สูตรไข่ฟริตตาต้า ในวันแห่งความรัก

Valentine’s Day ประวัติจะเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงมีวันนี้ขึ้นมา ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจเท่าไรนัก เพราะถึงสนใจไปค้นหากันจริงๆ ก็ดูจะเลือนรางเป็นเพียงคำบอกเล่าต่อกันมา ไม่มีใครยืนยันประวัติที่เริ่มจากนักบุญเซนต์วาเลนไทน์ได้ รู้แต่ว่าในบ้านเราเป็นที่ยอมรับกันเรียบร้อยตั้งแต่ในเมืองกรุงไปจนถึงต่างจังหวัด ถิ่นทุรกันดาร ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ไปจนลูกเล็กเด็กแดงแล้ว ว่าเป็นวันแห่งความรัก เป็นวันที่แม่ค้าขายดอกกุหลาบแดง กับคนขายช็อกโกแลต ยิ้มแก้มแทบแตก เพราะขึ้นราคาได้ตามใจชอบ

เมื่อมองย้อนกลับไป เมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น เราเองก็เคยว้าวุ่นกังวลใจ กลัวจะไม่ได้ดอกกุหลาบซักดอกในวันนั้น รู้สึกด้อยค่าอย่างไรชอบกล แต่ด้วยวัย ด้วยประสบการณ์ ทำให้ความคิดเราเปลี่ยนไปมาก เรายังเชื่อในความรัก ความหวังดี ที่ผู้คนจะมอบให้กัน และการที่มีคนกำหนดขึ้นมาสักวัน ว่าเป็นวันนี้ วันนั้นมันก็ดีเหมือนกัน ไม่เช่นนั้น ก็นึกๆอยู่ ว่าจะทำอะไรดีๆให้กับคนที่เรารัก ก็ยังไม่ได้ทำสักที เพียงแต่ว่า ความรักในอุดมคติของเราได้เปลี่ยนไป ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงความรักของคู่รัก หรือสามี ภรรยาอีกต่อไป ความรักที่ช่วยจรรโลงจิตใจ ให้มีความหวัง ให้มีความเบิกบาน มีได้มากมายหลายรูปแบบ ตั้งแต่ความรักที่มีต่อพ่อแม่ ต่อผู้มีพระคุณ ต่อคนในครอบครัว ต่อเพื่อนที่ได้เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมายาวนาน บางคนยิ่งกว่าพี่น้องเสียอีก

และเหนือสิ่งอื่นใด ความรักที่มีให้แก่ตัวเอง เราเชื่อว่าเมื่อเรารักและเคารพในตัวเราเอง คนอื่นๆก็จะเห็นคุณค่าและปฏิบัติกับเราแบบนั้นเหมือนกัน

วาเลนไทน์ปีนี้ ลองมองออกไปกว้างๆ ลองนึกกลับไปว่าใครที่ดีกับเราเสมอมา ลองทำอะไรพิเศษใหม่ๆ ด้วยตัวเองให้เป็นของขวัญที่มีคุณค่าทางจิตใจ ให้กับคนที่เรารักลองดูค่ะ

Le Creuset and Frittata for Valentine Day 3

สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาทำอาหารแต่อยากจะทำอะไรพิเศษให้คนที่รักในวันนี้ เอาเมนูง่ายๆ อร่อย มาฝากกัน เมนูนี้เอาไว้เป็นเพียงแนวทาง หรือ guideline เราสามารถดัดแปลง เอาอาหารที่มีอยู่ในตู้เย็น ที่เราชอบมาเพิ่มเติม ลดสิ่งที่เราไม่ชอบออกไป เพียงแต่สัดส่วนของไข่และของเหลว ควรจะทำตามในสูตรไปก่อน ต่อเมื่อทำสำเร็จครั้งหนึ่งแล้ว จะเพิ่มจะลดอะไร ก็ค่อยว่ากันค่ะที่สำคัญถ้าใช้กระทะเหล็กหล่อ เคลือบอินาเมล ของ Le Creuset ด้วยแล้ว จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง ไข่จะขึ้นฟูสวย คงรูป เพราะความร้อนกระจายทั่วถึง ผิวสัมผัสของไข่ด้านล่างจะเกรียมสวย เพราะความร้อนได้ที่

Le Creuset and Frittata for Valentine Day 1

สูตรไข่ฟริตตาต้า Frittata
เนย 50 กรัม
หอมใหญ่ผัดไฟอ่อนกับเนยจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม (ตามชอบ)
พริกหวานย่าง (ตามชอบ) ลอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
เห็ดสับผัดกับน้ำมันมะกอก (ตามชอบ)
เบคอน (ตามชอบ) ผัดเอาน้ำมันออกจนเป็นสีเกรียมสวย
มันฝรั่งต้ม (ตามชอบ) หรืออบแล้วหั่นเป็นชิ้นหนาราว 1-2 ซม
Ricotta ชีส 200 กรัม
ไข่ 6 ฟอง
ครีมชนิดวิปปิ้งครีม 150-200 กรัม
Parmesan ชีสขูดให้ได้ ครึ่งถ้วย
ผัก Rockets คลุกกับน้ำมันมะกอกและมะนาว

Le Creuset and Frittata for Valentine Day 5

Le Creuset and Frittata for Valentine Day 6

วิธีทำ
เปิดเตาอบไว้ที่ไฟ 180 องศาเซลเซียส
ตีไข่กับวิปปิ้งครีม เติมเกลือ พริกไทย ใส่ชีสทั้งสองชนิด
ตั้งกระทะไฟกลาง ใส่เนย จนเนยเดือด ใส่ไข่ลงไป ตามด้วย หอมใหญ่ พริกหวาน เห็ด เบคอน มันฝรั่ง ลดไฟลงเป็นไฟอ่อน จนไข่เริ่มเซ็ทตัวแล้ว เอาเข้าเตาอบที่เตรียมไว้ จนไข่ฟูขึ้นเต็มที่แล้ว เปลี่ยนไฟเป็นโหมด ย่าง (grill) ขยับกระทะขึ้นให้ชิดไฟด้านบน เพื่อให้ด้านบนของไข่มีสีสวย ประมาณ 3-5 นาที

พักไว้เพื่อให้ข้างในของไข่สุก เซ็ทตัว ราว 5 นาที ก่อนตัดเสิร์ฟเป็นชิ้นๆ
โรยผัก Rockets ที่คลุกน้ำสลัดๆแล้วไว้ด้านบน
เสิรฟกับขนมปังบาแก้ท ก็อร่อย

Le Creuset and Frittata for Valentine Day 8

Le Creuset and Frittata for Valentine Day 4

จัดโต๊ะสวยๆ ทำอาหารอร่อย ที่ใช้เวลาไม่นานนี้ นั่งลงรับประทานกับคนที่รัก หรือแม้จะทานคนเดียว ก็มีความสุขได้ ขอบคุณตัวเองที่เข้มแข็งฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆในชีวิตมาได้จนถึงวันนี้

 

ขอให้วันวาเลนไทน์ปีนี้ เป็นวันที่เรามีความสุขกันอีกวันค่ะ

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่
Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

 

Le Creuset LOGO

เนื้อซี่โครงตุ๋นไวน์แดงในหม้อ Le Creuset

ปีใหม่กำลังจะมาถึง หลายๆคนเริ่มเตรียมเมนูสำหรับงานเลี้ยงกันแล้ว ขอเสนอเมนูที่เหมาะมากไม่ว่าจะจัดงานที่บ้าน หรือจะถือไปร่วมงานกับใครนะคะ นั่นก็คือ เนื้อตุ๋นไวน์แดง ค่ะ

Le Creuset Stewed Ribs with Red Wine 3

สูตรนี้อร่อยมากค่ะ ทำทีไร ใครๆก็ชม มันอร่อยด้วยตัววัตถุดิบเอง ที่ค่อยๆสุกไปอย่างช้าๆ ยิ่งได้อุปกรณ์ที่เหมาะสม คือหม้อของ Le Creuset ที่กระจายความร้อนได้ทั่วถึงแบบนี้ อาหารออกมาอร่อยมาก ดีจนใครๆก็ขอให้ทำเมนูนี้อยู่เรื่อยๆค่ะ

เนื้อซี่โครงตุ๋นไวน์แดงในหม้อ Le Creuset
เครื่องปรุง
เนื้อส่วนซี่โครง หรือเนื้อน่องลาย หรือส่วนแก้มวัว ½ กิโล
หอมหัวใหญ่ 1 หัว (หั่นเต๋า ราวๆ 1 เซ็นติเมตร)
แครอท 1 หัว (หั่นเต๋า ราวๆ 1 เซ็นติเมตร)
ก้านเซเลอรี่ 1 ก้าน (หั่นเต๋า ราวๆ 1 เซ็นติเมตร)
ต้นกระเทียม (เฉพาะส่วนสีขาว) 1 ต้น ซอยบาง
บัลซามิค Balsamic Vinegar 100 gram
มะเขือเทศเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะ
ไวน์แดง 200 ml
น้ำสต๊อกเนื้อ 500 ml
มันฝรั่ง
ช่อ บูเค การ์นี่ (ก้านพาร์สลี่ ใบกระวาน ช่อไทม์ ห่อด้วยใบต้นกระเทียม มัดรวมกัน)
โรสแมรี่
เกลือ พริกไทย
เนย
กระเทียมไทย ทั้งหัวฝานครึ่ง (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)

