City Break Paris Part XXXV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 35

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 4 (Life in the court)

เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงตารางกิจกรรมสันทนาการยามบ่ายของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ซึ่งมักจะมีกิจกรรมในสวนแวร์ซายหรือถ้ามีการล่าสัตว์ก็บริเวณในป่ารอบๆแวร์ซาย จึงมีการพูดถึงการสร้างสวนแห่งนี้ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 Phases หรือ 4 ช่วง แต่พูดถึงช่วงแรกไปช่วงเดียวก็เลยไปพูดถึงเรื่องระบบสุขอนามัยของแวร์ซายเสียยืดยาวจึงต้องมาต่อเรื่องสวนและกิจกรรมของพระเจ้าหลุยส์ ช่วงหลังพระอาทิตย์ตกกันในวันนี้และถือเป็นตอนสุดท้ายของแวร์ซายด้วยครับ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -2

กลับมาเรื่องสวนแวร์ซายในช่วงก่อสร้างเพิ่มครั้งที่สองจากปีคศ. 1664 – 1668 จะมีน้ำพุใหม่ถูกสร้างขึ้นเช่นเดียวกับการทำแปลง Bosquets ใหม่ “ด้วยขั้นตอนนี้ทำให้สวนแห่งนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการออกแบบภูมิประเทศแบบสมมาตร มีเอกลักษณะเป็น jardin à la française หรือ French Formal Garden อย่างแท้จริง มีน้ำพุ Grotte de Téthys (น้ำพุแห่งทะเลกรีก Thetis) และบ่อน้ำลาโตเน่ Bassin de Latone และ Bassin Apollon (น้ำพุเทพเจ้ากรีกพระเจ้าอพอลโล จะเห็นน้ำพุที่มีเทพอพอลโลและรถศึกของเขาโผล่ออกมาจากทะเล) ในวันเปิดใช้น้ำพุนั้นผู้ให้สัญญาณคำสั่งนกหวีดก็คือพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั่นเอง

City Break Paris Life in the Court Part 35 -3

สวน Versailles ช่วงที่สามหรือPHASE III นั้นอยู่ในช่วงปี 1680 – 1685 ได้เปลี่ยนการออกแบบของ Le Nôtre มาเป็นการออกแบบของสถาปนิกคนใหม่ที่ชื่อ Jules Hardouin-Mansart! ซึ่งเขาได้ ปรับเปลี่ยนการออกแบบของ Le Nôtre โดยการขยายสนามหญ้าระหว่างน้ำพุไปจนถึงขนาดของปัจจุบันที่เราและเขาได้เพิ่มบ่อน้ำขนาดใหญ่แบบเหลี่ยมคู่ (เรียกว่าคลองแกรนด์ (Canal) และคลอง Petite (แนวนอน)) เพื่อเป็นตัวแทนของแม่น้ำใหญ่สองสายของประเทศฝรั่งเศส

City Break Paris Life in the Court Part 35 -4

ภาพบนเป็นระบบทดน้ำจากแม่น้ำเซนไปที่แวร์ซาย ซึ่งทำให้ระบบน้ำพุคูคลองในสวนแวร์ซายมีชีวิตชีวาอยู่ต่อเนื่อง แต่ไม่เห็นมีการพูดถึงระบบระบายน้ำเสีย

สวน Versailles ช่วงที่ 4 (PHASE IV) คือขั้นตอนสุดท้ายเกิดขึ้นช่วงปีค.ศ. 1704 – 1785. อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน วันที่ 1 ปี 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สิ้นพระชนม์จากโรคปากเท้าเปื่อยที่แวร์ซายส์ และในปี ค.ศ. 1722 หลุยส์ที่ 15 กลับมายังแวร์ซายส์ เขาไม่ได้ใช้เงินจำนวนมากในวังเช่นเดียวกับคุณปู่ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14) สวนจึงมีการเปลี่ยนแปลงแค่เล็กน้อย

โดยสรุป Gardens of Versailles ทั้งหมดมีต้นไม้ อย่างน้อย 200,000 ต้น หากนำมาวางเรียงเป็นทางยาวจะได้ถึง 81 กิโลเมตรของแถวต้นไม้ มีไม้ดอกที่ให้ดอกไม้ในช่วงอากาศอบอุ่นเฉลี่ยประมาณ 210,000 ดอกกระจายทั่ว parterres มีน้ำพุที่มีระบบพ่นน้ำกว่า 50 จุด ซึ่งไหลผ่านท่อน้ำยาวรวมกันวัดได้ 21 ไมล์ มีถนนยาวรวมกัน 12 ไมล์ สวนสาธารณะขนาดใหญ่กว่า 1900 เอเคอร์ (4807ไร่)

เวลา 18.00 น. หรือ 19.00 น พิธีกินเลี้ยงหรือฉลองยามค่ำ

พระเจ้าหลุยส์ที่14 มักนิยมการจัดงานปาร์ตี้ให้มีความบันเทิงกลางแจ้ง เช่น งาน Evening Gatherings ในขณะเดียวกันท่านก็จะไปลงนามในหนังสือสำคัญมากมายที่เตรียมโดยเลขาธิการของที่บ้านในสวนของ Mme de Maintenon มาดามแมงเตนอง พระราชสนมคนโปรด ซึ่งเธอจะได้ทำการศึกษาเอกสารสำคัญเหล่านั้นไว้ก่อน เธอถือเป็นหนึ่งใน 4 เลขาธิการแห่งรัฐ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -5

ภาพบนเป็นภาพของ Mme de Maintenon มาดามแมงเตนอง พระราชสนมคนโปรดและเลขาธิการแห่งรัฐ โดยที่ภาพซ้ายนั้นเป็นภาพวาดสีน้ำมันจากตัวจริงแต่ภาพขวาคือดาราที่แสดงเป็นพระนางในซีรี่ส์เรื่อง”Versailles”

City Break Paris Life in the Court Part 35 -6

อย่างไรก็ตามพระเจ้าหลุย์ที่14 ก็ยังมีสนมคนโปรดมากที่สุดอีกรายหนึ่ง ที่อาจไม่ได้ให้อำนาจรัฐแต่พระองค์ทรงมีลูกด้วยกับ Francois-Athenais ในภาพซ้ายที่วาดจากตัวจริงและภาพขวาก็คือดาราที่แสดงเป็น Francois ในซีรี่ส์เรื่อง”Versailles”

แม้ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่14 จะแต่งงานกับสมเด็จพระราชินีมาเรีย – เทเรสในปี ค.ศ. 1660 แต่พระองค์ไม่ได้มีนางเพียงคนเดียว ดังนั้นเมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านพักมาดามแมงเตนองทุกๆเย็น มาดามก็เหมือนกลายเป็นภรรยาคนที่สองของท่าน (แม้ว่าการสมรสไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการหรือยอมรับ) ในขณะนั้นท่านอาจศึกษาแฟ้มเอกสารสำคัญกับ 1 ใน 4 เลขาธิการของรัฐ ท่านก็ได้รับความเพลิดเพลินไปกับการได้ใกล้ชิดกับของมาดามไปด้วย

เวลา 22.00 น. พิธีอาหารมื้อเย็นSupper Fit for a King
ฝูงชนรีบเข้าห้องรับแขกของพระเจ้าหลุยส์เพื่อมาร่วมรับประทานอาหารเย็นที่ Royal Table กษัตริย์เสด็จประทับที่เสวยกับสมาชิกในพระราชวงศ์ เมื่ออาหารเสร็จสิ้นแล้วพระมหากษัตริย์เดินข้ามห้องและเข้าร้านเพื่อทักทายผู้หญิงในศาล จากนั้นเขาก็เกษียณในตู้เพื่อสนทนากับครอบครัวและเพื่อนสนิทของเขาได้อย่างอิสระ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -7

ในเวลา 4 ทุ่ม ฝูงชนจะเข้ามาจนเต็มห้องรับรองหรือ Antichambre ในบริเวณ Kings Suite เพื่อเป็นสักขีพยานในงานเสวยอาหารค่ำของกษัตริย์ พระราชาและพระราชินีจะเสด็จมาด้วยกัน อาหารค่ำแบบราชสำนักจะประกอบไปด้วยการเสิร์ฟจากอาหารจานเปลถึง 40 จานที่มักเสิร์ฟชุดละ 8 จานซึ่งสามารถนำจานไปใช้ซ้ำได้ 5 ครั้งในระหว่างมื้อ อาหารจะประกอบไปด้วยซุป, สลัด, เนื้อสัตว์, ผัก และของหวาน “อาหารทุกจานถูกลิ้มรสก่อนโดยคนรับใช้สนิท เพื่อตรวจสอบสารพิษ และใช้คนเสิร์ฟเป็นจำนวน 100 คน หากเป็นงานใหญ่ก็ถึง 1,000 คนที่ต้องเดินไปห้องครัวที่อยู่ไกลไปอีกอาคารหนึ่ง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะถูกแบ่งหน้าที่ออกไปเป็น “เจ้าหน้าที่พระโอษฐ” ทำหน้าที่ตักเสิร์ฟ, เจ้าหน้าที่ลำเลียงจานไปที่โต๊ะ และ “เจ้าหน้าที่กุณโฑ (officer of the goblet) ทำหน้าที่เทเครื่องดื่ม และยังมีเจ้าหน้าที่จัดจานอาหารวางผ้ากันเปื้อนและดูรูปแบบของโต๊ะให้ต้องมีสีของพระราชวงศ์ Bourbon: คือสีทอง สีแดง หรือสีเงิน แก้วก็ต้องทำด้วยคริสตัลเจียรแบบบาคาร่า ส่วนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ อย่างเช่น มีด ส้อม และเครื่องเทศปรุงรสจะถูกเก็บไว้ในกล่องพิเศษ แต่ถึงอย่างนั้นพระเจ้าหลุยส์นิยมทานอาหารด้วยมือแม้การใช้ส้อมกับมีดจะเริ่มใช้เป็นธรรมเนียมกันแล้วก็ตาม และเนื่องจากห้องครัวอยู่ห่างไกลจากห้องรับประทานอาหาร นั่นอาจทำให้อาหารเย็นชืดก่อนที่จะถูกเสิร์ฟ ดังนั้นพวกเขาก็เลยคิดค้นที่ครอบอาหารแบบระฆังเงินเพื่อใช้ครอบจาน (Silver Bell Food Covers) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็ที่แวร์ซายนี่แหละ เพื่อให้อาหารอุ่นจนถึงเวลาเสิร์ฟ ธรรมเนียมนี้เลยถูกใช้ต่อมาโดยเฉพาะกับร้านอาหารชั้นดี แล้วพอมีฝาครอบเงิน วัสดุอีกอย่างที่ทำตามกันมาก็คือส้อมหรือ forkนี่แหละครับ ก่อนหน้านั้นคนฝรั่งเศสใช้มีดกับมือเป็นหลัก

City Break Paris Life in the Court Part 35 -8

ภาพบนและล่างเป็นบรรยากาศบนโต๊ะอาหารหากมีการจัด Grand Dinner ขึ้นที่แวร์ซาย

City Break Paris Life in the Court Part 35 -1

 

City Break Paris Life in the Court Part 35 -9

ภาพนี้จะเป็นบรรยากาศของยามพลบค่ำที่บริเวณสวนแวร์ซายที่ใช้จัดงานเฟสติวัลต่างๆ

 

ในโอกาสต่างๆ ที่พระราชวังแห่งนี้จะมีการจัดงานใหญ่ๆ (fêtes) ซึ่งมักใช้เวลาหลายวันหลายคืน มีแขกรับเชิญหลายร้อยคน โดยจะจัดในสวนแวร์ซายพวกแขกเหรื่อจะชื่นชมสวนหย่อมหรือไปที่โรงละครหรือเต้นรำ แน่นอนว่าต้องมีการแข่งกันในเรื่องเครื่องแต่งกาย ในตอนปิดฉากงานปาร์ตี้ก็จะมีการแสดงดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม

City Break Paris Life in the Court Part 35 -10

ในโอกาสพิเศษถ้าเป็นงานใหญ่พระราชาจะทรงตัดสินใจเองว่าใช้เมนูอาหารอะไร การแสดงจะเป็นแบบไหน หรือธีมของงานปาร์ตี้จะเป็นแบบไหน จะต้องแต่งกายอย่างไร เช่น ท่านจะมอบหมายให้มีการเตรียมรายการอาหารที่เป็น Menus-Plaisirs du Roi มีการตกแต่งจานที่สวยงาม ส่วนทางด้านงานแสดงพระองค์มักมีรูปแบบที่อิงตำนานเทพเจ้ากรีก เรื่องราวของอัศวินจากยุคกลางหรือบทกวีร่วมสมัย และใช้แกรนด์คาแนลเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณพระราชวังและถูกสร้างขึ้นตามคลองแห่งเวนิสคลอง Grand & Petite เป็นฉากและแกนหลักของงาน fêtes centered มีการจำลองย่อขนาดเรือที่มีจริงในกองทัพเรือฝรั่งเศส เพื่อจำลองสงครามทางน้ำ เพื่อความบันเทิงในคลอง มีแม้แต่เรือกอนโดลาเสมือนอยู่ในท่าเมืองเวนิสจริงๆ ในบทละครแบบโรแมนติก

City Break Paris Life in the Court Part 35 -11

ในช่วงหนึ่งของงาน fêtes du nuit พระเจ้าหลุยส์ก็อาจมีช่วงเวลาที่ท่านสามารถผ่อนคลายไปกับการสนทนากับคนรู้จักสนิท เหล่าสมาชิกของพระราชวงศ์ คณะรัฐมนตรี หรือแม้แต่สนมคนโปรดได้บ้าง

เวลา 23.30 น. พิธีถวายพระพร ส่งพระเจ้าหลุยส์เข้านอน
พิธีกรรมสาธารณะนี้เรียกว่าคูชเช่ coucher หรือเข้านอนจะตรงข้ามกับพิธี Levée: ( Rising ) หรือตื่นขึ้นมา

City Break Paris Life in the Court Part 35 -12

กษัตริย์ของฝรั่งเศสจะถูกห้อมล้อมอย่างตลอดต่อเนื่องด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาอยู่ในที่พำนักของพระราชวงศ์และยึดมั่นในจรรยาบรรณ การปรากฏตัวในพิธีต่างๆ เหล่านี้ก็มักจะได้รับการตอบแทนด้วยเงินช่วยเหลือ ของขวัญ ที่พักในพระราชวังแวร์ซาย การเชิญไปงานเฉลิมฉลองและพิธีการอื่นๆ เป็นประจำ การได้เป็นคนยืนถือเทียนขณะที่พระองค์เปลื้องผ้าเปลี่ยนชุดเป็นชุดนอนนั้นถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

 

จบเรื่องแวร์ซายแล้วครับ สำหรับเรื่องราวของ City Break Paris ก็จะมาถึงเรื่องราวช่วงสุดท้าย นั่นคือ มื้อเย็น และกิจกรรมยามค่ำในปารีส ซึ่งก็จะเป็นประมาณ 4 ตอนจบเช่นกัน แล้วพบกันที่นี่ครับ

City Break Paris Part XXXIV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 34

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 3 (Life in the court)

เวลา 13.00 น. พิธีอาหารกลางวัน

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -2

โดยหลักการแล้วอาหารมื้อกลางวันนี้จะจัดให้พระองค์เสวยแบบส่วนตัว แต่ความเป็นส่วนตัวของพระองค์มักจะไม่มีอยู่แล้วเพราะผู้ติดตามทั้งหลายก็ใช้เวลานี้กราบทูลเรื่องต่างๆได้อยู่

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -3

หลังจากทรงงาน กษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินไปเสวยพระอาหารกลางวันของพระองค์ตอน 13.00 น. ในพระตำหนักส่วนพระองค์หรือห้องบรรทมพระองค์เองโดยนั่งที่โต๊ะที่หันหน้าไปทางหน้าต่าง โดยหลักการอาหารมื้อนี้จะเป็นแบบส่วนตัว แต่พระเจ้าหลุยส์ที่14 ก็ยอมรับรองแขกผู้ชายซึ่งได้อยู่ในพิธีตื่นจากเตียง (levée)ในตอนเช้า ให้ได้เข้ามาร่วมพระราชเลี้ยงอาหารกลางวันของพระองค์ด้วยก็เลยกลายเป็นพิธีมโหฬารที่มีผู้เข้าร่วมหลากหลายด้วยกัน

บุคคลที่มีเกียรติมากที่สุดจะมีสิทธิ์ที่จะมอบผ้าเช็ดมือให้กษัตริย์ เพื่อให้ท่านทรงเช็ดมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร จะมีสุภาพบุรุษ 6 คนทำหน้าที่เสิร์ฟพระกระยาหาร และพิธีการอันยืดเยื้อไร้ประโยชน์นี้ก็เป็นที่มาของการทำให้พระองค์ได้เสวยอาหารที่เย็นชืดนั่นเอง

