ sous-chef François Vaudeschamps ทั้ง 2 ร่วมกันสร้างเมนูอาหารที่ซับซ้อน อีกทั้งมีการอัพเดทเมนูทุกสิบวันให้เป็นเมนูตามฤดูกาลโดยแท้ ที่นี่เน้นวัตถุดิบที่เป็นผักสมุนไพรและเนื้อสัตว์จากเครือข่ายผู้ผลิตรายย่อยไม่ใช่สั่งจากsupplierเจ้าใหญ่ เชฟที่นี่ อ้างว่า “การทำอาหารที่นี่ใช้จินตนาการมากกว่าสูตร” ให้ลองสั่งTasting Menu แบบเมนูชิมห้าคอร์ส ในราคา 89 ยูโร หรือถ้าเลือกที่แปดคอร์สไหว ก็ 120 ยูโร จัดไปครับ

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 14

อาหารและการตกแต่งจานที่ La Table d’Eugène

 

5.LA TABLE DU 11 ลาต๊าบลืดูอ๊งซ์

ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 17

La Table du 11 ซึ่งเป็นร้านอาหารที่พ่อครัวและคนกินมีความใกล้ชิดกัน เพราะที่นี่จัดห้องที่มีครัวแบบเปิดในบรรยากาศสบายๆ มีหัวหน้าพ่อครัวและเจ้าของคือ Jean-Baptiste Lavergne-Morazzani ได้รับรางวัล ดาวมิชลิน จากประสบการณ์อันยาวนานกว่าทศวรรษที่ทำงานภายใต้เชฟกอร์ดอนแรมเซย์ที่ร้าน Trianon Yannick Allénoที่โรงแรม Le Meurice และกับเชฟ Philippe Bélissent ที่Cobéa Lavergne-Morazzani เชฟได้มาเปิดกิจการที่เป็นอิสระเป็นเจ้าของด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกซึ่งมีทำเลอยู่ที่เมืองแวร์ซายย์ หากท่านมีโปรแกรมไปเที่ยวชมพระราชวังแวร์ซายอยู่แล้วห้ามพลาดการได้ไปลองชิมฝีมือเชฟ Jean-Baptiste

 

6.LA TRUFFIÈRE ลาทรูฟแฟร์

ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 15

La Truffière เพิ่งต้อนรับหัวหน้าพ่อครัวคนใหม่ Christophe Poard ไม่นานนี้ ก่อนที่เขาจะมาปารีสเขาเคยทำงานในห้องครัวที่มีชื่อเสียงของ Casino de Deauville ซึ่งเป็นร้านอาหาร Schwarzwald stube ที่มีดาวสามดาวในเมือง Antwerp ในประเทศเบลเยี่ยม และก่อนหน้านั้นที่ Château d’Hassonville เมือง Carlsbad Plaza สาธารณรัฐเช็ก นับตั้งแต่การมาถึงของเขาที่ La Truffière

เขาได้ทำsignature menu ของเขาเพิ่มชื่อเสียงเพิ่มให้กับร้านนี้ เหมาะมากสำหรับคนรักอาหารทะเล และจานชีส signature menu สามคอร์สของร้านนี้สามารถลิ้มลองได้เพียง 40 ยูโร ในมื้อกลางวัน

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 1

ภายในร้าน La Truffière

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 10

จานปลาที่ La Truffière

 

7.SATURNE ซัตตูเอิน
ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 13

เชฟคู่หูที่อยู่เบื้องหลัง Saturne,ก็คือเชฟ Sven Chartier และเชฟ Ewen Le Moigne ดูมีความเรียบง่ายแต่มีคุณภาพเหนือที่ไหนๆ ผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาใช้เป็นของตกแต่งทั้งหมดดูดีมีรสนิยมและมีเอกลักษณ์ยิ่งถ้าได้เห็นตัวเมนูของพวกเขาซึ่งสื่อให้เห็นถึงสิ่งที่ดีที่สุดในสิ่งที่นำเสนอของวันนั้นๆ ร้านอาหารเป็นที่นิยมมากของกลุ่มนักธุรกิจ เมนูอาหารกลางวันแบบสามคอร์สที่ราคาอยู่ที่ 45 ยูโรถือว่ายอดเยี่ยมและต้องลองเมนูอาหารกลางวันแบบ Carte Blanche ในราคา 85 ยูโร หรือถ้าเราเน้นมื้ออาหารค่ำงบประมาณก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 4

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 5

บรรยากาศภายในร้านที่เรียบง่าย

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 24

ด้านหน้าร้านอาหาร Saturne, ปารีส

 

8.Garance การองซ์
ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 20

Garanc เป็นของเชฟใหญ่ Guillaume Iskandar และ sommelier ผู้รู้ผู้กำกับซื้อเข้าดูแลและแนะนำไวน์ ชื่อGuillaume Muller ซึ่งเคยทำงานร่วมกับceleb chefคือ Alain Passard ที่ร้านอาหาร l’Arpège ซึ่งเป็นร้านมิเชลลินสามดาวของเขาได้ตัดสินใจมาเปิดร้านGaranc แห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก Les Invalides พวกเขาได้ร่วมกันสร้างประสบการณ์การรับประทานอาหารที่เบ็ดเสร็จในเรื่องการออกแบบและรสชาติที่ต้องจดจำเมนูอาหารกลางวันที่นี่เริ่มต้นเพียง 42 ยูโรส่วนมื้อเย็นก็เพิ่มขึ้นไม่มาก

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 7

คุณภาพอาหารที่สัมผัสได้

 

เจอกันคราวหน้าจะเป็นตอนจบของ City Break Paris จะปิดท้ายด้วย การแนะนำสุดยอดร้านอาหารฝรั่งเศสในปารีสที่ได้ดาวมิชลิน 3 ดวงซึ่งทั้งหมดมี 10 ร้านด้วยกัน เข้าconcept “ไปทั้งทีต้องมีซักมื้อ” ชื่อจั่วหัวBlogใหม่ในเร็วๆนี้ของผม ที่สามารถใช้เป็นคู่มือการไปกินร้านอาหารในต่างประเทศแบบรู้จริง ไม่ใช่แนะนำแต่ชื่อร้านแล้วไม่รู้จะสั่งอะไร จองอย่างไร งบประมาณเท่าไรต่อมื้อ

City Break Paris Part XXXVII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 37

Dinner in Paris (Brasserie ตอนที่ 2)
คราวที่แล้วพูดถึงที่มาของบราเซรี่และมีการแนะนำ Brasserie แบบแรกไปคือแบบที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ มาตอน 2 นี้จะแนะนำบราเซรีแบบสุดคลาสสิก 8 แห่งของกรุงปารีสที่มีการตกแต่งร้านตรงกับยุคที่บราเซรี่ถือกำเนิดมาก็คือยุคศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบ Art Deco และArt Nuevo ในสมัย Le Bell Époque ที่ปารีสรุ่งเรืองกว่าเมืองไหนๆในยุโรป

1. La Fermette Marbeuf อยู่แถว ถนนช็องเซลีเซ

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 2

La Fermette Marbeuf คือร้านอาหารในกรุงปารีสยุคปี 1900 ที่ห่างจากถนนหลักอย่าง Avenue George V และ Champs-Elysees เพียงไม่กี่ก้าว มันเป็นตัวแทนของร้านบราเซรี่ของยุค Belle Epoque ของศตวรรษที่ผ่านมาอย่างแท้จริง และเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วได้มีการค้นพบวัสดุตกแต่งของเดิมในยุคก่อนที่ถูกเก็บไว้ แทบจะเป็นเหมือนกับการค้นพบใหม่ของสุสานตุตันคาเมนเลยทีเดียว มันมีวัสดุ เช่น โมเสคยุคอาร์ตนูโว กระจกลายอาร์ตนูโวลวดลายดอกทานตะวัน ลายนกยูง แมลงปอ และผู้หญิงสวย ตลอดจนเสาเหล็กหล่อและเพดานแก้วที่สามารถนำมาตกแต่งใหม่ได้ทั้งหมด

พ่อครัว Gilbert Isaac ก็ยังคงยึดติดกับอาหารคลาสสิกแบบฝรั่งเศส เช่น เนื้อไก่ผสมตับอ่อนกับหอมผัดมัสตาร์ด ปลากระพงย่างทั้งตัวในโป๊ยกั๊กและ Baba Rhum และที่นี่ก็ยังคงเป็นฮอตสปอตสำหรับคนดังในฝรั่งเศสที่จะปรากฏตัวให้เห็นที่ร้านนี้อยู่เสมอ

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 3

Coq au vin ที่  La Fermette Marbeuf ในหม้อเหล็กหล่อยี่ห้อ STAUB จากแค้วน Alsace เช่นเดียวกับต้นฉบับของร้านแบบ  Brasserie

 

2. Chez Jenny ในย่าน Folie-Méricourt

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 4

บราเซรี่ที่มีเสน่ห์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แห่งนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 1930 แล้วก็เติบโตขึ้นมาต่อเนื่อง เริ่มต้นจากการเป็นร้านอาหารที่โรเบิร์ตเจนนี่ ชาวสตราสบูร์กผู้ก่อตั้ง ได้ทุ่มเทตั้งใจพิสูจน์ฝีมือจน Chez Jenny นั้นไม่ต้องพิสูจน์อะไรอีกแล้ว มันติดลมบนแบบถ้าไม่มีการจองโต๊ะคงจะมีที่นั่งลำบาก ร้านตกแต่งด้วยประดับตกแต่งด้วยโทนสีแดงสว่างไสว ดูมีเสน่ห์แบบร้านโบราณที่มีความขลัง มาลองอาหารแบบอัลซาสที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 5

Choucroute Strasbourgeoise

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 6

Chez Jenny ยังคงให้บริการอาหาร Alsatian ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าที่ภักดีเสิร์ฟโดยพนักงานเสิร์ฟในชุดประจำถิ่นอัลซาส ต้องลองอาหารที่เป็นไส้กรอกอัลซาสกับมันฝรั่ง จานหลักก็ต้องหมูย่างคาราเมลกับน้ำผึ้งในกะหล่ำปลีดองที่ยอดเยี่ยมและตบท้ายด้วยพุดดิ้งลูกแพร์ตุ๋นกับ Sorbet ลูกแพร์ และ Eau de vie

 

3. Bofinger ย่านเลอมาเร่ส์

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 7

ประวัติร้านนี้เริ่มจากเจ้าของคนแรกที่ชื่อ Bofinger เดิมหนีออกจากบ้านของเขาที่ Alsace ในช่วงสงครามมาตั้งรกรากในปารีส แต่ร้านนี้ก็มีการเปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาคุณภาพที่ไร้ที่ติ

Bofinger ดึงดูดฝูงชนจำนวนมากมารับบรรยากาศแบบอาร์ตนูโวที่แท้จริงที่เป็นบรรยากาศของบราสเซอรี่แท้ๆ ในยุค Bell Époque มาที่นี่ควรนั่งชั้นล่างเพื่อบรรยากาศดีที่สุดในการรับประทานอาหาร และถ้าคุณสามารถขอให้นั่งในห้องอาหารหลักใต้โดมกระจกเพื่อประสบการณ์โรแมนติกอย่างแท้จริงก็จะถือว่าไม่เสียเที่ยว

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 8

การเลือกเมนูตามสั่งอาจเริ่มต้นด้วย Langoustine Terrine ตามด้วยปลาแซลมอนทาร์ทปรุงรสเข้มข้น และสเต็กปลา หรือตับของลูกวัวพร้อมกับแตงโมปรุงสุก อีกทางเลือกหนึ่งคือคุณอาจจะทานหอยนางรม ตามด้วยเนื้อสเต็กเนื้อแกะก็ได้ตามด้วย Cheese Plate ก่อนจบด้วยของหวาน

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 9

 

4. La Coupole ย่าน Montparnasse

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 10

La Coupole ใน Montparnasse เป็นบราเซรี่ตกแต่งแบบอาร์ตเดคโคที่ได้รับการยกย่องอย่างไม่ธรรมดา ไม่ว่าในเรื่องความอร่อยของรสชาติอาหารและบรรยากาศในห้องอาหารอันกว้างขวางที่ได้รับการตกแต่งอย่างพิถีพิถัน ถือเป็นแถวหน้าของศิลปะย่าน Rive Gauche ที่บรรดาศิลปินอย่าง Picasso, Jean-Paul Sartre และ Simone de Beauvoir เคยพำนักอยู่และเคยป็นลูกค้าประจำที่นี่ ผู้คนมาที่นี่จากทั่วทุกมุมโลกเพื่อประทับใจกับความงดงามของมัน พื้นที่ทั้งหมด 1000 ตารางเมตรและมีเสาเกะกะอยู่ถึง 33 ต้น เปิดบริการตั้งแต่ปี 1927 แต่เหมือนว่ายิ่งเปิดนานยิ่งดัง อาจเป็นเพราะราคาไม่แพงมาก คุ้มค่าการมาเยือน

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 11

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 12

 

5. Brasserie Julien ย่าน Strasbourg-Saint-Denis

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 1

Brasserie Julien หนึ่งในร้านอาหารที่สวยที่สุดในปารีสที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แบบอาร์ตนูโว จากเส้นโค้งที่เต็มไปด้วยความรู้สึกของประตูไปยังกระจกแกะสลักอันงดงาม สีโทนอัญมณีสีเขียว ให้ความรู้สึกหนักแน่น มีผนังที่ทาสีอย่างพิถีพิถันตัดกับแถบไม้มะฮอกกานีและพื้นกระเบื้องโมเสคที่มีรายละเอียดแบบมหัศจรรย์ Brasserie Julien เป็นต้นแบบของการศึกษาศิลปในรูปแบบของปารีสแห่งยุค 1900

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 13

ร้านอาหารแห่งนี้เหมือนจะพานักกินให้ได้เดินทางสู่ความรุ่งเรืองของเมืองปารีสในอดีตในยุคแรกที่มีดนตรีแจ๊สและนักเขียนเฮมิงเวย์รวมทั้งนักวาดที่ชื่อปีกัสโซ ดู Brasserie Julien ได้สร้างรูปแบบอาหารที่หรูหราตามแบบฉบับของสไตล์และรสชาติของกรุงปารีสอย่างแท้จริง

 

6. ร้าน Brasserie Floderer หรือเมื่อก่อนนี้เรียกว่าBrasserie Flo, ย่าน Strasbourg-Saint-Denis

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 14

คุ้มค่ากับการค้นหา เหมือนกับคุณได้พบโลกที่ยังยืนนิ่งอยู่ Brasserie Flo เป็นแรงบันดาลใจจากเจ้าของที่เคยทำโรงเบียร์ในเขต Alsace เป็นเวลาหลายปีจึงมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างอาหารฝรั่งเศสและเยอรมันทำให้ร้านไดเนอร์สแห่งนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับนักกินและนักดื่ม

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 15

เมนูที่ทันสมัยของ Brasserie Flo เหมือนเป็นส่วนผสมนานาชาติที่ดีที่สุดจากการสร้างสรรค์อาหารที่คัดสรรมาอย่างดี ในช่วง Paris Fashion Week จะหาโต๊ะยากหน่อยเพราะผู้ที่เคยมาแล้วมักกลับมาซ้ำต่อเนื่อง ต้องลองสั่ง Foie gras และ Chateaubriand Steak ที่นี่

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 16

 

7. ร้าน Le Vaudeville

ร้านอาหาร อันงดงามแห่งนี้ถ้าได้ไปเยี่ยมก็จะเหมือนเราได้ย้อนเวลากลับไปในปี 1920 ที่กรุงปารีส ได้รับการออกแบบโดยทีมงานเดียวกันที่อยู่เบื้องหลังร้าน La Coupole (บราเซอรี่ที่เอ่ยถึงก่อนหน้า) ใช้แรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์จากโรงละครเก่าที่อยู่ติดกัน สามารถดึงดูดคนในท้องถิ่นที่สนใจจานหอยนางรมสด, ซุปหอมหอมและสเต็กทาร์ตาร์อาจต่อด้วยเนื้อลูกวัวแม้สั่งเยอะก็ไม่ต้องกลัวว่าต่องจ่ายเยอะ เพราะราคาถือว่ารับได้ทีเดียว

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 17

 

8. ร้าน La Rotonde
ร้านอาหารที่ไม่มีวันตกต่ำราคาไม่แพงแต่หรูหราและอร่อยอย่างนี้ เป็นหนึ่งในร้านอาหาร Brasseries ที่ดีที่สุดในกรุงปารีส ตั้งอยู่ใกล้กับ Rue de la Gaite อยู่ในย่านธุรกิจมานานกว่าศตวรรษและตั้งอยู่ใกล้ย่าน Montparnasse อันทันสมัย ตกแต่งบุภายในด้วยกำมะหยี่สีทับทิมและอุปกรณ์ทองเหลืองเป็นสถานที่ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบสไตล์คลาสสิกแบบฝรั่งเศส เปิดให้บริการจนถึง 2 นาฬิกาของวันใหม่

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 18

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 19

รูปนี้เป็นรูปที่ช่างภาพหนังสือพิมพิ์ฝรั่งเศส ถ่ายภาพประธานาธิบดีมาครงไว้เมื่อครั้งมารับประธานอาหารที่ร้าน La Rotonde