Le Creuset Stewed Ribs with Red Wine 1

ผักสำหรับตกแต่ง
มันฝรั่งและแครอท เกลาให้เป็นรูปสวยงาม ผักสีเขียวที่เข้ากันได้ดีคือกะหล่ำดาว Brussels Sprout
ผักเหล่านี้ ต้มหรือลวกแล้วมาผัดเนย เติมไปในจานเวลาจัดเสิร์ฟ

Le Creuset Stewed Ribs with Red Wine 2

วิธีทำ
เทเกลือ พริกไทยลงบนเนื้อซี่โครงให้ทั่ว แล้วทอดเนื้อซี่โครงทั้งหมดด้วยไฟแรง และน้ำมันเพียงเล็กน้อย จนเป็นสีน้ำตาลสวย ยกเนื้อไปพักไว้ในหม้อ Le Creuset

ในกระทะเดิมลดไฟลงเป็นไฟกลางค่อนข้างอ่อน นำหอมใหญ่ แครอท เซเลอรี่ และต้นกระเทียมที่เราหั่นไว้แล้ว ลงไปผัด เติมเนยเล็กน้อย เกลือ พริกไทย

ผัดจนผักเริ่มนิ่ม หอมใหญ่เป็นสีใส ผัดมะเขือเทศเข้มข้น ( Tomato paste 2 ชต) ลงไปผัดให้เข้ากัน
เติม Balsamic Vinegar แล้วปล่อยไว้สักครู่ จนน้ำเริ่มงวดลง เติมไวน์แดง ใช้ไม้พาย หรือตะหลิว ขูดเศษเนื้อที่ติดกระทะออกมาให้มากที่สุด ส่วนนี้เป็นส่วนที่เสริมรสชาติดีที่สุด รอจนไวน์แดงงวดลงเหลือสัก 1/3

เร่งไฟเป็นไฟแรง เติมน้ำสต๊อกเนื้อ ตั้งไฟให้เดือด

นำผักและน้ำสต๊อกนี้เทลงในหม้อรวมกับเนื้อซี่โครงที่พักไว้ในหม้อ ให้น้ำสต๊อกท่วมเนื้อ ถ้าไม่พอให้เติมน้ำเปล่าได้ ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ตักฟองออก

ลดไฟลง เติมช่อ บูเค การ์นี่และ ช่อโรสแมรี่ ตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ คอยตักฟองออกบ้าง จนเนื้อเริ่มนุ่ม ราวๆ2 ชั่วโมงครึ่งหรือกว่านั้น ถ้าเห็นว่าน้ำแห้งไปก็เติมน้ำได้อีก ชิม ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย

ถึงเวลาเสิร์ฟอาจวางไว้ทั้งหม้อแบบนี้ ให้แขกตักเอง หรือจะจัดเสิร์ฟใส่จาน พร้อมด้วยผักเครื่องเคียงที่ลวกหรือต้มไว้แล้ว มาผัดกับเนยตอนสุดท้ายเพื่อให้เป็นเงาสวยก็ได้ค่ะ

Le Creuset Stewed Ribs with Red Wine 4

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่
Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

Le Creuset LOGO

ไก่อบและผักฤดูหนาว เกรวี่ไวน์แดง

ช่วงเวลาแห่งความรื่นเริงและการเฉลิมฉลองใกล้เข้ามาทุกทีแล้วค่ะ ในโอกาสสุดพิเศษนี้ มาทำไก่อบแสนอร่อยกันค่ะ ไก่อบ หนังกรอบเนื้อนุ่มชุ่มฉ่ำ ราดด้วยเกรวี่ที่ทำเอง รสชาติเข้มข้น แถมเสิร์ฟกับผักที่อบมาจนนุ่มหวาน จะเสิร์ฟในงานเลี้ยงที่บ้านเราเอง หรือจะยกไปร่วมงานกับใคร รับรองว่าเป็นดาวเด่นของงานแน่ๆ

นอกจากความอร่อยเหนือชั้น ไก่อบที่เสิร์ฟมาแบบนี้ มันให้บรรยากาศอบอุ่นของงานคริสต์มาส ดูโก้ ดูแกรนด์ แต่ไม่ได้ยากจนเกินไป และข้อดีของเมนูนี้ก็คือเตรียมไว้ล่วงหน้าได้ ให้สุกไปในเตาอบ เราก็มีเวลาไปเตรียมของอื่นๆ ค่ะ

Happy Holidays ค่ะทุกๆคน

Roast Chicken - Le Creuset 1

วัตถุดิบ

ไก่ขนาด 1 กิโล หรือมากกว่าเล็กน้อย
ปีกไก่ 2 ขีด
น้ำมันพืช เกลือ พริกไทย
ใบ thyme

เกรวี่
หอมหัวใหญ่ 1 หัว แครอท 1/2 หัว – หั่นเต๋าใหญ่ประมาณ 1 ซม
หอมแดง 1 หัว กระเทียม 5-6 กลีบ -สับละเอียด
น้ำเปล่าเล็กน้อย

แป้งสาลี 1/2 ช้อนโต๊ะ
ไวน์แดง 200 มล

ผักต่างๆ ที่ไว้ทานกับไก่อบ
แครอท ฟักทอง มันฝรั่ง หั่นชิ้นใหญ่
บีทรูท -ล้างแล้วอบทั้งเปลือก ก่อนเสิร์ฟค่อยปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชิ้นหนาๆ ตัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อตกแต่ง
กะหล่ำดาวลวกในน้ำเดือดผสมเกลือ แล้วน็อคในน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง ใส่กระชอนสะเด็ดน้ำแยกไว้ต่างหาก

วิธีทำ
เปิดเตาอบไฟ 200 องศาเซลเซียส
สับกระดูกคอ ออกจากตัวไก่ หั่นขาไก่ตรงช่วงกลางของหน้าแข้งด้วยมีดหั่นขนมปังเพื่อให้กระดูกเรียบสวย
ถ้าซื้อจากร้านหรือซุปเปอร์ที่เขาทำให้เรียบร้อยแล้ว ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยค่ะ แต่อาจต้องซื้อกระดูกไก่มาต่างหาก เพื่อมาใส่ในหม้ออบ ไว้ทำเป็นเกรวี่ค่ะ

Roast Chicken - Le Creuset 2

Roast Chicken - Le Creuset 3

ใช้กระดาษทิชชู เช็ดไก่ให้แห้ง ทั้งข้างนอกและข้างใน โรยพริกไทย เกลือลงไปข้างในไก่ แล้วมัดขาไก่ไว้ด้วยกัน(ตรงบริเวณหน้าอกไก่ส่วนบนใกล้ๆคอ จะมีกระดูกชิ้นเล็กๆ เรียกว่า wishbone ชาวบ้านทั่วไปก็จะอบไก่ไปทั้งอย่างนั้น เจอกระดูกชิ้นนี้ก็ใช้ขอพรเสียเลย แต่ถ้าเป็นร้านอาหาร เชฟมักเอากระดูกนี้ออกเสียก่อนค่ะ) ทำไก่เสร็จแล้ว เอาน้ำมันพืชทาให้รอบตัวไก่ด้านนอก โรยเกลือ พริกไทย พักไว้

ใส่ผักที่หั่นเต๋าในข้อ 1 พร้อมทั้งกระดูกไก่ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆ และน้ำเปล่าลงในหม้อเหล็กหล่อเคลือบอีนาเมล Le Creuset แล้วตามด้วยไก่ที่เตรียมไว้ โดยเอาด้านข้างไก่ลงก่อน ใส่เนยลงไปสักชิ้นเล็กๆ บนไก่ ก่อนเข้าเตาอบ ตั้งเวลาไว้ 15 นาที คอยตักน้ำในหม้ออบมาราดผิวไก่เป็นระยะๆ เพื่อให้สีสวย แล้วมาพลิกเอาด้านหน้าอกลง หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ครบอีก 15 นาที ระหว่างนั้นอย่าลืมตักเอาน้ำในหม้อมาราดที่ผิวไก่อยู่เรื่อยๆ นอกจากจะได้ไก่อบสีสวยแล้ว ยังได้รสที่ดีด้วยค่ะ ถ้าส่วนปลายปีกและปลายขา ทำท่าจะไหม้ ให้เอากระดาษฟอยด์หุ้มไว้ก่อน