ช่วงบ่ายเวลา 14.00 น พิธีสันทนาการ

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -4

โดยปกติพระองค์จะประกาศโปรแกรมสำหรับช่วงบ่ายที่ตั้งใจจะทำในช่วงเช้าของวันนั้น (ในพิธีตื่นจากเตียง) ในทุกๆฤดูกาลพระเจ้าหลุยส์ชอบที่จะอยู่กลางแจ้งในที่โล่ง บ่ายวันรุ่งขึ้นท่านอาจจะไปล่าสัตว์ในป่ารอบๆแวร์ซายหรือเดินเล่นหรือขี่ม้าเล่นในสวนก็แล้วแต่ ในช่วงเวลาดังกล่าวพระองค์จะทรงผ่อนคลายและมีอารมณ์ที่ดี ดังนั้นพวกข้าราชบริพารก็ชอบที่จะมาห้อมล้อมพระองค์เผื่อได้รับความสนใจและได้รับความโปรดปรานจากท่าน สวนของแวร์ซายยังมีสวนสัตว์ (ménagerie) ที่เต็มไปด้วยสัตว์ เช่น ม้าลายและยีราฟ ที่ได้รับมอบมาจากประเทศในแอฟริกาและเอเชีย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -1

พระราชาทรงมีกิจกรรมล่าสัตว์ถือเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบของราชวงศ์บูร์บอง จะเกิดขึ้นบริเวณป่าทึบรอบแวร์ซาย โดยหัวหน้าหน่วยกองกำลังล่าสัตว์จะจัดให้เกมส์การล่า มีความบันเทิงไม่น่าเบื่อ ในระหว่างการล่าสัตว์กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 อนุญาตให้ผู้คุ้มกันท่านพกอาวุธและมีสิทธิ์ยิงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการล่าสัตว์ พระเจ้าหลุยส์ทรงโปรดปรานสุนัขล่าสัตว์ของท่านมาก ท่านมีสุนัขล่าสัตว์กว่า 100 ตัว และจำชื่อพวกมันได้ทั้งหมด เพราะล่าสัตว์บ่อยมากบนหลังม้า โดยความช่วยเหลือจากสุนัขของท่าน พระเจ้าหลุยส์จะไล่ล่าเป็นเวลาหลายชั่วโมงในช่วงบ่ายที่แวร์ซาย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -5

บางครั้งท่านก็ไล่ล่าไปกับสุนัขตัวเดียวเท่านั้นหากตัวอื่นตามไม่ทัน และในการล่าสัตว์ขุนนางหญิงจะติดตามการล่าสัตว์ในรถม้า เมื่อสิ้นวันพระเจ้าหลุยส์ที่14 จะเสนอรางวัลที่ดีที่สุด (เช่น กวาง) กับผู้หญิงที่ท่านโปรด

หากท่านตัดสินใจที่จะเดินเล่นก็จะเดินเท้าในสวนหรือนั่งรถม้ากับสุภาพสตรีคนโปรดในสำนัก ต้องยอมรับว่าบริเวณสวนของแวร์ซายนั้นมีภูมิทัศน์ในรูปแบบของการออกแบบสวนอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศส มีเอกลักษณ์ที่เป็นพิธีการและมีความเฉียบขาดเพื่อสะท้อนถึงอำนาจของกษัตริย์

แต่ก็ถึงตอนนี้ก็ต้องกล่าวถึงสวนและปัญหาซึ่งเป็นภาพในด้านลบของแวร์ซายสักเล็กน้อย สวนแวร์ซายถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1630 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่14 ได้ว่าจ้างสถาปนิกภูมิทัศน์ยอดเยี่ยมแห่งยุค นายอังเดรเลอโนต์เพื่อออกแบบสวนพระราชวังภาคพื้นดิน ซึ่งในท้ายที่สุดมีถึง 4 ขั้นตอนของการก่อสร้างสวนกว่าจะจบลงก็ไปถึงยุคที่หลุยส์ที่16 ครองราชย์ สวนแห่งแวร์ซายส์ระยะที่ 1 ก็คือตอนระยะแรกของการก่อสร้างสวนเริ่มขึ้น

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -6

บริเวณ Orangerie ลานปลูกต้นส้มmandarin ที่มีสายพันธุ์จากเมืองจีน

ลำดับแรกของงานคือการปรับเปลี่ยนและจัดเรียงชุดไม้พุ่มที่มีอยู่ทั้งหมด (กลุ่มของต้นไม้ชนิดเดียวกัน) ในบริเวณ เมื่อเฟสแรกเสร็จสิ้นเมื่อปีคศ.1664 ก็ต้องถือว่าเป็นสวนที่น่าประทับใจที่สุด โดยเฉพาะเมื่อ (สวน) Orangerie เสร็จสมบูรณ์ Orangerie เป็นสวนส้มที่มีมากกว่า 1,000 ต้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ส้มจากเมืองจีนมีกลิ่นหอม ตอนหลังนำมาปลูกบริเวณรอบๆพระราชวังเพื่อดับกลิ่น เพราะก็เป็นที่รู้กันว่าแวร์ซายไม่มีห้องน้ำและห้องสุขาเวลาจะปลดทุกข์ไม่ว่าหนักหรือเบาก็จะมองหากระโถนที่อาจมีแอบหลบมุมอยู่ตามห้อง แต่กระโถนมักจะเต็ม ทำให้ผู้มาทีหลังก็จะอาศัยตามเหลือบมุมของอาคารในพระราชวังนั่นแหละ ส่วนคนใช้ที่ทำหน้าที่เทกระโถนก็มักง่าย จะใช้วิธีเปิดหน้าต่างและเทลงไปเลย เพราะเต็มตลอดเทกันไม่ทัน ลองคิดดูว่าอยู่กันหลายพันคนแต่ไม่มีห้องสุขาหรือห้องน้ำ ความคิดในการนำสวนส้มมาปลูกนั้นตอนแรกก็จะให้พวกผู้ติดตามแขกเหรื่อทั้งหลายมาปลดทุกข์กันในสวนส้มนอกวัง แต่เวลาอากาศหนาวมากๆหรือกลางวันแสกๆก็มักไม่มีใครลงมาประเจิดประเจ้อจึงใช้เหลือบมุมลึกลับต่างๆของพระราชวังนั่นเอง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -7

ว่ากันว่ากลิ่นที่แวร์ซายนั้นไม่ต่างกับการที่เราไปเข้าห้องส้วมสาธารณะตามชนบทของเมืองจีนเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วที่ไม่มีระบบสุขอนามัยหรือ hygiene ใดๆ

ที่มันควรต่างกันก็ตรงแวร์ซายนั้นเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่แต่กลับไม่ให้ความสำคัญด้านนี้ ทั้งที่ระบบระบายน้ำ Sewer หรือระบายของเสียนั้น โรมันทำมานานแล้วก่อนจะมีคริสต์ศาสนาด้วยซ้ำ(ก่อนสมัยแวร์ซายสร้างเสร็จตั้งกว่า1000 ปี) แม้อาจจะไม่ใช่ผู้ริเริ่มแต่โรมันคือผู้พัฒนาให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยโรมันนั้นสร้างห้องสุขารวม Communal Toilets แบบสาธารณะ(มักอยู่ไม่ไกลจากที่อาบน้ำสาธารณะแบบ Roman Bath) มีให้เห็นหลายๆแห่งที่เคยเป็นเมืองขึ้นของโรม เช่น รูปข้างล่างนี้พบที่เมืองโบราณในตุรกีที่ชื่อ Ephesus

42-64089355

แต่โรมันไม่ได้มีการพัฒนาห้องสุขาในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการใช้กระโถน Potty อยู่แล้วนำไปเททิ้งตอนเช้าที่ระบบระบายน้ำเสียของเมือง(ถ้าเป็นเมืองใหญ่แบบโรม) ต่อมายุคกลางก็เริ่มพัฒนาเป็นที่นั่งเท่ๆแต่ก็ซ่อนกระโถนไว้ด้านในอยู่ดี ไม่ได้ต่อกับระบบระบายน้ำที่ต้องมีการเดินท่อมากมายแบบสมัยนี้ ถ้าเป็นในวังที่นั่งก็จะออกแบบดีหน่อย เช่น ข้างล่างนี้เป็นอุปกรณ์ถ่ายทุกข์ที่อยู่ในแวร์ซายในยุคของพระนางมารีอังตัวเนตสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -9

แม้จะมีการประดิษฐโถส้วมชักโครกที่ต่อท่อระบายน้ำทิ้งในปี 1596 โดยนาย John Harington จากแคว้น Yorkshire ของอังกฤษที่จดสิทธิบัตรเอาไว้ ฝรั่งเศสที่ไม่ถูกกับอังกฤษอยู่แล้วก็ไม่ยอมรับ เพราะมีความเชื่อโบราณว่าถ้ามีการต่อท่อระบายของเสียลงไปในท่อน้ำทิ้ง Sewer นั้น จะมีสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท่อน้ำทิ้ง เช่น หนู งู โผล่ออกจากส้วมแบบนี้เข้ามาในบ้านได้ ความเชื่อเรื่องนี้ทำให้การพัฒนาเรื่องสุขานี้ช้ามาก เพราะกว่าจะสมบูรณ์แบบก็มาในปี 1852 โดยนาย George Jennings ซึ่งจดสิทธิบัตรไว้มีต้นแบบที่ใกล้เคียงของปัจจุบันนี้ พวกเราสมัยนี้โชคดีมากที่เกิดมาในยุคที่ระบบสุขอนามัยค่อนข้างสมบูรณ์แบบแล้ว

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -10

จริงๆแล้วผู้ที่เข้ามาอยู่ที่แวร์ซายจะได้รับคู่มือเรื่องสุขอนามัยให้ปฎิบัติตาม แต่ไม่มีใครสนใจเพราะมักง่ายและยึดเอาความสะดวกเข้าว่า

อย่างไรก็ตามแวร์ซายไม่ได้มีปัญหาแค่กลิ่นของเสียจากการขับถ่ายของผู้คนที่นั่นเท่านั้น แม้กลิ่นของเสียก็หนักแล้วยังมาเจอกลิ่นตัวอีกน่ะสิครับ เพราะข้าราชบริพารหรือ Courtiers ที่อยู่ใน Court ไม่อาบน้ำ ในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการอาบน้ำอุ่นทำให้รูขุมขนเปิดกว้างและมีเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายได้ง่าย ยิ่งไม่นานก่อนหน้านั้นในยุโรปเจอปัญหาไข้กาฬโรค (Plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดมาในประวัติศาสตร์ยุโรป เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้

ดังนั้นภาพสวยหรูของแวร์ซายในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั้นเป็นแบบ” สวยแต่รูปจูบไม่หอม” จริงๆ ดูรูปข้างล่างนี้ประกอบ

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -11

หรือรูปข้างล่างนี้โชว์ให้เห็นความแตกต่างของรูปตอนแอ๊ปกับรูปชีวิตจริง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -12

ภาพด้านบนและล่างคือเหตุการณ์เดียวกันคือสิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในแวร์ซายของบรรดาขุนนางทั้งหลาย ก็เหมือนตอนวางท่าให้ถ่ายรูป(สมันนั้นไม่มีกล้องต้องจ้างศิลปินวาดเอา) แต่สำหรับความเป็นจริงแล้วผู้เคยเข้าไปในแวร์ซายแล้วเล่าต่อๆกันมาบอกว่าในแวร์ซายนั้นเหม็นมากๆ(บรรยากาศจะเป็นแบบรูปล่างต่างหาก)ในช่วงยุคของหลุยส์ที่14 มาดีขึ้นก็ยุคของหลุยส์ที่15 ไปแล้ว ที่มีการลงทุนระบบน้ำเพื่อช่วยระบายของเสีย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -13

กลายเป็นว่ายิ่งไม่อาบน้ำก็เกิดการนำน้ำหอมมาใช้กันดับกลิ่นเหม็น แล้วยังมีการนำแป้งและเครื่องสำอางมาใช้จะเห็นว่าจะมีการแต่งหน้าขาววอก ทาปากกับแก้มมีแดงสด แม้แต่ผู้ชายก็แต่งหน้า เพื่อกลบเกลื่อนโรคผิวหนังกลากเกลื้อนที่เกิดจากความสกปรกไม่อาบน้ำนั่นเอง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -14

พระเจ้าหลุยส์ที่14 เองท่านก็ไม่ใช่ผู้นิยมน้ำชำระล้างเช่นกัน มีเกร็ดประวัติศาสตร์ว่าตลอดรัชกาลพระวรกายของพระองค์ก็มีโอกาสสัมผัสน้ำไม่เกิน 3 หน แต่ท่านก็ทรงเป็นผู้นำแฟชั่นโดยเฉพาะรองเท้าส้นสูงเพราะท่านมีพระวรกายที่ไม่สูง อีกทั้งพระเกศาร่วงหมดเมื่อพระชันษาแค่ 25 จึงมีแฟชั่นวิกผมเข้ามาอีกด้วย โดยวิกผมก็เป็นทรงสูงเพื่อเสริมบุคลิกที่พยายามใช้รองเท้าส้นสูงช่วยแล้วต่อหนึ่ง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -15

ภาพบนเป็นรูปพ่อค้าขายน้ำหอมและเครื่องสำอางค์ในแวร์ซาย

โดยสรุปแวร์ซายส์นั้นไม่มีสุขอนามัยเอาซะเลยจนกระทั่งถึงยุคของมารีอังตัวเนตที่เป็นราชนีชาวออสเตรียจึงมีอ่างอาบน้ำในส่วนของ Queen Apartment เนื่องจากพระนางเป็นชาวออสเตรียซึ่งอาจชอบอาบน้ำมากกว่าไม่ใช้แนวคิดของฝรั่งเศส แต่ก็พบว่าพระนางทรงเครื่องสำอางและน้ำหอมแบบชาวฝรั่งเศสเช่นกัน

ดูจากภาพข้างล่างจะเป็นภาชนะใส่เครื่องสำอางและน้ำหอมของพระนาง

Versailles' dirty secrets - Toute L'Histoire [720p].mp4_001621240

ที่ใส่เครื่องประทินโฉม หรือเครื่องสำอาง ในสมัยของมาเรียอังตัวเนต ส่วนภาพล่างเป็นที่ไส่น้ำหอม

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -16

แต่จุดที่ไม่ดีในเรื่องสุขอนามัยนี้ก็ถือเป็นการจุดประกายเริ่มต้นทำให้อุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางของฝรั่งเศสกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในทุกวันนี้ของประเทศ และถือได้ว่าเป็นของดีที่สุดในโลก ไม่น่าเชื่อว่าเคยมีบริษัทสบู่แห่งหนึ่งทำวิจัยออกมามีข้อสรุปว่าคนฝรั่งเศสคือผู้ใช้สบู่ต่อคนต่อก้อนเฉลี่ยนานที่สุดคือสบู่หมดช้าที่สุด จึงเป็นที่เชื่อว่าสิ่งที่ปฏิบัติต่อเนื่องมาและการใช้น้ำหอมดับกลิ่นอาจทำให้ชาวฝรั่งเศสน่าจะมีการอาบน้ำน้อยครั้งกว่าชาติอื่น(วิจัยนี้ทำมานานแล้วปัจจุบันอาจมีผลที่เปลี่ยนไป)

 

ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของแวร์ซายครับ โปรดติดตามได้ที่นี่ต่อไป

City Break Paris Part XXXIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 33

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 2 (Life in the court)

City Break Paris Life in Versailles Part II -15

รูปข้างบนนี้มองออกจากพระราชวังไปจะเห็นอาคารโค้งรูปตัว U 2 อาคารซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นคอกม้าสำหรับม้า 2,500 ตัว ที่เก็บรถโค้ชเทียมม้าอีก 200 คัน และยังมีคอกหมาล่าสัตว์อีกเป็นพันตัว

ความหมายของคำว่า Life in the (royal)court ก็จะหมายถึงชีวิตของผู้เกี่ยวข้องกับพระราชวังแห่งนี้ทั้งหมดเพราะหลังจากวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1682 ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประกาศให้พระราชวังแวร์ซายส์เป็นที่ตั้งของรัฐบาลฝรั่งเศส “ในทางปฏิบัติระบบราชการทั้งมวลก็ต้องย้ายออกจากกรุงปารีสไปยังแวร์ซายชานเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระราชวังหรูหราแห่งนี้ Courtiers หรือผู้ติดตามทั้งหลายรวมๆ กันแล้วถึง 20,000 คนซึ่งประกอบด้วยทหาร 9,000 นาย, คนรับใช้ สนมกำนัล 5,000 คน ลอร์ดและสมาชิกขุนนางผู้ดีน้อยใหญ่ประมาณ 1,000 คน ที่อยู่ประจำและที่ไปๆ มาๆ อีกกว่า 1,000 ราย และสุดท้ายเป็นข้าราชการอีก 4-5,000 คนที่ต้องมาอยู่ใกล้ชิดที่นี่เพื่อจัดการงานราชการให้ลุล่วง การมาอยู่ในพระราชวังนั้นก็เพื่ออยู่ในสายตาของพระองค์และเรียกใช้งานได้ มีระเบียบว่าพวกเขาต้องสวมเสื้อผ้าใหม่ (มี dress code) สำหรับงานเลี้ยงของกษัตริย์ (fêtes) และโอกาสทางสังคมที่สำคัญอื่นๆ พวกเขาอาจขออนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้เป็นระยะ ๆ นอกเหนือจากคนแต่ละระดับแล้ว ยังมีม้าอีก 2,500 ตัว รถโค้ชเทียมม้าอีก 200 คัน และหมาล่าสัตว์อีก 5,000 ตัวที่อยู่รอบๆ พระราชวัง