City Break Paris Part XXXVI

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 36

Dinner in Paris (Brasserie ตอนที่ 1)
ผมได้เคยแนะนำเรื่องอาหารกลางวันในปารีสไปแล้วก่อนหน้านี้ เราได้รู้จักร้านอาหารแบบBistro และ Parisian Café ซึ่งก็เป็นเหมือน All Day Dining ตามหัวมุมถนนต่างๆกันไปแล้ว ในตอนนี้จะพูดถึงมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อที่เป็นจริงเป็นจังหรือค่อนข้างเป็นทางการหน่อย เพราะชาวปารีสใช้เวลาเฉลี่ยในการกินอาหารมื้อเย็นในภัตตาคาร ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว และเป็นวิถีของชาวฝรั่งเศสที่ถือว่าเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตประจำวัน ผมก็เลยขอแนะนำทางเลือกมื้อค่ำ ใน 2 รูปแบบ ก็คือถ้าอยากกินแบบหรูหราเป็นทางการหน่อยเราต้องไปร้านอาหารในแบบภัตตาคารที่อาจบริหารโดยเชพที่มีชื่อ Celebrity Chef ติดดาวมิเชลแลง แต่แบบนี้ในปัจจุบันก็หาไม่ยากไม่ว่าเมืองไหนก็มี ทีนี้ถ้าท่านชอบแบบสบายๆไม่ถึงกับformalมากและไปเมืองอื่นไม่ค่อยเจอนอกจากมาปารีสก็ต้องไปร้านแบบ Brasseries ซึ่งวันนี้เราจะแนะนำว่าที่มาของมันและบุคลิกรูปแบบของมันเป็นอย่างไร

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 1

Brasseries
ในช่วงปี 1870-71 ซึ่งเป็นช่วงปีที่หลานของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1หรือ หลุยส์ นโปเลียน ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของฝรั่งเศสต่อจากการปกครองแบบกษัตริย์ในยุคสุดท้ายของราชวงศ์บูรบง คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิป ซึ่งในช่วงนี้ฝรั่งเศสก็ทำสงครามอีกครั้งเป็นสงคราม Franco-Prussian War ซึ่งเป็นสงครามก่อนที่รัฐ Prussia จะถูกผนวกรวมเป็นประเทศเยอรมันเพราะตอนนั้นชนชาติเยอรมันประกอบด้วยแคว้นใหญ่ที่มีปรัสเซียและบาวาเรียเป็นหลัก และแคว้นเล็กแคว้นน้อยที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและออสเตรียเป็นส่วนใหญ่ การรวมชาติเยอรมันครั้งนั้นนำโดย บิสมาร์ค (Otto Von Bismarck) นายกรัฐมนตรีผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

บิสมาร์คสรุปว่าฝรั่งเศสและออสเตรียคืออุปสรรคในการรวมชาติเยอรมันจึงทำสงคราม Franco-Prussian War และได้ชัยชนะทำให้แคว้นอัลซาส-ลอเรนน์ Alsace และ Lorraine ของฝรั่งเศสตกไปเป็นของเยอรมัน (ก่อนจะกลับไปเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหลังจากเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1)

ช่วงนี้เองที่ชาวอัลซาส (หรือที่เรียกว่า Alsatians อัลเซเชี่ยน ซึ่งท่านที่เลี้ยงสุนัขจะรู้ดีว่าสุนัขพันธุ์ German Sheppard นั้นก็มีต้นกำเนิดมาจากอัลซาสเพราะมักเรียกว่าพันธุ์ อัลเซเชี่ยน) อพยพหนีเข้ามาอยู่ในปารีส และเนื่องจากชาวอัลซาสนั้นรับวัฒนธรรมเยอรมันมาเต็มๆ เพราะเขตนี้อยู่ติดพรมแดนเยอรมัน พอเข้ามาปารีสจึงมาเปิดร้านอาหารในแบบที่ขายไส้กรอกกับกระหล่ำปลีดอง ที่เยอรมันเรียกว่า Sauerkraut (ในฝรั่งเศสเรียกว่า Choucroute ชูครุท) เป็นหลัก และนำวัฒนธรรมการดื่มเบียร์เข้ามา ดังนั้น ร้านอาหารแบบชาวอัลซาสจึงเป็นเหมือน,ไมโครบริวเวอรี่ (Micro Brewery) คือมักมี Beer from tap หรือเบียร์สดขาย ซึ่งเรียกแบบฝรั่งเศสก็คือ Brasserie (บราสเซรี) นั่นเอง

บุคลิกรูปแบบของ Brasserie นั้นมันแตกต่างจาก Bistro ซึ่งมักเป็นร้านเล็กๆ แต่บราเซรี่ มันมักเป็นร้านขนาดใหญ่มีหลายโต๊ะ

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 2

แล้วมันก็ไม่เชิงเป็นโรงเบียร์ (Beer Hall) ที่มีบุคลิกแบบโรงเตี๊ยม Tavern ในสไตล์ยุโรปยุคกลางเหมือนของอังกฤษหรือเยอรมัน เพราะการตกแต่ง Brasseries นั้นมันดูหรูหรากว่ามาก แต่ลดทอนความโอ่อ่าฟุ่มเฟือยในสไตล์พระเจ้าหลุยส์ลงมา โดยผสมผสานความเป็นธรรมชาติ มีลวดลายเหล็กดัด ในแบบสถาปัตยกรรมยุค Art Nouveau ซึ่งเกิดในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ใกล้เคียงกับช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย 1870-1871 นั่นเอง บางร้านก็มีสไตล์ Art Deco ซึ่งก็เป็นสถาปัตยกรรมของยุคถัดมาก่อนเข้าช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และในช่วงว่างระหว่างสงครามปรัสเซียจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1นั้นเองที่ปารีสพุ่งขึ้นสู่ช่วงpeak หรือช่วงทอง Golden Era ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าช่วง La Belle Époque มีความเจริญด้านอุตสาหกรรม สถาปัตยกรรมและศิลปะทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นด้านบันเทิง หรือชิ้นงานศิลป์ ซึ่งผมเคยอธิบายไปก่อนหน้าในตอนก่อนๆนี้จึงไม่ขออธิบายซ้ำแต่เพียงจะบอกว่าหากท่านต้องการบรรยากาศย้อนยุคกลับไปในช่วง La Belle Époque นั้นก็นี่เลยครับ ให้เลือกไปกินอาหารเย็นสักมื้อที่ร้าน brasserie เก่าแก่ เดิมๆที่ยังมีเมนูพิเศษแบบดั่งเดิม เช่น เนื้อวัว Chateaubriand ในซอส Bearnaise หรือปลา Sole ในซอสMeunière ตบด้วย Rum Baba พร้อมกับครีมวานิลลาที่เสิร์ฟโดยพนักงานเสิร์ฟมือโปรในชุดดำขาว โดยมีค่าใช้จ่ายมาตรฐานในช่วงระหว่าง 18 ถึง 30 ยูโรสำหรับอาหารจานหลัก(Main Course) หรือถ้าเลือกเป็นชุดเมนูอาหาร 3 คอร์ส ก็ประมาณ 45-90 ยูโร ถือว่าราคาคุ้มค่าสำหรับประสบการณ์แบบปารีสแท้ๆ …ผมเลยจะขอแนะนำร้านดังต่อไปนี้

แบบแรกคือแบบ Brasserie ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ ต้องบอกว่าในยุคเริ่มต้นของร้านอาหารแบบนี้มันอยู่ในช่วงการเดินทางด้วยรถไฟกำลังเริ่มเฟื่องฟู (ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม)จึงไม่แปลกเลยที่จะมีการลงทุนทำร้านอาหารดีไว้ที่สถานีรถไฟ หรือใกล้ๆสถานีรถไฟต่างๆในปารีส เพื่อต้อนรับนักเดินทางที่มาถึงปารีสจากที่ต่างๆ หรือจะเก็บไปกินก่อนกลับก็แล้วแต่

ผมขอแนะนำร้าน Brasserie ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ สัก 3 แห่งที่เก่าแก่และมีชื่อมาถึงปัจจุบัน
Terminus Nord สถานีรถไฟเหนือ Gare du Nord (credit pic from: http://www.maksinwee.com)

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 3

Terminus Nord เปิดมาตั้งแต่ปี 1925 ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถานีรถไฟด้านทิศเหนือ Gare du Nord ที่ใช้เดินทางไปอังกฤษ,เบลเยี่ยม,เนเธอร์แลนด์ มันเป็นเหมือนร้านต้นแบบของร้านอาหารแบบกรุงปารีส ยินดีเสมอที่จะต้อนรับผู้มาเยือน City of Light มหานครแห่งสีสันแห่งนี้ มีเพดานที่ตกแต่งยอดเยี่ยมด้วยโคมไฟระย้าสไตล์ Art Deco มีกระจกสีสันสดใสตกแต่งด้วยลาย Mucha ทำให้ Terminus Nord มีศิลปในแบบผสมกับ Art Nouveau ด้วยจึงมีเสน่ห์ดูยั่วยวน แบบปารีสแท้ ที่นี่มีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยชาวปารีสเองและผู้มาเยือนที่เป็นทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวมารวมตัวกัน เพื่อจะได้เพลิดเพลินไปกับเมนูในบราสเซอรี่แบบฝรั่งเศสแท้ๆ ที่ผสมผสานระหว่างอาหารสไตล์ปารีสแบบดั้งเดิมและในแบบที่เสิร์ฟในชนบทและสร้างสรรค์โดยพ่อครัว Pascal Boulogne

และแน่นอนว่าที่นี่มีไวน์ชั้นดีของแต่ภูมิภาคเพื่อให้รสอาหารมันถึงรสถึงชาติมากขึ้นไปอีก จึงขอแนะนำ Terminus Nord ที่ๆจะให้ประสบการณ์มื้อเย็นที่น่าจดจำสำหรับทุกคนที่มาเที่ยวกรุงปารีสแบบ ‘The Ultimate Parisian Experience’

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 4

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 5

Choucroute Garnie เมนูหลักที่เป็นอาหารอัลซาส Alsatian แท้ๆที่เหมือนอาหารเยอรมัน Sauerkraut กับไส้กรอกนั่นเอง แต่รสชาติของฝรั่งเศสนุ่มนวลกว่าเหมาะกับการตบด้วยไวน์ขาว เพราะของเยอรมันนั้นมักหนักไปทางเค็มซึ่งเหมาะกับการดื่มเบียร์

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 6

หอยเอสกาโกต์ หรือ Burgundy Snails หมักด้วยไวน์ Chablis

Le Train Bleu ที่สถานีลิยง Gare de Lyon
หากท่านจะมุ่งลงใต้ด้วยรถไฟแบบ Mr.Bean ที่จะลงไปเที่ยว Cote d’azur ชายฝั่งภาคใต้ของฝรั่งเศส ในภาพยนต์เรื่องMr. Bean’s Holiday (2007) ท่านก็น่าจะเผื่อเวลาเพื่อแวะกินร้านอาหาร ‘เลอแทรงน์เบลอ’ เช่นเดียวกันนะครับ

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 7

สำหรัประวัติของที่นี่ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อปารีสกำลังจะได้รับการจัดแสดงนิทรรศการสากลครั้งใหม่ในปี 1900 (พ.ศ. 2443) หลังจากที่สถานีรถไฟ Saint-Lazare สร้างเสร็จและเปิดไปในปีในปี 1889(พ.ศ.2432 ปีเดียวกับที่หอไอเฟลสร้างเสร็จและมีการจัดแสดงนิทรรศการสากลครั้งแรก) ก็ได้มีการเปิดตัวสถานีลิยง Gare de Lyon เพื่อรองรับการขยายธุรกิจของ บริษัท PLM กับเส้นทางเดินรถไฟใหม่ Paris Lyon Marseille ซึ่งดำเนินการสายของเครือข่ายตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โครงการนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นสถาปนิก Marius Toudoire ผู้สร้างหอระฆัง (Tower-tower) ขนาด 64 เมตรและอาคาร façade อนุสาวรีย์ของสถานี ซึ่งถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งหนึ่งของปารีสได้เลยทีเดียว

การบริหารจัดการของบริษัทรถไฟต้องจัดการเรื่องอาหารที่ดีเยี่ยมเป็นจุดขายของเส้นทางนี้ จำเป็นต้องมี Catering ที่มีชื่อเสียงเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางที่เน้นความหรูหรา สะดวกสบาย โครงการร้านอาหารที่ชื่อบุฟเฟ่ต์ที่สถานีจึงเกิดขึ้นโดยสถาปนิกคนเดียวกัน

ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่สถานีด้รับการทำพิธีเปิดโดยประธานาธิบดีแห่ง สาธารณะรัฐ คือ Emile Loubet ในปี 1901

จนกระทั่งในปี1963 (ในปีพ. ศ. 2506) อัลเบิร์ตชัล wได้เปลี่ยนชื่อร้านบุฟเฟ่ต์เป็นร้าน “เลอรถไฟ Bleu” (รถไฟสีฟ้า) เพื่อเป็นตำนานของเส้นทาง« Paris-Vintimille »ซึ่งเป็นเส้นทางลงใต้ที่มีจุดหมายปลายทางเป็น Côte d’Azur

การแกะสลักการขึ้นรูป Moldings โคมไฟระย้าและภาพเฟรสโกครอบคลุมผนังทั้งหมดของร้านอาหารนั้นมีความประณีตประดิษฐไม่ต่างกับพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษที่ 1900 มีการใช้ศิลปินชาวฝรั่งเศสจำนวนยี่สิบเจ็ดคนที่ได้รับรางวัลประกวดงานศิลปที่กรุงโรม( Prix de Rome )ในช่วงนั้นมาช่วยกันทำ
มีภาพวาดบนผืนผ้าใบ41ภาพที่วาดโดยศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากชองยุคนั้นได้แก่ François Flameng, Henri Gervex, Gaston Casimir Saint-Pierre, René Billotte พวกเขาเน้นให้เห็นมุมมองของเมืองใหญ่และงานของบริษัทรถไฟ PLM ช่วง ศตวรรษที่ 20: Paris, Lyon, Marseille, Orange, Villefranche, Monaco, Nice, Saint-Honorat, the Mont-Blanc massif, etc.

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 8

ห้องอาหารที่ชื่อรถไฟสีฟ้าขบวนนี้ สวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณและม้านั่งไม้โอ๊กใหญ่ อบอวลไปด้วยบรรยากาศแบบหรูคลาสสิกแบบฝรั่งเศส และแน่นอนว่าที่นี่เสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสคลาสสิกด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า กุ้งก้ามกรามที่เสิร์ฟบนสลัดน้ำมันวอลนัท ที่แนะนำให้เป็น Starter

ตามด้วย Pistachio-studded saucisson de Lyon

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 10

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 11

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 12

นอกจากบรรยากาศเป็นที่น่ารื่นรมย์แล้ว ราคาอาหารและไวน์ก็มีราคาสมเหตุสมผลทีเดียว ไม่ควรพลาดชิมนะครับ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ร้านนี้มีแฟนประจำเป็น Celeb เช่น Coco Chanel, Salvador Dali และ Brigitte Bardot

ร้าน MOLLARD ที่อยู่แถวสถานีรถไฟ Saint-Lazare

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 13

ในประวัติศาสตร์ของปารีส เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1837 นับเป็นความสำเร็จของระบบรถไฟของฝรั่งเศส เพราะถือวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นด้วยการมีขบวนรถไฟแห่งแรกจาก สถานีรถไฟ Saint-Lazare ไปยัง Saint-Germain ย่านแซง – ลาซาร์ตอนนั้นยังเป็นย่านชานเมืองเกือบเป็นชนบท

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 14

ต่อมาย่านนี้ก็เจริญขึ้นเพราะในช่วง ค.ศ. 1862-1867 มีการก่อสร้างวิหาร Saint-Augustin โดย BALTARD จึงตามมาด้วยอาคารพาณิชย์และเกิดร้านอาหารที่ถือว่าเป็นเสมือน Brasserie แห่งแรกของกรุงปารีสที่มีชื่อว่าMOLLARD

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 15

ร้านสร้างในรูปแบบที่ทันสมัยมีการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงามที่สุดของกรุงปารีส
ในปี ค. ศ.1896 นั้น MOLLARD สร้างเสร็จถือเป็นร้านอาหารที่เก๋ไก๋ที่สุดและเป็นจุดนัดพบของผู้ที่ต้องการความหรูหรา ถือเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทันสมัยที่สุดจากกรุงปารีส

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 16

จนถึงทุกวันนี้แม้ว่า MOLLARD จะดูเก่าแก่ไปตามกาลเวลา แต่มันก็ยังเปิดบริการให้ผู้มาเยือนที่ต้องการสัมผัสรสชาติ ของปารีสแท้ๆ และความขลังของประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ของร้านที่มีอายุกว่า 180 ปีแห่งนี้ของปารีส

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 17

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 18

เมนูกุ้ง Lobster Termidor ของร้าน Moullard

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 19

เมนู Plateaux Royal หรือ ทะเลรวมมิตร

 

City Break Paris Part XXVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 28
ไปกินสุดยอดสเต็กในปารีสแบบไหนที่ไหนกันดี

1.แบบต้องลอง
ร้านที่ถือเป็นสถาบันสร้างชื่อให้กับการกินสเต็กในปารีส มันเป็นประเพณีไปแล้วว่ามาปารีสต้องมากิน L’Entrecôte Porte Maillot, L’Entrecôte Saint-Germain หรือหลายคนเรียกว่า ‘สเต็กเข้าคิว หรือ’สเต็กต่อแถว’

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 7

สำหรับผู้ที่ต้องการกิน Steak Frites ที่มากับซอส Café de Paris แบบดั่งเดิมในปารีสต้องไปลองร้านในกลุ่มธุรกิจของนาย Paul Gineste de Saurs และครอบครัวที่ใช้ Business Model ของร้านคาเฟเดอปารีสในเจนีวาต้นตำรับมาทำให้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เนื่องจากซอสสเต็ก Café de Paris มันโด่งดังมากพอสมควรและชื่อซอส Café de Paris มันเหมือนบ่งบอกว่ามันเหมือนเป็นของปารีสอยู่แล้ว นาย Paul Gineste de Saurs ก็เห็นโอกาสที่เป็นสูตรสำเร็จ ในปี 1959 จึงเปิดร้านให้มีชื่อ เรียกว่า L’Entrecôte นำโดยร้าน Le Relais de Venise ที่เป็นชื่อนี้ก็เพราะเขาไป take over ร้านอาหารอิตาเลี่ยนที่ตกแต่งเป็นสไตล์เวนิชเดิมที่อยู่ในเขตปกครอง 17 ของกรุงปารีส แต่มันรู้จักกันในนาม L’Entrecôte Porte Maillot ร้านอาหารของ L’Entrecôte Porte-Maillot เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นของลูกสาวคนหนึ่งของเขาที่บริหารอยู่แล้วได้เปิดเพิ่มอีก 8 แห่งที่ดำเนินการภายใต้ใบอนุญาต 4 แห่งในลอนดอน หนึ่งแห่งในบาห์เรน สองแห่งในนิวยอร์ก และอีกแห่งหนึ่งในเม็กซิโก