หนสุดท้ายคือพลิกเอาด้านหน้าอกขึ้นนั้น ให้คอยสังเกตว่าบริเวณอกที่นูนขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่น และหน้าขาตรงส่วนสะโพก มักจะไหม้ก่อนส่วนอื่นๆ ให้เอาเบคอนรมควันที่เป็นแผ่นบางๆ มาคลุมไว้เฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการไหม้ ตรงนี้แหละสำคัญเกือบจะที่สุด จะทำให้ไก่ของเราจะสวยเด่นเป็นสง่า ผิวพรรณดูมีราศีกว่าไก่อบที่เห็นกันทั่วๆไปค่ะ อบไก่ด้านที่มีหน้าอกหงายขึ้นนี้ จับเวลา 12-15 นาที ตอนนี้ต้องระวังมากๆค่ะ เพราะส่วนหน้าอกมักจะแห้ง ต้องอย่าให้สุกเกินไป มีวิธีเช็คคือใช้เทอร์โมมิเตอร์เสียบเข้าไปส่วนที่หนาที่สุด ให้อุณหภูมิอยู่ประมาณ 65-68 องศาเซลเซียส ถ้ายังไม่ถึง ให้อบต่อไปอีกสักหน่อย จากนั้นเมื่อมาพักไก่โดยจับตัวไก่ให้ตั้งขึ้น มีตะแกรงรองข้างล่าง รับน้ำจากตัวไก่ ไก่จะสุกต่อไปอีก อุณหภูมิของไก่ วัดเมื่อก่อนเสิร์ฟ ให้อยู่ในช่วง 72-75 องศาก็จะกำลังพอดี

สำหรับผักฤดูหนาวที่จะไว้เสิร์ฟไปข้างๆไก่อบ เอาน้ำมันมะกอกทาเสียหน่อย โรยเกลือบางๆ จะใส่อบไปพร้อมๆกับไก่ หรือจะแยกใส่ถาดเล็กต่างหาก วางไปข้างๆหม้ออบก็แล้วแต่ชอบค่ะ คอยดูฟักทองด้วย ฟักทองจะสุกง่ายที่สุด ยิ่งถ้าหั่นชิ้นบาง ก็อาจเละได้ หมดความอร่อยค่ะ

ได้ของเกือบครบแล้ว ระหว่างที่พักไก่อยู่นั้น มาทำเกรวี่ที่อร่อยมากมายกันค่ะ

เทน้ำที่ได้จากการอบไก่ แยกไว้ต่างหาก

ผัดผักและกระดูกที่อยู่ใต้ไก่อบด้วยไฟแรง ให้จนแห้งเป็นสีน้ำตาล โรยแป้งสาลีลงไป ผัดต่อจนแป้งสุก เติมไวน์แดง ผัดให้เข้ากันและให้ไวน์แดงระเหยไปสักครึ่งหนึ่ง เติมน้ำสต๊อกที่ได้จากการอบไก่ลงไป เติมน้ำเปล่าเล็กน้อย ตั้งไฟจนเดือด ตักเอาไขมันและฟองบนผิวหน้าออก ชิมรสถ้าอ่อนไปให้เติมเกลือ พริกไทย
ลดไฟลงเป็นไฟกลางค่อนข้างอ่อน จนซอสข้นขึ้น กรองเอาผักออก ตั้งไฟกลางต่อไป จนซอสข้นได้ชนิดที่เคลือบหลังช้อนไม้
เร่งไฟขึ้นเป็นไฟกลางแล้ว จึงเติมเนยเย็นที่ตัดเป็นก้อนเล็กๆ ลงไปทีละน้อย ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากัน

จัดไก่กลับลงไปในหม้อ เรียงผักที่อบไว้แล้วตกแต่งไว้ข้างๆ เกรวี่ใส่ถ้วยเกรวี่แยกไปต่างหาก

Roast Chicken - Le Creuset 4

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่
Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

Le Creuset LOGO

Breakfast Strata (Savory Bread Pudding)

สวัสดีค่ะ วันนี้เอาเมนูไข่ที่ชอบมากมาฝากค่ะ

Le Creuset Breakfast Strata 1

Le Creuset Breakfast Strata 2

ชอบตรงที่มันสะดวก เตรียมไว้ล่วงหน้าได้ จะเสิร์ฟเป็นอาหารเช้าก็ได้ เป็นอาหารงานเลี้ยงมื้อกลางวันก็ได้ จะใส่ไส้อะไรก็ได้หลากหลาย ตามแต่ของที่เรามีอยู่ในบ้าน อารมณ์ประมาณคล้ายๆ กับทาน คีช Quiche แต่ไม่ต้องยุ่งยากทำแป้งพาย

เหมาะมากสำหรับคนที่มีเวลาน้อย เราเตรียมส่วนผสมนี้ใส่ตู้เย็นไว้ก่อนนอน เช้ามาในระหว่างที่เตรียมของอย่างอื่น หรือต้มกาแฟ ก็เอาใส่เตาอบไว้ ใช้เวลาแค่ 20 นาทีหรือกว่านิดหน่อย ก็ได้อาหารเช้า หรืออาหารเลี้ยงแขกที่เรียกเสียงว้าวจากทุกคนได้แล้ว

ตอนที่ออกจากเตา หอมชีส หอมความอร่อย ข้างบนฟูๆ นี่ …..สุดจะบรรยายเลย !

Le Creuset Breakfast Strata 3

Le Creuset Breakfast Strata 4

Breakfast Strata (Savory Bread Pudding)

ส่วนผสม :

สำหรับใส่ใน Le Creuset Cocotte จำนวน 5 ใบ

ไข่ 4 ฟอง นม 1 ถ้วย ครีม 1 ถ้วย
แป้งอเนกประสงค์ 2 ช้อนโต๊ะครึ่ง (ข้อนี้ถ้าไม่ชอบตัดออกได้)
ขนมปังเก่าสักวันสองวัน เอาขอบ (เปลือก) ออก ในที่นี้ใช้ขนมปังโฮลวีท
หัวหอมใหญ่ สับหยาบๆ ชีสขูด เช่น Cheddar cheese, parmesan, Gruyère, Ricotta
ไส้ที่จะใส่ สามารถพลิกแพลงไปได้ตามชอบ เช่น เห็ดผัดกับน้ำมันมะกอก เกลือ พริกไทย ใส่ใบพาร์สลี่ย์สับ หรือ แฮมหั่นเต๋า หรือผักขมลวกบีบน้ำออก ผัดกับน้ำมันมะกอก กระเทียม/ พริกหวานย่าง/ เบคอนผัดกับหอมใหญ่/ ไก่ย่างฉีกเป็นเส้นๆ / ไส้กรอกหั่นเต๋าผัด

ที่ทำวันนี้เราใส่ เบคอนผัดกับหอมใหญ่ ผัดจนหอมใหญ่นิ่มเป็นสีน้ำตาลสวย แล้วใส่ มะเขือเทศอบแห้ง (sun-dried tomato)

วิธีทำ :
ตีไข่พอแตก เติมแป้ง คนให้เข้ากัน แล้วเติมนม ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย ถ้าชอบรสจัด อาจเติมผง All spice, Cajun powder หรือ nutmeg ตีหรือคนให้จนส่วนผสมเข้ากันดี
หั่นขนมปังให้เป็นแผ่นบางๆ เรียงไว้ที่ก้นถ้วย ราดด้วยส่วนผสมนมและไข่ที่เตรียมไว้พอให้ชุ่ม

จากนั้นเรียงส่วนผสมที่เราเตรียมไว้สำหรับให้เป็นไส้ โรยชีส ครึ่งหนึ่งของที่ขูดเตรียมไว้ แล้วเรียงขนมปังที่หั่นเป็นแผ่นไว้ทับลงไปอีกชั้น กดให้แน่นๆ แล้วราดด้วยส่วนผสมนมกับไข่อีกครั้ง

โรยทับด้วยชีสที่เหลือ ปิดด้วยกระดาษแรป หรือฝา พักไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือถ้าจะให้ดี ก็พักไว้หนึ่งคืนในตู้เย็น

วางบนถาด แล้วเข้าอบที่ไฟ 180 องศามีพัดลมช่วย ใช้เวลา 20-23 นาที แล้วแต่ความร้อนของเตาแต่ละบ้าน ถ้าหากใส่ในภาชนะที่ใหญ่กว่านี้ ชามเดียวเลย ก็ให้เพิ่มเวลาอบออกไป

 

สังเกตุว่าได้ที่แล้ว เมื่อชีสข้างหน้าเป็นสีน้ำตาลทอง ส่งกลิ่นหอมฟุ้งน่ารับประทาน

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่
Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

 

Le Creuset LOGO

เค้กช็อกโกแลต ไร้แป้ง กับลูกพรุนและวิสกี้

เค้กนี้อร่อยมาก จนลูกสาวสั่งห้ามทำอีก!

