City Break Paris Part XXXV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 35

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 4 (Life in the court)

เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงตารางกิจกรรมสันทนาการยามบ่ายของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ซึ่งมักจะมีกิจกรรมในสวนแวร์ซายหรือถ้ามีการล่าสัตว์ก็บริเวณในป่ารอบๆแวร์ซาย จึงมีการพูดถึงการสร้างสวนแห่งนี้ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 Phases หรือ 4 ช่วง แต่พูดถึงช่วงแรกไปช่วงเดียวก็เลยไปพูดถึงเรื่องระบบสุขอนามัยของแวร์ซายเสียยืดยาวจึงต้องมาต่อเรื่องสวนและกิจกรรมของพระเจ้าหลุยส์ ช่วงหลังพระอาทิตย์ตกกันในวันนี้และถือเป็นตอนสุดท้ายของแวร์ซายด้วยครับ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -2

กลับมาเรื่องสวนแวร์ซายในช่วงก่อสร้างเพิ่มครั้งที่สองจากปีคศ. 1664 – 1668 จะมีน้ำพุใหม่ถูกสร้างขึ้นเช่นเดียวกับการทำแปลง Bosquets ใหม่ “ด้วยขั้นตอนนี้ทำให้สวนแห่งนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการออกแบบภูมิประเทศแบบสมมาตร มีเอกลักษณะเป็น jardin à la française หรือ French Formal Garden อย่างแท้จริง มีน้ำพุ Grotte de Téthys (น้ำพุแห่งทะเลกรีก Thetis) และบ่อน้ำลาโตเน่ Bassin de Latone และ Bassin Apollon (น้ำพุเทพเจ้ากรีกพระเจ้าอพอลโล จะเห็นน้ำพุที่มีเทพอพอลโลและรถศึกของเขาโผล่ออกมาจากทะเล) ในวันเปิดใช้น้ำพุนั้นผู้ให้สัญญาณคำสั่งนกหวีดก็คือพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั่นเอง

City Break Paris Life in the Court Part 35 -3

สวน Versailles ช่วงที่สามหรือPHASE III นั้นอยู่ในช่วงปี 1680 – 1685 ได้เปลี่ยนการออกแบบของ Le Nôtre มาเป็นการออกแบบของสถาปนิกคนใหม่ที่ชื่อ Jules Hardouin-Mansart! ซึ่งเขาได้ ปรับเปลี่ยนการออกแบบของ Le Nôtre โดยการขยายสนามหญ้าระหว่างน้ำพุไปจนถึงขนาดของปัจจุบันที่เราและเขาได้เพิ่มบ่อน้ำขนาดใหญ่แบบเหลี่ยมคู่ (เรียกว่าคลองแกรนด์ (Canal) และคลอง Petite (แนวนอน)) เพื่อเป็นตัวแทนของแม่น้ำใหญ่สองสายของประเทศฝรั่งเศส

City Break Paris Life in the Court Part 35 -4

ภาพบนเป็นระบบทดน้ำจากแม่น้ำเซนไปที่แวร์ซาย ซึ่งทำให้ระบบน้ำพุคูคลองในสวนแวร์ซายมีชีวิตชีวาอยู่ต่อเนื่อง แต่ไม่เห็นมีการพูดถึงระบบระบายน้ำเสีย

สวน Versailles ช่วงที่ 4 (PHASE IV) คือขั้นตอนสุดท้ายเกิดขึ้นช่วงปีค.ศ. 1704 – 1785. อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน วันที่ 1 ปี 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สิ้นพระชนม์จากโรคปากเท้าเปื่อยที่แวร์ซายส์ และในปี ค.ศ. 1722 หลุยส์ที่ 15 กลับมายังแวร์ซายส์ เขาไม่ได้ใช้เงินจำนวนมากในวังเช่นเดียวกับคุณปู่ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14) สวนจึงมีการเปลี่ยนแปลงแค่เล็กน้อย