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 8

สำหรับลูกชายของ Paul Gineste de Saurs ก็จะมีกลุ่มร้าน L’Entrecôte ที่อยู่ในเมืองต่างๆ ในฝรั่งเศสนอกจากปารีส ซึ่งมีที่ตั้งในตูลูส,บอร์โดซ์, น็องต์, มงเปลิเย และลียง

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 12

สำหรับอีกเชนจะเป็น ร้านอาหาร Le Relais de l’Entrecôte ที่ก็ดำเนินการโดยลูกสาวอีกคนของ Paul Gineste de Saurs โดยมีสามแห่งในกรุงปารีสและอีกแห่งหนึ่งในเจนีวา แต่ที่เก่าแก่และดังที่สุดอยู่เขตการปกครองที่ 6 ของปารีสเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ L’Entrecôte Saint-Germain กลุ่มนี้มีสาขาเพิ่มเติม 7 แห่งที่ดำเนินการภายใต้สัญญาอนุญาตในเบรุต ในคูเวตซิตี้ โดฮา, ดูไบ, ริยาด, ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 1

มันมีหลายสาขาอยู่แต่ถ้าคุณอยู่ที่ปารีสผมแนะนำให้ไปที่2แห่งนี้ครับ L’Entrecôte Porte Maillot,หรือ L’Entrecôte Saint-Germain หรือร้านตามที่อยู่ข้างล่างนี้ก็ได้

Le Relais de l’Entrecôte
15 rue Marbeuf
8th arrondissement

 

2.แบบคนท้องถิ่น

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 4

แน่นอนว่าถ้าเป็นคนท้องถิ่นหรือlocal แล้วต้องเลือกไปกินกลางวันที่บิสโทรร้านโปรดของตัวเอง จริงๆ แล้วมันคือวิถีชีวิตของแท้ขอชาวปารีส อย่างน้อย Bistros เป็นสถานที่ที่คุณวางใจได้ว่าจะได้กินอาหารคุณภาพตรงไปตรงมาและจ่ายบิลแบบสมเหตุสมผลแม้ว่าทุกวันนี้ ร้านบิสโทรทั้งหลายเริ่มมีราคาแพงขึ้นเล็กน้อยและมักขาดแคลนคุณภาพเมื่อเทียบกับยุคสมัยที่บรรพบุรุษของพวกเขาทำกัน

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 6

Bistrot Paul Bert เป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ยังคงมีทั้งความดั้งเดิมและอร่อยราคาสมเหตุสมผล สเต็กถือเป็นจานอร่อยพิเศษของที่นี่ และพ่อครัวยืนกรานว่าห้ามคุณระบุว่าจะเอาสุกมากสุกน้อย(ห้ามมายุ่ง)เพราะที่นี่จะทำแบบrare(เซนยอง saignant ในภาษาฝรั่งเศส)ให้คุณแบบเดียวครับ ไม่งั้นคุณต้องสั่งไก่หรือปลาแทนถ้าคุณจะกิน steak แบบ well done คนรักเนื้อจะได้รับความสนใจและดูแลพ่อครัวเป็นพิเศษ เอาเป็นว่าอร่อยแน่นอนครับจะสั่ง filet mignon, Entrecôte หรือจะเอา Côte de Boeuf มาแชร์กันก็ได้เลย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 5

Bistrot Paul Bert
18 rue Paul Bert
11th arrondissement

 

3.แบบคนพิถีพิถัน

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 10

ถ้าคุณเป็นคนพิถีพิถัน เน้นรสชาติของเนื้อและtexture ความนุ่ม คงต้องไปลองร้านนี้ ปกติในฝรั่งเศสจะไม่เน้นการบ่มหรือ ageเนื้อทิ้งไว้เท่าไหร่ก่อนนำมากิน ไม่เหมือนในอเมริกาหรือในสเปน ที่มีการบ่มแบบเปียกหรือแห้ง(wet aging or dry aging) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือน เพื่อรสชาติเข้มลึกและความนุ่มแบบที่เราไม่ได้สัมผัสกันบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเรามาที่ร้าน Le Severo เพื่อลองสั่งสเต็กแบบบ่มแห้งครับ

ไม่ว่าจะเป็นวิธีการบ่มแบบแห้งหรือเปียกหรือแบบไหนดีกว่ากัน? ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในวงการอาหารพอสมควร วิธีการบ่มแบบแห้งมีการสะสมเทคนิคและวิธีการมานมนานหลายศตวรรษแล้วในขณะที่บ่มแบบเปียก เพิ่งเกิดใหม่ไม่นานนี้

จริงๆ แล้วเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดได้รับประโยชน์จากการบ่มagingก่อนที่จะขายและบริโภค เพราะหลังการฆ่าเอนไซม์จไปทำงานย่อยสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อทำลายมันก็เลยทำให้มันนุ่ม ไก่ต้องการการบ่มสองสามวัน ในขณะที่หมูและเนื้อแกะต้องการ 1 สัปดาห์ แต่เนื้อต้องการประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือนหรือมากว่าแล้วแต่สูตรและกรรมวิธีประเภทหรือพันธุ์ของวัว

วิธีบ่มแห้ง Dry-Aged Beef

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 2

สำหรับการบ่มแห้งเนื้อจะถูกตัดเป็นชิ้นใหญ่แบบ Côte de Boeuf แล้วจะนำไปแขวนในห้องปรับอุณหภูมิที่โล่งไม่แออัดโดยปรับอุณหภูมิให้สูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย แล้วทิ้งไว้หลายสัปดาห์ปล่อยให้เอนไซม์ทำงานสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และในช่วงเวลานี้เนื้อก็จะค่อยๆแห้งคายน้ำออก (Dehydrating) เนื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัสtextureและรสชาติ ไปในทางที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของกระบวนการนี้คือเนื้อนุ่มมากที่มีรสเข้มข้นขึ้น แต่มีข้อเสียคือคุณสูญเสียเนื้อสัตว์(น้ำหนัก)เนื่องจากการสูญเสียความชุ่มชื้นซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงและเพิ่มต้นทุนต่อกิโล นอกจากนี้พื้นผิวของเนื้อสัตว์มักจะต้องถูกตัดออกไปก่อนที่เนื้อจะถูกแบ่งส่วนและขายส่งผลให้สูญเสียในเชิงปริมาณ

วิธีบ่มเปียก Wet-Aged Beef
City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 15

การบ่มเปียกเป็นเทคนิคล่าสุดที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของพลาสติกและเครื่องทำความเย็น ขั้นตอนก็คือการตัดเนื้อแล้วแพ็คปิดผนึกด้วยสูญญากาศในพลาสติกและจัดส่งไปยังตลาด การบ่มจะเกิดขึ้นในช่วง 4-10 วันระหว่างการชำแหละเนื้อแล้วจัดจำหน่าย คือเนื้อจะถูกบ่มในขณะที่เนื้ออยู่ในระหว่างการขนส่งแล้วนำไปวางขายนั่นเอง

เอนไซม์ยังคงมีเวลาที่จะทำให้เนื้อนุ่มพอที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับได้ และข้อดีก็คือไม่มีการสูญเสียน้ำหนักของเนื้อ เนื่องจากการคายน้ำ(Dehydrating) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงสำหรับผู้ผลิต และเนื้อไม่จำเป็นต้องถูกดูแลใกล้ชิดจัดห้องเย็นเก็บเหมือนการบ่มแห้งหรือต้องตรวจสอบบ่อยๆ ส่งผลให้ต้นทุนของผู้บริโภคลดลง

แล้วแบบไหนดีกว่า?

 

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 9

ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่างเนื้อบ่มแห้งและเปียกอยู่ที่รสชาติ เนื้อบ่มแห้งจะมีรสเข้มข้นแบบถั่วคั่ว (Roasted nutty flavor) ในขณะที่เนื้อบ่มเปียกจะได้ลิ้มรสโลหะ (Metallic) เล็กน้อยและไม่มีรสชาติที่มีความลึกและเข้มเท่า

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 11

เรากลับมาคุยถึงร้าน Le Severo ที่มีอดีตพ่อค้าเนื้อ (butcher) William Williamet ดูแลเรื่องการบ่มแห้งและชำนาญในด้านนี้ ทำให้ใครที่ไปร้านนี้รู้สึกว่าได้เข้าสู่สเต็กเฮาส์แบบอเมริกัน แต่ไม่ใช่อย่างแน่นอนที่ร้านเลอเซเวโรจะมีอาหารเรียกน้ำย่อยหลักและจานเนยแข็งที่ยอดเยี่ยม แบบหาได้ในร้านฝรั่งเศสแท้ๆ เท่านั้น รวมทั้งของหวานที่ไม่ควรมองข้าม

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 13

Le Severo
8, rue des Plantes
14th arrondissement

 

4.แบบเน้นซอสหลากหลาย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 14

ที่ถนนมองเตอเกยล์ (Rue Montorgueil) นั้นเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ไม่ใช่แป็นแค่ภาพที่ Monet วาดไว้ในปี 1878 ที่เป็นเรื่องราวของถนนในกรุงปารีสแห่งนี้เต็มไปด้วยชีวิต เพราะมันเคยเป็นศูนย์รวมของชาวปารีสเนื่องจากตลาดสดเลอาน ( Halles market )อยู่แถวนั้น ที่นี่มีร้านแบบบิสโทรเสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสแท้ๆอยู่ร้านคือร้านนึงชื่อ Aux Tonneaux des Halles ซึ่งเป็นร้านอาหารฝรั่งเศสที่โดดเด่นเรื่องซอสสเต็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีซอสหลากหลายรูปแบบให้เลือก

รับประทานอาหารในบรรยากาศง่ายๆ เป็นกันเอง เมนูอาหารแบบโฮมเมดปรุงจากวัตถุดิบสดใหม่แต่ถ้าต้องการให้เป็นเรื่องเป็นราวล่ะก็ อยากให้ลองสั่ง côte de bœuf สเต็กแอ็กนัสสีดำขนาดซัก 1 กิโลกรัมกับมันฝรั่งทอดมาแบ่งปันกันกับเพื่อนร่วมเดือนทางของคุณ แล้วก็เลือกบูร์โกณหรือบอกร์โดแดงสักขวด นั่งดูคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นไปด้วยเพราะแถวนั้นมีความคึกคักอยู่ไม่น้อย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 3

Aux Tonneaux des Halles
28, rue Montorgueil
1st arrondissement

City Break Paris Part XXVII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 27

กินสเต็กให้อร่อยในปารีส
เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงพื้นฐานเรื่องการกินสเต็กในปารีสแบบคร่าวๆ ไปแล้ว คราวนี้จะมาแนะนำว่าควรต้องลองสั่งอะไรและไปกินที่ร้านไหนกันดี ที่เป็นร้านสเต็กร้านโปรดของชาวปารีเซียง แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเรากำลังแนะนำมื้อกลางวันดังนั้นรูปแบบจะไม่ได้เป็นร้านแบบภัตตาคารหรูหราที่ต้องใส่สูทเข้าไป มีเมนูยาวเหยียดหรือไวน์ลิสต์ที่มีให้เลือกเยอะจนทำตัวไม่ถูก แต่ร้านที่จะแนะนำนั้นเป็นแบบ ‘เรียบง่ายแต่ได้สาระ’ ใครที่ไปก็จะเป็นนักกินสเต็กแบบปารีสแท้ ไม่ใช่แบบญี่ปุ่นหรือแบบอเมริกัน แนะนำให้ลองสั่งสเต็ก 4 จานคลาสสิกนี้ แล้วตามด้วยการเลือกpairกับซอส สเต็กสุดคลาสสิก 4 รูปแบบเช่นกัน

Top 4 Classic Steak Dishes in France สุดยอดสเต็ก 4รูปแบบของฝรั่งเศส

1. Entrecôte องเตรอะโก๊ต หรือ Steak Frites: ที่สุดของสเต็กจานคลาสสิก

City Break Paris 27 Eat Steak in France 12

Steak Frites มักใช้cutส่วน entrecôte องเตรอะโก๊ตซึ่งก็คือ Rib eyes แล้วก็มีเครื่องเคียงเป็น Frites ฟริตต์หรือ French fries (จริงๆมันฝรั่งทอดนี้ชื่อบ่งบอกว่าเป็นฝรั่งเศสแต่ความเป็นจริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากเบลเยี่ยม) เป็นบางคนอาจชอบสั่งส่วน faux fillet หรือสันนอกcoulotte ซึ่งก็คือ top sirloin หรือ tenderloin สำหรับผู้ที่ชอบ lean cut หรือไขมันน้อย แต่ผมว่ามันสู้ entrecote ไม่ได้ถ้าจะกิน Steak Frites และจานนี้ปกติแล้วมันง่ายๆแค่มี Moutarde de Dijon มูตาร์ เดอดิจง หรือ Dijon mustard ก็พอแล้ว (มาสตาร์ด ดิจงถือเป็นgourmet classในบรรดามัสตาร์ดทั้งหลายมีต้นตำรับจากเมือง Dijon ในย่าน Burgundy,หรือบูร์โกญ ผลิตมัสตาร์ดมาตั้งแต่สมัยยุคกลางได้ขึ้นโต๊ะเสวยของกษัตริย์ ฟิลิปป์ที่ 6 มาตั้งแต่ปี 1336) จานนี้ไม่ควรกินกับซอสมะเขือเทศ ketchup แบบอเมริกันที่เราคุ้นเคย เพราะchef ฝรั่งเศสหลายคนมักมองว่ามันทำให้เสียของควรกินแบบฝรั่งเศสดีกว่าจะได้รสชาติแท้ๆ

2. Filet Mignon ฟิเลย์มินยง
มันหมายถึง “เนื้อนุ่ม” เป็นเนื้อสเต็กที่นำมาจากปลายด้านล่างช่วงแคบของเนื้อสันนอก Tenderloin ในภาษาฝรั่งเศส cutนี้ยังสามารถเรียกว่า filet de bœuf มันมักถูกตัดออกเป็นชิ้นหนา 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว

มันมาจากส่วนเนื้อที่นุ่มที่สุดและยังเป็นที่ต้องการมากที่สุดและมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีปริมาณน้อยและเพราะเนื้อส่วนนี้อยู่ด้านในจึง ไม่มีกล้ามเนื้อเหมือนส่วนของเนื้อที่เคลื่อนไหวมากๆ พอไม่มีกล้ามก็ทำให้มันนุ่มมากแต่มีข้อเสียคือส่วนนี้เป็นเนื้อ lean รสชาติอาจสู้ส่วนที่มีติดมันไม่ได้จึงมักจะมีการห่อเบคอนมารอบนอกของสเต็กเพื่อเพิ่มรสชาติและ / หรือเสิร์ฟพร้อมกับซอส

3. สเต็ก Chateaubriand (ชาโตบริยง)
เป็นอาหารจานเนื้อที่เกิดจากเมนูอาหารของชนชั้นสูงของฝรั่งเศส

City Break Paris 27 Eat Steak in France 15

“Chateaubriand เป็นเนื้อสเต็กชิ้นหนามาจากส่วน cut ที่หนานุ่มที่สุดของเนื้อซึ่งก็คือจากส่วนสันนอกหรือ tenderloinนั่นเอง

อาหารเนื้อจานนี้ ได้รับการตั้งชื่อตามนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่เป็นรัฐบุรุษ Francois Rene, ท่านเคาท์แห่งชาโตบริยง (Vicomte de Chateaubraind ) ซึ่งเป็นนักการทูตสมัยนโปเลียนโบนาปาร์ต และต่อมาได้เป็นเลขาธิการแห่งรัฐในสมัยหลุยส์ที่ XVIII แห่งประเทศฝรั่งเศส นามสกุลของเขาจึงถูกใช้เป็นที่มาของอาหารเนื้อจานนี้ โดยเนื้อในตำราระบุว่าจะต้องมาจากวัวคุณภาพที่เลี้ยงในเมือง Châteaubriant ในแค้วน Loire-Atlantique ประเทศฝรั่งเศส และสูตรการทำก็ถูกคิดค้นโดยพ่อครัว Montmirail ซึ่งเป็นพ่อครัวส่วนตัวของท่านเคาท์ในปี ค.ศ. 1822 เมื่อ Vicomte de Chateaubriand เป็นทูตฝรั่งเศสในกรุงลอนดอน โดยสเต็กจานนี้จะต้องกินกับนี้ซอส bearnaise

4.côte de boeuf (โก๊ตเดอเบอฟ)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 8

สำหรับนักกินเนื้อมืออาชีพแล้วการกินสเต็กชิ้นไม่ใหญ่แบบ 3 รายการที่แนะนำด้านบนคงไม่สะใจ เพราะมันเหมือนยั้งๆอยู่ ถ้างั้นคงต้องแนะนำ ‘The Mother of All Steak’ หรือเจ้าแห่งสเต็กในฝรั่งเศส ที่มีชื่อเรียกว่า côte de bœuf

City Break Paris 27 Eat Steak in France 4

มันคือส่วนชายโครงบริเวณต่อเนื่องกับ rib eye แต่มีการตัดหนาและติดกระดูกมาด้วย (Bone-in) ส่วนใหญ่ชิ้นหนึ่งก็เฉลี่ยจากเกือบกิโลไปจนถึงเกือบ 2 กิโลเลยก็มี ดังนั้น côte de bœuf มักจะสั่งมาแชร์กันสำหรับ 2 คนอย่างต่ำ บางชิ้นใหญ่มาก(ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของวัวและการขุนมาให้ตัวใหญ่แค่ไหนดูจากรูปด้านล่าง) ก็แชร์กันทั้งครอบครัวเล็ก(3-4คน)ไปเลย