Le Creuset and Flourless Chocolate Cake with Prune and Whisky 2

สูตรนี้ได้มาจาก The Violet Bakery Cookbook ซึ่งเชฟ Claire Ptak นี้เป็นคนที่ได้รับเลือกให้ทำเค้กแต่งงานให้กับ Prince Harry และ Meghan Markle เมื่อไม่นานมานี้
สูตรทุกสูตรในหนังสือเล่มนี้ทำออกมาแล้วดี สมกับที่เป็นเชฟขนมดังเป็นลำดับต้นๆ แต่ทุกครั้งที่ทำขนมตามสูตรของเธอก็ทำในพิมพ์ธรรมดา มาวันนี้นึกอยากทดลองว่า ถ้าทำในหม้อเหล็กหล่อ Le Creuset แล้วจะเป็นยังไง เพราะเท่าที่รู้จักคุณสมบัติของเครื่องครัวชนิดนี้ คือให้ความร้อนกระจายสม่ำเสมอ และร้อนนาน คิดๆแล้วก็คล้ายๆกับ Convection Oven ที่เชฟมืออาชีพทั้งหลายชอบใช้กัน ลองทำสูตรเดียวกัน เปรียบเทียบกับใช้พิมพ์ธรรมดา ปรากฏว่า ขนมที่ใช้หม้อ HEART COCOTTE นี้ ให้เนื้อสัมผัสที่ดีกว่า จนเราเองก็แปลกใจ เนื้อขนมนุ่มนวล moist และเก็บความหอมของเหล้า ของส่วนผสมได้ดีจริงๆ

Le Creuset and Flourless Chocolate Cake with Prune and Whisky 1

มาลองทำกันดูค่ะ

สำหรับ 1 สูตร ใช้หม้อ Le Creuset HEART COCOTTE 20CM ถ้าใช้หม้อ HEART COCOTTE 16 CM แบบในรูปใช้เพียง ½ สูตรสำหรับพอทานได้ 6-8 คน

ทาเนยด้านในหม้อบางๆ ตัดกระดาษเป็นรูปหัวใจรองไว้ที่ก้นหม้อ และอีกสองแผ่นเป็นแผ่นยาวๆ กรุไว้ด้านในเพื่อให้ยกเค้กขึ้นมาได้

วัตถุดิบ
125 g ลูกพรุนชนิดไม่มีเม็ด
40 g วิสกี้ ชนิดใดก็ได้
240 g ช็อกโกแลต 70% (มีขายตามร้านBakery Supply) ในสูตรนี้ใช้ของยี่ห้อ Cacao Barry
200 g เนยจืด
5 ฟองไข่ แยกเป็นไข่ขาว ไข่แดง
100 g น้ำตาล แบ่งเป็น ½ กับ ½
¼ tsp เกลือทะเล
150 g ผงอัลมอนด์

วิธีทำ
แช่ลูกพรุนไว้ในเหล้าวิสกี้ล่วงหน้า อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ยิ่งถ้าแช่ไว้ข้ามคืน (ปิดฝา อยู่ในตู้เย็น) ยิ่งดี

ก่อนนำมาใช้ หนึ่งเม็ด ให้ผ่าสี่ แล้วผ่าอีกทีเป็นแปดชิ้นเล็กๆ

อุ่นเตาไว้ที่ 175 องศา โปรแกรมที่มีพัดลมช่วย(160 C -Convection Oven)
เริ่มด้วยการตุ๋นช็อกโกแลต โดยตั้งหม้อใส่น้ำเพียงเล็กน้อย ตั้งไฟจนเริ่มเป็นไอน้ำ ลดเป็นไฟอ่อน แล้ววางชามทนไฟที่มีขนาดเท่ากับปากหม้อพอดี ลงบนปากหม้อ ไม่ให้ก้นชามโดนน้ำ วิธีนี้เรียกในหมู่คนทำขนมว่า Bain-Marie ใส่ช็อกโกแลตและเนยจืดลงไปในชาม คนเป็นครั้งคราว ให้ช็อกโกแลตกับเนยละลายเข้ากันดีปิดไฟ ยกออกจากเตา เช็ดก้นชาม ระวังอย่าให้ส่วนผสมโดนน้ำ ช็อกโกแลตกับน้ำไม่ถูกกัน

ตีไข่แดงกับน้ำตาลครึ่งหนึ่งจนขึ้นขาวฟู ใส่ลงในส่วนผสมช็อกโกแลตที่เย็นแล้ว ตามด้วย ลูกพรุน และผงอัลมอนด์พักไว้

จากนั้นตีไข่ขาวกับน้ำตาลอีกครึ่งที่เหลือและเกลือที่เตรียมไว้ จนขึ้นยอดอ่อน

ตักไข่ขาวทีละ ¼ ลงไปผสมกับ ส่วนผสมช็อกโกแลต อย่างเบามือ (fold)

เทลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ นำเข้าเตาอบ ใช้เวลา 25 นาที (หมุนกลับด้านของเค้กเมื่อเวลาผ่านไปครึ่งหนึ่ง) โดยให้ใช้ไม้แหลมๆ หรือที่เช็คเค้ก ลองจิ้มดูส่วนที่หนาที่สุดของเค้กก่อนเวลาที่ตั้งไว้สัก 5-10 นาที เพราะความร้อนของเตาอบแต่ละบ้านไม่เท่ากัน ถ้าหากไม้หรือก้านที่เสียบลงไป เวลาที่ดึงออกมาแล้ว ไม่มีเศษเค้กติดมา แสดงว่าสุกดีแล้ว

 

ส่วนตัวเวลาอบเค้กช็อกโกแลต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเค้กที่ไม่มีแป้งนี้ (ไม่ต้องกลัวว่าแป้งจะไม่สุก) มักจะเอาออกก่อนเวลาตามสูตรสัก 5 นาที เพราะชอบให้ตรงกลางยังแฉะๆอยู่ ลองปรับเวลาทำดูกับเตาที่บ้านของคุณค่ะ จะสุกมากสุกน้อย รสชาติเค้กอันนี้ดีแน่ๆ ทานแล้วหยุดไม่ได้จริงๆค่ะ

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่
Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

 

Le Creuset LOGO

ซุปบีทรูท

ตอนที่บอกหนูทดลองที่อยู่ในบ้าน ว่าแม่จะทำ ‘ซุปบีทรูท’ แบบสไตล์ของชาติยูเครน ตามสูตรในหนังสือ The Immigrant Cookbook- Recipes that Make America Great ลูกสาวทำอ้ำๆอึ้งๆ ประมาณว่าไม่ค่อยชอบรสชาติของบีทรูทสักเท่าไหร่ แต่สุดท้ายเมื่อทำเสร็จแล้ว ทุกคนก็แปลกใจ ว่าสูตรนี้อร่อยจริงๆ ไม่เหมือนที่เคยรับประทานมา คนที่บอกไม่ค่อยชอบบีทรูทเท่าไหร่คนนั้น ชิมจนหมดถ้วยทุกครั้งที่แม่ทดลองทำติดๆ กันในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา
ขอยืมคำพูดของช่างภาพที่มาถ่ายทำ วิธีการทำซุป เป็นรูปแบบของวีดิโอ และได้ชิมซุปนี้เมื่อเสร็จแล้วว่า
“ผมอยากจะถ่ายรูปให้ถ่ายทอดรสชาติของความอร่อยนี้ออกมาให้ได้จัง”
สำหรับคนทำอาหาร นี่คือคำชมที่ยอดเยี่ยมที่สุด

Beetroot Soup with Le Creuset 1

บีทรูทเป็นวัตถุดิบราคาไม่แพง ประโยชน์ก็มีมากมาย แต่คนมักติดว่า ถ้าหากทำไม่ดี มันจะมีรสขื่นๆของผักชนิดนี้ติดอยู่ วิธีที่จะทำให้บีทรูททานอร่อย อย่างหนึ่งก็คืออบในเตาอบให้นานสักหน่อย จนบีทรูทหวาน รสขื่นหายไป
ในสูตรนี้นอกจากเราจะอบบีทรูทเสียก่อนแล้ว เรายังแต่งรสให้สดชื่นขึ้นด้วยมะเขือเทศ ใช้น้ำส้มสายชูไวน์แดงมาตัดรส และสุดท้ายเพิ่มความอร่อยด้วยน้ำเชื่อมเมเปิ้ล
วันนี้เชฟเลือกใช้ หม้อขนาด 20 เซนติเมตรของ Le Creuset ซึ่งช่วยกระจายความร้อนได้ดี เหมาะมากกับการทำซุปชนิดนี้ ได้ซุปที่รสชาติดี สีสวย แบบนี้ แถมวิธีการทำก็ไม่ยาก ลองหัดทำดู แล้วมอบให้คุณแม่ คุณแม่คนไหนๆ ก็คงมีความสุขที่สุดเลยค่ะ

Beetroot Soup with Le Creuset 2

ซุปบีทรูท BORSCHT
บีทรูท 1 กิโล (ล้างและขูดเปลือกให้สะอาด)
น้ำมันพืช (คาโนล่า) 1 ช้อนโต๊ะ
หอมใหญ่ 1 หัว (สับเป็นชิ้นเล็กๆ)
กระเทียม 4 กลีบ (สับหยาบ)
ผักชีลาว 1 กำ (มัดไว้ด้วยกัน) เก็บไว้แต่งหน้าจานสักช่อ
มะเขือเทศกระป๋อง 3/4 ถ้วย หรือ 170 กรัม (สับหยาบ)
น้ำสต๊อกเนื้อหรือหมู 3 ถ้วย (170 กรัม)
น้ำเชื่อมเมเปิ้ล 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชูทำจากไวน์แดง 2-3 ช้อนโต๊ะ (Red Wine Vinegar)
ใบกระวาน 1-2 ใบ
เกลือ พริกไทย
เสิร์ฟกับ Horseradish หรือ Crème Fraîche