และแน่นอนว่าชีวิตของผู้คนทั้งหมดรวมทั้งสัตว์เหล่านั้นจะมีกิจกรรมและหน้าที่ขึ้นอยู่กับตารางภารกิจประจำวันของพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งเมื่อครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงราชพิธีแรกของพระเจ้าหลุยส์ ที่14 ไปแล้ว นั่นคือพิธีการตื่นจากเตียง หรือ พิธี Levée: ( Rising ) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 8:00 น.ของทุกวันจนจบพิธีประมาณเกือบ10:00 น. คือเมื่อเสวยอาหารเช้าเสร็จ (อ่านรายละเอียดของพิธีได้ในบทความตอนที่แล้ว) วันนี้จะเริ่มพิธีต่อไปเลยดังนี้

10:00 น. พิธีการทางศาสนา
จะมีการตั้งขบวนขึ้นในห้องโถงกระจก Hall of Mirrors ที่ตรงทางออกของ King’s Apartments และพระมหากษัตริย์ก็จะจะนำขบวนข้าราชบริพารของพระองค์ผ่าน Hall of Mirrors และผ่าน State Apartments ไปยังโบสถ์หลวงเพื่อสวดมนต์ตอนเช้า ระหว่างทางเดินผู้ที่ได้มารวมตัวกัน 2 ข้างทางก็จะได้พบกษัตริย์ บางคนอาจกราบทูลสั้นๆ กับพระองค์หรือส่งใบคำร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษร

City Break Paris Life in Versailles Part II -13

ภาพบนจำลองเหตุการณ์ของกษัตริย์เสด็จผ่านห้องโถงกระจก

City Break Paris Life in Versailles Part II -3

มาถึงตรงนี้คงต้องขอพูดถึง Hall of Mirrors ห้องโถงกระจกที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่แวร์ซายนี้ออกแบบโดย Jules Hardouin-Mansart และการตกแต่งภายในเป็นหน้าที่ของ Charles Le Brun ในปี 1678 มีความยาว 73 เมตร มากกว่าครึ่งของสนามฟุตบอล และความสูง 12 ½ เมตร หรือเท่ากับสูงประมาณตึกสามชั้น มีหน้าต่างขนาดใหญ่และสูงแบบ French Window ที่มองไปยังสวนแวร์ซาย 17 บานแต่ละบานจะอยู่ตรงข้ามกับกระจกบานขนาดใหญ่ 17 บาน ที่สะท้อนแสงอาทิตย์อันอ่อนโยนดุจเรืองแสงจากพระเจ้าเข้ามาทุกๆ เช้า ห้องโถงกระจกประกอบด้วย: กระจก 357 บาน, ประตูกระจก 17 บาน โคมไฟระย้าขนาดใหญ่ 17 จุด โคมไฟระย้าขนาดเล็ก 26 จุด ผนังหินอ่อน เพดานฉาบปูนมีภาพที่เปรียบเสมือนสวรรค์มีขึ้นเพื่อเตือนผู้ที่ได้เห็นให้ตระหนักถึงสิทธิอันชอบธรรมของพระมหากษัตริย์และช่วงเวลาแห่งชีวิตอันรุ่งโรจน์ของสุริยะกษัตริย์หรือหลุยส์ที่ 14 ต้องบอกว่าช่างกระจกสุดยอดของโลกในตอนนั้นต้องเป็นช่างกระจกจากเมืองเวนิส ซึ่งถูกจ้างมาด้วยเงินที่มากโขอยู่ เพราะปกติช่างเวนิสจะไม่ยอมเปิดเผยความลับด้านวิชาการทำกระจกให้ใครเพราะมีโทษร้ายแรงมาก แต่เพราะความโลภนี่เองหลังจากทำงานที่แวร์ซายเสร็จก็ถูกทางการเวนิสส่งคนมาเก็บช่างคนนั้นเสียไม่ได้ใช้เงินอยู่ดี (มีเขียนอยู่ในเกร็ดประวัติศาสตร์)

City Break Paris Life in Versailles Part II -16

รูปของอามาเดอุส โวฟกัง โมสาร์ตเมื่อครั้งมาเล่นคอนเสิร์ตที่แวร์ซายตอนอายุเพียง 7 ขวบ รับพระราชทานจาก Marquise de Pompadour มาดามปอมปาดูพระสนมเอก ในรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15

ห้องโถงกระจกที่แวร์ซายเป็นที่ที่กษัตริย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ใช้รับรองบุคคลสำคัญ เช่น เอกอัครราชทูตและแต่ละสัปดาห์ อาจมีงานบอลสวมหน้ากากและคอนเสิร์ต เพลงแบบ Baroque Music ที่อาจเป็นวงเล็กแบบ trio หรือ Quartets ที่มีนักดนตรีชื่อดังเช่น Mozart จาก Salzburg ที่เคยถูกเชิญมาเล่นคอนเสิร์ตที่นี่ตอนอายุเพียงแค่ 7 ขวบ (แต่ตอนมาที่แวร์ซายคือปี 1763 ตรงกับยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15) งานที่จัดขึ้นที่นี่จะจำกัดจำนวนแขก ต้องเป็นข้าราชบริพารระดับสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมได้

City Break Paris Life in Versailles Part II -9

นักเปียโนชื่อดังของยุคปัจจุบันที่ชื่อแลงแลง Lang Lang ได้มีโอกาสไปเปิดคอนเสิร์ตตามคำเชิญของรัฐบาลฝรั่งเศสโดยเขาได้บรรเลงเพลงของโมสาร์ตและโชแปง ซึ่งเป็นเพลงที่เคยถูกเล่นในแวร์ซายแห่งนี้

ห้องกระจกนี้ถือเป็นห้องประวัติศาสตร์ที่มีการลงนามทำสนธิสัญญาสำคัญมากมาย เช่นเมื่อครั้งจักรวรรดิเยอรมันได้ประกาศรวมเป็นประเทศในปี 1871 และสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งลงนามสงบศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งลงก็ในห้องนี้

City Break Paris Life in Versailles Part II -8

โบสถ์หลวง Royal Chapel มองจากด้านนอกอาคาร

จากนั้นพระองค์ก็จะเดินไปยังที่สุดทางเดินซึ่งจะเป็นโบสถ์หลวง Royal Chapel ซึ่งพระองค์จะเข้าร่วมพิธีมิสซาตอนช่วง 10:30 น. กษัตริย์และพระราชวงศ์เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ใช้พื้นที่ชั้นสองของโบสถ์ ผู้ติดตามส่วนที่เหลือจะต้องใช้พื้นที่ชั้นล่าง

City Break Paris Life in Versailles Part II -17

โบสถ์หลวง Royal Chapel ภายในอาคารชั้นล่าง สำหรับข้าราชบริพาร

พีธีสวดรับศีล(mass) ซึ่งกินเวลานานครึ่งชั่วโมง จะมีคณะนักร้องประสานเสียงร้องเพลงแบบ Chapel Music ที่แต่งขึ้นโดยนักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศสอย่าง Lully & Lalande ซึ่งถือว่ามีชื่อเสียงของยุโรปมักจะร้องเพลงใหม่ๆ ถวายอยู่เสมอ

City Break Paris Life in Versailles Part II -5

การแสดงคอนเสิร์ต เพลงแบบ  Baroque Music ใน Royal Chapel ที่แวร์ซาย
City Break Paris Life in Versailles Part II -6

โบสถ์หลวง Royal Chapel ภายในอาคารชั้น 2 สำหรับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

มาตรงนี้ต้องขอพูดถึงโบสถ์ของแวร์ซายสักหน่อย โบสถ์หลวงแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับนักบุญเซนต์หลุยส์บรรพบุรุษและนักบุญอุปถัมภ์ของพระราชวงศ์ฝรั่งเศส สร้างเสร็จในปีพ. ศ. 1710 ถือเป็นอาคารสุดท้ายที่สร้างขึ้นในแวร์ซายภายใต้การปกครองของหลุยส์ที่ 14 และที่โบสถ์แห่งนี้นี่เองที่ใช้ทำพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระนางมารีอังตัวเนตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งถือเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ใช้แวร์ซายเป็นที่ประทับอีกด้วย

City Break Paris Life in Versailles Part II -12

ภาพเหตุการณ์วันอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนต จัดที่โบสถ์หลวง Royal Chapel ส่วนภาพล่างเป็นภาพจากภาพยนตร์ที่จำลองเหตุการณ์วันสำคัญดังกล่าว

City Break Paris Life in Versailles Part II -4

 

11:00 น. พิธีการทรงงานหรือรับรองแขก
พระองค์จะกลับไปที่อพาร์ตเมนต์ของกษัตริย์ เพื่อทรงงานโดยมีตารางประชุมสภาต่างๆ จัดในห้องประชุมของพระองค์โดยทุกวันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ (ทุกๆ สองสัปดาห์ครั้ง) จะมีประชุมสภาแห่งรัฐ ส่วนสภาสูงจัดขึ้นในวันอังคาร และวันเสาร์เป็นการประชุมสภาการเงิน ในขณะที่วันศุกร์จะเป็นประชุมสภามโนธรรม (ศาสนา) แล้วในช่วงเว้นก็จะมีสภาจัดการ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของชาติ) ได้พบกันทุกๆ สองสัปดาห์ในวันจันทร์ที่สลับกันกับการประชุมสภาแห่งรัฐ

City Break Paris Life in Versailles Part II -1

ภาพด้านบนจะมีรูปของ Jean-Baptiste Colbert หัวหน้าคณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำเรื่องอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปต่างๆ โปรดสังเกตว่ามีแผนที่โลกและลูกโลกซึ่งสมัยนั้นฝรั่งเศสมีอาณานิคมอยู่ในทวีปอเมริกาทั้งในเขตประเทศแคนนาดาปัจจุบัน และแถวมลรัฐหลุยส์เซียนนา ที่ได้มาในปี 1682-1782 ซึ่งที่มาของชื่อรัฐนี้ก็คือชื่อพระองค์นั่นเอง ชื่อในภาษาฝรั่งศส คื อ Louisiane จริงๆ แล้วมันไม่แค่บริเวณรัฐหลุยส์เซียนนา แต่แผ่นดินนี้รวมที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ทั้งหมดไปจนถึงแผ่นดินแคนนาดา น่าเสียดายที่นโปเลียนเอาแผ่นดินผืนนี้ไปขายให้อเมริกาเพื่อใช้หนี้ประเทศในปี 1803

City Break Paris Life in Versailles Part II -11

ในช่วงเวลาของวันช่วงนี้กษัตริย์ยังสามารถตัดสินใจหรือตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ร่วมกับรัฐมนตรี 5-6 คนที่ทำงานร่วมกับพระองค์ ส่วนใหญ่เมื่อได้รับคำแนะนำก็มักจะพูดน้อยคอยแต่รับฟังอย่างใกล้ชิดและการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะมาจากพระองค์ โดยเมื่อตัดสินใจแล้ว Jean-Baptiste Colbert หัวหน้าคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ประกาศเป็นคำสั่งซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว ไม่มีการต่อรองใดๆได้อีก

City Break Paris Life in Versailles Part II -18

หรือหากมีอาคันตุกะต่างแดนหรือมีนักการทูตนัดเข้าเฝ้าก็ใช้เวลาช่วงนี้ได้ ตามภาพด้านล่าง

City Break Paris Life in Versailles Part II -7

 

โปรดติดตามเรื่องราวของแวร์ซายได้ใหม่ในครั้งหน้า ซึ่งคราวหน้าเราจะมาพูดถึงแวร์ซายในแง่ลบกันบ้าง

City Break Paris Part XXXII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 32

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย (Life in the court)
ในตอนนี้เราจะคุยถึงเรื่องราวและข้อเท็จจริงของการใชัชีวิตในพระราชวัง Versailles ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น แต่อย่าลืมว่าในสมัยนั้นพระเจ้าหลุยส์ได้เชิญบรรดาขุนนาง, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, รัฐมนตรีของหลายกระทรวงตลอดจนข้าราชบริพารที่มีระดับมาอยู่ที่แวร์ซายทั้งหมด โดยจัดที่พักและอาหารให้ตามเหมาะสม พระเจ้าหลุยส์ทรงตกแต่งประดับประดาพระราชวังแบบหรูหราไม่มีขุนนางคนไหนทำได้เทียบเท่า และจัดให้มีงานอีเว้นท์ต่างๆ เพื่อไม่ให้การมาอยู่ที่แวร์ซายนั้นน่าเบื่อ คือสำหรับบรรดาขุนนางและข้าราชการแล้วการมาอยู่ที่นี่นั้นนอกจากจะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินแบบใกล้ชิดเพื่อความรุ่งเรืองทางการงานแล้วก็ยังได้ใช้ชีวิตแบบหรูหราพบปะแวดวงสังคมชั้นสูงอีกด้วย

City Break Paris Life in Versailles 3

แต่ชีวิตจริงๆนั้นเป็นอย่างไร มันเป็นชีวิตในฝัน(Dream Lifestyle) หรือเป็นชีวิตที่เจอในฝันร้าย(Nightmare) มีเรื่องราวจากหนังสารคดีที่ชื่อ Versailles’dirty secrets และ website thisisversaillesmadame.blogspot.com (credit pics and story) ที่มีเรื่องราวน่าสนใจมาแชร์เรื่องการใช้ชีวิตที่นั่น

ก่อนอื่นเราต้องมาสรุปวัตถุประสงค์ ตรรกะที่มาของการสร้างพระราชวังแวร์ซาย อีกครั้งก่อนที่จะมาทำความเข้าใจกับวิถีชีวิตประจำวันในแวร์ซายว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้น

1. เรื่องความผูกพันกับอดีตในวัยเยาว์ เพราะที่นี่มีประวัติความเป็นมาจากการเป็นเสมือนบ้านในชนบทของพระบิดาคือกษัตริย์หลุยส์13 มีสภาพแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์และเพลิดเพลิน และท่านเองได้ติดตามพระบิดามาล่าสัตว์ที่นี่ มีข้าราชบริพารติดตามมากมาย ทำให้เกิดบรรยากาศที่รู้สึกหลงใหลในอำนาจของการเป็นกษัตริย์ตั้งแต่ตอนนั้น

2. เรื่องแรงบันดาลใจที่ต้องทำให้แวร์ซายยิ่งใหญ่เหนือใคร เมื่อพระชนมายุได้ยี่สิบสามปีในขณะที่เกิดความคิดสนใจในการบูรณะแวร์ซาย ก็มาเกิดแรงบันดาลใจให้มีความตั้งใจแน่วแน่ก็ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1661 เมื่อนิโคลัส ฟูเกต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของฝรั่งเศส(เรื่องราวอยู่ในตอนที่แล้ว)ได้สร้างคฤหาสน์ชื่อดังแห่งยุคชื่อว่า “Vaux-le-Vicomte” และได้เชิญพระเจ้าหลุยส์ไปร่วมงานฉลองคฤหาสน์ใหม่ได้เสมือนทำให้พระเจ้าหลุยส์เกิดการอิจฉาเลยทีเดียว เพราะคฤหาสน์ของ Fouquet มีการตกแต่งสะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมในแบบ Grand Design ยิ่งใหญ่โอ่อ่าในแบบฝรั่งเศสเป็นshowcaseของเจ้าของอย่างแท้จริง ทำให้ท่านคิดว่าVersaillesควรต้องเป็นshowcaseของฝรั่งเศสและต้องยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป แขกบ้านแขกเมืองมาต้องทึ่งในความยิ่งใหญ่แบบเดียวกับใครที่ได้มาเห็น”Vaux-le-Vicomte”

City Break Paris Life in Versailles 6

ภาพที่สร้างขึ้นจำลองเหตุการณ์วันที่ 17 สิงหาคม ปี 1661 วันที่นิโคลัส ฟูเกต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของฝรั่งเศสได้เชิญพระเจ้าหลุย์ไปร่วมงานฉลองคฤหาสน์ใหม่ “Vaux-le-Vicomte”