City Break Paris 27 Eat Steak in France 11

มีบริษัทขายเนื้อหรือ Chef หลายคนให้ความเห็นว่าเนื้อติดกระดูกมาด้วย(Bone-in)นั้นจะมีรสชาติดีกว่าจะมี”depth and complexity” ก็คงเหมือนเราเคี่ยวน้ำซุปที่มีซี่โครงหรือเนื้อติดกระดูกกับชิ้นเนื้อเฉยๆ มันอร่อยสู้กันไม่ได้ แต่ก็มีข้อถกเถียงเพราะ Professor Jeffrey W. Savell, หัวหน้าคณะ Meat Science Section in the Department of Animal Science ที่ Texas A&M; Universityได้ทำวิจัยออกมาแล้วพบว่าความแตกต่างแทบไม่มี

City Break Paris 27 Eat Steak in France 2

เนื่องจากสเต็กนี้มีความหนาดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการทำอาหารจึงใช้กระบวนการสองขั้นตอน เริ่มต้นด้วยการsearบนกระทะร้อนหรือเตาย่างก่อน (direct heat) ประมาณ 3 นาทีต่อข้าง จากนั้นให้ย้ายมาวางไว้ในส่วนที่ไม่ร้อนจัด (indirect heat) ของเตาย่างหรือเอาเข้าเตาอบต่อจนกว่าจะถึงอุณหภูมิที่ต้องการคือ 130-135 องศาฟาเรนไฮต์ที่ใจกลางเนื้อ

อย่างไรก็ตามจาน Steak แต่ละแบบสามารถเพิ่มความหลากหลายได้ไม่เบื่อด้วยซอสที่ราด ที่จริงกินแบบไม่มีซอสพิเศษเลยก็ได้รสชาติเต็มๆอยู่แล้ว แต่บางคนบอกว่ามันแห้งไปอยากมีซอสราดด้วยก็ต้องนี่เลยครับในบรรดาสุดยอดสเต็กซอสสุดคลาสสิกที่เป็น Top 4 ดังนี้

 

Top 4 Steak Sauces in France สุดยอดสเต็กซอส4รูปแบบของฝรั่งเศส

1. ซอส Café de Paris

City Break Paris 27 Eat Steak in France 6

ชื่อเหมือนบ่งบอกว่ามาจากปารีสแต่ซอสนี้มาจากเจนีวา(ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเหมือนกัน) มันเป็นซอสเนยที่มีความซับซ้อน(มีสูตรที่เป็นความลับ) ซึ่งเสิร์ฟพร้อมสเต็ก entrecote มาตั้งแต่ยุคปี 40 มีต้นตำรับมาจาก นายBoubier พ่อตาของนาย Arthur-François (Freddy) Dumont เจ้าของร้านชื่อ เช่ ดูบิเอ คาเฟ่เดอปารีส์ ในเจนีวา ที่อยู่บนถนนมงบล็อง โดยสเต็กจะถูกหั่นเป็นชิ้น ๆวางบนซอสนี้มาและเมนูจานนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “entrecote Café de Paris”

City Break Paris 27 Eat Steak in France 9

ที่เยี่ยมยอดก็คือ Business Model ของร้านที่จัดเซ็ทอาหาร (ราคา 42..50 ฟร็องสวิส) แบบไม่ให้ลูกค้าเลือกคือมีเมนูเดียวลูกค้าสั่งได้แค่จะเอาสุกปานกลางหรือสุกกึ่งดิบเท่านั้น นอกนั้นทุกอย่างก็จะมาตามภาคบังคับ โดยจานแรกจะเริ่มต้นด้วยสลัด Romaine กับวอลนัทและน้ำสลัดแบบ vinaigrette ต่อด้วยจานหลัก entrecote Café de Paris ที่สเต็ก (180 grammes)จะถูกหั่นเป็นชิ้น และเสิร์ฟพร้อมกับซอส Café de Paris พร้อมกับfritesมันฝรั่งทอดที่ยอดเยี่ยมที่เติมได้ 3 หน และจานสเต็กนั้นมักจะต้องตั้งไว้บนตะแกรงสเตนเลสที่มีไฟลนให้ความร้อนตลอด เนื่องจากซอสมักจับตัวเป็นก้อนเมื่อเริ่มเย็น ส่วนของหวานต้องสั่งเพิ่มเอง

City Break Paris 27 Eat Steak in France 13

และเนื่องจากร้านนี้อยู่ใกล้สถานนีรถไฟ Cornavin ของเมืองเจนีวา ซึ่งเป็นเมืองนานาชาติเป็นที่ตั้งของสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศมากมายทำให้นักการฑูตและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายมากินบ่อยแล้วช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง ทำให้ในปัจจุบันมีร้านที่เปิดภายใต้ใบอนุญาตของร้าน Café de Paris ในเมืองเจนีวาต้นตำรับนี้ที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง เช่น À l’Entrecôte ใน Sion (Switzerland), Brasserie L’Entrecôte ในลิสบอนและปอร์โต และร้านอาหาร Entrecôte Café de Paris ในดูไบ, คูเวตริยาด, ฮ่องกง และสตอกโฮล์ม

จริงๆ แล้วที่กรุงเทพฯเราก็สามารถไปลองทานสเต็กที่เป็นแบบ entrecote Café de Paris ได้ เพราะคุณ David จากเจนีวาชาวสวิสก็ใช้ Business Model แบบเดียวกันมาเปิดร้าน Le Boeuf ที่แปลว่า ’เนื้อ’ รสชาติไม่ต่างกันมากมีมาตรฐานอาหารดีมากและราคาสมเหตุสมผลครับ

City Break Paris 27 Eat Steak in France 14

Chez Boubier Cafe de Paris rue du Mont-Blanc 26, Geneva 1201, Switzerland (Cornavin)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 7

2. ซอสพริกไทย (Au poive)

ซอสสเต็กคลาสิกอีกตัวที่สามารถสั่งได้ในร้านฝรั่งเศสทั่วไปก็คือซอสพริกไทยที่มีการเคลมว่าผู้คิดสูตรนี้ขึ้นมาก็คือChefs ฝรั่งเศสที่ชื่อ E. Lerch เมื่อปี 1930, ตอนที่เขาทำงานอยู่ที่ Restaurant Albert บนถนน Champs-Elysees; และก็มี Chef M. Deveau ในปี 1920, ที่ภัตตาคาร Maxim’s อย่างไรก็ตามภายหลังมีหลักฐานว่าเมนู steak “au poivre” นั้นมีการพิมพ์เป็นเมนูและใช้เสิร์ฟจริงที่ Hotel de Paris at Monte Carlo ในปี 1910, ที่ตลกไปกว่านั้นภายหลังก็มีนาย O. Becker มาบอกว่าสูตรนี้เป็นของเขาตอนทำอยู่ที่ภัตตาคาร Palliard’s ในปี 1905 แต่ไม่ว่าใครจะคิดมันก็เป็นซอสสเต็กที่ดังไปทั่วโลก

City Break Paris 27 Eat Steak in France 10

มันเป็นซอสที่มักทำในกระทะที่ทอดสเต็กโดยเนยผัดหอมแดงเครื่องเทศกับเม็ดพริกไทยทุบชนิดต่างๆ เช่น สีดำ, สีเขียว และสีชมพู โดยมีการใช้คอนยัคล้างกระทะ (deglace) จุดไฟ (Flambé’) ตามด้วยส่วนผสมอื่นๆ เช่น มัสตาร์ด Dijon และครีมข้น หรือ Crème fraîcheใช้ราดลงบน Entrecôte กินกับ French Fries หรือสลัดผัก แล้วสุดยอด ดูวิธีทำ steak frites”au poivre” ตามลงค์ข้างล่างนี้

http://www.foodandwine.com/blogs/best-wine-pairings-grilled-steak

3 ซอส Bordelaise (บางครั้งก็เรียกกันว่า red wine sauce หรือ marchand du vin)
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไวน์แดงนั้นมันเข้ากับสเต็กแบบขาดกันไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะไวน์สไตล์ Caret หรือสไตล์บอร์กโดซ์ที่เป็น full body หนักแน่น และกลมโดยมีแทนนินในปริมาณสูงที่ทำให้ดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก ที่บอกร์โดซ์จึงนิยมกินสเต็กและมีซอสที่เป็นต้นตำรับของที่นี่

City Break Paris 27 Eat Steak in France 5

ซอส Bordelais เป็นซอสแบบฝรั่งเศสคลาสสิกที่ตั้งชื่อตามแคว้นบอร์กโดซ์ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีชื่อเสียงในด้านไวน์ ซอสปรุงด้วยน้ำซุปเนื้อ, ไวน์แดง แบบdry, ไขกระดูก, เนย, หอมแดง และ sauce demi-glace

4. ซอส Béarnaise (แบ่ร์เนส)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 3

ซอส Béarnaise หรือซอสครีมข้นสีเหลืออ่อนนี้ถูกคิดขึ้นโดยพ่อครัว Collinet เจ้าของสูตรพัฟฟ์มันฝรั่ง (pommes de terre soufflées) โดยซอสนี้มีการเสิร์ฟครั้งแรกในปี1836 ที่ Le Pavillon Henri IV ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับการตั้งชื่อตามพระเจ้า Henry IV of France ซึ่งเป็นผู้มีรสนิยมเรื่องการเสวย และท่านถือว่าเป็นชาว bearnaise เพราะประสูติในภูมิภาคBéarn จึงมีการตั้งชื่อซอสนี้เพื่อเป็นเกียรติ

City Break Paris 27 Eat Steak in France 1

เป็นซอสที่ทำจาก clarified butter เนยที่ไปตีกับไข่แดงและน้ำส้มสายชูไวน์ขาว และปรุงแต่งด้วยสมุนไพร มันถูกเรียกว่าเป็น “ซอสลูก” ของ Hollandaise ซอสซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของซอสหลักของอาหารฝรั่งเศส ความแตกต่างมีเฉพาะแค่เครื่องปรุง: Béarnaiseใช้หอมแดงเชอร์วิลพริกไทยเม็ดมะม่วงหิมพานต์และ tarragon เคี่ยวกับน้ำส้มสายชูและไวน์ขณะที่ Hollandaise ใช้น้ำมะนาวหรือไวน์ขาวและพริกไทย

City Break Paris Part XXVI

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 26

กินสเต็กให้อร่อยในปารีส

City Break Paris Eat Steak in Paris 5

เราพูดถึงอาหารฝรั่งเศสที่เป็นจานเปิดไปแล้วพอสมควร มาคราวนี้ก็เลยจะเล่าเรื่องอาหารจานหลักซึ่งพอเป็นจานหลักสำหรับอาหารตะวันตก หลายๆ คนก็จะนึกถึงสเต็กเป็นอย่างแรก แน่นอนว่าถ้าเรามาปารีสคงต้องมีสเต็กซักมื้อนะครับ แต่สเต็กฝรั่งเศสก็จะแตกต่างกับอังกฤษอเมริกันบางจุด โดยเฉพาะในส่วน Cut หรือชิ้นเนื้อที่เอามาทำ เช่นของฝรั่งเศสจะไม่มีส่วน T-Bone หรือ Porterhouse ในขณะเดียวกันก็จะแตกต่างกับ Wagku ของญี่ปุ่นตรงที่ที่นี่จะไม่นิยมเนื้อที่มีไขมันแทรกเยอะแบบเนื้อเกรด A5 ของญี่ปุ่นที่นุ่ม จนให้ความรู้สึกเหมือนมันละลายในปาก เพราะที่นี่ไม่ได้ไปทุ่มเทกับการขุนวัวเน้นให้วัวอยู่ในคอกเหมือนที่ญี่ปุ่น คือในฝรั่งเศสจะปล่อยให้โตตามธรรมชาติในทุ่งหญ้าที่อุดมสมบรูณ์เป็นหลัก(ยกเว้นหน้าหนาว)และก็ไม่ได้มีพันธุ์วัวเนื้อที่โดดเด่นเหมือนแองกัสที่มีต้นกำเนิดในสก๊อตแลนด์ทางเหนือของอังกฤษ แล้วก็ไปเป็นต้นสายพันธุ์ของอเมริกันแองกัสที่มีส่วนผสมของอเมริกันเขายาว(long horn) แต่ถึงกระนั้นประสบการณ์ในการได้กินสเต็กในปารีสก็ไม่ได้เป็นรองที่ไหน เพราะฝรั่งเศสจะโดดเด่นเรื่องสเต็กซอสและเครื่องเคียงของสเต็ก และแน่นอนที่สุดก็คือเครื่องดื่มที่ควบคู่กับการกินสเต็กของคุณ ซึ่งมันคือไวน์แดงนั่นเอง

City Break Paris Eat Steak in Paris 7

ถ้าท่านเป็นนักกินสเต็กแบบมืออาชีพหน่อยก็ต้องดู เรื่องแรกคือดูว่าเนื้อมาจากไหนที่ที่มีวิธีการขุนมีกรรมวิธีการเลี้ยงการให้อาหารแบบที่จะทำให้เนื้อวัวนุ่มไม่มีกล้ามมีพังผืดมีเอ็นมากไป ซึ่งคงเกี่ยวกับท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยว่ามีดินดีน้ำดีหญ้าดีอากาศดีไหม คือต้องทำให้วัวมีความสุขด้วยนะครับ ถ้าพูดถึงเนื้อพรีเมียมของฝรั่งเศสมีดังนี้ครับ จากวัวพันธุ์ Limousin แถวเมืองLimoges, Charolais จากBurgundy, Salers จาก Auvergne และ Aubrac จาก Auvergne และจากความเห็นของ chef เจ้าของตำราอาหารหลายเล่ม David Lebovitz ซึ่งบอกว่าไม่เคยทานเนื้อที่ไหนที่ดีเท่าเนื้อ Bazas จากแค้วน Aquitaine

Aubrac
Aubrac เป็นสายพันธุ์ฝรั่งเศสที่เก่าแก่จากเขต Auvergne ที่วัวพันธุ์เนื้อเขายาวมีภูมิต้านทานโรคสูง เลี้ยงง่าย

City Break Paris Eat Steak in Paris 1

 

Bazadais
Bazadais (หรือ Bazadaise) เป็นโคพันธุ์เนื้อมีชื่อของฝรั่งเศส สายพันธุ์นี้มาจากวัวโบราณที่เลี้ยงใน Bazas เมืองเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของบอร์โดซ์ ซึ่งใช้ทำสเต็กจานเด็ดของบอร์โดซ์คือ entrecote a la bordelaise

City Break Paris Eat Steak in Paris 2

 

Charolais
วัว Charolais เป็นโคเนื้อ ซึ่งมีต้นตอมาจาก Charolais ย่าน Charolles ในประเทศฝรั่งเศส พวกมันถูกเลี้ยงดูมาเพื่อเป็นวัวเนื้อและมีคุณสมบัติเหมาะกับการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Angus และ Hereford ของอังกฤษ

City Break Paris Eat Steak in Paris 8

 

Limousin
วัวลีมูแซงเป็นสายพันธุ์ของวัวเนื้อที่ปริมาณเนื้อสูงต่อน้ำหนัก เกิดจากเขต Limousin และ Marche ของประเทศฝรั่งเศส

City Break Paris Eat Steak in Paris 11

 

เรื่องที่สองก็คือต้องดู ‘Cut’ คือว่าตัดมาจากส่วนไหน ชอบติดมันหรือชอบแบบleanแต่นุ่ม ตัองเลือกซะหน่อย

ในปารีส cut ที่นิยมสูงสุดจะมี Top 5 ดังนี้

City Break Paris Eat Steak in Paris 10

1. Entrecôte (องเทรอะโก๊ต)หรือส่วนที่เป็น Rib eye นั่นเอง จะเป็นชิ้นที่ในฝรั่งเศสไม่นิยมตัดหนามากแต่นุ่มเพราะว่ากันว่าสเต็กที่มาจากส่วนของเนื้อที่ติดชายโครงนั้นเป็นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวน้อย หมายถึงไม่มีการออกกำลังมันจึงไม่มีกล้ามเนื้อหรือ muscle แถมมีไขมันแทรกเลยทำให้มันอ่อนนุ่ม(tender) และได้รสชาติก็ตรงไขมันนี่แหละครับเป็นที่ต้องการของนักบริโภคสเต็กทั้งหลาย
2. Faux filet (โฟ ฟิเลต์) หรือส่วนสันนอก คือเนื้อที่อยู่ด้านหลังเหนือแถบกระดูกสันหลังสำหรับคนที่นิยมเนื้อตัดแบบหนาและมันน้อยแต่นุ่ม คือที่เรารู้จักกันในชื่อ Sirloin
3. Filet, tournedo( ฟิเลต์,ตูร์เนโด) หรือส่วนสันใน ถ้าเป็นในชื่อที่เรารู้จักก็คือ Tenderloin คือส่วนที่นุ่มที่สุดและแถบมีไขมันเลย เป็นชิ้นส่วนของเนื้อที่อยู่ตามแนวหลังด้านล่างของกระดูกสันหลังและในบรรดาสันในช่วงกลางและปลายก็มีแยกย่อยไปเป็นส่วน Filet Mignon ชิ้นหนา จากด้านปลายแคบของเนื้อที่อยู่ตามแนวล่างกระดูกสันหลัง, หรือส่วน Châteaubriand มาจากส่วนหนาจากช่วงใจกลางของเนื้อที่อยู่ตามแนวล่างกระดูกสันหลังเนื้อสันส่วนหลัง
4. rumsteck (รัมสเต็ก)เป็นบริเวณเนื้อขนาดใหญ่ที่ด้านหลังใกล้หางตัดเป็นที่ๆใกล้กับส่วนสะโพกหรือ top round
5. bavette (บาเว๊ต) ในรูปด้านบนคือเบอร์7 เป็นเนื้อเรียบจากหน้าท้องก่อนถึงหน้าขาหลัง