โดยสรุป Gardens of Versailles ทั้งหมดมีต้นไม้ อย่างน้อย 200,000 ต้น หากนำมาวางเรียงเป็นทางยาวจะได้ถึง 81 กิโลเมตรของแถวต้นไม้ มีไม้ดอกที่ให้ดอกไม้ในช่วงอากาศอบอุ่นเฉลี่ยประมาณ 210,000 ดอกกระจายทั่ว parterres มีน้ำพุที่มีระบบพ่นน้ำกว่า 50 จุด ซึ่งไหลผ่านท่อน้ำยาวรวมกันวัดได้ 21 ไมล์ มีถนนยาวรวมกัน 12 ไมล์ สวนสาธารณะขนาดใหญ่กว่า 1900 เอเคอร์ (4807ไร่)

เวลา 18.00 น. หรือ 19.00 น พิธีกินเลี้ยงหรือฉลองยามค่ำ

พระเจ้าหลุยส์ที่14 มักนิยมการจัดงานปาร์ตี้ให้มีความบันเทิงกลางแจ้ง เช่น งาน Evening Gatherings ในขณะเดียวกันท่านก็จะไปลงนามในหนังสือสำคัญมากมายที่เตรียมโดยเลขาธิการของที่บ้านในสวนของ Mme de Maintenon มาดามแมงเตนอง พระราชสนมคนโปรด ซึ่งเธอจะได้ทำการศึกษาเอกสารสำคัญเหล่านั้นไว้ก่อน เธอถือเป็นหนึ่งใน 4 เลขาธิการแห่งรัฐ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -5

ภาพบนเป็นภาพของ Mme de Maintenon มาดามแมงเตนอง พระราชสนมคนโปรดและเลขาธิการแห่งรัฐ โดยที่ภาพซ้ายนั้นเป็นภาพวาดสีน้ำมันจากตัวจริงแต่ภาพขวาคือดาราที่แสดงเป็นพระนางในซีรี่ส์เรื่อง”Versailles”

City Break Paris Life in the Court Part 35 -6

อย่างไรก็ตามพระเจ้าหลุย์ที่14 ก็ยังมีสนมคนโปรดมากที่สุดอีกรายหนึ่ง ที่อาจไม่ได้ให้อำนาจรัฐแต่พระองค์ทรงมีลูกด้วยกับ Francois-Athenais ในภาพซ้ายที่วาดจากตัวจริงและภาพขวาก็คือดาราที่แสดงเป็น Francois ในซีรี่ส์เรื่อง”Versailles”

แม้ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่14 จะแต่งงานกับสมเด็จพระราชินีมาเรีย – เทเรสในปี ค.ศ. 1660 แต่พระองค์ไม่ได้มีนางเพียงคนเดียว ดังนั้นเมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านพักมาดามแมงเตนองทุกๆเย็น มาดามก็เหมือนกลายเป็นภรรยาคนที่สองของท่าน (แม้ว่าการสมรสไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการหรือยอมรับ) ในขณะนั้นท่านอาจศึกษาแฟ้มเอกสารสำคัญกับ 1 ใน 4 เลขาธิการของรัฐ ท่านก็ได้รับความเพลิดเพลินไปกับการได้ใกล้ชิดกับของมาดามไปด้วย

เวลา 22.00 น. พิธีอาหารมื้อเย็นSupper Fit for a King
ฝูงชนรีบเข้าห้องรับแขกของพระเจ้าหลุยส์เพื่อมาร่วมรับประทานอาหารเย็นที่ Royal Table กษัตริย์เสด็จประทับที่เสวยกับสมาชิกในพระราชวงศ์ เมื่ออาหารเสร็จสิ้นแล้วพระมหากษัตริย์เดินข้ามห้องและเข้าร้านเพื่อทักทายผู้หญิงในศาล จากนั้นเขาก็เกษียณในตู้เพื่อสนทนากับครอบครัวและเพื่อนสนิทของเขาได้อย่างอิสระ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -7