City Break Paris Life in Versailles 2

คฤหาสน์ที่ยิ่งใหญ่ต้นแบบของแวร์ซายมองจากมุมสูง

แน่นอนว่าสำหรับ Fouquet นั้นก็กลายเป็นแค่คนโง่คนหนึ่งที่พยายามอวดตัวก้าวล้ำหน้ากษัตริย์ด้วยความโอ่อ่าหรูหราจึงถูกกล่าวหาใส่ความว่าโกงเงินพระคลังหลวงที่ตนเองเป็นผู้คุมอยู่ และสามสัปดาห์หลังจากงานเลี้ยงต้อนรับของคฤหาสน์ตัวเอง กษัตริย์หลุยส์ก็สั่งจับกุม Fouquet และถือเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่ประมุขแห่งรัฐแทรกแซงการตัดสินใจของศาลโดยเพิ่มการลงโทษจากการจำคุกธรรมดาเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตในป้อม Pinerolo แต่การจับกุม Fouquet ถือเป็นตัวอย่างราชาธิปไตยในยุคของกษัตริย์หลุยส์ที่แสดงให้ผู้ต่อต้านท่านรับรู้ว่ากษัตริย์คือผู้มีอำนาจสูงที่สุดในแผ่นดิน

3. เรื่องความปลอดภัย และเรื่องการเมือง การลดทอนอำนาจขุนนาง วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับการบูรณะแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่14 คือการลดทอนอำนาจขุนนางและชนชั้นสูงให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ เนื่องจากพระเจ้าหลุยส์ยังคงบอบช้ำจากเหตุการณ์กบฏ Fronde ที่มีสาเหตุมาจากฝ่ายต่อต้านกษัตริย์ มีเหตุการณ์ขุนนางรับเงินจากนายทุนให้ขัดคำสั่งกษัตริย์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว แม้แต่ข้าศึกอย่างพวกชาวดัตช์ก็แทรกแซงผ่านขุนนางเหล่านี้ ทำให้ขุนนางเริ่มมีอำนาจมาก ทำให้เกิดความไม่มั่นคง เนื่องจากท่านขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์มากและพระมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจึงมีฝ่ายที่พยายามจะโค่นล้มท่านอยู่ตลอดเวลา

City Break Paris Life in Versailles 7

สัญลักษณ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ที่เป็นรูปดวงอาทิตย์ตามฉายา The Sun King หรือ สุริยะราชา

ดังนั้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1682 พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ได้ประกาศย้ายที่ทำการรัฐและพระราชวังมาที่ “Chateau of Versailles” ซึ่งการย้ายถิ่นฐานไปแวร์ซายหมายถึงการไปสร้างกรงทองให้ข้าราชบริพารที่นั่น ท่านจะได้อยู่ใกล้ชิดและมองเห็นพฤติกรรมขุนนางที่ทำตัวเป็นปรปักษ์กับท่าน และเพื่อให้ขุนนางมาทำหน้าที่เป็นผู้ติดตามรับใช้ มากกว่าเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนหรือเก็บภาษีที่ดินแบบเดิม ขุนนางถูกบังคับด้วยอำนาจของกษัตริย์ที่จะให้เข้าเฝ้ายืนดูพระเจ้าหลุยส์แต่งตัวหรือทรงเสวยหรือทรงกิจกรรมอื่นๆและขุนนางแต่ละคนจะต้องคอยเสนอหน้าและทำตัวให้เป็นทีไว้วางใจเพื่อจะได้บำเหน็จและรางวัลจากกษัตริย์ ทำให้พระเจ้าหลุยส์ทรงมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับขุนนางที่พระองค์ไม่โปรดก็จะถูกสั่งลดรายได้เพราะทุกอย่างที่แวร์ซายมีให้ครบแล้ว จึงเกิดระบบที่ต้องพึ่งพากษัตริย์แห่งพระอาทิตย์พระองค์นี้และราวกับว่าบริวารหรือทุกอย่างหมุนรอบตัวพระองค์อย่างแท้จริง ที่มาของฉายา the Sun-King หรือ สุริยะราชา ด้วยเหตุนี้จึงมีสมาชิกของชนชั้นสูงจำนวนกว่า 5,000 คนที่อาศัยอยู่ในแวร์ซายและรอบๆ มาปรากฏตัวทุกวันที่แวร์ซายเพื่อเข้าเฝ้าติดตามตั้งแต่พระองค์ตื่นขึ้นมาและดำเนินไปตามราชพิธีต่างๆของแต่ละวัน

ชีวิตในแต่ละวันที่แวร์ซาย
แน่นอนว่าชีวิตในแต่ละวันที่แวร์ซายนั้นจะขึ้นอยู่กับตารางเวลาของพระเจ้าหลุยส์เป็นสำคัญ ได้มีบันทึก(Memoirs) ของดยุคแห่งแซงซิมง (Duc de Saint-Simon) ข้าราชการในสมัยของพระองค์ได้เขียนถึงตารางเวลาประจำวันของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้แบบนี้

City Break Paris Life in Versailles 8

โดยหลักการตารางเวลาที่เคร่งครัดนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ในราชการของพระองค์สามารถวางแผนงานของตัวเองได้ แม้ว่าอยู่ไกลออกไปแค่ไหนก็จะรู้ว่าเวลานี้นาทีนี้พระองค์ทรงทำอะไรอยู่ จะต้องวางแผนเข้าเฝ้าตอนไหนอย่างไร

 

ตอนเช้า

City Break Paris Life in Versailles 5

รูปปั้นตามแนวคิดของศิลปิน (Artist impression)ที่จำลองพิธี The King’s Levée

8.30 น. จะมีพิธีที่เรียกว่าพิธีการตื่นนอนของกษัตริย์หรือ “the rising of the king ceremony” หรือ The King’s Levée เป็นพิธีที่จัดขึ้นทุกครั้งที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีตื่นขึ้นมา เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่14 ปกครองฝรั่งเศสท่านมีพิธีสองแบบคือ grand levéeและ petit levée

grand levee จะเป็นหนึ่งในพิธีที่เคร่งครัดที่เปิดโอกาสให้ข้าราชบริพารทั้งหมดใน Court ที่เรียกว่า Courtier มาเข้าเฝ้าทักทายและชื่นชมบารมีของพระราชาตั้งแต่ที่พระองค์ตื่นขึ้นมา เปรียบเสมือนการมาชื่นชมแสงอาทิตย์ยามเช้าที่โผล่มาจากขอบฟ้า

City Break Paris Life in Versailles 9

ภาพของ Nurse Maid ต้นห้องบรรทมของพระเจ้าหลุยส์ที่14ซึ่งเคยทำหน้าที่เลี้ยงดูท่านตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์

พิธีเริ่มขึ้นตอน8.30 น.จะมีการปลุกพระองค์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของต้นห้องหรือ Chambre Valet ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่ง Nurse Maid ของพระองค์ซึ่งเคยทำหน้าที่เลี้ยงดูท่านตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์เหมือนเป็น “แม่นม”ของท่านจะทำหน้าที่ปลุกท่านเอง จากนั้นจะมีการตรวจสุขภาพโดยหมอและศัลยแพทย์ ซึ่งรวมถึงการตรวจสิ่งที่พระองค์ขับถ่ายออกมาตรงนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพิธีการประจำวันขึ้น จากนั้นจะมีขบวนผู้เข้าเฝ้าชุดแรกที่เรียกว่า Grand Entrée เริ่มขึ้นโดย Grand Chamberlain ซึ่งก็คือตำแหน่งอาวุโสของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งและเป็นที่ไว้วางใจสูงสุดของกษัตริย์ให้จัดการระเบียบพิธีต่างๆภายในพระราชวังเปรียบเสมือน’พ่อบ้าน’นั่นเอง ซึ่งเป็นผู้นำขบวนราชบริพาร Courtier ตามยศและชั้นที่มีสิทธิเข้ามา(ซึ่งตามเกร็ดประวัติศาสตร์บอกว่าสิทธินี้สามารถซื้อขายได้) ณ ตอนนี้ พระราชายังคงประทับอยู่บนเตียงสวมเสื้อชุดนอนและวิกผม หลังจากที่มีการให้ท่านล้างหน้าล้างมือด้วยน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์แล้วต้นห้อง Chambre Valet ของห้องนอนและคนรับใช้อาวุโสจะดึงเสื้อของพระราชา คนละแขนออกแล้ว ท่านแกรนด์แชมเบอร์เลนก็เป็นผู้หยิบเสื้อตัวใหม่สำหรับวันนี้ให้พระองค์ และข้าราชบริพารชุดแรกก็จะกล่าวอวยพรท่านพร้อมกันก่อนถูกเชิญให้ไปรออยู่ในห้องถัดไป

City Break Paris Life in Versailles

ภาพวาดจำลองเหตุการณ์ในพิธี The King’s Levée จะสังเกตได้ว่ามีเตียงที่บรรทมอยู่ฉากหลัง

จากนั้นก็ถึงเวลาสำหรับ Première Entrée สำหรับข้าราชบริพารที่มีฐานะและสิทธิน้อยกว่าซึ่งสามารถเข้ามาในช่วงเวลาที่กษัตริย์จะแต่งตัวซึ่งพระเจ้า หลุยส์ที่14 มักชอบที่จะจัดการเอง ดังนั้นหลังการได้รับมอบชุดแต่งกายแล้วกระจกถูกจัดขึ้นสำหรับการโกนหนวดหวีผมที่โต๊ะ จากนั้นข้าราชบริพารที่เหลือก็สามารถเข้ามาได้ ก็จะถึงช่วงที่พระองค์ทรงถุงน่องและรองเท้า

City Break Paris Life in Versailles 10

ภาพจำลองเหตุการณ์ช่วงที่มีแพทย์และศัลยแพทย์ตรวจเช็คสุขภาพของพระเจ้าหลุยส์

ซึ่งตอนนั้นห้องจะแออัดมากจากนั้นพระองค์ก็จะสวดภาวนาที่ข้างเตียงในขณะที่เจ้าหน้าที่ต้นห้องเก็บเสื้อผ้าจัดที่นอนแล้วพระองค์ก็จะออกไปที่ห้องติดกันที่ข้าราชบริพารรออยู่แล้ว เพื่อเสวยน้ำซุปและอาหารเช้า ร่วมโต๊ะกับสมาชิกที่สำคัญที่สุดและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้รับใช้ของพระราชวงศ์ที่ได้รับอนุญาตให้เฝ้า ก่อนเดินไปห้องถัดไปที่ข้าราชบริพารที่ไม่ได้ร่วมเสวยรออยู่เพื่อที่ท่านจะประกาศว่าท่านอยากจะทำอะไรในวันนั้น

สำหรับพิธี petit levee เป็นพิธีขนาดย่อ คือแค่ให้ข้าราชบริพารที่มีสิทธิเท่านั้นที่สามารถชมการปลุกพระราชาและการแต่งตัวของพระองค์ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่กษัตริย์จริงๆแล้วอาจทรงตื่นขึ้นมาก่อนหลายชั่วโมงเพื่อออกไปล่าสัตว์ แล้วทรงกลับมาที่เตียงเพื่อรับพิธีเลฟเว่ แบบย่อนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธีทั้งหมดมักเป็นเพศชายประมาณ 100 คน

City Break Paris Life in Versailles 4

จะสังเกตว่าห้องบรรทมของพระเจ้าหลุยส์จะไม่เป็นส่วนตัว และมีรั้วเตี้ยๆกั้นไว้ระหว่างส่วนที่เป็นเตียงและส่วนที่เป็นแกลเลอรี่ สำหรับเป็นบริเวณที่ข้าราชบริพารจะต้องมาเป็นสักขีพยานให้พระราชาเมื่อทรงลุกจากเตียงทุกเช้า

 

สำหรับพิธีการต่างๆ ในช่วงที่เหลือของวันจะเป็นอย่างไรโปรดติดตามได้ในการ update คราวหน้าครับ

City Break Paris Part XXXI

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 31

‘พระราชวังแวร์ซาย’ ตอนที่ 3

ต้นแบบของความยิ่งใหญ่
หลายคนคงไม่ทราบว่าพระราชวังแวร์ซาย มีต้นแบบมาจากไหน สถานที่แห่งไหนที่เป็นแรงบันดาลใจให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ตัดสินใจตั้งใจทำแวร์ซายให้เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรปหรือในโลกของช่วงนั้น วันนี้ผมจะขอเล่าถึงปราสาทนอกกรุงปารีสแห่งหนึ่ง และขอแนะนำให้ท่านหาโอกาสไปเที่ยวด้วยครับเพราะมันอยู่ห่างจากกรุงปารีสไปแค่ประมาณ 45 กิโล และก็คุ้มค่าในการไปเยี่ยมชม เพราะที่นั่นมันคือปราสาทต้นแบบของพระราชวังแวร์ซายที่เราพูดถึงกันอยู่นั่นเอง

นั่นคือปราสาท Château de Vaux-le-Vicomte ชาโต เดอ โวเลอวีกง หากท่านเคยไปเที่ยวชมแวร์ซายมาแล้วและเบื่อความแออัดของผู้คนที่ต่อคิวยาวเป็นชั่วโมงแบบผม ให้มาที่นี่ก็ดีครับแค่ไม่ถึงชั่วโมงจากปารีส คุณจะพบกับปราสาทที่สวยงามซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับแวร์ซาย มีประวัติอันน่าสนใจ มีการตกแต่งภายในที่สวยงาม และแน่นอนว่ามีสวนฝรั่งเศสที่สวยสมบูรณ์แบบ

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 12

Château de Vaux-le-Vicomte เป็นปราสาทฝรั่งเศสแบบบาโรกที่ตั้งอยู่ใน Maincy ใกล้ Melun ทางตะวันออกเฉียงใต้ของปารีสในเขต Seine-et-Marne ของประเทศฝรั่งเศส

 

คำว่า Château กับ Palais (Castle and Palace) เมื่อจะพูดกันถึงวังหรือปราสาทเราควรพูดถึงความแตกต่างกันระหว่างทั้งสองอย่างก่อน คำว่า Palais หรือ Palace ในภาษาอังกฤษก็คือพระราชวังหรือ Royal Residence ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน หรือโป๊ปในสมัยก่อน และมักต้องอยู่ในเมือง แต่คำว่าปราสาท Château หรือ Castle นั้นมักเป็นของขุนนางระดับสูงเจ้าผู้ครองนคร เช่น ดยุค หรือ ลอร์ด แต่พระเจ้าแผ่นดินก็มีChâteauได้แต่มักจะอยู่นอกเมืองในชนบทหรือในป่าริมทะเลสาบหรือเชิงเขา เป็นปราสาทสำหรับแปรพระราชฐานเพื่อล่าสัตว์หรือเป็นปราสาทตามฤดูนั่นเอง จะเห็นว่าแวร์ซายนั้นเคยถูกเรียกว่า Château de Versailles เพราะมันเคยเป็นกระท่อมล่าสัตว์อยู่ในป่าแต่ภายหลังพอพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ย้ายมาประทับที่นี่ถาวรในปี 1682 ทำให้เปลี่ยนสถานะกลายเป็น Royal Residence จึงต้องเรียกว่า Palais de Versailles

คือต้นแบบของ Castle หรือ Château มันมีมาตอนยุคกลางที่ตอนนั้นหลังจากอาณาจักรโรมันสิ้นสลาย เมืองขึ้นทั้งหลายก็เป็นอิสระ แบ่งแยกเป็นแค้วนเล็กแค้วนใหญ่ที่ปกครองตนเองในลักษณะนครรัฐ (City State) ก็เลยต้องสร้างเมืองที่ป้องกันตัวเองได้ เช่นไปอยู่บนภูเขาสูงที่เรียกว่า Hill town หรือถ้าอยู่ที่ราบก็มักสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบสูงและหนามีป้อมปราการ Fortress แบบนี้ก็คือ “Walled Town”และใน walled town ก็มักจะมี Castle อยู่ด้านในใจกลางสุดอาจมีการขุดคูคลองล้อมลอบมีสะพานยกเปิดปิดได้หรือถ้าเป็นHill Townก็มักต้องอยู่จุดที่สูงสุดของเมือง เอาล่ะครับปูพื้นกันแล้วเรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า

ปราสาท Château de Vaux-le-Vicomte ชาโต เดอ โวเลอวีกง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถึงแวร์ซายในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1641 เมื่อบิดาของเขาพระเจ้าหลุยส์13 ส่งเขาและพี่ชายของเขามาเพื่อหนีการระบาดของไข้ทรพิษที่ระบาดถึงพระราชวังที่ประทับที่ Saint-Germain-en-Laye ตอนนั้นพระองค์เพิ่งมีพระชนมายุแค่สามขวบไม่น่าเชื่อว่าอีกเพียง2 ปีต่อจากนั้นพระองค์ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสแล้วเพราะพระเจ้าหลุยส์13 สิ้นพระชนม์ไป และการเยือนแวร์ซายครั้งต่อไปของท่านก็เมื่อท่านอายุ13เป็นในปี ค.ศ. 1651 ซึ่งตอนนั้นพระองค์เริ่ม “หลงใหลในการล่าสัตว์”