เมื่อสั่งสเต็กในประเทศฝรั่งเศสเราต้องระบุระดับของความสุกของสเต็กดังนี้
• Au bleu (โอ เบลอ) คือดิบๆ โดยมีการจึ่ (Sear) เฉพาะด้านนอกไม่นานคือให้ร้อนเท่านั้นแต่เนื้อด้านในยังเย็นมีลักษณะแบบเจล อยู่มีสีแดง 90% เคี้ยวยากไม่มีjuiceหรือฉ่ำน้ำ
• Saignant (เซิยนยอง) คือ Rare ก็คือยังไม่สุกแต่ด้านเนื้อในมีความรู้สึกอบอุ่น มีสีแดง 75% มีความนุ่มและฉ่ำมาก
•À point (อา ปวง) กึ่งดิบหรือประมาณ medium rare ด้านในเป็นมีสีแดง 50% ขอบด้านในเป็นสีชมพูมีความนุ่มและฉ่ำปานกลาง
• Bien (เบียง) เป็นอะไรที่ชาวอเมริกันเรียกว่า medium หรือปานกลางใกล้สุกมีสีชมพู 25%ด้านในมีความนุ่มและฉ่ำน้อย
• Bien cuit (เบียงคุยต์) แม้ว่าจะมีคำแปลตรงๆ แบบที่ชาวอเมริกันเรียกว่า well done แต่ chef ชาวฝรั่งเศสมักไม่อยากทำsteak แบบ well done ให้ใครเพราะมันไม่มีรสชาติและทำให้เสียของเปล่าๆ ดังนั้นในความหมายของ เบียงคุยต์ เมื่อถ่ายทอดไปให้พ่อครัว เนื้อจะออกมาในลักษณะ medium well มากกว่าคือเป็นแบบสุกกำลังดีด้านในยังเห็นเป็นสีชมพูจางๆ แต่เนื้อเริ่มเหนียวเคี้ยวยากขึ้น แต่ผู้ที่สั่งแบบต้องการให้สุกมักคิดว่าเนื้อดิบจะมีแบคทีเรีย ซึ่งแตกต่างจากบรรดาเซียนกินสเต็ก เค้าจะบอกว่าแบคทีเรียจะอยู่ด้านรอบนอกของชิ้นเนื้อเท่านั้น หากมี การจึ่ (Sear) หรือแนบกดกับกระทะร้อนจัด แบคทีเรียที่อยู่ด้านนอกก็ตายหมดแล้ว

City Break Paris Eat Steak in Paris 9

Credit pic: http://www.dantesdevine.com

 

พูดถึงการจี่ หรือ sear นั้น ก็เป็นเทคนิคการทำสเต็กแบบ pan fry ซึ่งที่ฝรั่งเศสนิยมทำโดยเฉพาะ กับ Entrecôte (องเทรอะโก๊ต)หรือส่วนที่เป็น Rib eye

การทอด หรือ pan fry มีขั้นตอนที่อาจต้องเข้าเตาอบต่อด้วยหากว่าเนื้อชิ้นหนาและหลังจากทอดหรืออบต้องมาผ่านขั้นตอนที่เรียกว่าการพัก(rest)ก่อนเสิร์ฟ วิธีที่ดีที่สุดในการทำสเต็กคือการไม่ทำให้มันสุกเกินไป เพราะมันจะสุกต่อตอนพักสเต็กอีก

มาถึงตรงนี้เรามาพูดถึงวิธีการทำสเต็กสูตรดั่งเดิม Butter-basted Pan-seared แบบง่ายๆ แบบพ่อครัวฝรั่งเศสซึ่งมีขั้นตอนไม่ยากดังนี้

1. กระทะที่ใช้ควรต้องเป็นกระทะเหล็กหล่อ cast iron pan ที่มีน้ำหนักมากนั่นคือมีส่วนประกอบของเหล็กสูงไม่ปนโลหะอื่น ที่สำคัญไม่ควรเป็นมีการเคลือบผิวด้วย Teflon หรือ ceramic อาจเป็น searing plate ที่เป็นแผ่นทองแดงหรืออลูมิเนียมที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมยังดีกว่า สำหรับยี่ห้อ cast iron pan ที่เราหาซื้อได้ที่เป็นของฝรั่งเศสที่ใช้ได้ก็คือ De Buyer

City Break Paris Eat Steak in Paris de buyer 1

City Break Paris Eat Steak in Paris de buyer grillpfanne

2. เปิดไฟที่เตาที่ medium high ถึง High ขึ้นอยู่กับว่าเตาใครให้ความร้อนระดับไหนแล้วตั้งกะทะใส่น้ำมันสัก 1 ช้อนโต๊ะอาจเป็นน้ำมันดอกคาโนล่าก็ได้ เพราะถ้าใช้น้ำมันมะกอกจะไหม้เร็ว ควันเยอะ มันมีจุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่า

City Break Paris Eat Steak in Paris 4

3. เอาสเต็กลงเมื่อควันเริ่มขึ้น อย่าลืมว่าสเต็กต้องมีการเตรียมคือควรต้องเอาออกจากตู้เย็นก่อนทำโดยใช้กระดาษ paper towel ซับให้แห้งสนิทแล้วโรยด้วยเกลือพริกไทอย่างดีแบบหยาบที่ใช้เครื่องบดยิ่งดีเพราะเมื่อจี่จะเกิดเป็น crust ที่ผิวด้านนอก จากนั้นพักเนื้อไว้ที่อุณหภูมิพอเหมาะอย่างต่ำสัก 20 นาที

City Break Paris Eat Steak in Paris 3

Credit pic: www.splendidtable.org

4. ทอดแบบที่เรียกว่าจี่หรือ sear เพื่อทำให้ผิวด้านนอกสุกกรอบ ป้องกันไม่ให้น้ำในเนื้อออกมาได้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการทำให้ด้านในสุกจนเกินไป ให้ทำที่ละด้านโดยด้านนึงใช้เวลา 4 ถึง 10 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นสเต็ก แต่พอกลับหน้าให้ลดเวลาลงไป 20% อย่างไรก็ตามสูตรสมัยใหม่บอกว่า ไม่ต้องทำทีละด้านแบบเดิมก็ได้ให้พลิกด้านทุก 30 วินาทีจะทำให้ความร้อนได้เท่าเทียมกันดีกว่า(ให้ลดความร้อนของเตาถ้าเนื้อเป็นสีน้ำตาลไหม้เร็วเกินไป) โดยที่พอผ่านไปซักระยะให้สไลด์เนยลงไปสัก 2-3 ช้อนโต๊ะพอเนยละลายก็ให้ใส่เครื่องเทศที่เราชอบลงไป เช่น กระเทียมสด โรสแมรี่หรือใบไทมม์ ก็ได้ แล้วใช้ช้อนตักเนยที่ละลายแล้วมีกลิ่นเครื่องเทศวิดราดบนสเต็กบ่อยๆ

20121205-big-steak-in-a-skillet-porterhouse- - 31

Credit pic: www.splendidtable.org

กลับด้านโดยใช้ที่คีบ (tongs เพราะถ้าใช้ส้อมจิ้มอาจทำให้น้ำในสเต็กออกมา) เมื่อครบกำหนดเวลาทำเช่นเดียวกับอีกด้าน อย่าลืมจี่ด้านสันหรือขอบด้วย เคล็ดลับเรื่องเนยก็คือ ใส่ก่อนนานไม่ได้เพราะเนยไหม้เร็ว แต่ที่สำคัญเนยทำให้สีของสเต็กเข้มสวยและมีกลิ่นหอมน่ากิน

City Break Paris Eat Steak in Paris 12

5. เมื่อครบเวลาตามกำหนดทั้ง 2 หน้า ถ้าสเต็กชิ้นบางก็อาจนำไปพักเลยแต่ถ้าชิ้นหนาก็อาจต้องเข้าเตาอบต่อที่อุณหภูมิ pre heat ที่ไว้ก่อนแล้วที่ 375องศาF (เวลาในการอบเตาจะอยู่ที่ใดก็ได้ตั้งแต่ 5-15 นาทีขึ้นอยู่กับความชอบที่ต้องการของสเต็กของคุณเป็น rare หรือ medium สำหรับ rare อุณหภูมิด้านในสเต็กไม่ควรเกิน 140-145 องศาF และสำหรับmediumที่ 155-160 องศาF โปรดอย่าลืมว่าอุณหภูมิจะยังคงทำให้สเต็กสุกต่ออีกระยะนึงหลังจากที่เอาสเต็กออกจากเตา จึงขอแนะนำให้ดึงกระทะออกก่อนเวลาเล็กน้อยก่อนเพื่อที่จะความสุกหรือ doneness ที่ต้องการ)

20121205-big-steak-in-a-skillet-porterhouse- - 30

Credit pic: www.splendidtable.org

6. ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญมากคือต้องให้มีขั้นตอนการพัก(rest)สเต็ก สัก 5นาทีก่อนเสิร์ฟ ตอนนี้สเต็กจะยังสุกต่อไปอีกเล็กน้อยอาจหุ้มด้วยกระดาษฟอยล์หลวมๆ ก็ได้ และจึงนำมาหันตามขวาง (across the grain) เพื่อให้เคี้ยวง่ายขึ้นอีกหน่อย

การทำสเต็กยังทำด้วยการ Grill หรืออบได้ และข้างล่างนี้เป็นตารางความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับอุณหภูมิและเวลาในการทำกรณีที่เป็นการอบ

City Break Paris Eat Steak in Paris 6

 

คราวหน้าเราจะมาพูดถึงซอสสเต็กแบบต่างๆ ของฝรั่งเศส ที่เราควรต้องลอง และแน่นอนว่าจะมีร้านสเต็กชื่อดังที่ควรไปลองมาแนะนำด้วย

City Break Paris Part XXIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 23
เราจะมาพูดถึงบรรดาอาหารฝรั่งเศสแบบคลาสสิก ที่เราควรต้องลองหรือไปสั่งชิมกันต่อนะครับ เมื่อตอนที่แล้วเราพูดถึงอาหารคลาสสิกแบบจานด่วนคือ คร๊อก เมอซิเออร์ (Croque Monsieur) ไปแล้ว จะขอแนะนำจานด่วนคลาสสิกอีกสักจานนะครับ

Quiche Lorraine

City Break Paris French National Cuisine 16

มันก็คือ คีช ลอร์เรนน์ (Quiche Lorraine) นั่นเอง คำว่า Quiche มาจากคำว่า “kuchen” เป็นภาษาเยอรมันหมายถึงเค้ก ส่วนคำว่า Lorraine ก็คือแคว้นลอร์เรนของฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อก่อนนี้ในสมัยยุคกลางก็คืออาณาจักร Lothringen ดินแดนของประเทศเยอรมนี ดังนั้นอาหารฝรั่งเศสคลาสสิกจานนี้ที่จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี

Quiche มันเป็นพายแบบเปิดหน้าที่มีส่วนประกอบคือ ไข่และคัสตาร์ครีมที่มีเบคอนรมควัน (Lardons) และชีสบ่มนาน (Mature Cheese) ส่วนเปลือกพายทำมาจากแป้งขนมปัง แต่สูตรดัดแปลงก็อาจเป็นแป้งพัฟ สำหรับสูตรของอีกเมืองที่เคยเป็นดินแดนเยอรมันเก่าเหมือนกันอยู่ไมไกลชื่อเมือง อัลซาส* (Alsace) นั้น จะมีการเพิ่มหัวหอมเข้าไปด้วยเรียกว่า Quiche Alsacienne คีช อัลซาเชี่ยน (*เมืองต้นกำเนิดของสุนัข German Shepherd หรือ อัลเซเชี่ยนนั่นเอง)

Mini-Quiche-Lorraine-and-Florentine

Quiche สมัยใหม่อาจมาในรูปแบบพอดีคำ เรียกว่า Mini Quiche

City Break Paris French National Cuisine 15

Quiche มักเสิร์ฟพร้อมสลัดเขียว

Quiche กลายเป็นที่นิยมในอังกฤษและอเมริกา เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงปี 1945 ดินแดนแถบ แคว้นอัลซาส-ลอร์เรน นั้นเป็นยุทธภูมิสู้รบ และแม่บ้านฝรั่งเศสก็มักจะทำQuiche เลี้ยงทหารพันธมิตรซึ่งก็มีชาวอังกฤษและอเมริกัน หรือบางทีก็ทำใส่กล่องไปกินระหว่างทาง จนทหารพวกนี้ติดใจก็นำสูตรกลับไปให้แม่บ้านของตัวเองทำจนทุกวันนี้ มาในสมัยปัจจุบัน Quiche มีหลายชนิด เช่น Quiche กับผักโขม (Quiche Aux Epinards) Quiche กับเห็ด (Quiche Aux Champignons)

Quiche กับผักโขม

อย่างที่บอกนะครับ แบบจานด่วนที่แนะนำไป 2 จานนั้นส่วนใหญ่หากินที่คาเฟ่ ย่านไหนก็มี ทีนี้หากท่านอยากกินกลางวันแบบเป็นเรื่องเป็นราวในร้านอาหารแบบ Bistro ก็มาว่ากันในหัวข้อต่อไปเลย

2.แบบเป็น Course หรือเป็นSet Lunch

ร้านอาหารทั่วไปในฝรั่งเศสมักจะมีการจัด Set Menu ไว้ อย่างที่เราทราบกันดีว่า อาหารฝรั่งเศส (French National Cuisine) นั้นประกอบด้วยอาหารอย่างต่ำ 3 Courses เริ่มจาก จานเรียกน้ำย่อย hors d’œuvre หรือ entrée ซึ่งก็คือจานเปิดเริ่มต้น อาจเป็นซุปหรืออาหารที่เป็นกุ้งหอยปูปลาที่ไม่ใช่ทำจากเนื้อแดง จะเป็นร้อนหรือเย็นก็ได้ ตามด้วยอาหารจานหลักplat principal (main course แต่ในแบบอเมริกัน entrée จานหลัก) มักจะเน้นโปรตีนอาจเป็นเนื้อแบบไหนก็ได้ ตบท้ายโดยจานเนยแข็ง, fromage (cheese course)หรือของหวาน dessert, แต่ก่อนจานของหวานอาจมีจานสลัด salad คั่นก่อนก็ได้ (แต่ในแบบอเมริกันสลัดจะไปอยู่ในคอร์สก่อน entrée จานหลัก) โดยถ้าเป็นอาหารกลางวันก็มักจะเป็น 3-4 Course เมนูซะเป็นส่วนใหญ่ต่างจากมื้อเย็นที่จะเป็นมื้อใหญ่ที่อาจมีประมาณ 5-7 Course หรือสมัยนี้อาจมี Menu ที่เรียกว่า Tasting Menu ซึ่งจะ Highlight จานที่เป็น Signature ของ Chef ประจำร้านจะมาเป็น Portionเล็กๆ แต่ได้ลองอาหารหลายอย่างหน่อยซึ่งเราค่อยไปพูดถึงรายละเอียดกันอีกครั้งตอนเราพูดถึง’มื้อเย็น’ในปารีสกัน คราวนี้เราจะพูดถึง 3-4 Course Menu ซึ่งเป็นเบสิคเซ็ท ปกติ 3 คอร์ส จะประกอบด้วยอองเทร่ entrée (ซึ่งในแบบอเมริกันจะเรียกว่า appetizer) แล้วตามด้วยจานหลัก ปลาต์แปลงซิปาล plat principal (main course) ตามด้วยของหวาน เดสแซรต์ dessert ในตอนนี้เราจะแนะนำไล่ไปตามลำดับครับ

อาหารจานเปิด (อองเทร่ l’entrée)
ผมจะแนะนำแต่อาหารที่เป็นแบบจารีตของฝรั่งเศสที่เราควรได้ลองเมื่อมาถึงปารีสเป็นหลักนะครับ

หอยทากเอสการ์โกต์จากบูร์โกนญ์ Escargots de Bourgogne

City Break Paris French National Cuisine 4

มันคือหอยทากไร่องุ่น Vineyard Snails ก็เนื่องจากแถบบูร์โกนญ์หรือที่เรารู้จักในภาษาอังกฤษว่า Burgundy นั้นนิยมปลูกองุ่นทำไวน์กันแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว (ตั้งแต่สมัยยังเป็นเมืองหนึ่งของอณาจักรโรมัน)หอยทากพวกนี้เดินป้วนเปี้ยนอยู่ในไร่องุ่นน่ารำคาญนัก จึงโดนจับไปทำอาหารซะงั้น ผัดกินกับเห็ดท้องถิ่นบ้าง หรือเสียบไม้ย่างทานบ้างแต่คงไม่มีสูตรไหนอร่อยเท่ากับสูตรอบเนยเครื่องเทศแบบบูร์โกนญ์อีกแล้ว

วิธีทำจะเอาหอยออกจากฝาก่อน โดยนำไปต้มในน้ำซุปเครื่องเทศ (ใบไทม์,ใบเบย์แล้วก็พริกไทย) ซึ่งน้ำซุปนี้ก็เอาไปใช้เป็นซุปขายได้เลย ผมเคยทาน’ ซุปเอสกาโกต์’ แบบรถเข็น ข้างถนนที่ กรุงบรัสเซลในเบลเยี่ยม ซึ่งจะมีขายในช่วงหน้าหนาว ตักใส่แก้วกระดาษแล้วเดินจิบแก้หนาวไป ต้องบอกว่าสุดยอดจริง แต่ในซุปนี้จะมีเศษเนื้อหอยน้อยมากจะมีก็ที่มันแตกตัวเป็นเศษเล็กๆเท่านั้น ส่วนตัวหอยน่ะเขาเอามากลับไปคลุกกับเนยเครื่องเทศแล้วยัดลงฝาใหม่แล้วไปแช่เย็นเก็บไว้ คราวนี้ก่อนเสิร์ฟก็แค่นำไปอบแล้วเสิร์ฟบนถาดอลูมิเนียมที่เป็นหลุมเหมือนถาดขนมครก จะมี 2 ขนาด คือแบบครึ่งโหล (ถาด 6 ตัว) และแบบ 1 โหล (ถาด 12 ตัว) มาพร้อมอุปกรณ์ที่คีบเปลือกหอยที่ออกแบบมาเฉพาะกันลื่นและกันร้อน เพราะต้องเสิร์ฟร้อนๆ ถึงจะถูกต้อง จะมีส้อมเล็กๆ ปลายแหลมจิ้มแล้วดึงออกมาจากฝา (ดูรูปด้านบน)