ในเวลา 4 ทุ่ม ฝูงชนจะเข้ามาจนเต็มห้องรับรองหรือ Antichambre ในบริเวณ Kings Suite เพื่อเป็นสักขีพยานในงานเสวยอาหารค่ำของกษัตริย์ พระราชาและพระราชินีจะเสด็จมาด้วยกัน อาหารค่ำแบบราชสำนักจะประกอบไปด้วยการเสิร์ฟจากอาหารจานเปลถึง 40 จานที่มักเสิร์ฟชุดละ 8 จานซึ่งสามารถนำจานไปใช้ซ้ำได้ 5 ครั้งในระหว่างมื้อ อาหารจะประกอบไปด้วยซุป, สลัด, เนื้อสัตว์, ผัก และของหวาน “อาหารทุกจานถูกลิ้มรสก่อนโดยคนรับใช้สนิท เพื่อตรวจสอบสารพิษ และใช้คนเสิร์ฟเป็นจำนวน 100 คน หากเป็นงานใหญ่ก็ถึง 1,000 คนที่ต้องเดินไปห้องครัวที่อยู่ไกลไปอีกอาคารหนึ่ง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะถูกแบ่งหน้าที่ออกไปเป็น “เจ้าหน้าที่พระโอษฐ” ทำหน้าที่ตักเสิร์ฟ, เจ้าหน้าที่ลำเลียงจานไปที่โต๊ะ และ “เจ้าหน้าที่กุณโฑ (officer of the goblet) ทำหน้าที่เทเครื่องดื่ม และยังมีเจ้าหน้าที่จัดจานอาหารวางผ้ากันเปื้อนและดูรูปแบบของโต๊ะให้ต้องมีสีของพระราชวงศ์ Bourbon: คือสีทอง สีแดง หรือสีเงิน แก้วก็ต้องทำด้วยคริสตัลเจียรแบบบาคาร่า ส่วนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ อย่างเช่น มีด ส้อม และเครื่องเทศปรุงรสจะถูกเก็บไว้ในกล่องพิเศษ แต่ถึงอย่างนั้นพระเจ้าหลุยส์นิยมทานอาหารด้วยมือแม้การใช้ส้อมกับมีดจะเริ่มใช้เป็นธรรมเนียมกันแล้วก็ตาม และเนื่องจากห้องครัวอยู่ห่างไกลจากห้องรับประทานอาหาร นั่นอาจทำให้อาหารเย็นชืดก่อนที่จะถูกเสิร์ฟ ดังนั้นพวกเขาก็เลยคิดค้นที่ครอบอาหารแบบระฆังเงินเพื่อใช้ครอบจาน (Silver Bell Food Covers) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็ที่แวร์ซายนี่แหละ เพื่อให้อาหารอุ่นจนถึงเวลาเสิร์ฟ ธรรมเนียมนี้เลยถูกใช้ต่อมาโดยเฉพาะกับร้านอาหารชั้นดี แล้วพอมีฝาครอบเงิน วัสดุอีกอย่างที่ทำตามกันมาก็คือส้อมหรือ forkนี่แหละครับ ก่อนหน้านั้นคนฝรั่งเศสใช้มีดกับมือเป็นหลัก

City Break Paris Life in the Court Part 35 -8

ภาพบนและล่างเป็นบรรยากาศบนโต๊ะอาหารหากมีการจัด Grand Dinner ขึ้นที่แวร์ซาย

City Break Paris Life in the Court Part 35 -1

 

City Break Paris Life in the Court Part 35 -9

ภาพนี้จะเป็นบรรยากาศของยามพลบค่ำที่บริเวณสวนแวร์ซายที่ใช้จัดงานเฟสติวัลต่างๆ

 