ในปี ค.ศ. 1657 เมื่อแวร์ซายก็ยังเป็นเพียงแค่ที่พักล่าสัตว์แบบเจียมเนื้อเจียมตัวแบบเดิมๆ ไม่ได้มีการขยายอะไรเพิ่มเติม แต่ในปีนั้นเองเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่14 มีพระชนม์ได้ 19 ปี และปีนี่เองที่ปราสาท Château de Vaux-le-Vicomte ชาโต เดอ โวเลอวีกง ได้ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชองท่านที่มีชื่อว่า Nicolas Fouquet นิโกลา ฟูเก่ต์ ซึ่งได้รวบรวมสถาปนิกสุดยอดของฝรั่งเศสตอนนั้น Louis Le Vau กับ สุดยอดนักปฎิมากรรม/จิตรกรรม Charles le Brun และนักออกแบบภูมิทัศน์ André le Nôtre ซึ่งต้องถือเป็น Dream Team มารวมตัวกันเพื่อสร้างChâteauส่วนตัวอันงดงาม และจากทำงานร่วมกันในโครงการขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก ความร่วมมือของพวกเขาถือเป็นจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมแบบรวมของหลุยส์ที่สิบสี่

เรื่องราวมีอยู่ว่า Fouquet ได้ซื้อปราสาทเล็ก ๆ อยู่ระหว่าง Château de Vincennes และ Fontainebleau เป็นอสังหาริมทรัพย์ของ Vaux-le-Vicomteในปี ค.ศ. 1641 ซึ่งตอนนั้น Fouquet เป็นเพียงเป็นสมาชิกคนหนึ่งของรัฐสภากรุงปารีส Parlement of Paris ในรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสาม มีอายุเพียง 26 ปีแต่มีความทะเยอทะยานสูง Fouquet มักจะเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะการดึงดูดศิลปินมากมาย ด้วยความเอื้ออาทรของเขาทำให้มักได้รับการตอบแทนเป็นผลงานที่ล้ำค่า จากนั้นในปีค.ศ.1656 Fouquet แต่งงานครั้งที่สองโดย ภรรยาคนใหม่ของเขาเป็นเป็นทายาทคนเดียวของครอบครัวที่ร่ำรวยมาก มรดกของเธอได้เพิ่มความมั่งคั่งให้กับ Fouquet และเมื่อ Fouquet กลายเป็นผู้คุมเงินของกษัตริย์หลุยส์ที่สิบสี่ของในปี ค.ศ.1657 ความมั่งคั่งของเขาเพิ่มขึ้นอย่างมาก Fouquet จึงตัดสินใจที่จะพัฒนาที่ดินและปราสาทเล็กๆ ของเขาที่ทรุดโทรมให้กลายเป็นปราสาทในเทพนิยาย

สัญลักษณ์แห่งอำนาจและอิทธิพล วัตถุประสงค์ของ Nicolas Fouquet สำหรับการพัฒนา Vaux-le-Vicomte ก็คือตั้งใจสะท้อนความยิ่งใหญ่ของมันจะเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจความมั่งคั่งและอิทธิพลของเขา ในฐานะผู้อำนวยการด้านการเงินเป็นหน้าที่ของเขาในการระดมทุนที่จำเป็นสำหรับการทำงานของรัฐ ในขณะที่รายได้บางส่วนมาจากภาษีส่วนใหญ่มาจากเงินให้สินเชื่อและ Fouquet มักต้องยืมด้วยเครดิตของตัวเองเพื่อให้มั่นใจว่ารัฐนั้นมีเงินสดเป็นอย่างดี ความงดงามของ Châteauและสวนของ Vaux-le-Vicomte ได้ให้หลักฐานที่ชัดเจนแก่เจ้าหนี้ว่าที่นี่เป็นของผู้ที่คุ้มค่ากับการลงทุนได้และสามารถชำระหนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 5

อย่างไรก็ตาม Vaux-le-Vicomte เป็นมากกว่า “หน้าตา” สำหรับผู้กำกับการคลังคนนี้ Fouquet มองว่ามันเป็นปราสาทแห่งความสุขและความเลิศหรูในรสนิยม มันถูกใช้ในการจัดงานวรรณกรรมละครและบัลเล่ต์มีห้องพักผ่อนสำหรับเล่นเกม และได้เตรียมส่วนหนึ่งไว้สำหรับรับรองพระมหากษัตริย์สามารถรองรับการเสด็จของพระเจ้าหลุยส์และคณะผู้ติดตาม ด้วยเหตุนี้ Vaux-le-Vicomte ได้รวมอพาร์ทเมนท์ที่หรูหราตระการตาไว้มีศิลปะทั้งภาพวาดและรูปแกะสลักบรรดาเหล่าเทพต่างๆ ที่เชิดชูกษัตริย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น Jupiter หมายถึงการมีอำนาจ, Mar สำหรับความกล้าหาญ, Venus สำหรับความอุดมสมบูรณ์และการเฝ้าระวัง Diana หมายถึงชีวิตกับ โชคชะตา เหมือนการล่าสัตว์ หนึ่งในเพดานเป็นจุดเด่นของ Triumph of Fidelity แสดงความจงรักภักดีของ Fouquet ต่อกษัตริย์ในช่วง Fronde สงครามกลางเมืองที่ทำให้ฝรั่งเศสวุ่นวาย, ภาพทอในแสดงถึงวัยหนุ่มของหลุยส์ ทอจากโรงงานที่ก่อตั้งโดย Fouquet ที่บริเวณใกล้เคียงในเขต Maincy ภาพตกแต่งผนัง “พระราชวังของดวงอาทิตย์” แสดงเห็นอพอลโลซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงความฉลาดและแรงบันดาลใจ และมีภาพกระรอกที่เป็นสัญญลักษณ์ของตระกูล Fouquet

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 14

หลังจากใช้เวลา 5 ปี (ค.ศ1656 ถึง 1661) ปราสาทก็เสร็จสมบูรณ์ ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1661 Fouquet ก็ได้(บังอาจ)เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารแบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นมาก่อนเพื่อแนะนำผลงานชิ้นเอกที่เพิ่งสร้างใหม่ของเขาให้กับกษัตริย์หลุยส์ที่14 และบรรดาเหล่าขุนนางและนักการเมืองทหารผู้ใหญ่ ที่ใช้คำว่าบังอาจในวงเล็บก็เพราะ Fouquet ไม่รู้ตัวได้อย่างไรว่ากำลังเล่นอะไรอยู่ แม้ว่าในขณะนั้นพระเจ้าหลุยส์มีพระชันษาแค่ 23 แต่ท่านก็คือ The Sun King ใครบังอาจมาเปล่งรัศมีแข่งกับแสงอาทิตย์ย่อมพ่ายแพ้ในที่สุด

แม้ว่าความตั้งใจจริงของ Fouquet คือการประจบกษัตริย์ตั้งใจจะให้ตนเองได้รับการเลื่อนขั้นมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลเพราะในปีนั้น Mazarin ผู้สำเร็จราชกาลของพระเจ้าหลุยส์เสียชีวิตไป (ค.ศ. 1661) แต่อนิจจา Fouquet นั้นคาดผิดแบบมือใหม่สุดๆ การต้อนรับพระเจ้าหลุยส์ในวันนั้นมีการจัดแสดงความหรูหราฟุ่มเฟือยเกินหน้าเกินตาแม้แต่กษัตริย์เอง ผู้ที่เป็นคู่แข่งทางการเมือง Baptiste Colbert จึงทูลกษัตริย์ให้เชื่อว่าความหรูหราฟุ่มเฟือยนี้ของรัฐมนตรีคลังซึ่งดูแลการเงินนี้เอาเงินยักยอกเงินมาจากคลังและเรียกเก็บภาษีประชาชนมาแต่ไม่นำส่ง ทั้งๆที่ความจริงแล้วไม่ใช่และ Fouquet เองก็มีความจงรักภักดีสูง แต่การกระทำถือเป็นความผิดพลาดของตัวเองอย่างช่วยไม่ได้ ประกอบกับในช่วงนั้นเองพระเจ้าหลุยส์ยังพระเยาว์เกินไปและยังฟังความฝ่ายเดียวทำให้เกิดการล่มสลายของ Fouquet ได้ง่ายๆ

Fouquet จึงถูกจับกุมในสามสัปดาห์หลังจากงานฉลองfêteที่เกิดขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1661 ซึ่งการเล่นของศิลปินดัง Les Fâcheux ของ Molière เป็นการเฉลิมฉลองที่น่าประทับใจแต่มากเกินไปในสถานที่คือบ้านเจ้าภาพที่หรูหราเกินไป ต่อมามีการเขียนประวัติศาสตร์ในยุคของวอลแตร์ได้สรุปว่า “วันที่ 17 สิงหาคมเวลาหกโมงเย็น Fouquet เป็นเหมือนกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจาก 2 นาฬิกา เขาเป็น nobody!ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรรม และถูกขังคุกเป็นเวลา 10 ปี

หลังจากถูกจับและคุมขัง Fouquet ภรรยาของเขาก็ถูกเนรเทศออกจาก Vaux-le-Vicomte ปราสาทก็ถูกอายัด พระเจ้าหลุยส์ยังยึด 120 รูปปั้นและต้นส้มทั้งหมดจาก Vaux-le-Vicomte จากนั้นเขาได้ส่งดรีมทีมศิลปิน (Le Vau, Le Nôtreและ Le Brun) ไปทำงานออกแบบสิ่งที่จะเป็นโครงการขนาดใหญ่กว่า Vaux-le-Vicomte นั่นคือพระราชวังและสวนของ Versailles จึงไม่แปลกอะไรที่กลิ่นอายของพระราชวังแวร์ซายจะมีความละม้ายกับปราสาท Vaux-le-Vicomte เพราะทีมคุมก่อสร้างทีมเดียวกันมีแต่ตัวอาคารด้านนอกเท่านั้นที่ไม่เหมือนแต่การตกแต่งภายในนั้นเป็นการยกระดับมาจากที่ปราสาทเพราะสำหรับ The Sun King ทุกอย่างต้องยิ่งใหญ่กว่า

ภายหลัง Madame Fouquet กู้คืนทรัพย์สินของเธอเมื่อ 10 ปีต่อมา และออกไปพร้อมกับลูกชายคนโตของเธอ หลังจากการตายของสามีและลูกชายของเธอ เธอตัดสินใจที่จะนำ Vaux-le-Vicomte ออกขาย

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 7

Nicolas Fouquet ผู้อำนวยการด้านการคลังของฝรั่งเศสเจ้าของ Vaux-le-Vicomte (ภาพโดย  Kean Collection / Getty Images)

สวนจากฝีมือผู้สร้างภูมิทัศน์ในตำนาน André Le Nôtre

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 11

แกรนด์ซาลอนที่มีรูปทรงสูงตระหง่านของ Vaux-le-Vicomte ซึ่งเป็นห้องพักที่ใช้รับรอง มีจุดเด่นคือเพดานสูงโล่งโปร่งพร้อมทัศนียภาพอันกว้างไกลของสวน
City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 6

ถือเป็น Chateau แรกๆ ของฝรั่งเศสที่มีห้องอาหาร Dining Room. Credit รูปถ่ายโดย Sylvia Davis

 

สุนทรียศาสตร์กับความมั่งคั่ง

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 8

ของตกแต่งดั้งเดิมจาก Vaux-le-Vicomte ถูกนำไปแวร์ซายซึ่งก็คงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามเจ้าของปัจจุบันของ Vaux ได้ใช้เวลาห้าชั่วคนสุดท้ายที่ค่อยๆ ฟื้นฟู Château ไปสู่ความงดงามดั้งเดิม จากผนังที่ทาสีและเพดานทองหล่อลงไปที่ห้องครัวที่มีห้องใต้ดินซึ่งมีการปูพื้นด้วยหินผลงานอันโดดเด่นเป็นส่วนหนึ่งของความสง่างามอันเงียบสงบความสนิทสนมและสัดส่วน

ประสบการณ์ที่จะได้จากการเข้าชม

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 10

ปัจจุบัน Vaux-le-Vicomte มีเจ้าของเป็นครอบครัว De Vogüé ที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมมาตั้งแต่ปี 2511 เพื่อระดมทุนในการดูแลรักษาและร่วมแบ่งปันความงดงามของปราสาทที่สวยงามไม่เหมือนใครพร้อมสวนสวย 1,235 เอเคอร์ ซึ่งออกแบบโดยทีมงาน Dream Team ศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในศตวรรษที่ 17: สถาปนิก Le Vau, นักจัดสวน Le Nôtre และจิตรกร Le Brun ซึ่งต่อจากนั้นได้ออกมารับงานแบบแวร์ซาย

ปราสาทและสวนได้รับการดูแลอย่างดี แต่ส่วนใหญ่เสน่ห์ของ Vaux คือปฏิทินกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นตลอดทั้งปีพร้อมโดยครอบครัว De Vogüé เช่น ในเดือนเมษายนไข่ช็อกโกแลตก็จะถูกซ่อนไว้ในสถานที่ตามจุดต่างๆสำหรับล่าไข่อีสเตอร์ขนาดยักษ์

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 1

งานแต่งกายแบบยุคศตวรรษที่ 17 ในเดือนพฤษภาคม เป็นการย้อนยุคให้เข้ากับสถานที่ๆสร้างในยุคนั้น ผู้คนแต่งตัวมาเดินในสวนดูแล้วย้อนอดีตแบบหนังperiod มีการฟันดาบ ขี่ม้าและการเต้นรำแบบบาร็อค และในเดือนพฤศจิกายน Chocolatiers จากปารีสที่ยิ่งใหญ่รวมตัวกันที่นี่เพื่อการสาธิตและขนมอบมากมาย

บรรยากาศใต้แสงเทียนตอนเย็น

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 9

ไม่มีอะไรที่เหมาะไปกว่าช่วงเย็นใต้แสงเทียนที่แสนโรแมนติกของ Vaux ซึ่งจัดขึ้นทุกวันเสาร์ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเมื่อพระอาทิตย์ตก ที่นั่งรอบๆสวนและในปราสาทก็สว่างไสวทั้งภายในและภายนอกโดยมีเทียน 2,000 ตัว ผู้เข้าชมสามารถรับประทานอาหารกลางแจ้งได้ที่ลานระเบียงสวนซึ่งหันหน้าไปทาง Château พรั่งพร้อมไปด้วยอาหารรสเลิศจากร้านอาหาร Les Charmilles (แนะนำให้จองล่วงหน้า)
City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 2

จากนั้นเดินเล่นกลับไปยัง Château ไปจิบแชมเปญสักแก้วในสวนที่ Le Songe de Vaux แล้วมาเอนกายลงในเก้าอี้สนามฟังเพลงคลาสสิก (เปิดตลอดทั้งวัน) เวลา 10:50 จะมีการแสดงดอกไม้ไฟและถ้ามาที่นี่ในวันเสาร์อาทิตย์ที่สองหรือวันเสาร์สุดท้ายของเดือนคุณก็จะได้ชมการแสดงน้ำพุเต้นระบำตั้งแต่เวลาบ่าย 3-6 น.อีกด้วย

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 13

เกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 3

ที่ปราสาทยังมี L’Écureuil Café ซึ่งให้บริการเมนูอาหารกลางวันแบบเบา ๆ และของว่างบนเฉลียงกลางแจ้ง (เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น. ถึง 10.30 น. ในช่วงเย็นใต้แสงเทียน) และยังอนุญาตให้ใช้พื้นที่ปิกนิกในพื้นที่ๆจัดไว้เฉพาะบริเวณ นอกจากนั้นร้านบูติกของChâteauยังมีของขวัญและของที่ระลึกที่มีมีรสนิยม สุดท้ายก็คือพิพิธภัณฑ์รถม้าของ Vaux นำเสนอรูปลักษณ์ที่น่าทึ่งสำหรับพาหนะม้าลากยุคศตวรรษที่ 17

City Break Paris Versailles Palace-Chateau-de-Vaux-le-Vicomte 15

การเดินทาง
City-rama-Paris city vision เสนอตั๋วแบบแพคเกจที่มีบริการรถรับส่งจากปารีสไปยัง Vaux-le-Vicomte ทุกวันยกเว้นวันอังคารระหว่างวันที่ 31 มีนาคมถึง 31 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 9:15 น. ขากลับรถออกจากปราสาทเวลา 6.15 น. ถ้าจะใช้บริการรถไฟของฝรั่งเศส SNCF ก็จะออกทุกๆครึ่งชั่วโมงจากปารีส Gare de Lyon ไปยังสถานีรถไฟ Melun (ใช้เวลา25 นาที) ซึ่งคุณสามารถใช้บริการรถรับส่ง Chateau bus (เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น) หรือแท็กซี่ (ประมาณ 20 ยูโร) จากสถานีรถไฟ