เคล็ดลับในการกินให้อร่อยคงต้อง Pairing กับไวน์จากโบโกนญ์ (Burgundy Wine) เช่น Marsannay Rosé หรือ Aligoté เย็นๆ แต่ถ้าไม่มีจะเป็นไวน์แดงก็ไม่ได้น่าเกลียดนะครับ ข้อสำคัญอย่าลืมเอาขนมปังทาซอสเนยที่อยู่ก้นถาดกินแกล้มไปด้วยนะครับ ไม่เสียมารยาทแน่นอน

ทีนี้หากอยากกินเอสกาโกต์ในปารีสในร้านที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารจานนี้ น่าจะลองไปที่ร้านข้างล่างนี้ โดย 2 ร้านแรกจะเป็นแบบคลาสสิก ส่วนร้านที่เหลือจะเป็นร้านที่อยู่ในย่านท่องเที่ยวคือถ้าแวะไปเที่ยวแถวนั้นก็น่าจะแวะทานกลางวันไปเลย

 

ร้าน L’ESCARGOT MONTORGUEIL เลสกาโกต์มงโตเกยย์

City Break Paris French National Cuisine 6

บิสโตรฝรั่งเศสแบบดั้งเดิมนี้ได้ให้บริการอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ โดยเฉพาะจานหอยทากในกรุงปารีสมากว่าสองศตวรรษแล้ว โปรดสังเกตว่าที่หน้ามุขของร้านจะเป็นรูปปั้นหอยทากทองคำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร้านนี้คือร้านที่เป็นผู้ชำนาญด้านไหน และทางการก็ได้ประกาศให้ร้านนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม (listed heritage site)การตกแต่งของร้านเป็นแบบ Second Empire หรือในยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่3 อาจจะเก่าแก่สักหน่อยแต่ถ้าหากต้องการลิ้มลองจานหอยทากที่มีชื่อเสียงที่ประกอบด้วย หอยทากเบอร์กันดี 12 ตัวปรุงแบบสามรสของแท้ต้องมาลองที่นี่ครับ หรือถ้ามาเป็นคณะใหญ่ก็สั่งแบบ 36 ตัวมาแบบถาดหลุมเงินเก่าแก่ของร้าน

City Break Paris French National Cuisine 9

City Break Paris French National Cuisine 2

ที่อยู่ 38 Rue Montorgueil, 1st arrondissement (เขต 1)

City Break Paris French National Cuisine 11

 

ร้าน ALLARD อัลลารด์

City Break Paris French National Cuisine 1

ร้านอาหารรสเลิศแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีในปีค.ศ.1932 เป็นร้านเก่าที่เก่าแก่ที่สุดร้านหนึ่งของกรุงปารีสแต่บรรยากาศดูเรียบหรูน่านั่ง และจานเด็ดของร้านซึ่งก็คือ escargots มีรสชาติไม่เก่าไปตามอายุร้าน เพราะกลิ่นเนยกระเทียมเคล้ากับผักชีฝรั่งที่อยู่ในจานเด็ดจานนี้ส่งกลิ่นหอมที่แบบว่านักท่องเที่ยวมือใหม่ต่างถิ่นที่อยู่โต๊ะข้างๆคุณต้องแอบชะเง้อมองแล้วบอกกับบริกรว่า “me too”

ความเป็นจริงแล้วที่มาของความเจ๋ง มันเริ่มจากประวัติเก่าแก่ของร้านที่ริเริ่มมาจากชาวชนบทที่ชื่อ Marthe Allard อพยพมาจาก Burgundy และตั้งใจนำเอาวัฒนธรรมอาหารแถบบูร์โกนญ์มาเผยแพร่โดยได้เปิดร้านนี้อยู่ใจกลางย่าน Saint-Germain-des-Prés แต่ที่แน่ไปกว่านั้นก็เพราะร้านนี้ปัจจุบันได้ผ่านมือมาเป็นของสุดยอดเชฟฝรั่งเศสที่ชื่อ Alain Ducasse ซึ่งมีร้านอาหารติดดาวมิชเชลแลงอยู่เป็น10 ร้าน และนโยบายที่ตั้งใจจะทำกับร้านนี้ของเขาก็คือ: “ร้านอาหารแห่งนี้ถูกคงไว้ซึ่งบุคลิกภาพและความเป็นตัวของมันเองไว้ตลอดไป” ไม่ว่าจะรสชาติอาหารบรรยากาศและราคาในแบบบิสโตรต้นตำรับ

City Break Paris French National Cuisine 17

ที่อยู่ 41 Rue St-Andre des Arts, เขต 6

 

ร้าน CHEZ FERDINAND CHRISTINE เช่ เฟอร์ดินัล ถนน คริสตีน

City Break Paris French National Cuisine 7

จริงๆ ร้านนี้นักท่องเที่ยวมักได้เคยไปลองมาแล้วเพราะเป็นร้านอาหารฝรั่งเศสที่มีบรรยากาศแบบดิบๆ แต่อบอุ่นเป็นมิตร ใช้ผ้าปูโต๊ะลายหมากรุกสีแดงตามจารีตประเพณี ตั้งอยู่แถวแซงมิชเชลใกล้กับวิหาร Notre Dame Cathedral ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งส่วนใหญ่ใครมาปารีสก็ต้องไปวิหารแห่งนี้ ก็เลยต้องจัดมื้อกลางวันอาหารฝรั่งเศสที่ดี (แถมไม่แพง) สักมื้อที่มีจานเด็ดที่เป็นจานหอยทากแสนอร่อย!

City Break Paris French National Cuisine 10

ที่อยู่ 9 Rue Christine, 6th arrondissement (เขต 6)

City Break Paris French National Cuisine 8

 

LE HIDE เลอฮิดด์

City Break Paris French National Cuisine 14

ห้องอาหารบรรยากาศสบายๆ ตั้งอยู่ห่างจากประตูชัยนโปเลียน Arc de Triomphe ไม่ไกลและให้บริการอาหารจานเปิดด้วย Escargot แสนอร่อยซึ่งปรุงด้วยสูตรพิเศษของร้าน และมาในรูปแบบใหม่ที่มีขนมปังประกบแบบแซนวิซแต่อร่อยมีชื่อ พร้อมด้วยการบริการที่อบอุ่นและเป็นมิตรประกอบกับที่ร้านอยู่ในย่านยอดนิยมทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่อาจเป็นนักท่องเที่ยวแต่คุณจะไม่รู้สึกว่าคุณกำลังรับประทานอาหารในร้านที่เป็นกับดักท่องเที่ยว (Tourist Trap Restaurant) อย่างแน่นอน

City Break Paris French National Cuisine 12

City Break Paris French National Cuisine 13

10 rue du Général Lanrezac, เขตที่ 17

 

คราวหน้าเรามาพูดถึงอาหารจานเปิด ( อองเทร่ l’entrée) จานอื่นๆ กันต่อครับ

City Break Paris Part XX

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 20

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 4

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 3

แล้วก็มาถึงการต่อเติมครั้งล่าสุดและอาจเป็นครั้งที่ยากที่สุดตั้งแต่มีการพัฒนาปรับปรุงมากว่า 700 ปีของ Lourve ก็คือในช่วงปี 1980 สมัยของประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ชื่อ François Mitterrand ซึ่งมีโครงการขยายและปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ที่เรียกว่า ‘Grand Louvre’ ตอนนั้น Louvre ซึ่งมีอายุหลายศตวรรษพยายามต่อสู้กับจำนวนผู้เข้าชมที่เพิ่มขึ้น ทางเข้ามีขนาดเล็กเกินไป แต่ละปีกมีทางเข้าที่แตกต่างกัน และเค้าโครงมีความสับสน ทำให้ผู้เข้าชมต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะหาทางเข้าหรือทางออก ประธานาธิบดี Mitterrand จึงเสนอให้ขยายพิพิธภัณฑ์โดยย้ายกระทรวงการคลัง ซึ่งครอบครองปีก Richelieu ของ Louvre ตั้งแต่ 1873 ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงย่านแบร์ซี่ Bercy และในที่สุดพิพิธภัณฑ์ลูฟว์สามารถครอบครองอาคารรูปตัว U ทั้งหมด

Miterrand ไม่ได้จัดให้มีการประกวดแบบแข่งขันโครงการ Grand Louvre แต่ได้แต่งตั้งสถาปนิกชาวจีนอเมริกันชื่อ Leoh Ming Pei เพื่อมาปรับปรุง Louvre และรวมทางเข้าด้านปีกอาคารที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เมื่อครั้งที่ Miterrand ไปอเมริกาได้มีโอกาสชมผลงานของ I.M Pei ที่พิพิธภัณฑ์ดังของอเมริกามาแล้ว

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre Leoh Ming Pei

Leoh Ming Pei สถาปนิกที่ไม่ใช่ชาวฝรั่งเศสคนแรก ที่เข้ามารับงานปรับปรุง Louvre

Pei เสนอให้ขุดใจกลางลานนโปเลียน (Cour Napoléon) และสร้างห้องโถงทางเข้าใต้ดินโดยทำห้องโถงนโปเลียน Hall Napoléon ที่สามารถเข้าถึงปีกอาคารและพื้นที่ทั้งสามตึกได้ รวมทั้งยังสามารถทำพื้นที่สำหรับร้านค้าร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งจะแก้ปัญหาหลักทุกอย่างของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าชม (Accessibility Problem)

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 1

สำหรับโจทย์ที่ยากที่สุดก็คือตรง Main Entrance ที่จะมีการลงสู่ระดับใต้ดิน Pei ไม่ต้องการให้มันแค่เหมือนกับการลงไปสถานีรถไฟใต้ดินเท่านั้น มันต้องมี Impact และมี Wow factor ที่ต้องฮือฮาด้วย เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมเข้าสู่ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ แต่ครั้นจะทำให้กลมกลืนกับอาคารซึ่งเก่าหลายศตวรรษ เพราะการสร้างของเก่าในยุคสมัยใหม่มันก็เหมือนไปซื้อของ Antiqueแต่ไม่ได้ของเก่าจริงๆ แต่เป็นของ Reproduction ที่เลียนแบบ และกับโจทย์ข้อที่ว่าให้ Modernize Louvre Museum นั้นก็ต้องตอบให้ได้ด้วย คือ Modernize แล้วต้องมี Link หรือ Connection กับ Louvreและฝรั่งเศสให้ได้

Pei จึงได้ศึกษาผลงานของ André Le Nôtre นักออกแบบภูมิทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามรูปแบบทางเรขาคณิตอย่างเคร่งครัด Le Nôtre คือผู้ที่ออกแบบสวนแวร์ซายและสวนตูเลอรีใกล้ๆ กับลูฟว์ หากดูภาพ 2 ภาพด้านล่างจะเป็นงานแบบแปลนของ เลอโนตร์ ที่เน้นรูปทรงเรขาคณิตอย่างชัดเจน รูปแรกเป็นแบบพิมพ์เขียวของสวนแวร์ซายและอีกรูปเป็นแบบพิมพ์เขียวของสวนตูเลอรี (Le Nôtre ‘symmetrical style of the French Formal Garden)

Versailles Garden Plan, Plan du Jardin desTuileries

Pei จึงเลือกที่จะสร้างรูปทรงปิรามิดซึ่งจะเป็นจุดเด่นที่โผล่ขึ้นมากลางลาน เขาเลือกใช้กระจกหุ้มโครงสร้างทั้งหมดเพื่อต้องการให้มีแสงธรรมชาติส่องเข้าห้องโถงใต้ดินด้านล่างได้ และไม่สร้างความอึดอัดเหมือนลงไปในสถานีรถไฟใต้ดิน
แต่ทันทีที่มีข่าวแพร่กระจายออกไปว่าจะมีปิรามิดแก้วเกิดขึ้นตรงลานหน้าลูฟว์ ก็เกิดกระแสต่อต้านวิจารณ์จากชาวปารีสเกินกว่าครึ่งโดยเฉพาะพวกอนุรักษ์นิยม เช่นเดียวกับที่มีกรณีทำนองนี้เกิดขึ้นเมื่อตอนสร้างหอไอเฟิล Pompidu Centerประตูลาเดฟองซ์ที่เป็นประตูชัยสมัยใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 หรือแม้แต่อาคาร Montparnasse Tower ที่มีความสมัยใหม่ และยังประณามประธานาธิบดี François Mitterrand ว่าไปเลือก Pei ซึ่งไม่ใช่คนฝรั่งเศส มีความคิดที่ไม่สามารถเข้าถึงศิลปะแบบฝรั่งเศสได้

อย่างไรก็ตามไม่นานหลังจากการเปิดอย่างเป็นทางการของปิรามิดแก้วในเดือนมีนาคมปี 1989 เสียงค้านก็ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และปิรามิด Louvre กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ทันสมัยที่ชาวปารีสรักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 6

ปิรามิดแก้วมีความสูงประมาณ 22 เมตร (72 ฟุต) และอยู่ห่างจากฐานเพียง 35 เมตร (116 ฟุต) ล้อมรอบด้วยปิรามิดเล็กๆ สามแห่ง มีสระน้ำล้อมรอบ และน้ำพุที่ทันสมัย ซึ่งสระน้ำจะทำหน้าที่สะท้อนเป็นเงาของรูปปิรามิดออกมาเป็นปิรามิดกลับหัวดูคล้ายกับทรงข้าวหลามตัดหรือเพชร

ในการออกแบบ Pei มีความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ปิรามิดโปร่งใสที่สุด กรอบรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัดแบบDiamond Shape 675 รูป และกรอบรูปสามเหลี่ยม 118 รูปถูกออกแบบมาเพื่อให้ขนาดพอเหมาะ มีเหล็กเส้น 128 เส้นและสายสลิง 16 สายที่ยึดบานหน้าต่างด้วยกัน Pei นำเทคโนโลยีจากเรือยอชท์ไฮเทคมาใช้เพื่อให้ดูล้ำสมัย มีเรื่องพูดกันตอนที่มีกระแสต่อต้านปิรามิดแก้วนี้จากพวกอนุรักษ์นิยม บอกว่ากรอบรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัดแบบ Diamond Shape นั้นมีจำนวน 666 รูปซึ่งเป็นเลขของซาตาน ตามคริสต์ศาสนาทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมีมีจำนวน 675 รูป

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 2

ในการปรับปรุงLouvre Phase 2 ปี 1993 มีการขยายพื้นที่ใต้ดินไปสู่การเป็นห้างสรรพสินค้าทันสมัยที่เรียกว่า Carrousel du Louvre การออกแบบก็ยึดแนวเดิมคือต้องการให้มีแสงธรรมชาติเข้าถึงมากที่สุด มันเลยออกมาเหมือนการปักหมุดด้วยปิรามิดแก้วกลับหัวซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Pyramide Inversée (Inverted Pyramid) ซึ่งปิรามิดแก้วนั้นได้เป็นสัญลักษณ์ของ Louvre อยู่แล้วไม่แน่ใจว่าได้แนวคิดมาจากเงาของปิรามิดแก้วที่สะท้อนลงน้ำเกิดเป็นปิรามิดกลับหัวเหมือนภาพด้านบนหรือเปล่า

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 7

Inverted Pyramid

แน่นอนว่าปิรามิดกลับหัวได้รับการออกแบบโดย บริษัท สถาปัตยกรรมอเมริกันเจ้าเก่า คือ Pei Cobb Freed & Partners ซึ่งเป็นผู้สร้างปิรามิดแก้วเดิม และที่จุดจบของปิรามิดแก้วกลับหัว ยังมีปิรามิดหินที่โผล่มาจากพื้นซึ่งมีนัยยะหลายแง่มุม แม้แต่ Dan Brown ยังเอาไปใช้เป็นบทสรุปของหนังสือชื่อดัง The Da Vinci Code

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 4

ภาพบนคือปิรามิดแก้วของ Louvre ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1980 เป็นทางเข้าหลักของ Louvre Museum โครงสร้างกระจกอันทันสมัยซึ่งสร้างความ Contrast แตกต่างอย่างดีกับอาคารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ในขณะที่ตัวปิรามิดแก้วเองก็ได้กลายเป็น Landmark อีกแห่งของปารีสด้วยตัวของมันเอง

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 5

ประตูทางเข้าใต้ดินไปยังโถงนโปเลียน Louvre Hall Napoléon

เป็นอันว่าการต่อเติมครั้งล่าสุดของ Louvre ก็จบไปอย่างอลังการ ปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์ลูฟว์เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีกว่า 70,000 ชิ้นงานศิลปะกระจายทั่วพื้นที่ 652,300 ตารางฟุตซึ่งเป็นพื้นที่เกือบ 15 เอเคอร์ และมีผู้เข้าชมมากที่สุดโดยเฉลี่ย 8.8 ล้านคนต่อปี โดยในแต่ละวัน Louvre ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 15,000 คนต่อวัน และ70% เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีการจ้างคนกว่า 2,000 คนทำการดูแลรักษาและบริหารพิพิธภัณฑ์และงานศิลปะ

หลังจากการเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสเป็นเวลากว่า 600 ปี และยังเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งตลอดจนอำนาจของฝรั่งเศสในยุคการล่าอาณานิคม และการขยายอาณาเขตซึ่งทำให้ได้ของมีค่ามากมายมาสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งนี้

ถ้าต้องการดูทุกอย่างในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์โดยใช้เวลาหยุดดู 30 วินาทีต่อชิ้นตลอดวันโดยไม่หยุดพัก จะต้องใช้เวลา 100 วัน จึงจะได้ดูครบทุกชิ้น!