• เปิดเตาไว้ที่อุณหภูมิ 200 อบบีทรูททั้งเปลือกไปจนนิ่ม ประมาณ 1 ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อเย็นลงแล้วปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
• ผัดหอมใหญ่กับน้ำมันในหม้อด้วยไฟกลางค่อนข้างอ่อน จนกระทั่งหอมใหญ่สุกใส เติมกระเทียมลงไปผัดสักครู่ ใส่น้ำส้มไวน์แดง ผัดไปจนน้ำส้มระเหยออกไปสักครึ่ง แล้วจึงใส่เนื้อบีทรูท และเนื้อมะเขือเทศ คนให้เข้ากัน เร่งไฟขึ้นเป็นไฟกลางค่อนข้างแรง จนหอมใหญ่กลายเป็นสีม่วงแดงเหมือนบีทรูท (ประมาณ 3 นาที) เติมน้ำสต๊อก น้ำเชื่อมเมเปิ้ล ผักชีลาว และใบกระวาน เร่งไฟสักครู่ให้ส่วนผสมเดือด แล้วลดไฟลงเป็นไฟอ่อน ปิดฝา ตั้งบนไฟต่อไปราวๆ 10-15 นาที จนกระทั่งผักสุกนิ่ม ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย
• เช็คความข้นของซุป เมื่อได้ที่แล้ว เอาออกจากเตา พอเริ่มเย็นลงให้เอาใบกระวานและผักชีลาวออก แล้วเอาซุปนี้ไปปั่น กรองแยกกากทิ้งไป จะเสิร์ฟอุ่นๆ หรือจะนำส่วนผสมซุปนี้กลับไปตั้งไฟ ให้ร้อนทั่วก็ได้

Beetroot Soup with Le Creuset 3

 

เสิร์ฟกับ Horseradish ขูด หรือ ตัก Crème Fraîche หยอดลงไปบนซุป แล้วแต่งด้วยช่อผักชีลาวก็ได้

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่

Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

 

Le Creuset LOGO

City Break Paris Part XXVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 28
ไปกินสุดยอดสเต็กในปารีสแบบไหนที่ไหนกันดี

1.แบบต้องลอง
ร้านที่ถือเป็นสถาบันสร้างชื่อให้กับการกินสเต็กในปารีส มันเป็นประเพณีไปแล้วว่ามาปารีสต้องมากิน L’Entrecôte Porte Maillot, L’Entrecôte Saint-Germain หรือหลายคนเรียกว่า ‘สเต็กเข้าคิว หรือ’สเต็กต่อแถว’

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 7

สำหรับผู้ที่ต้องการกิน Steak Frites ที่มากับซอส Café de Paris แบบดั่งเดิมในปารีสต้องไปลองร้านในกลุ่มธุรกิจของนาย Paul Gineste de Saurs และครอบครัวที่ใช้ Business Model ของร้านคาเฟเดอปารีสในเจนีวาต้นตำรับมาทำให้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เนื่องจากซอสสเต็ก Café de Paris มันโด่งดังมากพอสมควรและชื่อซอส Café de Paris มันเหมือนบ่งบอกว่ามันเหมือนเป็นของปารีสอยู่แล้ว นาย Paul Gineste de Saurs ก็เห็นโอกาสที่เป็นสูตรสำเร็จ ในปี 1959 จึงเปิดร้านให้มีชื่อ เรียกว่า L’Entrecôte นำโดยร้าน Le Relais de Venise ที่เป็นชื่อนี้ก็เพราะเขาไป take over ร้านอาหารอิตาเลี่ยนที่ตกแต่งเป็นสไตล์เวนิชเดิมที่อยู่ในเขตปกครอง 17 ของกรุงปารีส แต่มันรู้จักกันในนาม L’Entrecôte Porte Maillot ร้านอาหารของ L’Entrecôte Porte-Maillot เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นของลูกสาวคนหนึ่งของเขาที่บริหารอยู่แล้วได้เปิดเพิ่มอีก 8 แห่งที่ดำเนินการภายใต้ใบอนุญาต 4 แห่งในลอนดอน หนึ่งแห่งในบาห์เรน สองแห่งในนิวยอร์ก และอีกแห่งหนึ่งในเม็กซิโก

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 8

สำหรับลูกชายของ Paul Gineste de Saurs ก็จะมีกลุ่มร้าน L’Entrecôte ที่อยู่ในเมืองต่างๆ ในฝรั่งเศสนอกจากปารีส ซึ่งมีที่ตั้งในตูลูส,บอร์โดซ์, น็องต์, มงเปลิเย และลียง

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 12

สำหรับอีกเชนจะเป็น ร้านอาหาร Le Relais de l’Entrecôte ที่ก็ดำเนินการโดยลูกสาวอีกคนของ Paul Gineste de Saurs โดยมีสามแห่งในกรุงปารีสและอีกแห่งหนึ่งในเจนีวา แต่ที่เก่าแก่และดังที่สุดอยู่เขตการปกครองที่ 6 ของปารีสเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ L’Entrecôte Saint-Germain กลุ่มนี้มีสาขาเพิ่มเติม 7 แห่งที่ดำเนินการภายใต้สัญญาอนุญาตในเบรุต ในคูเวตซิตี้ โดฮา, ดูไบ, ริยาด, ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 1

มันมีหลายสาขาอยู่แต่ถ้าคุณอยู่ที่ปารีสผมแนะนำให้ไปที่2แห่งนี้ครับ L’Entrecôte Porte Maillot,หรือ L’Entrecôte Saint-Germain หรือร้านตามที่อยู่ข้างล่างนี้ก็ได้

Le Relais de l’Entrecôte
15 rue Marbeuf
8th arrondissement

 

2.แบบคนท้องถิ่น

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 4

แน่นอนว่าถ้าเป็นคนท้องถิ่นหรือlocal แล้วต้องเลือกไปกินกลางวันที่บิสโทรร้านโปรดของตัวเอง จริงๆ แล้วมันคือวิถีชีวิตของแท้ขอชาวปารีส อย่างน้อย Bistros เป็นสถานที่ที่คุณวางใจได้ว่าจะได้กินอาหารคุณภาพตรงไปตรงมาและจ่ายบิลแบบสมเหตุสมผลแม้ว่าทุกวันนี้ ร้านบิสโทรทั้งหลายเริ่มมีราคาแพงขึ้นเล็กน้อยและมักขาดแคลนคุณภาพเมื่อเทียบกับยุคสมัยที่บรรพบุรุษของพวกเขาทำกัน

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 6

Bistrot Paul Bert เป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ยังคงมีทั้งความดั้งเดิมและอร่อยราคาสมเหตุสมผล สเต็กถือเป็นจานอร่อยพิเศษของที่นี่ และพ่อครัวยืนกรานว่าห้ามคุณระบุว่าจะเอาสุกมากสุกน้อย(ห้ามมายุ่ง)เพราะที่นี่จะทำแบบrare(เซนยอง saignant ในภาษาฝรั่งเศส)ให้คุณแบบเดียวครับ ไม่งั้นคุณต้องสั่งไก่หรือปลาแทนถ้าคุณจะกิน steak แบบ well done คนรักเนื้อจะได้รับความสนใจและดูแลพ่อครัวเป็นพิเศษ เอาเป็นว่าอร่อยแน่นอนครับจะสั่ง filet mignon, Entrecôte หรือจะเอา Côte de Boeuf มาแชร์กันก็ได้เลย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 5

Bistrot Paul Bert
18 rue Paul Bert
11th arrondissement

 

3.แบบคนพิถีพิถัน

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 10

ถ้าคุณเป็นคนพิถีพิถัน เน้นรสชาติของเนื้อและtexture ความนุ่ม คงต้องไปลองร้านนี้ ปกติในฝรั่งเศสจะไม่เน้นการบ่มหรือ ageเนื้อทิ้งไว้เท่าไหร่ก่อนนำมากิน ไม่เหมือนในอเมริกาหรือในสเปน ที่มีการบ่มแบบเปียกหรือแห้ง(wet aging or dry aging) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือน เพื่อรสชาติเข้มลึกและความนุ่มแบบที่เราไม่ได้สัมผัสกันบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเรามาที่ร้าน Le Severo เพื่อลองสั่งสเต็กแบบบ่มแห้งครับ

ไม่ว่าจะเป็นวิธีการบ่มแบบแห้งหรือเปียกหรือแบบไหนดีกว่ากัน? ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในวงการอาหารพอสมควร วิธีการบ่มแบบแห้งมีการสะสมเทคนิคและวิธีการมานมนานหลายศตวรรษแล้วในขณะที่บ่มแบบเปียก เพิ่งเกิดใหม่ไม่นานนี้

จริงๆ แล้วเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดได้รับประโยชน์จากการบ่มagingก่อนที่จะขายและบริโภค เพราะหลังการฆ่าเอนไซม์จไปทำงานย่อยสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อทำลายมันก็เลยทำให้มันนุ่ม ไก่ต้องการการบ่มสองสามวัน ในขณะที่หมูและเนื้อแกะต้องการ 1 สัปดาห์ แต่เนื้อต้องการประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือนหรือมากว่าแล้วแต่สูตรและกรรมวิธีประเภทหรือพันธุ์ของวัว