City Break Paris Part XXX

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 30
‘พระราชวังแวร์ซาย’ ตอนที่ 2
เรามาพูดกันถึงเหตุการณ์ในยุคสมัยนั้นของฝรั่งเศสและไทยกันต่อครับ คราวที่แล้วพูดไป 3 หัวข้อแล้วมาต่อกันเลยครับ ต้องบอกว่าการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อก่อนเรามักจะพูดหรือเชื่อกันว่า History will never change หรือหมายถึง ประวัติศาสตร์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่สมัยนี้มันอาจไม่ใช่แล้วครับ เพราะมันอาจเปลี่ยนแปลงได้ในรายละเอียดเสมอ เพราะประวัติมันมาจากการบันทึก, การสำรวจ, หลักฐาน และสมมุติฐาน แล้วมาสรุป ดังนั้นหากมีหลักฐานใหม่หรือบันทึกใหม่ก็เป็นเรื่องราวใหม่ได้ มันก็เลยน่าสนใจตรงนี้ครับ

4.ช่วงความวุ่นวายภายในเรื่องการเมืองไทย

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -18

ภาพคณะทูตไทยพร้อมล่ามที่เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่14 ในปี ค.ศ. 1684 วาดโดยจิตรกรชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ  Jacques Vigoureux-Duplessis ตอนนี้ถูกเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศสในปารีส  Bibliotheque Nationale de France, Paris

ไทย การสร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 2 นั้นไว้ต่อต้านการรุกรานของฮอลันดา นักประวัติศาสตร์ไทยอธิบายว่าด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ แต่หลักฐานทั้งหลายไม่สนับสนุนอย่างนั้น กลับพบว่าพระนารายณ์ไปอยู่เมืองลพบุรี เพื่อความมั่นคงทางการเมืองของพระองค์เอง เพราะในอยุธยามีพวกขุนนางคิดยึดอำนาจทำรัฐประหารโค่นล้มตลอดเวลา

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -15

โดยเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี ได้บรรยายเรื่อง “Siam in the Reign of King Narai the Great” ให้แก่อาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง ที่สถาบันเอเชีย-แอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัย Humboldt กรุงเบอร์ลิน

สอดคล้องกับการเขียนของนักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมาว่า เหตุที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดจะประทับที่ลพบุรี ถ้าตามที่สันนิษฐานเดิมก็คือตั้งเป็นราชธานีสำรองเอาไว้หนีจากพวกดัตช์ เพราะลพบุรีเป็นที่ดอน กำปั่นรบของฝรั่งขึ้นไปไม่ถึง แต่เรื่องนี้ก็ขัดกับหลักฐานของราชทูตฝรั่งเศสที่ว่าสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาก็มากพอที่จะกีดขวางเรือใหญ่ไม่ให้เข้ามาได้แล้ว

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -17

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -20

ข้อสันนิษฐานใหม่คือพระองค์ต้องการหลบเลี่ยงจากสภาวะกดดันที่อยุธยาตามที่หลักฐานร่วมสมัยหลายชิ้นระบุ พระองค์ระแวงว่าจะถูกรัฐประหารซึ่งขุนนางทั้งหลายมีไพร่ในสังกัดที่อยุธยามาก ส่วนลพบุรีมีหลักฐานที่กล่าวว่าเหมือนเป็น ‘ฐานอำนาจ’ ของสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงมากกว่า พระองค์โปรดจะประทับอยู่นานๆ สามารถไว้พระเกียรติได้น้อยกว่าที่อยุธยา ขุนนางที่ตามเสด็จไม่ได้มีกำลังเหมือนอยู่ที่อยุธยา พระองค์สามารถเสด็จออกประพาสล่าสัตว์โดยไม่ต้องมีผู้ติดตามมากเหมือนที่อยุธยา มีชาวฝรั่งเศสร่วมสมัยกล่าวว่า เปรียบว่าลพบุรีเหมือนกับแวร์ซาย ซึ่งมีความหมายคือเป็นที่ๆ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงหลบหลีกจากความฉ้อฉลทางการเมืองในปารีส จึงเป็นการสื่อว่าลพบุรีนั้นมีนัยยะทางการเมืองอยู่

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -2

หนังสือเล่าเรื่องการเดินทางมาสยามของ Abbé de Choisy ชื่อ Journal du voyage de Siam ของช่วงปี 1685 et 1686

อย่างไรก็ตามเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคต ในปี พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรีก็หมดความสำคัญลง สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอยุธยา และในสมัยต่อมาก็ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จมาประทับที่เมืองลพบุรีอีก จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะเมืองลพบุรีขึ้นมาอีกครั้งในปี พ.ศ.2406 มีการซ่อมกำแพงเมือง ป้อมและประตู รวมทั้งมีการสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎในพระราชวัง พร้อมทั้งพระราชทานนามพระราชวังว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในขณะที่พระราชวังแวร์ซายนั้นยังถูกใช้ต่ออีก2รัชกาลคือในรัชสมัยของหลุยส์ที่15 และ16

 

ฝรั่งเศส ในส่วนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้น เนื่องจากพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ทรงเยาว์วัยพระชนม์มายุแค่ 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์คือพระนางแอนจึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และมีคาดินัล(สังฆราช)มาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ช่วงนั้นก็เกิดมีความวุ่นวายภายในความขัดแย้งระหว่างพวกขุนนางกับฝ่ายราชวงศ์นำโดยพระนางแอนและคาดินัล

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -19

คาดินัล(สังฆราช)มาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์

เมื่อพระนางพยายามรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากขึ้น และลดบทบาทของพวกขุนนางและสภาปารีสลง แต่พวกขุนนางซึ่งเสียผลประโยชน์ไม่ยอมตามด้วย ในปี 1648 พระนางแอนและคาดิดัลมาซาแรงจึงพยายามเก็บภาษีพวกขุนนางในสภาปารีส แต่พวกเขาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามและเผาพระราชโองการทิ้ง พระนางแอนจึงให้จับพวกขุนนางในสภาหลายคนที่ต่อต้านแต่ขณะเดียวกันก็มีปฏิกริยาจากฝ่ายประชาชน เมื่อพวกเขาเริ่มรู้สึกว่ากษัตริย์เริ่มดึงอำนาจเข้าศูนย์กลางมากเกินไป ทั้งยังเพิ่มภาษีและลดอำนาจของสภาและฝ่ายพระ(บาทหลวง)ลงไปมาก ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้น พวกม็อบบุกไปถึงห้องนอนของพระเจ้าหลุยส์(ตอนทรงพระเยาว์)พระนางแอนกับพวกผู้ติดตามพากษัตริย์หนีออกจากปารีสตอนเกิดกบฎฟร็อง

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -12

ภาพในปี 1649จะเห็นราชินีแอนแห่งออสเตรีย (ยืนซ้ายสุด)พระราชมารดาของพระเจ้าหลุยส์ที่14 (ในวงกลมแดง)โดยมี Nicolas V de Villeroy ผู้เป็นเสมือนติวเตอร์ฝึกสอนวิธีการปกครองแบบกษัตริย์(นอกเหนือจากคาดินัล(สังฆราช)มาซาแร็ง)ของฝรั่งเศสยืนอยู่ด้านหลังพร้อมกับพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่14 คือ ฟลิลิปป์ ดยุคแห่ง ออเรอง(ในวงกลมแดง)

หลังจากที่พระมารดาของพระองค์สวรรคตในปี 1666 แล้ว หลุยส์ก็มีอำนาจโดยไม่ต้องเกรงใจใครอีกต่อไป ช่วงวัยเยาว์พระองค์ฝังใจกับการที่พวกขุนนางก่อกบฎจนพระองค์ต้องหนีออกไปจากปารีส จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทรงให้สร้างวังใหม่นอกปารีสที่แวร์ซาย เพื่อให้พระองค์อยู่ห่างจากปารีส

พระเจ้าหลุยส์ทรงปกครองเองโดยเริ่มจากจากการลดทอนอำนาจของชนชั้นสูงที่เชี่ยวชาญในการรบ ด้วยมีรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นรับใช้พระองค์เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกในราชสำนัก ซึ่งพระองค์คิดว่าถ้าอยู่ปารีสก็ควบคุมลำบากเพราะยังมีประชาชนที่ยากจนหิวโหย ที่พร้อมจะต่อต้านและก่อกบฏอยู่ตลอด และเรื่องขุนนางก่อกบฏก็ควบคุมยาก ดังนั้นพระราชวังแวร์ซายซึ่งอยู่ห่างออกไปจึงเป็นคำตอบเรื่องความปลอดภัย และใช้เป็นกลยุทธในการถ่ายโอนอำนาจแบบรวมศูนย์ เสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เพื่อให้พระราชอำนาจอันเด็ดขาดและพระองค์ก็ทรงเสนอให้ขุนนางทั้งหลายมาพำนักอยู่ที่แวร์ซายด้วย เพื่อให้ควบคุมได้ง่ายเพราะพวกขุนนางก็จะอยู่นอกสายตาของพระองค์ พระองค์จึงสร้างแวร์ซายให้ใหญ่โตมากพอที่ขุนนางทั้งราชสำนักจะมาอาศัยอยู่ได้ พระองค์ตกแต่งวังอย่างหรูหราที่สุดเพื่อให้พวกขุนนางเพลิดเพลินจนไม่คิดก่อกบฎ ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ให้ข้าราชการที่สามารถไว้ใจได้เข้าไปจัดการการปกครองดินแดนของพวกขุนนางโดยตรง ทำให้อำนาจของพระองค์เข้มแข็งขึ้นมาก แต่กระนั้นใน TV series เรื่องแวร์ซายก็ยังพยายามจะถ่ายทอดว่าขุนนางที่มาอยู่ที่แวร์ซาย ก็มีหลายรายที่เป็นปฎิปักษ์ต่อพระองค์และมีความพยายามจะใช้ยาพิษลอบปลงพระชนม์อีกด้วย

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -10

Catherine Monvoisin กัตตริน มงวัวแซงน์ ผู้ที่เป็นหมอดูเชื่อเรื่องด้านมืดนำเข้ามาในพระราชวังแวร์ซายโดยมาดาม มงเตส์ปาน (Madame de Montespan).พระสนมคนโปรดของพระเจ้าหลุยส์ที่ต้องการให้เธอมาทำยาเสน่ห์เพราะกลัวพระเจ้าหลุยส์เลิกโปรด แล้วกัตตรินก็มีการแอบเอายาพิษมาจำหน่ายในแวร์ซายให้กับฝ่ายต่อต้านพระเจ้าหลุยศ์ที่แผงตัวอยู่ในวัง และภายหลังกัตตรินถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดถูกตัดสินให้นำไปเผาทั้งเป็น

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -4

Madame de Montespan เป็นสนมเอกของ Louis XIV อยู่กว่า 10 ปี

อีกทั้งในยุคของพระองค์ที่ทรงทำให้ประเทศเกรียงไกรและแผ่ขยายอาณาเขตไปเป็นอันมาก อย่างไรก็ดี การตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาทำให้รัฐต้องขาดดุล และต้องเก็บภาษีอากรจากชาวไร่ชาวนาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า การที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เปลี่ยนพวกชนชั้นสูงให้กลายเป็นข้าราชบริพารธรรมดา รวมทั้งยังเข้าพวกกับผู้ดีใหม่ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้แต่ไม่ให้มีอำนาจทางการเมือง มีส่วนผลักดันให้เกิดความไม่มั่นคงในเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา และเป็นชนวนก่อให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุด

 

5.ช่วงแห่งการเจริญสัมพันธ์ไมตรีและการค้า

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -6

ราชทูตสยามนำโดยโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)

ไทย จริงๆ แล้วเรื่องการค้าการทูตนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย(คศ. 1238-1438) ซึ่งก็ปลดแอกจากอาณาจักรละโว้นั่นเองซึ่งตอนนั้นเรามีการค้าขายกับจีนในยุคของราชวงศ์ซ่งต่อเนื่องราชวงศ์หยวน โดยมีชามสังคโลกที่มีความคล้ายคลึงหัตถกรรมของจีนอยู่มาก การค้าการทูตในสมัยก่อนนั้นมีการบันทึกเป็นเรื่องเป็นราวก็ในยุคของมาร์โค โปโลชาวเวนิสที่เดินทางตามเส้นทางสายไหม ไปเข้าเฝ้ากุบไล ข่าน หลาน เจงกิส ข่านแห่งมองโกลที่ยึดจีนได้ทำให้ราชวงศ์ซ่งสิ้นสุดไปนั่นเอง แต่การเดินทางส่วนใหญ่นั้นยังเป็นการเดินทางทางบกจนมาถึงยุคเรเนซองค์ กาลิเลโอออกมาประกาศว่าโลกกลม การเดินทางทางเรือจึงไปไกลขึ้น เพราะไม่ต้องกลัว ‘ตกโลก’ ที่ขอบโลกตามที่เชื่อกันมานาน กาลิเลโอยังสอนเรื่องดาราศาสตร์ ทำให้วิชา ‘ต้นหน’ (navigation) เดินทางไปไกลได้ไม่หลง คือใช้ตำแหน่งดาวนำทาง จะเห็นว่าความนิยมและการศึกษาเรื่องหมู่ดาว(ดาราศาสตร์)นั้นเป็นที่นิยมถึงขนาดมีการสร้างหอดูดาวที่ต่างๆ เช่นที่โคเปนฮาเกน และที่พระราชวังลพบุรีของสมเด็จพระนารายณ์ก็ถือเสมือนเป็นหอดูดาวแห่งแรกของไทย

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -14

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคาร่วมกับคณะทูต นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี

ครั้นดูดาวเป็นก็เดินทางไกลได้ คนสร้างเรือก็สร้างให้เรือใหญ่ขึ้นแข็งแรงขึ้น นั่นแหละครับเริ่มสมบรูณ์แบบก่อนช่วงสมเด็จพระนารายณ์พอดี จึงมีอาคันตุกะจากยุโรป(ชำนาญเรื่องการเดินเรือต่อเรือ) ประกอบกับการชอบสำรวจเพื่อหาอะไรใหม่ๆกลับไปขาย โดยเฉพาะเครื่องเทศและของกิน ของดื่มเช่น ชา กาแฟ นั่นแหละครับแรกเริ่มก็มีagendaแบบนั้น แต่ทำไปทำมาก็อยากจะคิดหาแผ่นดินใหม่ให้เป็นอาณานิคมของตัวเองด้วย ยุคล่าอาณานิคมจึงตามมา และชาติมหาอำนาจตอนนั้นเลยมักเป็นชาติผู้ชำนาญเรื่องการเดินเรือ

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -3

กลับเข้าเรื่องเราดีกว่าครับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงได้เป็นถึงสมุหนายก ขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -9

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -13

ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) เป็นราชทูตจากประเทศ ฝรั่งเศส ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สิ่งที่สำคัญของลา ลูแบร์ ก็คือ จดหมายเหตุลา ลูแบร์ ที่บอกถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้วย

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยุธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจนมีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งการส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทรงพระบรมเดชานุภาพในยุโรป และกำลังขัดแย้งกับฮอลันดา เพื่อเป็นการคานอำนาจ

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -5

Siamese embassy to Louis XIV in 1686, by Nicolas Larmessin

 

ฝรั่งเศส ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั้นได้มีการสร้างสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ามากมาย เช่น ประเทศเปอร์เซียที่พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ส่งคณะทูตไปเข้าเฝ้าสุลต่านฮุสเซนในปี ค.ศ. 1715 สร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักร์อ๊อตโตมาน Franco-Ottoman alliance และดินแดนตอนเหนือของอาฟริกา เช่น โมรอกโค และตูนิเซีย รวมทั้งอินเดีย

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -21

หนังสือบันทึกการเดินทางมาสยามโดย นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

มีการขยายอาณาเขตก่อตั้งอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปแอฟริกา, อเมริกา และเอเชีย ในสมัยรัชกาลหลุยส์14 ก็ยังส่งนักสำรวจชาวฝรั่งเศสไปค้นพบสิ่งสำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ในปี ค.ศ. 1673 เช่น Louis Jolliet และ Jacques Marquette ได้ค้นพบแม่น้ำมิสซิสซิปปี Mississippi River ในปี 1682, René-Robert Cavelier, Sieur de La Salle ล่องเรือตามแม่น้ำมิสซิสซิปปีลงใต้ไปยังอ่าวเม็กซิโกและเคลมแผ่นดินที่ราบลุ่มน้ำมิสซิสซิปปีเรียกดินแดนนี้ตามชื่อพระเจ้าหลุยส์ว่า Louisiana

 

6.ช่วงแห่งการนำประเทศสู่เจริญสูงสุดของยุคสมัยทำให้ได้สมัญญานาม “มหาราช”

ไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยุธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้นมีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากกว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมากคือชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจนมีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่างๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออกทำให้พระองค์ต้องมีการจัดการอย่างละมุนละหม่อมไม่ให้เสียเปรียบ และต้องสามารถ ปฎิเสธเรื่องที่อาจทำให้ขัดแย้งกันเช่นเรื่องศาสนา

เช่นตอนนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามีพระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน

ในมุมมองของต่างชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ และนำชาติรอดพ้นจากการถูกล่าเป็นอาณานิคมนอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย มีการยกย่องโดยนักประวัติศาสตร์ต่างประเทศว่า “Narai[ was the king of Ayutthaya from 1656 to 1688 and arguably the most famous Ayutthayan king. His reign was the most prosperous during the Ayutthaya period and saw the great commercial and diplomatic activities with foreign nations including the Middle East and the West. …”

City Break Paris 30 Thai France History King Narai Louis XiV -16

พระบรมสาทิสลักษณ์โดยจิตรกรชาวฝรั่งเศส

 

ฝรั่งเศส ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็ทรงเป็นที่รักและเคารพของประชาชนชาวฝรั่งเศส จากการที่พระองค์ทำให้ประเทศเกรียงไกรและแผ่ขยายอาณาเขตไปเป็นอันมาก ช่วงรัชสมัยของพระองค์นั้นโดดเด่นด้วยการรังสรรค์วัฒนธรรมชั้นสูงของฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศสได้กลายเป็นภาษาของคนชั้นสูง และภาษาทางการทูตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือว่าฝรั่งเศสถือเป็นประเทศมหาอำนาจไม่ต่างจากสเปนและออสเตรียในช่วงนั้น

Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง

จึงไม่น่าแปลกใจที่กษัตริย์ทั้งองพระองค์จะได้สมัญญานาม “มหาราช” ต่อท้ายพระองค์
หมายเหตุ**คำว่า มหาราช หรือ The Great เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้นๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “มหาราช” เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม ในขณะที่หลุยส์มหาราช ในภาษาฝรั่งเศสจะใช้เป็น Louis le Grand หลุยส์ เลอ กร็อง

Credit : วิกิพีเดีย, infothailand.eu, matichon.co.th,pantip

City Break Paris Part XXIX

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 29
‘พระราชวังแวร์ซาย’ ตอนที่ 1

หลังจากคุยกันถึงเรื่องอาหารการกินกันไปหลายตอนแล้ว ตอนนี้ก็เลยต้องขอกลับมาพาเที่ยวกันต่อครับซึ่งตามที่ผมเคยเกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ ก็คือถ้ามาปารีสทั้งทีจะเที่ยวให้คุ้มค่าก็ต้องมี 3 แห่ง 3 แบบนี้ครับ คือทัวร์วัด, ทัวร์วัง และทัวร์พิพิธภัณฑ์ สถานที่อื่นๆที่เหลือแค่ไปโฉบถ่ายรูปหรือselfie ก็พอได้ครับ ไม่เสียเวลามาก ผมพาไปทัวร์วัดคือวิหารโนตเทรอะดาม และทัวร์พิพิธภัณฑ์มาแล้ว ขาดแต่ทัวร์วัง ซึ่งก็คือเรื่องที่จะแนะนำในวันนี้ครับ ‘พระราชวังแวร์ซาย’ โดยวันนี้เราจะพูดถึงที่มาของพระราชวังแวร์ซายและเรื่องราวของยุคสมัยนั้น เนื่องจากยุคสมัยนั้นประเทศไทยเราก็เริ่มมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ก็เลยถือโอกาสกล่าวถึงเรื่องราวที่มาของความสัมพันธ์ดังกล่าวเล็กน้อยด้วย

City Break Paris Thai France History 18

ในขณะที่ในเมืองไทยมีความตื่นตัวเรื่องประวัติศาสตร์เพราะความดังของละครทีวีหรือซีรี่ส์ของไทยเรื่อง บุพเพสันนิวาส ซึ่งผู้เขียนบทได้อ้างอิงถึง ยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งถือเป็นbackground หรือฉากหลังของละครนั้น ในยุโรปและอเมริกาก็ได้ให้ความสนใจกับภาพยนตร์ซีรี่ส์อิงประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเรื่องว่า Versailles แวร์ซาย (ซึ่งเพิ่งจะออกอากาศ season 3 ไปในเดือนเมษาที่ผ่านมา) กันพอสมควรทีเดียวและซีรี่ส์เรื่องนี้ก็อ้างอิงถึงยุคสมัยของ The Sun King สุริยกษัตริย์ของฝรั่งเศส ซึ่งก็คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั่นเอง โดยมีพระราชวังแวร์ซายเป็นbackground หรือฉากหลังของละคร

City Break Paris Thai France History 9

ที่น่าสนใจก็คือซีรี่ส์ทั้งสองนั้นมีช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน (Overlap) และมีเรื่องราวหลายอย่างที่คล้ายกันอยู่ในมิติของประวัติศาสตร์ (fact)ที่ไม่เกี่ยวกับfiction หรือบทละครที่ปรุงแต่งเรื่องราว เช่น การย้อนยุคมาเกิดหรือ Time Travel แบบในซี่รี่ส์ของไทย เรามาดูกันว่าความเหมือนหรือความคล้ายที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง

 

City Break Paris Thai France History 15

1. ช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน
ไทย ยุครัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือในช่วงขึ้นครองราชย์ก็คือ พ.ศ. 2199-2231 (ค .ศ 1656 -1688) พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยทรงขึ้นครองราชย์ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199 หรือตั้งแต่มีพระชนมายุได้ 25 พรรษา และทรงครองราชย์อยู่นานถึง 32 ปี

City Break Paris Thai France History 12

 

ฝรั่งเศส  ในขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่าหลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป

City Break Paris Thai France History 2

หากศึกษาจากวันประสูติของกษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์จะสังเกตได้ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะมีพระชนมายุน้อยกว่าสมเด็จพระนารายณ์ ประมาณ 7 ปี แต่ทรงขึ้นครองราชย์ก่อนถึง 13 ปี

 

2. ช่วงการเปลี่ยนย้ายที่ประทับสร้างเมืองหลวงใหม่

City Break Paris Thai France History 8

ซุ้มประตูทางเข้าวังพระนารายณ์ที่ลพบุรี

ไทย หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 โดยพระองค์ท่านทรงเลือกพื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรละโว้ เป็นอาณาจักรโบราณในมณฑลอำนาจแห่งหนึ่งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถาปนาขึ้นราวปลายยุคทวารวดี แรกเริ่มมีศูนย์การอำนาจอยู่ที่ลวปุระ(ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี) ทำให้เมืองลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะเมืองลพบุรีมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ซึ่งในการสร้างเมืองลพบุรีนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลี่ยน ได้สร้างพระราชวังที่มีป้อมปราการเป็นแนวป้องกันอย่างมั่นคง ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงโปรดประทับที่เมืองลพบุรี ตามหลักฐานปรากฏว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี ปีละ 8-9 เดือน โปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าที่เมืองลพบุรีหลายครั้ง

City Break Paris Thai France History 10

ฝรั่งต่างชาติบันทึกว่า สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่กรุงศรีอยุธยา รู้สึกอึดอัดไม่เป็นอิสระเช่นเดียวกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประทับอยู่ที่กรุงปารีส โปรดแวร์ซาย เพราะให้ความรู้สึกปลอดโปร่งกว่า สบายกว่า ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็โปรดเมืองลพบุรี (ละโว้) มากกว่า เพราะคลายความอึดอัด ความเครียด ดังบันทึกฝรั่งว่า
“…เพื่อเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปยังเมืองละโว้ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ห่างกรุงศรีอยุธยาไปทางเหนือประมาณสิบห้าหรือยี่สิบลิเออ และประทับที่เมืองนั้นเก้าหรือสิบเดือนในปีหนึ่งๆ ด้วยว่าเป็นเสรีดี ไม่ต้องทรงทนอุดอู้อยู่แต่ในพระบรมมหาราชวัง เช่นที่กรุงศรีอยุธยา…”
(credit: De La Loubere. A New Historical Relation of the Kingdom of Siam. Bangkok : White Lotus, 1980)

City Break Paris Thai France History 7

โบราณสถานที่เหลืออยู่ที่จังหวัดลพบุรีและข้างล่างคือแผนที่เมืองละโว้ที่ทำไว้โดยชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยนั้น

 

City Break Paris Thai France History 19

ฝรั่งเศส ในขณะที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส หลังจากทรงขึ้นครองบัลลังก์ได้ 8 ปี เมื่อ พ.ศ. 2204 ก็มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักล่าสัตว์เดิมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ที่สร้างไว้ในปี พ.ศ. 2167 ในเมืองแวร์ซายย์ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุงปารีส (ดูภาพพัฒนาการของแวร์ซายข้างล่าง)

City Break Paris Thai France History 1

City Break Paris Thai France History 11

ภาพทั้ง 2 ภาพด้านบน คือกระท่อมล่าสัตว์ก่อนดัดแปลงมาเป็นพระตำหนักในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 เสด็จพ่อของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ซึ่งท่านได้ติดตามเสด็จพ่อของท่านมาล่าสัตว์ที่นี่ในช่วงก่อนอายุได้ 5 ชันษา จึงเกิดความประทับใจในบรรยากาศและทำเลของที่นี่

City Break Paris Thai France History 3

Versailles ในยุคปี พ.ศ 2211 (ค.ศ 1668) วาดโดย Pierre Patel ตอนนั้นเพิ่งจะขยายไปเพียงบางส่วนแต่พระเจ้าหลุยส์ก็เริ่มมาประทับที่นี่แล้วตอนนั้นมีพระชนมายุได้ 30 ชันษา

City Break Paris Thai France History 13

Palace of Versailles หลังจากที่มีการขยายเสร็จสมบูรณ์โดยพระเจ้า Louis XIV หลังจากปี 2231

โดยทรงสร้างต่อเติมเป็นพระราชวังแวร์ซาย ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 แต่พระองค์ก็ทรงมาประทับที่แวร์ซายตั้งแต่ก่อนพระราชวังจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ และประกาศให้แวร์ซายเป็นเมืองหลวงของฝรั่งเศส (จริงๆแล้วในอดีตถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงเลือกที่ประทับถาวรที่ใดเมืองนั้นก็กลายเป็นเมืองหลวงไปโดยปริยายเพราะศูนย์กลางของอำนาจทุกอย่างจะมารวมอยู่ที่นั่น)

City Break Paris Thai France History 17

แผนที่ของเมืองแวร์ซายโดยตัวพระราชวังจะอยู่ด้านเหนือสุด

 

3. ช่วงความวุ่นวายภายนอกและศึกสงคราม

City Break Paris Thai France History 4

ดูจากแผนที่ด้านบนจะเห็นแผนที่ในเอเชียแสดงให้เห็นประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก (มีสีของประเทศตามchart เช่น สีส้มคือฮอลันดา, เหลืองคืออังกฤษ และชมพูคือฝรั่งเศส) จะเห็นว่าประเทศไทยเป็นสีเทาคือสีที่บ่งบอกว่าไม่เคยเป็นอาณานิคมของใคร ซึ่งเราควรต้องภูมิใจและรำลึกถึงผู้ปกป้องอธิปไตยของเราในสมัยนั้นไว้

ไทย ในสมัยที่พระองค์ครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2199-2231 เป็นยุคที่มหาอำนาจตะวันตกแผ่อิทธิพลเข้ามา โดยเฉพาะฮอลันดา ซึ่งหลังจากยึดชวาหรืออินโดนีเซียได้แล้ว ก็คุกคามสยามและมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ ชาวฮอลันดาหรือพวกดัตช์ได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงย้ายที่ประทับไปอยู่เมืองละโว้หรือลพบุรี ไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยาให้ห่างทะเลออกไปอีก และเตรียมสร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เพื่อความปลอดภัย

 

City Break Paris Thai France History 6

City Break Paris Thai France History 5

ฝรั่งเศส  ไม่น่าเชื่อว่านอกจากฮอลันดาหรือพวกดัตช์จะเป็นปฎิปักษ์กับไทย และก็ยังเป็นศัตรูคู่อาฆาตกับฝรั่งเศสในช่วงเดียวกันอีกด้วย เหมือนว่าไทยกับฝรั่งเศสถูกกำหนดให้ต้องเป็นมิตรกันเฉพาะหน้าโดยปริยาย สำหรับเหตุการณ์บาดหมางระหว่างชาวดัตช์กับฝรั่งเศสนั้นมีการปะทะหรือรบกันหลายครั้งในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยเฉพาะช่วงที่คาบเกี่ยวกับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เช่น
ในปี 1665 กษัตริย์ฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน (Philip IV of Spain) สวรรคตลง พระโอรสวัย 4 ชันษาซึ่งป่วยออดแอดได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ชาร์ลที่ 2 (Charles II) พระเจ้าหลุยส์อ้างว่าตามกฎของแคว้นบราบ็อง (Brabant) (คาดว่าเป็นแคว้นในแถบสแปนิช เนเธอร์แลนด์ (Spanish Netherlands) นั้นให้สิทธิ์ของลูกคนแรกเป็นผู้ปกครองสืบต่อ พระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์คือพระนางมารีเป็นลูกคนแรกของกษัตริย์ฟิลิปจึงควรได้รับแคว้นนี้เป็นมรดก จากนั้นพระองค์ก็ใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการโจมตี สแปนนิช เนเธอร์แลนด์ (Spanish Netherlands) ของสเปน กองทัพฝรั่งเศสรุกคืบไปโดยที่สเปนไม่สามารถต้านทานได้ ส่วนพวกดัตช์ที่มีชายแดนติดกับสแปนนิชเนเธอร์แลนด์ก็กำลังมีปัญหาภายใน โดย โจฮาน เดอ วิต (Johan de Witt) ที่ดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดของสาธารณรัฐระแวงว่าวิลเลียมที่ 3 เจ้าชายแห่งออเรนจน์ (William III, Prince of Orange) จะมีอิทธิพลเหนือเขาและสร้างความยิ่งใหญ่ให้ราชวงศ์ออเรนจ์อีกครั้ง อีกทั้งยังมีสงครามกับอังกฤษอยู่ ทำให้การบุกสแปนิช เนเธอร์แลนด์ของฝรั่งเศสเป็นไปอย่างสะดวก แต่หลังจากนั้นดัตช์ก็เริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงสงบศึกกับอังกฤษและตกลงเป็นพันธมิตรกัน และไปดึงสวีเดนมาเป็นพวก เรียกว่ากลุ่มสามพันธมิตร (Triple Alliance) ในปี 1668 ทำให้พระเจ้าหลุยส์ต้องพ่ายถอยไป

City Break Paris Thai France History 16

อีกครั้งหนึ่งในปี 1670 พระเจ้าหลุยส์ได้ส่งทองคำไปกำนัลแด่พระเจ้าชาล์ลที่ 2 แห่งอังกฤษเพื่อให้พระองค์ยุติการเป็นพันธมิตรกับดัตช์และหันมาร่วมมือกับพระองค์ อีกทั้งพระองค์ยังชักชวนให้บรรดารัฐในเยอรมันมาเข้าร่วมกับพระองค์ในการรบกับดัตช์ ในปี 1672 หลุยส์ก็ประกาศสงครามกับดัตช์ และบุกยึดดินแดนอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันที่ดัตช์ก็เกิดการรัฐประหารโค่นล้ม เดอ วิต ออกจากตำแหน่งสูงสุด และให้วิลเลียมแห่งออเรนจ์ขึ้นแทน สงครามก็ยังดำเนินต่อไป
City Break Paris Thai France History 14

ปี 1674 อังกฤษถอนตัวออกจากการรบ ส่วนพวกดัตช์ได้รับความช่วยเหลือจากสเปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ แต่ถึงแม้กระแสสงครามจะดูเหมือนจะเอนไปทางฝ่ายดัตช์ แต่กองทัพฝรั่งเศสกลับสามารถยึดแคว้นฟร็อง คอมเต้ (Franche-Comté) ของสเปนเอาไว้ได้ และยังบดขยี้ทัพผสมของจักรวรรดิ ดัตช์และสเปนที่มีจำนวนมากกว่าได้ในการรบที่เซเนฟ (Battle of Seneffe) ส่วนแนวรบกับจักรวรรดิ แม่ทัพทูแรน (Turenne) ก็เอาชนะกองทัพจักรวรรดิของแม่ทัพ ไรมอนโด มอนเตกูโกลิ (Raimondo Montecuccoli) ได้ และบีบให้ถอยกลับแม่น้ำไรน์และยึดแคว้นอัลซาสไว้ได้ ในปี 1678 กองทัพฝรั่งเศสก็ล้อมยึดเมืองเกนต์ (Ghent) เอาไว้ได้

 