แกลเลอรี่ที่มีกว่า 70,000 ชิ้นงานศิลปะนั้น เป็นภาพวาดประมาณ 7,500 ภาพ และ66% ของภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส และยังมีคอลเลคชั่นอียิปต์โบราณมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
แกลเลอรี่ยังแบ่งออกเป็น 8 แผนก:
•โบราณวัตถุตะวันออก
•โบราณวัตถุอียิปต์
•โบราณวัตถุกรีก, อิทรูเรียและโรมัน
•ศิลปะอิสลาม
•ประติมากรรม
•ศิลปะการตกแต่ง
•ภาพวาด
•ภาพพิมพ์และภาพวาด

ก่อนจบเรื่องราวความเป็นมาของ Louvre ในครั้งนี้ ต้องขอพูดถึง Louvre แห่งที่ 2 ที่ อาบูดาบี Abu Dhabi สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก่อตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลปารีสกับอาบูดาบีเมื่อปี 2007 แต่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้เอง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการนำเสนองานสถาปัตยกรรมที่ไม่น้อยหน้าของที่ Paris

Louvre Abu Dhabi 1

ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจแบบ Franchises นั้นมันมาใช้ในงาน G to G ก็ได้ เพราะงานนี้รัฐบาลฝรั่งเศสได้เงินถึง 399 ล้านยูโรจากรัฐบาลอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับลิขสิทธิ์การใช้ชื่อ “Louvre” เป็นเวลา 30 ปี เห็นหรือยังครับว่าชื่อ Louvre นั้นมีความขลังขนาดไหน แต่ก็ไม่ใช่ได้มาแค่ชื่อ ยังถือเป็นที่ปรึกษาในการจัดแสดงและการนำชิ้นงานศิลปะจาก Louvre Paris มาโชว์ในลักษณะยืมมา Exhibit เป็นครั้งคราวอีกด้วย ซึ่งทางลูฟว์อาบูดาบี คาดหวังจะสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของโลกในอนาคต

Louvre Abu Dhabi

พิพิธภัณฑ์ลูฟว์แห่งที่สอง หรือ พิพิธภัณฑ์ลูฟว์อาบูดาบี ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สากลแห่งแรกในโลกอาหรับ มีเนื้อที่ 24,000 ตารางเมตร (260,000 ตารางฟุต) ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะขนาดใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอาหรับ ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังชาวฝรั่งเศส ฌอง นูเวล (Jean Nouvel) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานสถาปัตยกรรมอันรุ่งโรจน์ของอารยธรรมอาหรับ และจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบโดมของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นลักษณะรังผึ้งแปดชั้นรูปทรงเรขาคณิตแบบอาหรับ มีน้ำหนักมากถึง 7,500 ตันซึ่งเท่ากับหอไอเฟล โดมสีเงินสะท้อนวัฒนธรรมและศิลปะแบบตะวันออกกลาง ความพิเศษอยู่ที่หลังคาจะสะท้อนแสงระยิบระยับเมื่อแสงแดดสาดส่องลงมา ทั้งยังช่วยลดความร้อนภายในได้อีกด้วย

มันใช้เวลาก่อสร้างนานร่วม 10 ปี โดยโครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2007 ฝ่าฟันทั้งมรสุมของราคาน้ำมันที่ลดลงและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้จากเดิมที่ตั้งงบประมาณไว้ที่ 340 ล้านปอนด์ หรือราว 14,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2012 แปรสภาพเป็นโครงการมูลค่า 1 พันล้านปอนด์ หรือราว 43,500 ล้านบาท

Louvre Abu Dhabi 3

ภายในลูฟว์อาบูดาบี บรรจุชิ้นงานทางศิลปะกว่า 600 ชิ้น เป็นงานศิลปะที่นี่ และอีก 300 ผลงานที่ยืมมาบางส่วนจากลูฟว์ และจาก 13 สถาบันชั้นนำของฝรั่งเศสจาก 23 แกลเลอรี่ เช่น Paul Gauguin, Vincent Van Gogh, Pablo Picasso มีทั้งงานศิลปะ จิตรกรรม ประติมากรรม งานประดิษฐ์ล้ำค่ารวมทั้งศิลปินชาวอเมริกันอย่าง เจมส์ แอบบ็อตต์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ รวมไปถึงผลงานของศิลปินจีนอย่าง อ้ายเหว่ยเหว่ย อีกต่างหาก

Louvre Abu Dhabi 2

ทางพิพิธภัณฑ์หวังว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จากทั่วโลก เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนกรุงอาบูดาบีกันมากขึ้น หลังจากเมื่อปีที่แล้วเมืองหลวงของยูเออีแห่งนี้มียอดนักท่องเที่ยวไปเยือนเพียง 4.4 ล้านคน ในพิธีเปิดตัว ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ‘เป็นเสมือนสะพานเชื่อมอารยธรรม’

 

โปรดติดตามตอนจบของ Louvre ในหัวข้อเรื่อง “มา Louvre แล้วต้องดูอะไร?” ในตอนหน้า

City Break Paris Part XIX

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 19

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 3
การปรับเปลี่ยนของ Louvre จากการเป็นพระราชวังมาเป็นพิพิธภัณฑ์

กลับมาพูดเรื่อง Louvre จริงๆ แล้วในช่วงที่มีการย้ายเมืองหลวงไปแวร์ซายส์ในช่วง 3 รัชสมัยนั้น ได้มีความคิดจากราชสำนักจะนำเอาวัง Louvre ไปทำประโยชน์ เช่น การทำเป็นหอศิลป์ นำโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้นำภาพศิลปะที่พระองศ์สะสมจากวังลุกซอมบูรก์ The Luxembourg Palace โดยมีผลงานสุดยอดจากศิลปินชั้นนำ

เช่น Andrea del Sarto, Raphael, Titian, Veronese, Rembrandt, Poussin มีการเปิดให้สาธารณะชนชมอาทิตย์ละ 2 วัน ทำให้ในรัชสมัยของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีนโยบายที่จะทำ Louvre ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเหตุการณ์บ้านเมืองไม่อำนวย จนกระทั่งมาถึงยุคปฏิวัติก็มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ Louvre เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปี ค.ศ 1793 โดยมีภาพวาดชั้นนำ 537 ชิ้น และศิลปวัตถุอื่นๆ อีก 184 ชิ้น โดย 3 ใน 4 ของทั้งหมดมาจากราชสำนัก

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -8

ภาพวาดในปี 1810 ของ  Louis Léopold Boilly (1761–1845 Paris) ชื่อ The Public Viewing David’s “Coronation” at the Louvre ซึ่งเป็นภาพสาธารณะชนไปชมภาพราชาภิเษกของนโปเลียน Coronation of the Emperor ที่ Louvre ซึ่งวาดโดย Jacques Louise David ศิลปินประจำพระองค์ของนโปเลียน

หลังจากการสลายตัวของการปฏิวัติ เมื่อถึงยุคของ จักรพรรดินาโปเลองโบนาปารด์ หรือ นโปเลียนที่ 1 เข้ามามีอำนาจ ท่านได้เปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเอง โดยใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์นโปเลียน “Museum Napoleon” ในปี ค.ศ. 1803

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -4

Napoléon on the Battlefield of Eylau เป็นภาพสีน้ำมันวาดในปี 1808 โดย Antoine-Jean Gros. บรรยายเหตุการณ์หลังการสู้รบที่ ไอลอ โดยในครั้งนั้นกองทัพใหญ่ของนโปเลียนโบนาปาร์ต (Grande Armée )สามารถเอาชนะกองทัพรัสเซียได้ ภาพนี้อยู่ที่ Louvre ในยุคปัจจุบัน เป็นภาพในสไตล์ที่เรียกว่า French Romanticism

เนื่องจากศิลปวัตถุส่วนใหญ่ได้มาจากชัยชนะในสงครามต่างๆ เรียกว่าพิพิธภัณฑ์นั้นล้นไปกับงานศิลป์ที่กองทัพใหญ่ของนโปเลียนโบนาปาร์ต (Grande Armée) ไปกวาดมาจากทั้งทวีปยุโรปรวมทั้งแอฟริกาตอนเหนือโดยเฉพาะประเทศอียิปต์

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -1

ภาพวาดงานแต่งงานครั้งที่ 2 ของนโปเลียนกับมารีหลุยส์ ที่ Louvre โดยศิลปินชื่อ Corbis จะเห็นว่าตอนนั้น Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เต็มรูปแบบแล้ว

หลังจากที่ลูฟว์ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ และได้ทำการอนุรักษ์และนำเสนอผลงานศิลปะนับพันๆ ชิ้น รวมทั้งมรดกของอารยธรรมในอดีต ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จักรพรรดิได้เปลี่ยนการตกแต่งภายใน และยังได้สร้างประตูชัยที่ยิ่งใหญ่ 2 แห่ง เนื่องจากท่านถือว่าท่านเป็นจักรพรรดิเฉกเช่นจักรพรรดิโรมันแห่งโรมที่มีประเพณีตัดไม้ข่มนาม ด้วยการนำกองทัพเดินลอดประตูชัยเอาฤกษ์เอาชัยก่อน ทำให้ทหารมีกำลังใจและฮึกเหิมและดูเหมือนว่าจะได้ผลดี เพราะกองทัพใหญ่ของนโปเลียนโบนาปาร์ตนั้นแทบจะไม่เคยปราชัยจากการสู้รบ 60 สงคราม นโปเลียนแพ้เพียง 8 ครั้ง ส่วนใหญ่ก็เป็นสงครามหลังจากที่ไม่สามารถบุกยึดรัสเซียได้ก็ไม่ค่อยได้ชนะอีกจนแพ้ครั้งสุดท้ายที่ Waterloo เมื่อปี 1815

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -9

ภาพทหารของนโปเลียนสวนสนามลอดประตูชัย  Carrousel หน้าวัง Tuileries วาดโดย Hippolyte Bellangé ในปี 1810

ทั้งนี้ นโปเลียนได้สร้างประตูชัยเล็กที่ชื่อการ์รูเซล Arc de Triomphe du Carrousel อยู่ใกล้กับพระราชวัง Tuileries ตรงจุดที่เรียกว่า Place du Carrousel มันถูกสร้างขึ้นระหว่างปี 1806 และ1808 เพื่อรำลึกถึงชัยชนะทางทหารของนโปเลียนเมื่อปีก่อนๆ เช่น ชัยชนะที่ออสเตรียและเพื่อเป็นเกียรติกองทัพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -7

Arc du Carrousel หรือประตูชัยเล็กนี้ สร้างขึ้นตรงพื้นที่ระหว่าง Louvre และ Palais de Tuileries

มันมี 3 ซุ้มประตู ซึ่งก็ได้ต้นแบบมาจากประตูชัยคอนสแตนตินและประตูชัยเซปติมุส ( Arch of Constantine, Arch of Septimius Severus) ในกรุงโรม ออกแบบโดย Charles Percier และ Pierre François Léonard Fontaine มีจุดเด่นอยู่ที่เสาโครินธ์ทั้ง 8 ต้น ทำจากหินอ่อนสีชมพู และรูปปั้นด้านบนของซุ้มประตูเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่เรียกว่า “Triumphal Quadriga” เป็นชุดรถม้าโรมัน Chariot ทองสัมฤทธิ์เทียมม้า 4 ตัวที่นโปเลียนนำมาจากจัตุรัสเซนต์มาร์กในเวนิส โดยตั้งใจจะทำรูปปั้นนโปเลียนเป็นผู้ทรงรถม้าแต่ในที่สุดรูปปั้นทั้งหมดก็ถูกส่งกลับไปยังเมืองเวนิสหลังจากการล่มสลายของ นโปเลียนที่ Waterloo แต่ก็ทำแทนที่ด้วยชุดรถม้าที่สร้างโดย François Joseph Bosio ในปี 1828

ในขณะที่ประตูชัยใหญ่ หรือ ประตูชัยนโปเลียน Arc de Triomphe de l’Étoile ที่อยู่ปลายสุดของถนน Champs Élysées ก็เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์โครินธ์ และได้รับการออกแบบในปีเดียวกัน แต่มันใหญ่กว่าประตูการ์รูเซลถึงสองเท่า ทำให้ยังไม่แล้วเสร็จจนถึงปี 1836 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ – ฟิลิปป์

สำหรับ Arc de Triomphe de l’Étoile นั้นถูกสลักด้วยชื่อแม่ทัพนายพลของนโปเลียน และชื่อสงครามที่นโปเลียนชนะ มันออกแบบโดย Jean Chalgrin มีต้นแบบเป็นประตูชัยติตัส Arch of Titus ในกรุงโรมแต่ Arc de Triomphe ที่ปารีสสูงกว่ามาก (50 เมตรเทียบกับ 15 เมตร) แต่ก็มีความสมมาตรและมีสัดส่วนที่เท่ากัน

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -11

ประตูชัยประดับประดาเป็นปูนปั้นมีมิติที่ส่วนใหญ่เป็นที่ระลึกถึงการสู้รบของจักรพรรดินโปเลียน เช่น การต่อสู้ที่ Aboukir หรือชัยชนะของนโปเลียนเหนือตุรกีและการต่อสู้ Austerliz ที่นโปเลียนชนะออสเตรีย ด้านล่างซุ้มประตูเป็นหลุมฝังศพของทหารนิรนามซึ่งเป็นอาสาสมัครหลายคนที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สาเหตุที่ประตูชัยนี้เรียกว่า Arc de Triomphe de l’Étoile ที่หมายถึงประตูชัยแห่งดาว (l’Étoile) นั้นก็เพราะประตูชัยนี้ตั้งอยู่ที่จัตุรัสดาว หรือ Place de l’Étoile (ชื่อเป็นทางการปัจจุบันคือ Place Charles de Gaulle) เป็นวงเวียนซึ่งมีถนน 12 สายวิ่งเข้าสู่วงเวียนนี้ มองจากด้านบนจะเหมือนดาวกระจายนั่นเอง

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -6

เราสามารถขึ้นไปดูวิวกรุงปารีสจากดาดฟ้าของประตูชัยนโปเลียนนี้ ซึ่งเราสามารถมองเห็นวิวของ La Defense, Champs-Elysées และSacré-Coeur แต่ควรใช้อุโมงค์ลอดใต้วงเวียนไปโผล่ที่ประตูชัยอย่าข้ามถนนเด็ดขาดมันอันตรายมาก แต่อย่าคิดว่าได้ขึ้นลิฟท์ไปดาดฟ้านะครับคุณต้องปีนบันได 234 ขั้นเพื่อแลกกับวิวสวยๆ

เมื่อตอนที่ประตูชัยทั้ง 2 แห่งสร้างเสร็จนั้น เราจะเห็นว่ามันมีพระราชวัง Tuileries บังหรือกั้นประตูทั้ง 2 อยู่แบบภาพด้านล่างนี้ครับ

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -2

ในขณะที่ปัจจุบันนี้กลับเปิดโล่งก็เพราะต่อมาในปี 1871 พระราชวัง Tuilerie ก็ถูกวางเพลิงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิปป์ โดยพวกปฏิวัติหลังจากการที่ท่านไปแพ้สงครามกับปรัสเซียและซากอาคารก็ถูกทุบทิ้งโดยไม่มีการบูรณะใหม่

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -12

ในภาพด้านบนจะเห็นส่วน (อาคารที่เป็นสีแดง)ที่เคยเป็นพระราชวัง Tuilerie ที่ถูกไฟไหม้ไปแต่ไม่มีการบูรณะ จึงทำให้ (ดูภาพด้านล่าง)ทิศตะวันตกของ Louvre เปิดโล่งไปหาสวน Tuilerie และได้ทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองปารีส

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -3

ซึ่งในยุคของประธานาธิบดี Charles de Gaulle เคยพยายามจะหาทุนสร้างอาคารส่วนนี้ขึ้นมาใหม่เพราะมีแบบของเดิมอยู่แต่แล้วจนถึงวันนี้ก็ไม่มีการสร้างใหม่เพราะใช้ทุนสูงมาก

ดังนั้น Louvre ด้านทิศตะวันตกนี้จึงเปิดโล่งต่อเนื่องกับสวน Tuilerie มองเห็นจัตุรัสกองกอร์และ ต้นถนนชองเซลิเซ ตลอดไปจนถึงประตูชัยนโปเลียน เป็นมุมมองที่สวยงามมากที่หันหน้าไปทางตะวันตกของกรุงปารีส มันถูกเรียกว่าแกนประวัติศาสตร์ของปารีส Paris Axe historique (“historic axis”) ยาว 9 กิโลเมตรเป็นเส้นตรงวัดจากประตูชัยเล็กหรือประตูชัย Carrousel

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -5

โดยถ้าเราไปยืนใต้ซุ้มประตูชัย Carrousel และมองไปจะเห็น Landmarks ของกรุงปารีสที่สำคัญเป็นเส้นตรง ตั้งแต่จัตุรัสคองคอรด์ที่มีเสาโอเบลิกซ์ยอดแหลม,ประตูชัยนโปเลียน,ไปสิ้นสุดที่ประตูลาเดฟองซ์ที่เป็นประตูชัยสมัยใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 สร้างในยุคของประธานาธิบดีฝรั่งเศสฟรองซัวร์มิเตอรงด์ โดยรำลึกถึง 200 ปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส 14 กรกฏาคม 1989

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -10

ในรูปทรงลูกบาศก์และมีความสูง 110 เมตร Arch ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองอุดมคติด้านมนุษยธรรมมากกว่าชัยชนะทางทหารใดๆ มันทันสมัยมากและค่อนข้างตรงกันข้ามกับความ “เก่า” ของปารีส ทำให้มีทั้งคนรักและเกลียดมัน ผู้ออกแบบเป็นชาวเดนมาร์กชื่อ Otto von Spreckelsen