วิธีบ่มแห้ง Dry-Aged Beef

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 2

สำหรับการบ่มแห้งเนื้อจะถูกตัดเป็นชิ้นใหญ่แบบ Côte de Boeuf แล้วจะนำไปแขวนในห้องปรับอุณหภูมิที่โล่งไม่แออัดโดยปรับอุณหภูมิให้สูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย แล้วทิ้งไว้หลายสัปดาห์ปล่อยให้เอนไซม์ทำงานสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และในช่วงเวลานี้เนื้อก็จะค่อยๆแห้งคายน้ำออก (Dehydrating) เนื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัสtextureและรสชาติ ไปในทางที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของกระบวนการนี้คือเนื้อนุ่มมากที่มีรสเข้มข้นขึ้น แต่มีข้อเสียคือคุณสูญเสียเนื้อสัตว์(น้ำหนัก)เนื่องจากการสูญเสียความชุ่มชื้นซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงและเพิ่มต้นทุนต่อกิโล นอกจากนี้พื้นผิวของเนื้อสัตว์มักจะต้องถูกตัดออกไปก่อนที่เนื้อจะถูกแบ่งส่วนและขายส่งผลให้สูญเสียในเชิงปริมาณ

วิธีบ่มเปียก Wet-Aged Beef
City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 15

การบ่มเปียกเป็นเทคนิคล่าสุดที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของพลาสติกและเครื่องทำความเย็น ขั้นตอนก็คือการตัดเนื้อแล้วแพ็คปิดผนึกด้วยสูญญากาศในพลาสติกและจัดส่งไปยังตลาด การบ่มจะเกิดขึ้นในช่วง 4-10 วันระหว่างการชำแหละเนื้อแล้วจัดจำหน่าย คือเนื้อจะถูกบ่มในขณะที่เนื้ออยู่ในระหว่างการขนส่งแล้วนำไปวางขายนั่นเอง

เอนไซม์ยังคงมีเวลาที่จะทำให้เนื้อนุ่มพอที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับได้ และข้อดีก็คือไม่มีการสูญเสียน้ำหนักของเนื้อ เนื่องจากการคายน้ำ(Dehydrating) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงสำหรับผู้ผลิต และเนื้อไม่จำเป็นต้องถูกดูแลใกล้ชิดจัดห้องเย็นเก็บเหมือนการบ่มแห้งหรือต้องตรวจสอบบ่อยๆ ส่งผลให้ต้นทุนของผู้บริโภคลดลง

แล้วแบบไหนดีกว่า?

 

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 9

ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่างเนื้อบ่มแห้งและเปียกอยู่ที่รสชาติ เนื้อบ่มแห้งจะมีรสเข้มข้นแบบถั่วคั่ว (Roasted nutty flavor) ในขณะที่เนื้อบ่มเปียกจะได้ลิ้มรสโลหะ (Metallic) เล็กน้อยและไม่มีรสชาติที่มีความลึกและเข้มเท่า

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 11

เรากลับมาคุยถึงร้าน Le Severo ที่มีอดีตพ่อค้าเนื้อ (butcher) William Williamet ดูแลเรื่องการบ่มแห้งและชำนาญในด้านนี้ ทำให้ใครที่ไปร้านนี้รู้สึกว่าได้เข้าสู่สเต็กเฮาส์แบบอเมริกัน แต่ไม่ใช่อย่างแน่นอนที่ร้านเลอเซเวโรจะมีอาหารเรียกน้ำย่อยหลักและจานเนยแข็งที่ยอดเยี่ยม แบบหาได้ในร้านฝรั่งเศสแท้ๆ เท่านั้น รวมทั้งของหวานที่ไม่ควรมองข้าม

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 13

Le Severo
8, rue des Plantes
14th arrondissement

 

4.แบบเน้นซอสหลากหลาย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 14

ที่ถนนมองเตอเกยล์ (Rue Montorgueil) นั้นเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ไม่ใช่แป็นแค่ภาพที่ Monet วาดไว้ในปี 1878 ที่เป็นเรื่องราวของถนนในกรุงปารีสแห่งนี้เต็มไปด้วยชีวิต เพราะมันเคยเป็นศูนย์รวมของชาวปารีสเนื่องจากตลาดสดเลอาน ( Halles market )อยู่แถวนั้น ที่นี่มีร้านแบบบิสโทรเสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสแท้ๆอยู่ร้านคือร้านนึงชื่อ Aux Tonneaux des Halles ซึ่งเป็นร้านอาหารฝรั่งเศสที่โดดเด่นเรื่องซอสสเต็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีซอสหลากหลายรูปแบบให้เลือก

รับประทานอาหารในบรรยากาศง่ายๆ เป็นกันเอง เมนูอาหารแบบโฮมเมดปรุงจากวัตถุดิบสดใหม่แต่ถ้าต้องการให้เป็นเรื่องเป็นราวล่ะก็ อยากให้ลองสั่ง côte de bœuf สเต็กแอ็กนัสสีดำขนาดซัก 1 กิโลกรัมกับมันฝรั่งทอดมาแบ่งปันกันกับเพื่อนร่วมเดือนทางของคุณ แล้วก็เลือกบูร์โกณหรือบอกร์โดแดงสักขวด นั่งดูคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นไปด้วยเพราะแถวนั้นมีความคึกคักอยู่ไม่น้อย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 3

Aux Tonneaux des Halles
28, rue Montorgueil
1st arrondissement

City Break Paris Part XXVII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 27

กินสเต็กให้อร่อยในปารีส
เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงพื้นฐานเรื่องการกินสเต็กในปารีสแบบคร่าวๆ ไปแล้ว คราวนี้จะมาแนะนำว่าควรต้องลองสั่งอะไรและไปกินที่ร้านไหนกันดี ที่เป็นร้านสเต็กร้านโปรดของชาวปารีเซียง แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเรากำลังแนะนำมื้อกลางวันดังนั้นรูปแบบจะไม่ได้เป็นร้านแบบภัตตาคารหรูหราที่ต้องใส่สูทเข้าไป มีเมนูยาวเหยียดหรือไวน์ลิสต์ที่มีให้เลือกเยอะจนทำตัวไม่ถูก แต่ร้านที่จะแนะนำนั้นเป็นแบบ ‘เรียบง่ายแต่ได้สาระ’ ใครที่ไปก็จะเป็นนักกินสเต็กแบบปารีสแท้ ไม่ใช่แบบญี่ปุ่นหรือแบบอเมริกัน แนะนำให้ลองสั่งสเต็ก 4 จานคลาสสิกนี้ แล้วตามด้วยการเลือกpairกับซอส สเต็กสุดคลาสสิก 4 รูปแบบเช่นกัน

Top 4 Classic Steak Dishes in France สุดยอดสเต็ก 4รูปแบบของฝรั่งเศส

1. Entrecôte องเตรอะโก๊ต หรือ Steak Frites: ที่สุดของสเต็กจานคลาสสิก

City Break Paris 27 Eat Steak in France 12

Steak Frites มักใช้cutส่วน entrecôte องเตรอะโก๊ตซึ่งก็คือ Rib eyes แล้วก็มีเครื่องเคียงเป็น Frites ฟริตต์หรือ French fries (จริงๆมันฝรั่งทอดนี้ชื่อบ่งบอกว่าเป็นฝรั่งเศสแต่ความเป็นจริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากเบลเยี่ยม) เป็นบางคนอาจชอบสั่งส่วน faux fillet หรือสันนอกcoulotte ซึ่งก็คือ top sirloin หรือ tenderloin สำหรับผู้ที่ชอบ lean cut หรือไขมันน้อย แต่ผมว่ามันสู้ entrecote ไม่ได้ถ้าจะกิน Steak Frites และจานนี้ปกติแล้วมันง่ายๆแค่มี Moutarde de Dijon มูตาร์ เดอดิจง หรือ Dijon mustard ก็พอแล้ว (มาสตาร์ด ดิจงถือเป็นgourmet classในบรรดามัสตาร์ดทั้งหลายมีต้นตำรับจากเมือง Dijon ในย่าน Burgundy,หรือบูร์โกญ ผลิตมัสตาร์ดมาตั้งแต่สมัยยุคกลางได้ขึ้นโต๊ะเสวยของกษัตริย์ ฟิลิปป์ที่ 6 มาตั้งแต่ปี 1336) จานนี้ไม่ควรกินกับซอสมะเขือเทศ ketchup แบบอเมริกันที่เราคุ้นเคย เพราะchef ฝรั่งเศสหลายคนมักมองว่ามันทำให้เสียของควรกินแบบฝรั่งเศสดีกว่าจะได้รสชาติแท้ๆ

2. Filet Mignon ฟิเลย์มินยง
มันหมายถึง “เนื้อนุ่ม” เป็นเนื้อสเต็กที่นำมาจากปลายด้านล่างช่วงแคบของเนื้อสันนอก Tenderloin ในภาษาฝรั่งเศส cutนี้ยังสามารถเรียกว่า filet de bœuf มันมักถูกตัดออกเป็นชิ้นหนา 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว

มันมาจากส่วนเนื้อที่นุ่มที่สุดและยังเป็นที่ต้องการมากที่สุดและมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีปริมาณน้อยและเพราะเนื้อส่วนนี้อยู่ด้านในจึง ไม่มีกล้ามเนื้อเหมือนส่วนของเนื้อที่เคลื่อนไหวมากๆ พอไม่มีกล้ามก็ทำให้มันนุ่มมากแต่มีข้อเสียคือส่วนนี้เป็นเนื้อ lean รสชาติอาจสู้ส่วนที่มีติดมันไม่ได้จึงมักจะมีการห่อเบคอนมารอบนอกของสเต็กเพื่อเพิ่มรสชาติและ / หรือเสิร์ฟพร้อมกับซอส

3. สเต็ก Chateaubriand (ชาโตบริยง)
เป็นอาหารจานเนื้อที่เกิดจากเมนูอาหารของชนชั้นสูงของฝรั่งเศส

City Break Paris 27 Eat Steak in France 15

“Chateaubriand เป็นเนื้อสเต็กชิ้นหนามาจากส่วน cut ที่หนานุ่มที่สุดของเนื้อซึ่งก็คือจากส่วนสันนอกหรือ tenderloinนั่นเอง

อาหารเนื้อจานนี้ ได้รับการตั้งชื่อตามนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่เป็นรัฐบุรุษ Francois Rene, ท่านเคาท์แห่งชาโตบริยง (Vicomte de Chateaubraind ) ซึ่งเป็นนักการทูตสมัยนโปเลียนโบนาปาร์ต และต่อมาได้เป็นเลขาธิการแห่งรัฐในสมัยหลุยส์ที่ XVIII แห่งประเทศฝรั่งเศส นามสกุลของเขาจึงถูกใช้เป็นที่มาของอาหารเนื้อจานนี้ โดยเนื้อในตำราระบุว่าจะต้องมาจากวัวคุณภาพที่เลี้ยงในเมือง Châteaubriant ในแค้วน Loire-Atlantique ประเทศฝรั่งเศส และสูตรการทำก็ถูกคิดค้นโดยพ่อครัว Montmirail ซึ่งเป็นพ่อครัวส่วนตัวของท่านเคาท์ในปี ค.ศ. 1822 เมื่อ Vicomte de Chateaubriand เป็นทูตฝรั่งเศสในกรุงลอนดอน โดยสเต็กจานนี้จะต้องกินกับนี้ซอส bearnaise

4.côte de boeuf (โก๊ตเดอเบอฟ)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 8

สำหรับนักกินเนื้อมืออาชีพแล้วการกินสเต็กชิ้นไม่ใหญ่แบบ 3 รายการที่แนะนำด้านบนคงไม่สะใจ เพราะมันเหมือนยั้งๆอยู่ ถ้างั้นคงต้องแนะนำ ‘The Mother of All Steak’ หรือเจ้าแห่งสเต็กในฝรั่งเศส ที่มีชื่อเรียกว่า côte de bœuf

City Break Paris 27 Eat Steak in France 4

มันคือส่วนชายโครงบริเวณต่อเนื่องกับ rib eye แต่มีการตัดหนาและติดกระดูกมาด้วย (Bone-in) ส่วนใหญ่ชิ้นหนึ่งก็เฉลี่ยจากเกือบกิโลไปจนถึงเกือบ 2 กิโลเลยก็มี ดังนั้น côte de bœuf มักจะสั่งมาแชร์กันสำหรับ 2 คนอย่างต่ำ บางชิ้นใหญ่มาก(ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของวัวและการขุนมาให้ตัวใหญ่แค่ไหนดูจากรูปด้านล่าง) ก็แชร์กันทั้งครอบครัวเล็ก(3-4คน)ไปเลย

City Break Paris 27 Eat Steak in France 11

มีบริษัทขายเนื้อหรือ Chef หลายคนให้ความเห็นว่าเนื้อติดกระดูกมาด้วย(Bone-in)นั้นจะมีรสชาติดีกว่าจะมี”depth and complexity” ก็คงเหมือนเราเคี่ยวน้ำซุปที่มีซี่โครงหรือเนื้อติดกระดูกกับชิ้นเนื้อเฉยๆ มันอร่อยสู้กันไม่ได้ แต่ก็มีข้อถกเถียงเพราะ Professor Jeffrey W. Savell, หัวหน้าคณะ Meat Science Section in the Department of Animal Science ที่ Texas A&M; Universityได้ทำวิจัยออกมาแล้วพบว่าความแตกต่างแทบไม่มี

City Break Paris 27 Eat Steak in France 2

เนื่องจากสเต็กนี้มีความหนาดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการทำอาหารจึงใช้กระบวนการสองขั้นตอน เริ่มต้นด้วยการsearบนกระทะร้อนหรือเตาย่างก่อน (direct heat) ประมาณ 3 นาทีต่อข้าง จากนั้นให้ย้ายมาวางไว้ในส่วนที่ไม่ร้อนจัด (indirect heat) ของเตาย่างหรือเอาเข้าเตาอบต่อจนกว่าจะถึงอุณหภูมิที่ต้องการคือ 130-135 องศาฟาเรนไฮต์ที่ใจกลางเนื้อ

อย่างไรก็ตามจาน Steak แต่ละแบบสามารถเพิ่มความหลากหลายได้ไม่เบื่อด้วยซอสที่ราด ที่จริงกินแบบไม่มีซอสพิเศษเลยก็ได้รสชาติเต็มๆอยู่แล้ว แต่บางคนบอกว่ามันแห้งไปอยากมีซอสราดด้วยก็ต้องนี่เลยครับในบรรดาสุดยอดสเต็กซอสสุดคลาสสิกที่เป็น Top 4 ดังนี้

 

Top 4 Steak Sauces in France สุดยอดสเต็กซอส4รูปแบบของฝรั่งเศส

1. ซอส Café de Paris

City Break Paris 27 Eat Steak in France 6

ชื่อเหมือนบ่งบอกว่ามาจากปารีสแต่ซอสนี้มาจากเจนีวา(ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเหมือนกัน) มันเป็นซอสเนยที่มีความซับซ้อน(มีสูตรที่เป็นความลับ) ซึ่งเสิร์ฟพร้อมสเต็ก entrecote มาตั้งแต่ยุคปี 40 มีต้นตำรับมาจาก นายBoubier พ่อตาของนาย Arthur-François (Freddy) Dumont เจ้าของร้านชื่อ เช่ ดูบิเอ คาเฟ่เดอปารีส์ ในเจนีวา ที่อยู่บนถนนมงบล็อง โดยสเต็กจะถูกหั่นเป็นชิ้น ๆวางบนซอสนี้มาและเมนูจานนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “entrecote Café de Paris”

City Break Paris 27 Eat Steak in France 9

ที่เยี่ยมยอดก็คือ Business Model ของร้านที่จัดเซ็ทอาหาร (ราคา 42..50 ฟร็องสวิส) แบบไม่ให้ลูกค้าเลือกคือมีเมนูเดียวลูกค้าสั่งได้แค่จะเอาสุกปานกลางหรือสุกกึ่งดิบเท่านั้น นอกนั้นทุกอย่างก็จะมาตามภาคบังคับ โดยจานแรกจะเริ่มต้นด้วยสลัด Romaine กับวอลนัทและน้ำสลัดแบบ vinaigrette ต่อด้วยจานหลัก entrecote Café de Paris ที่สเต็ก (180 grammes)จะถูกหั่นเป็นชิ้น และเสิร์ฟพร้อมกับซอส Café de Paris พร้อมกับfritesมันฝรั่งทอดที่ยอดเยี่ยมที่เติมได้ 3 หน และจานสเต็กนั้นมักจะต้องตั้งไว้บนตะแกรงสเตนเลสที่มีไฟลนให้ความร้อนตลอด เนื่องจากซอสมักจับตัวเป็นก้อนเมื่อเริ่มเย็น ส่วนของหวานต้องสั่งเพิ่มเอง

City Break Paris 27 Eat Steak in France 13

และเนื่องจากร้านนี้อยู่ใกล้สถานนีรถไฟ Cornavin ของเมืองเจนีวา ซึ่งเป็นเมืองนานาชาติเป็นที่ตั้งของสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศมากมายทำให้นักการฑูตและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายมากินบ่อยแล้วช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง ทำให้ในปัจจุบันมีร้านที่เปิดภายใต้ใบอนุญาตของร้าน Café de Paris ในเมืองเจนีวาต้นตำรับนี้ที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง เช่น À l’Entrecôte ใน Sion (Switzerland), Brasserie L’Entrecôte ในลิสบอนและปอร์โต และร้านอาหาร Entrecôte Café de Paris ในดูไบ, คูเวตริยาด, ฮ่องกง และสตอกโฮล์ม

จริงๆ แล้วที่กรุงเทพฯเราก็สามารถไปลองทานสเต็กที่เป็นแบบ entrecote Café de Paris ได้ เพราะคุณ David จากเจนีวาชาวสวิสก็ใช้ Business Model แบบเดียวกันมาเปิดร้าน Le Boeuf ที่แปลว่า ’เนื้อ’ รสชาติไม่ต่างกันมากมีมาตรฐานอาหารดีมากและราคาสมเหตุสมผลครับ