ในโอกาสต่างๆ ที่พระราชวังแห่งนี้จะมีการจัดงานใหญ่ๆ (fêtes) ซึ่งมักใช้เวลาหลายวันหลายคืน มีแขกรับเชิญหลายร้อยคน โดยจะจัดในสวนแวร์ซายพวกแขกเหรื่อจะชื่นชมสวนหย่อมหรือไปที่โรงละครหรือเต้นรำ แน่นอนว่าต้องมีการแข่งกันในเรื่องเครื่องแต่งกาย ในตอนปิดฉากงานปาร์ตี้ก็จะมีการแสดงดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม

City Break Paris Life in the Court Part 35 -10

ในโอกาสพิเศษถ้าเป็นงานใหญ่พระราชาจะทรงตัดสินใจเองว่าใช้เมนูอาหารอะไร การแสดงจะเป็นแบบไหน หรือธีมของงานปาร์ตี้จะเป็นแบบไหน จะต้องแต่งกายอย่างไร เช่น ท่านจะมอบหมายให้มีการเตรียมรายการอาหารที่เป็น Menus-Plaisirs du Roi มีการตกแต่งจานที่สวยงาม ส่วนทางด้านงานแสดงพระองค์มักมีรูปแบบที่อิงตำนานเทพเจ้ากรีก เรื่องราวของอัศวินจากยุคกลางหรือบทกวีร่วมสมัย และใช้แกรนด์คาแนลเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณพระราชวังและถูกสร้างขึ้นตามคลองแห่งเวนิสคลอง Grand & Petite เป็นฉากและแกนหลักของงาน fêtes centered มีการจำลองย่อขนาดเรือที่มีจริงในกองทัพเรือฝรั่งเศส เพื่อจำลองสงครามทางน้ำ เพื่อความบันเทิงในคลอง มีแม้แต่เรือกอนโดลาเสมือนอยู่ในท่าเมืองเวนิสจริงๆ ในบทละครแบบโรแมนติก

City Break Paris Life in the Court Part 35 -11

ในช่วงหนึ่งของงาน fêtes du nuit พระเจ้าหลุยส์ก็อาจมีช่วงเวลาที่ท่านสามารถผ่อนคลายไปกับการสนทนากับคนรู้จักสนิท เหล่าสมาชิกของพระราชวงศ์ คณะรัฐมนตรี หรือแม้แต่สนมคนโปรดได้บ้าง

เวลา 23.30 น. พิธีถวายพระพร ส่งพระเจ้าหลุยส์เข้านอน
พิธีกรรมสาธารณะนี้เรียกว่าคูชเช่ coucher หรือเข้านอนจะตรงข้ามกับพิธี Levée: ( Rising ) หรือตื่นขึ้นมา

City Break Paris Life in the Court Part 35 -12

กษัตริย์ของฝรั่งเศสจะถูกห้อมล้อมอย่างตลอดต่อเนื่องด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาอยู่ในที่พำนักของพระราชวงศ์และยึดมั่นในจรรยาบรรณ การปรากฏตัวในพิธีต่างๆ เหล่านี้ก็มักจะได้รับการตอบแทนด้วยเงินช่วยเหลือ ของขวัญ ที่พักในพระราชวังแวร์ซาย การเชิญไปงานเฉลิมฉลองและพิธีการอื่นๆ เป็นประจำ การได้เป็นคนยืนถือเทียนขณะที่พระองค์เปลื้องผ้าเปลี่ยนชุดเป็นชุดนอนนั้นถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

 

จบเรื่องแวร์ซายแล้วครับ สำหรับเรื่องราวของ City Break Paris ก็จะมาถึงเรื่องราวช่วงสุดท้าย นั่นคือ มื้อเย็น และกิจกรรมยามค่ำในปารีส ซึ่งก็จะเป็นประมาณ 4 ตอนจบเช่นกัน แล้วพบกันที่นี่ครับ