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -13

กลับมาเรื่อง Louvre ซึ่งในที่สุดก็มีการปรับปรุงต่อเติมในส่วนอาคารครั้งใหญ่อีกครั้งในยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งทำให้กลุ่มอาคารครบถ้วนเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้าง ปีก Denon ทางด้านแม่น้ำเซน และ ปีก Richelieu Wing บนถนน Rivori (ดูจากภาพด้านบนก็คืออาคารส่วนที่มี color code เป็นสีส้ม) เพื่อให้ส่วนหนึ่งใช้เป็น พระราชวังของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 Napoleon III ด้วยซึ่งถือเป็น State Apartment ที่ Louvre ซึ่งภายหลังต่อมาก็เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ชม ห้องพักแสดงถึงพลังและความมั่งคั่งของรัฐฝรั่งเศสในเวลานั้น

กลับมาติดตามเรื่องราวของการต่อเติมครั้งสุดท้ายล่าสุด และอาจเป็นครั้งที่ยากที่สุดตั้งแต่มีการพัฒนาปรับปรุงมากว่า 700 ปี ของ Louvre ในตอนต่อไปครับ

City Break Paris Part XVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 18
เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 2
การปรับเปลี่ยนของ Louvre ในศตวรรษที่17-18

กลับมาเรื่องพระราชวังลูฟว์กันต่อครับ สำหรับเรื่องการต่อเติมที่เป็นเรื่องราวหลังจากสมัยพระเจ้าอองรีที่ 4 ก็มามีในสมัยเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ที่ทำลายกำแพงด้านเหนือของปราสาท (ในปี 1624) เพื่อหาวิธีที่จะทำให้ลูฟว์ไม่ใช่ลูกผสมคือเป็นทั้งสถาปัตยกรรมแบบยุคกลางและยุคเรเนอซองส์ปนกันอยู่ เพราะ Lescot Wing ที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นเรเนอซองส์ไปแล้ว ดังนั้นแนวคิดของสถาปนิกคนใหม่ Jacques Lemercier ก็คือการทำเลียนแบบปีกเลส์โกต์นี้ทางเหนือด้วย จึงมี Lemercier Wing (1636) เกิดขึ้น และสร้าง Pavilion หรือมุขระหว่างสองปีกคือ Pavillon de l’Horloge แต่ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Pavillon de Sully

City Break Paris Louvre 3

ภาพลานจัตุรัสของ Louvre ด้านใน หรือ Cour Carrée (ไม่ใช่ลานนโปเลียนซึ่งปัจจุบันมีปิรามิดแก้วตั้งอยู่) จะเห็นปีกเลสโก้ Lescot Wing ที่อยู่ด้านซ้าย โดยมีหน้ามุขนาฬิกา Pavillon de l’Horloge และมีปีกเลแมซิเอ Lemercier Wing อยู่ด้านขวา ที่สร้างcopyให้เข้ากับปีกเลสโก้

จากนั้นก็มาถึงยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ในปี ค.ศ. 1659 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ภายใต้สถาปนิก Louis Le Vau และจิตรกร Charles Le Brun (ผู้ซึ่งเป็น 2 ใน 3 ประสานของโครงการพระราชวังแวร์ซายย์ ประกอบด้วย Louis Le Vau ออกแบบพระราชวัง, Charles Le Brun ออกแบบงานศิลปะ เช่น ประติมากรรมรูปปั้นรวมทั้งงานภาพวาด และ André Le Nôtre ออกแบบภูมิทัศน์ ซึ่งทั้งหมดจะมีการพูดถึงเมื่อเราไปเที่ยวพระราชวังแวร์ซายย์) มีการทุบกำแพงทางทิศเหนือและทิศตะวันออกที่เป็นส่วนของ Louvre ยุคกลางออกไป แต่แม้ว่ากำแพงถูกทลายไปแต่โครงสร้างคือฐานของกำแพงก็ยังอยู่มีซากให้เห็นในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ในปัจจุบันดูจากรูปด้านล่าง

City Break Paris Louvre 2

จากนั้น มีการดูแลปรับปรุงและความสมบูรณ์ของพระราชวัง Tuileries และได้มีการก่อสร้างปีกอาคารให้ล้อมรอบตรงลานจัตุรัสหรือ Cour Carrée ให้ครบทั้ง 4 ด้านจากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ปีกเลสโก้ Lescot และมีปีกเลแมซิเอเท่านั้น โดยการสร้างปีกทางทิศเหนือและเพิ่มความยาวของปีกใต้เป็นสองเท่ามีการสร้างมุขกษัตริย์ Pavillon du Roi และสร้างแกรนด์ Cabinet du Roi (หอศิลป์คู่ขนานกับ Petite Galerie) รวมทั้งโบสถ์ เลอบูร์น และการตกแต่ง Galerie d’Apollon

City Break Paris Louvre 10

ภาพด้านบนจะเห็น square court หรือ Cour Carrée ที่มีกลุ่มอาคารล้อมรอบทั้ง 4 ด้านครบแล้ว แต่ในภาพจะเห็นว่าส่วนหลังคาของตึกที่ถูกต่อเติมใหม่นั้นยังถูกทิ้งค้างไว้ และมาเสร็จในช่วงของจักรพรรดินโปเลียน เนื่องจากเจ้าหลุยส์ที่ 14 กำลังจะย้ายไปที่พระราชวังแวร์ซายย์ ทำให้มุ่งไปสนพระทัยพระราชวังใหม่ ซึ่งทำให้งานของลูฟว์ไม่เดินหน้าจนในที่สุดก็ถูกทอดทิ้งไปอีก 2 รัชสมัยคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15และ16

Cabinet du Roi ประกอบด้วยห้องพัก 7 ห้องทางด้านตะวันตกของ Galerie d’Apollon ที่ชั้นบนของ Petite Galerie ที่ได้รับการออกแบบใหม่ ภาพวาดของกษัตริย์หลายพระองค์ถูกประดับไว้ในห้องเหล่านี้ในปี ค.ศ. 1673 และกลายเป็นแกลเลอรีศิลปะย่อมๆที่เปิดให้สำหรับคนรักศิลปะสามารถเข้าถึงได้ ที่สำคัญมีหลักฐานระบุไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสว่าห้องแกลเลอรี่นี้ได้เคยแสดงให้ทูตจากสยามได้เข้าชมใน ปี ค.ศ.1686

City Break Paris Louvre 5

ปีกด้านตะวันออกของ Louvre (1665-80) ซึ่งมีรูปแบบด้านหน้าอาคารที่คลาสสิก และมีอิทธิพลต่อการออกแบบอาคารต่างๆ ในหลายประเทศทางซีกโลกตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป ข้างหน้าอาคารคือลาน Claude Perrault’s Colonnade ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้รับผิดชอบอาคารด้านตะวันออกนี้

สำหรับปีกอาคารด้านตะวันออกนั้นรับผิดชอบโดย Claude Perrault หลังจากที่มีความพยายามจะให้ปรมาจารย์ศิลปะสไตล์บาร็อค ที่ชื่อ Gian Lorenzo Bernini สถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อดังจากโรมแสดงฝีมือออกแบบซึ่งเขาก็เดินทางมาปารีสโดยเฉพาะเพื่องานนี้ แต่ปรากฎว่ารูปแบบโดนปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์เพราะรูปแบบมันได้อิทธิพลมาจากดีไซน์ของอิตาเลียนจนเกินไปไม่ใช่ฝรั่งเศส สถาปนิก Claude Perrault ก็จัดการดำเนินการต่อไปโดยใช้สไตล์บาร็อคแบบ Classic ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับว่ามีความคลาสสิกแบบฝรั่งเศส และมีอิทธิพลต่อการออกแบบอาคารต่างๆ ในหลายประเทศในยุโรปและอเมริกา

City Break Paris Louvre 9

ภาพบนนี้เป็นภาพลานจัตุรัสหรือ Cour Carrée ในปัจจุบันถ่ายจากจุดกึ่งกลางลานที่เป็นบ่อน้ำพุแทบไม่มีใครทราบว่าอาคารแต่ส่วนแต่ละปีกด้านหน้าด้านข้างนั้นสร้างกันคนละยุคสมัยแค่ดูกลมกลืนได้อย่างดี

นอกจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงให้ปรับเปลี่ยนสวนตุยเลอรี Tuileries ให้เป็นสวนแบบฝรั่งเศสหรือที่เรียกว่า Jardin à la Française หรือ The French Formal Garden เพราะในยุคของพระองค์ซึ่งมีฉายาว่า “สุริยะราชา” หรือ The Sun King นั้น ฝรั่งเศสถือเป็นประเทศมหาอำนาจมีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร จะต้องมีสไตล์ของฝรั่งเศสเอง

City Break Paris Louvre 11

ภาพแบบแปลนของสวนสวนตุยเลอรี Tuileries ที่เน้นรูปทรงเรขาคณิตและวางรูปแบบให้สมมาตรโดย เลอ โนตร์

เพราะก่อนหน้านั้นพระราชวังนี้มาพร้อมกับสวนในสไตล์อิตาเลียน Italian Renaissance Garden ตามคำสั่งของพระนางคัทรินเดอเมดิชี ที่ให้ใช้ นักออกแบบภูมิทัศน์ จากเมือง Florence ที่ชื่อ Bernard de Carnesse

City Break Paris Louvre 8
รูปปั้นที่สวนตุยเลอรี Tuileries ของ เลอ โนตร์ André Le Nôtre สถาปนิกภูมิทัศน์ ออกแบบสวนตุยเลอรีส์ในสไตล์ฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1564

จริงๆ แล้วสวนสไตล์ฝรั่งเศสก็มีวิวัฒนาการและได้แรงบันดาลใจจากสวนสไตล์เรอเนซองส์ของอิตาลีในตอนต้นของศตวรรษที่ 16 นั่นเอง ต้นแบบก็คือสวนสไตล์อิตาเลียนเรอเนซองส์ที่สวน Boboli ในเมืองฟลอเรนซ์และ Villa Medici in Fiesole มีลักษณะการวางแปลง parterres ไม้ดัดไม้ดอกที่เป็นเหมือนกำแพงมีเส้นขอบมุมตัดกันชัดเจน สร้างขึ้นในรูปทรงเรขาคณิตและวางรูปแบบให้สมมาตร มีการใช้น้ำพุและน้ำตกเพื่อให้มีชีวิตชีวาในสวน มีบันไดและทางลาดไล่ระดับต่างๆ ของสวน, มีถ้ำหรือgrottos, มีเขาวงกต และรูปปั้นประติมากรรม โดยสวนจะถูกออกแบบมาเพื่อแสดงถึงกลมกลืน และความเป็นระเบียบตามอุดมคติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพื่อระลึกถึงสวนโรมันต้นแบบในกรุงโรมเก่า

City Break Paris Louvre 6

แต่ในที่สุดสวนแบบฝรั่งเศสก็หาจุดยืนที่มีความแตกต่างจากสวนอิตาลี ทั้งในด้านรูปลักษณะและในด้านจิตวิญญาณ ส่วนผู้ที่เป็นต้นตำรับและถูกยกย่องว่าเป็นผู้ให้กำเนิด Jardin à la Française นั้น ก็คือนักออกแบบ ภูมิทัศน์ที่ชื่อเลอ โนตร์ André Le Nôtre นั่นเอง สวนที่เขาสร้างขึ้นได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่และความมีเหตุมีผลของฝรั่งเศสทำให้กลายเป็นสวนสไตล์ยุโรป จนกระทั่งถึงในศตวรรษที่ 18 English Garden หรือสวนภูมิทัศน์แบบอังกฤษจึงมาเป็นที่นิยมแทน

City Break Paris Louvre 1

ภาพบนเป็นผลงานชิ้นแรกๆ ที่สร้างชื่อให้กับ André Le Nôtre (1613-1700) ซึ่งเป็นนักออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสวนฝรั่งเศส มันคือผลงานการออกแบบสวนในปี 1656 ที่ปราสาท โวเลอวีกงต์ Vaux-le-Vicomte ของ นิโกลา ฟูเกต์ Nicolas Fouquet ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ดูแลท้องพระคลัง (เทียบเท่ารัฐมนตรีกระทรวงการคลัง) ให้พระเจ้าหลุยศ์ที่ 14

อย่างไรก็ตามการทำงานการปรับเปลี่ยนในช่วงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นค่อนข้างล่าช้า เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องกว้านซื้อที่ดินและบ้านบริเวณนั้น ถ้าดูจากรูปภาพวาดขาวดำด้านบนจะเห็นว่าบริเวณรอบๆ Louvre นั้นค่อนข้างแออัดแม้แต่ในลานจัตุรัสก็ยังมีบ้านคนปลูกอยู่ซึ่งต้องมีการซื้อที่เวรคืน ยิ่งไปกว่านั้นช่วงปี ค.ศ. 1674 พระเจ้าหลุยส์กำลังจะย้ายไปที่พระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้มุ่งไปสนพระทัยพระราชวังใหม่ซึ่งทำให้งานของลูฟว์ไม่เดินหน้า

จนในที่สุดโครงการ Louvre ก็ถูกทอดทิ้งไปอีก 2 รัชสมัยคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ16 ซึ่งก็ทรงประทับที่แวร์ซายส์จนมีเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส และในวันที่ 6 ตุลาคมปี ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่16 และพระบรมวงศานุวงศ์ถูกเชิญให้กลับมาอยู่ปารีสใกล้กับประชาชนที่พระราชวังตุยเลอรี Tuileries เนื่องจากประชาชนชาวปารีสเดือดร้อนเศรษฐกิจย่ำแย่ แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่ได้ดีขึ้น เพราะกองทัพของพระองค์ก็พยายามจัดการให้พระองค์และคณะหลบหนี จากปารีสไปที่ Montmédy ทำให้เกิดเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาคม ปี 1792 ที่เรียกว่า Journée du 10 août หรือ “The Second Revolution” มีการบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรีโดยพวกปฏิวัติ ซึ่งในตอนนั้นทหารที่ปกป้องคุ้มครองพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็คือ Swiss Guard (หรือกลุ่มทหารรับจ้างสวิส Mercenary Soldiers ที่ทำหน้าที่รับจ้างคุ้มครองพระราชวังหลายแห่งในยุโรปตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 มีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์และภักดีต่อผู้ว่าจ้างสูงสุด จนถึงปี 1874 กฎหมายรัฐธรรมนูญสวิสให้ยกเลิกไป ถือว่าทหารสวิสต้องปกป้องสวิสเท่านั้นไม่ใช่ต่างชาติ ยกเว้นกรณีที่ คุ้มครองพระสันตะปาปาที่กรุงวาติกัน)

City Break Paris Louvre 7

ภาพนี้ก็คือเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาคม ปี 1792 ที่ชื่อ Capture of the Tuileries Palace วาดโดย Jean Duplessis-Bertaux (1747–1819) จะเห็น Swiss Guard อยู่ในชุดสีแดงปัจจุบันดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ที่พระราชวังแวร์ซายส์ National Museum of the Chateau de Versailles

ดังนั้นเหตุการณ์ที่มีการบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรีก็เป็นไปตามคาดก็คือ Swiss Guard ไม่ยอมวางอาวุธไม่ยอมให้กลุ่มทหารปฏิวัติ หรือ National Guard ผ่าน จึงเกิดการต่อสู้แบบยอมตายแม้ว่าฝ่ายปฏิวัติจะมีกำลังมากว่าหลายเท่า ทำให้ Swiss Guard เสียชีวิต เพราะความกล้าหาญและซื่อสัตย์ภักดีมากว่า 600 นาย แม้ว่าหลังการต่อสู้ไม่นานพระเจ้าหลุยส์ทรงมีคำสั่งให้ Swiss Guard ยอมแพ้ก็ตาม จึงเป็นที่มาของอนุสาวรีย์ ‘สิงโตเศร้า’ The Lion Monument ที่หน้าผาเมืองลูเซินน์ Lucerne ที่เรารู้จักกันดี โดยมีข้อความจารึกสดุดี ถึงความภักดีและกล้าหาญของคนสวิสจากเหตุการณ์ครั้งนั้น in memory of the Swiss Guards : HELVETIORUM FIDEI AC VIRTUTI (To the loyalty and bravery of the Swiss) โดยเปรียบเสมือนสิงโตผู้เก่งกล้าแต่ก็ยังแพ้ได้แบบมีศักดิ์ศรี ไม่มีหนีแม้รู้ว่าต้องพ่าย

มาถึงตรงนี้ชอบมีคำถามแบบแฟนพันธุ์แท้ถามว่า “แล้วทำไมต้องไปสร้างอนุสรณ์สถานนี้ที่เมืองลูเซินน์Lucerne ทำไมไม่ซูริคหรือเจนีวาล่ะ?” คำตอบก็คือ The Lion Monument เกิดจากแรงผลักดันของร้อยตรีคาลล์ (second lieutenant Carl Pfyffer von Altishofen) นายทหารรับจ้างสวิสชาวลูเซินน์ที่อยู่ในช่วงลาพักร้อนกลับบ้านที่ลูเซินน์พอดี ในขณะที่เพื่อนๆ ต้องต่อสู้กับเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาที่ปารีส ทำให้เกิดสำนึกและรู้สึกผิดอยู่เฉยไม่ได้ต้องสร้างอนุสรณ์ที่รำลึกถึงเพื่อนทหารผู้กล้า จึงได้วิ่งเต้นกับเทศบาลเมืองลูเซินน์และนักการเมืองท้องถิ่นจนได้รับการอนุมัติให้สร้าง The Lion Monument ซึ่งออกแบบโดย Bertel Thorvaldsen ชาวเดนมาร์ก และมีการแกะสลักในปี 1820–21 โดย Lukas Ahorn ชาวเยอรมัน

City Break Paris Louvre 4

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของ Louvre ในตอนต่อไปครับ