เรื่องราวต่อไปโปรดติดตามได้ที่นี่นะครับ

Credit : วิกิพีเดีย, infothailand.eu, matichon.co.th,pantip.com

City Break Paris Part XVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 18
เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 2
การปรับเปลี่ยนของ Louvre ในศตวรรษที่17-18

กลับมาเรื่องพระราชวังลูฟว์กันต่อครับ สำหรับเรื่องการต่อเติมที่เป็นเรื่องราวหลังจากสมัยพระเจ้าอองรีที่ 4 ก็มามีในสมัยเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ที่ทำลายกำแพงด้านเหนือของปราสาท (ในปี 1624) เพื่อหาวิธีที่จะทำให้ลูฟว์ไม่ใช่ลูกผสมคือเป็นทั้งสถาปัตยกรรมแบบยุคกลางและยุคเรเนอซองส์ปนกันอยู่ เพราะ Lescot Wing ที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นเรเนอซองส์ไปแล้ว ดังนั้นแนวคิดของสถาปนิกคนใหม่ Jacques Lemercier ก็คือการทำเลียนแบบปีกเลส์โกต์นี้ทางเหนือด้วย จึงมี Lemercier Wing (1636) เกิดขึ้น และสร้าง Pavilion หรือมุขระหว่างสองปีกคือ Pavillon de l’Horloge แต่ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Pavillon de Sully

City Break Paris Louvre 3

ภาพลานจัตุรัสของ Louvre ด้านใน หรือ Cour Carrée (ไม่ใช่ลานนโปเลียนซึ่งปัจจุบันมีปิรามิดแก้วตั้งอยู่) จะเห็นปีกเลสโก้ Lescot Wing ที่อยู่ด้านซ้าย โดยมีหน้ามุขนาฬิกา Pavillon de l’Horloge และมีปีกเลแมซิเอ Lemercier Wing อยู่ด้านขวา ที่สร้างcopyให้เข้ากับปีกเลสโก้

จากนั้นก็มาถึงยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ในปี ค.ศ. 1659 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ภายใต้สถาปนิก Louis Le Vau และจิตรกร Charles Le Brun (ผู้ซึ่งเป็น 2 ใน 3 ประสานของโครงการพระราชวังแวร์ซายย์ ประกอบด้วย Louis Le Vau ออกแบบพระราชวัง, Charles Le Brun ออกแบบงานศิลปะ เช่น ประติมากรรมรูปปั้นรวมทั้งงานภาพวาด และ André Le Nôtre ออกแบบภูมิทัศน์ ซึ่งทั้งหมดจะมีการพูดถึงเมื่อเราไปเที่ยวพระราชวังแวร์ซายย์) มีการทุบกำแพงทางทิศเหนือและทิศตะวันออกที่เป็นส่วนของ Louvre ยุคกลางออกไป แต่แม้ว่ากำแพงถูกทลายไปแต่โครงสร้างคือฐานของกำแพงก็ยังอยู่มีซากให้เห็นในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ในปัจจุบันดูจากรูปด้านล่าง

City Break Paris Louvre 2

จากนั้น มีการดูแลปรับปรุงและความสมบูรณ์ของพระราชวัง Tuileries และได้มีการก่อสร้างปีกอาคารให้ล้อมรอบตรงลานจัตุรัสหรือ Cour Carrée ให้ครบทั้ง 4 ด้านจากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ปีกเลสโก้ Lescot และมีปีกเลแมซิเอเท่านั้น โดยการสร้างปีกทางทิศเหนือและเพิ่มความยาวของปีกใต้เป็นสองเท่ามีการสร้างมุขกษัตริย์ Pavillon du Roi และสร้างแกรนด์ Cabinet du Roi (หอศิลป์คู่ขนานกับ Petite Galerie) รวมทั้งโบสถ์ เลอบูร์น และการตกแต่ง Galerie d’Apollon

City Break Paris Louvre 10

ภาพด้านบนจะเห็น square court หรือ Cour Carrée ที่มีกลุ่มอาคารล้อมรอบทั้ง 4 ด้านครบแล้ว แต่ในภาพจะเห็นว่าส่วนหลังคาของตึกที่ถูกต่อเติมใหม่นั้นยังถูกทิ้งค้างไว้ และมาเสร็จในช่วงของจักรพรรดินโปเลียน เนื่องจากเจ้าหลุยส์ที่ 14 กำลังจะย้ายไปที่พระราชวังแวร์ซายย์ ทำให้มุ่งไปสนพระทัยพระราชวังใหม่ ซึ่งทำให้งานของลูฟว์ไม่เดินหน้าจนในที่สุดก็ถูกทอดทิ้งไปอีก 2 รัชสมัยคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15และ16

Cabinet du Roi ประกอบด้วยห้องพัก 7 ห้องทางด้านตะวันตกของ Galerie d’Apollon ที่ชั้นบนของ Petite Galerie ที่ได้รับการออกแบบใหม่ ภาพวาดของกษัตริย์หลายพระองค์ถูกประดับไว้ในห้องเหล่านี้ในปี ค.ศ. 1673 และกลายเป็นแกลเลอรีศิลปะย่อมๆที่เปิดให้สำหรับคนรักศิลปะสามารถเข้าถึงได้ ที่สำคัญมีหลักฐานระบุไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสว่าห้องแกลเลอรี่นี้ได้เคยแสดงให้ทูตจากสยามได้เข้าชมใน ปี ค.ศ.1686

City Break Paris Louvre 5

ปีกด้านตะวันออกของ Louvre (1665-80) ซึ่งมีรูปแบบด้านหน้าอาคารที่คลาสสิก และมีอิทธิพลต่อการออกแบบอาคารต่างๆ ในหลายประเทศทางซีกโลกตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป ข้างหน้าอาคารคือลาน Claude Perrault’s Colonnade ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้รับผิดชอบอาคารด้านตะวันออกนี้

สำหรับปีกอาคารด้านตะวันออกนั้นรับผิดชอบโดย Claude Perrault หลังจากที่มีความพยายามจะให้ปรมาจารย์ศิลปะสไตล์บาร็อค ที่ชื่อ Gian Lorenzo Bernini สถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อดังจากโรมแสดงฝีมือออกแบบซึ่งเขาก็เดินทางมาปารีสโดยเฉพาะเพื่องานนี้ แต่ปรากฎว่ารูปแบบโดนปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์เพราะรูปแบบมันได้อิทธิพลมาจากดีไซน์ของอิตาเลียนจนเกินไปไม่ใช่ฝรั่งเศส สถาปนิก Claude Perrault ก็จัดการดำเนินการต่อไปโดยใช้สไตล์บาร็อคแบบ Classic ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับว่ามีความคลาสสิกแบบฝรั่งเศส และมีอิทธิพลต่อการออกแบบอาคารต่างๆ ในหลายประเทศในยุโรปและอเมริกา

City Break Paris Louvre 9

ภาพบนนี้เป็นภาพลานจัตุรัสหรือ Cour Carrée ในปัจจุบันถ่ายจากจุดกึ่งกลางลานที่เป็นบ่อน้ำพุแทบไม่มีใครทราบว่าอาคารแต่ส่วนแต่ละปีกด้านหน้าด้านข้างนั้นสร้างกันคนละยุคสมัยแค่ดูกลมกลืนได้อย่างดี

นอกจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงให้ปรับเปลี่ยนสวนตุยเลอรี Tuileries ให้เป็นสวนแบบฝรั่งเศสหรือที่เรียกว่า Jardin à la Française หรือ The French Formal Garden เพราะในยุคของพระองค์ซึ่งมีฉายาว่า “สุริยะราชา” หรือ The Sun King นั้น ฝรั่งเศสถือเป็นประเทศมหาอำนาจมีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร จะต้องมีสไตล์ของฝรั่งเศสเอง

City Break Paris Louvre 11

ภาพแบบแปลนของสวนสวนตุยเลอรี Tuileries ที่เน้นรูปทรงเรขาคณิตและวางรูปแบบให้สมมาตรโดย เลอ โนตร์

เพราะก่อนหน้านั้นพระราชวังนี้มาพร้อมกับสวนในสไตล์อิตาเลียน Italian Renaissance Garden ตามคำสั่งของพระนางคัทรินเดอเมดิชี ที่ให้ใช้ นักออกแบบภูมิทัศน์ จากเมือง Florence ที่ชื่อ Bernard de Carnesse

City Break Paris Louvre 8
รูปปั้นที่สวนตุยเลอรี Tuileries ของ เลอ โนตร์ André Le Nôtre สถาปนิกภูมิทัศน์ ออกแบบสวนตุยเลอรีส์ในสไตล์ฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1564

จริงๆ แล้วสวนสไตล์ฝรั่งเศสก็มีวิวัฒนาการและได้แรงบันดาลใจจากสวนสไตล์เรอเนซองส์ของอิตาลีในตอนต้นของศตวรรษที่ 16 นั่นเอง ต้นแบบก็คือสวนสไตล์อิตาเลียนเรอเนซองส์ที่สวน Boboli ในเมืองฟลอเรนซ์และ Villa Medici in Fiesole มีลักษณะการวางแปลง parterres ไม้ดัดไม้ดอกที่เป็นเหมือนกำแพงมีเส้นขอบมุมตัดกันชัดเจน สร้างขึ้นในรูปทรงเรขาคณิตและวางรูปแบบให้สมมาตร มีการใช้น้ำพุและน้ำตกเพื่อให้มีชีวิตชีวาในสวน มีบันไดและทางลาดไล่ระดับต่างๆ ของสวน, มีถ้ำหรือgrottos, มีเขาวงกต และรูปปั้นประติมากรรม โดยสวนจะถูกออกแบบมาเพื่อแสดงถึงกลมกลืน และความเป็นระเบียบตามอุดมคติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพื่อระลึกถึงสวนโรมันต้นแบบในกรุงโรมเก่า

City Break Paris Louvre 6

แต่ในที่สุดสวนแบบฝรั่งเศสก็หาจุดยืนที่มีความแตกต่างจากสวนอิตาลี ทั้งในด้านรูปลักษณะและในด้านจิตวิญญาณ ส่วนผู้ที่เป็นต้นตำรับและถูกยกย่องว่าเป็นผู้ให้กำเนิด Jardin à la Française นั้น ก็คือนักออกแบบ ภูมิทัศน์ที่ชื่อเลอ โนตร์ André Le Nôtre นั่นเอง สวนที่เขาสร้างขึ้นได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่และความมีเหตุมีผลของฝรั่งเศสทำให้กลายเป็นสวนสไตล์ยุโรป จนกระทั่งถึงในศตวรรษที่ 18 English Garden หรือสวนภูมิทัศน์แบบอังกฤษจึงมาเป็นที่นิยมแทน

City Break Paris Louvre 1

ภาพบนเป็นผลงานชิ้นแรกๆ ที่สร้างชื่อให้กับ André Le Nôtre (1613-1700) ซึ่งเป็นนักออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสวนฝรั่งเศส มันคือผลงานการออกแบบสวนในปี 1656 ที่ปราสาท โวเลอวีกงต์ Vaux-le-Vicomte ของ นิโกลา ฟูเกต์ Nicolas Fouquet ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ดูแลท้องพระคลัง (เทียบเท่ารัฐมนตรีกระทรวงการคลัง) ให้พระเจ้าหลุยศ์ที่ 14

อย่างไรก็ตามการทำงานการปรับเปลี่ยนในช่วงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นค่อนข้างล่าช้า เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องกว้านซื้อที่ดินและบ้านบริเวณนั้น ถ้าดูจากรูปภาพวาดขาวดำด้านบนจะเห็นว่าบริเวณรอบๆ Louvre นั้นค่อนข้างแออัดแม้แต่ในลานจัตุรัสก็ยังมีบ้านคนปลูกอยู่ซึ่งต้องมีการซื้อที่เวรคืน ยิ่งไปกว่านั้นช่วงปี ค.ศ. 1674 พระเจ้าหลุยส์กำลังจะย้ายไปที่พระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้มุ่งไปสนพระทัยพระราชวังใหม่ซึ่งทำให้งานของลูฟว์ไม่เดินหน้า

จนในที่สุดโครงการ Louvre ก็ถูกทอดทิ้งไปอีก 2 รัชสมัยคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ16 ซึ่งก็ทรงประทับที่แวร์ซายส์จนมีเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส และในวันที่ 6 ตุลาคมปี ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่16 และพระบรมวงศานุวงศ์ถูกเชิญให้กลับมาอยู่ปารีสใกล้กับประชาชนที่พระราชวังตุยเลอรี Tuileries เนื่องจากประชาชนชาวปารีสเดือดร้อนเศรษฐกิจย่ำแย่ แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่ได้ดีขึ้น เพราะกองทัพของพระองค์ก็พยายามจัดการให้พระองค์และคณะหลบหนี จากปารีสไปที่ Montmédy ทำให้เกิดเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาคม ปี 1792 ที่เรียกว่า Journée du 10 août หรือ “The Second Revolution” มีการบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรีโดยพวกปฏิวัติ ซึ่งในตอนนั้นทหารที่ปกป้องคุ้มครองพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็คือ Swiss Guard (หรือกลุ่มทหารรับจ้างสวิส Mercenary Soldiers ที่ทำหน้าที่รับจ้างคุ้มครองพระราชวังหลายแห่งในยุโรปตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 มีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์และภักดีต่อผู้ว่าจ้างสูงสุด จนถึงปี 1874 กฎหมายรัฐธรรมนูญสวิสให้ยกเลิกไป ถือว่าทหารสวิสต้องปกป้องสวิสเท่านั้นไม่ใช่ต่างชาติ ยกเว้นกรณีที่ คุ้มครองพระสันตะปาปาที่กรุงวาติกัน)

City Break Paris Louvre 7

ภาพนี้ก็คือเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาคม ปี 1792 ที่ชื่อ Capture of the Tuileries Palace วาดโดย Jean Duplessis-Bertaux (1747–1819) จะเห็น Swiss Guard อยู่ในชุดสีแดงปัจจุบันดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ที่พระราชวังแวร์ซายส์ National Museum of the Chateau de Versailles

ดังนั้นเหตุการณ์ที่มีการบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรีก็เป็นไปตามคาดก็คือ Swiss Guard ไม่ยอมวางอาวุธไม่ยอมให้กลุ่มทหารปฏิวัติ หรือ National Guard ผ่าน จึงเกิดการต่อสู้แบบยอมตายแม้ว่าฝ่ายปฏิวัติจะมีกำลังมากว่าหลายเท่า ทำให้ Swiss Guard เสียชีวิต เพราะความกล้าหาญและซื่อสัตย์ภักดีมากว่า 600 นาย แม้ว่าหลังการต่อสู้ไม่นานพระเจ้าหลุยส์ทรงมีคำสั่งให้ Swiss Guard ยอมแพ้ก็ตาม จึงเป็นที่มาของอนุสาวรีย์ ‘สิงโตเศร้า’ The Lion Monument ที่หน้าผาเมืองลูเซินน์ Lucerne ที่เรารู้จักกันดี โดยมีข้อความจารึกสดุดี ถึงความภักดีและกล้าหาญของคนสวิสจากเหตุการณ์ครั้งนั้น in memory of the Swiss Guards : HELVETIORUM FIDEI AC VIRTUTI (To the loyalty and bravery of the Swiss) โดยเปรียบเสมือนสิงโตผู้เก่งกล้าแต่ก็ยังแพ้ได้แบบมีศักดิ์ศรี ไม่มีหนีแม้รู้ว่าต้องพ่าย

มาถึงตรงนี้ชอบมีคำถามแบบแฟนพันธุ์แท้ถามว่า “แล้วทำไมต้องไปสร้างอนุสรณ์สถานนี้ที่เมืองลูเซินน์Lucerne ทำไมไม่ซูริคหรือเจนีวาล่ะ?” คำตอบก็คือ The Lion Monument เกิดจากแรงผลักดันของร้อยตรีคาลล์ (second lieutenant Carl Pfyffer von Altishofen) นายทหารรับจ้างสวิสชาวลูเซินน์ที่อยู่ในช่วงลาพักร้อนกลับบ้านที่ลูเซินน์พอดี ในขณะที่เพื่อนๆ ต้องต่อสู้กับเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาที่ปารีส ทำให้เกิดสำนึกและรู้สึกผิดอยู่เฉยไม่ได้ต้องสร้างอนุสรณ์ที่รำลึกถึงเพื่อนทหารผู้กล้า จึงได้วิ่งเต้นกับเทศบาลเมืองลูเซินน์และนักการเมืองท้องถิ่นจนได้รับการอนุมัติให้สร้าง The Lion Monument ซึ่งออกแบบโดย Bertel Thorvaldsen ชาวเดนมาร์ก และมีการแกะสลักในปี 1820–21 โดย Lukas Ahorn ชาวเยอรมัน

City Break Paris Louvre 4

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของ Louvre ในตอนต่อไปครับ