City Break Paris 27 Eat Steak in France 14

Chez Boubier Cafe de Paris rue du Mont-Blanc 26, Geneva 1201, Switzerland (Cornavin)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 7

2. ซอสพริกไทย (Au poive)

ซอสสเต็กคลาสิกอีกตัวที่สามารถสั่งได้ในร้านฝรั่งเศสทั่วไปก็คือซอสพริกไทยที่มีการเคลมว่าผู้คิดสูตรนี้ขึ้นมาก็คือChefs ฝรั่งเศสที่ชื่อ E. Lerch เมื่อปี 1930, ตอนที่เขาทำงานอยู่ที่ Restaurant Albert บนถนน Champs-Elysees; และก็มี Chef M. Deveau ในปี 1920, ที่ภัตตาคาร Maxim’s อย่างไรก็ตามภายหลังมีหลักฐานว่าเมนู steak “au poivre” นั้นมีการพิมพ์เป็นเมนูและใช้เสิร์ฟจริงที่ Hotel de Paris at Monte Carlo ในปี 1910, ที่ตลกไปกว่านั้นภายหลังก็มีนาย O. Becker มาบอกว่าสูตรนี้เป็นของเขาตอนทำอยู่ที่ภัตตาคาร Palliard’s ในปี 1905 แต่ไม่ว่าใครจะคิดมันก็เป็นซอสสเต็กที่ดังไปทั่วโลก

City Break Paris 27 Eat Steak in France 10

มันเป็นซอสที่มักทำในกระทะที่ทอดสเต็กโดยเนยผัดหอมแดงเครื่องเทศกับเม็ดพริกไทยทุบชนิดต่างๆ เช่น สีดำ, สีเขียว และสีชมพู โดยมีการใช้คอนยัคล้างกระทะ (deglace) จุดไฟ (Flambé’) ตามด้วยส่วนผสมอื่นๆ เช่น มัสตาร์ด Dijon และครีมข้น หรือ Crème fraîcheใช้ราดลงบน Entrecôte กินกับ French Fries หรือสลัดผัก แล้วสุดยอด ดูวิธีทำ steak frites”au poivre” ตามลงค์ข้างล่างนี้

http://www.foodandwine.com/blogs/best-wine-pairings-grilled-steak

3 ซอส Bordelaise (บางครั้งก็เรียกกันว่า red wine sauce หรือ marchand du vin)
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไวน์แดงนั้นมันเข้ากับสเต็กแบบขาดกันไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะไวน์สไตล์ Caret หรือสไตล์บอร์กโดซ์ที่เป็น full body หนักแน่น และกลมโดยมีแทนนินในปริมาณสูงที่ทำให้ดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก ที่บอกร์โดซ์จึงนิยมกินสเต็กและมีซอสที่เป็นต้นตำรับของที่นี่

City Break Paris 27 Eat Steak in France 5

ซอส Bordelais เป็นซอสแบบฝรั่งเศสคลาสสิกที่ตั้งชื่อตามแคว้นบอร์กโดซ์ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีชื่อเสียงในด้านไวน์ ซอสปรุงด้วยน้ำซุปเนื้อ, ไวน์แดง แบบdry, ไขกระดูก, เนย, หอมแดง และ sauce demi-glace

4. ซอส Béarnaise (แบ่ร์เนส)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 3

ซอส Béarnaise หรือซอสครีมข้นสีเหลืออ่อนนี้ถูกคิดขึ้นโดยพ่อครัว Collinet เจ้าของสูตรพัฟฟ์มันฝรั่ง (pommes de terre soufflées) โดยซอสนี้มีการเสิร์ฟครั้งแรกในปี1836 ที่ Le Pavillon Henri IV ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับการตั้งชื่อตามพระเจ้า Henry IV of France ซึ่งเป็นผู้มีรสนิยมเรื่องการเสวย และท่านถือว่าเป็นชาว bearnaise เพราะประสูติในภูมิภาคBéarn จึงมีการตั้งชื่อซอสนี้เพื่อเป็นเกียรติ

City Break Paris 27 Eat Steak in France 1

เป็นซอสที่ทำจาก clarified butter เนยที่ไปตีกับไข่แดงและน้ำส้มสายชูไวน์ขาว และปรุงแต่งด้วยสมุนไพร มันถูกเรียกว่าเป็น “ซอสลูก” ของ Hollandaise ซอสซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของซอสหลักของอาหารฝรั่งเศส ความแตกต่างมีเฉพาะแค่เครื่องปรุง: Béarnaiseใช้หอมแดงเชอร์วิลพริกไทยเม็ดมะม่วงหิมพานต์และ tarragon เคี่ยวกับน้ำส้มสายชูและไวน์ขณะที่ Hollandaise ใช้น้ำมะนาวหรือไวน์ขาวและพริกไทย

City Break Paris Part XXVI

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 26

กินสเต็กให้อร่อยในปารีส

City Break Paris Eat Steak in Paris 5

เราพูดถึงอาหารฝรั่งเศสที่เป็นจานเปิดไปแล้วพอสมควร มาคราวนี้ก็เลยจะเล่าเรื่องอาหารจานหลักซึ่งพอเป็นจานหลักสำหรับอาหารตะวันตก หลายๆ คนก็จะนึกถึงสเต็กเป็นอย่างแรก แน่นอนว่าถ้าเรามาปารีสคงต้องมีสเต็กซักมื้อนะครับ แต่สเต็กฝรั่งเศสก็จะแตกต่างกับอังกฤษอเมริกันบางจุด โดยเฉพาะในส่วน Cut หรือชิ้นเนื้อที่เอามาทำ เช่นของฝรั่งเศสจะไม่มีส่วน T-Bone หรือ Porterhouse ในขณะเดียวกันก็จะแตกต่างกับ Wagku ของญี่ปุ่นตรงที่ที่นี่จะไม่นิยมเนื้อที่มีไขมันแทรกเยอะแบบเนื้อเกรด A5 ของญี่ปุ่นที่นุ่ม จนให้ความรู้สึกเหมือนมันละลายในปาก เพราะที่นี่ไม่ได้ไปทุ่มเทกับการขุนวัวเน้นให้วัวอยู่ในคอกเหมือนที่ญี่ปุ่น คือในฝรั่งเศสจะปล่อยให้โตตามธรรมชาติในทุ่งหญ้าที่อุดมสมบรูณ์เป็นหลัก(ยกเว้นหน้าหนาว)และก็ไม่ได้มีพันธุ์วัวเนื้อที่โดดเด่นเหมือนแองกัสที่มีต้นกำเนิดในสก๊อตแลนด์ทางเหนือของอังกฤษ แล้วก็ไปเป็นต้นสายพันธุ์ของอเมริกันแองกัสที่มีส่วนผสมของอเมริกันเขายาว(long horn) แต่ถึงกระนั้นประสบการณ์ในการได้กินสเต็กในปารีสก็ไม่ได้เป็นรองที่ไหน เพราะฝรั่งเศสจะโดดเด่นเรื่องสเต็กซอสและเครื่องเคียงของสเต็ก และแน่นอนที่สุดก็คือเครื่องดื่มที่ควบคู่กับการกินสเต็กของคุณ ซึ่งมันคือไวน์แดงนั่นเอง

City Break Paris Eat Steak in Paris 7

ถ้าท่านเป็นนักกินสเต็กแบบมืออาชีพหน่อยก็ต้องดู เรื่องแรกคือดูว่าเนื้อมาจากไหนที่ที่มีวิธีการขุนมีกรรมวิธีการเลี้ยงการให้อาหารแบบที่จะทำให้เนื้อวัวนุ่มไม่มีกล้ามมีพังผืดมีเอ็นมากไป ซึ่งคงเกี่ยวกับท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยว่ามีดินดีน้ำดีหญ้าดีอากาศดีไหม คือต้องทำให้วัวมีความสุขด้วยนะครับ ถ้าพูดถึงเนื้อพรีเมียมของฝรั่งเศสมีดังนี้ครับ จากวัวพันธุ์ Limousin แถวเมืองLimoges, Charolais จากBurgundy, Salers จาก Auvergne และ Aubrac จาก Auvergne และจากความเห็นของ chef เจ้าของตำราอาหารหลายเล่ม David Lebovitz ซึ่งบอกว่าไม่เคยทานเนื้อที่ไหนที่ดีเท่าเนื้อ Bazas จากแค้วน Aquitaine

Aubrac
Aubrac เป็นสายพันธุ์ฝรั่งเศสที่เก่าแก่จากเขต Auvergne ที่วัวพันธุ์เนื้อเขายาวมีภูมิต้านทานโรคสูง เลี้ยงง่าย

City Break Paris Eat Steak in Paris 1

 

Bazadais
Bazadais (หรือ Bazadaise) เป็นโคพันธุ์เนื้อมีชื่อของฝรั่งเศส สายพันธุ์นี้มาจากวัวโบราณที่เลี้ยงใน Bazas เมืองเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของบอร์โดซ์ ซึ่งใช้ทำสเต็กจานเด็ดของบอร์โดซ์คือ entrecote a la bordelaise

City Break Paris Eat Steak in Paris 2

 

Charolais
วัว Charolais เป็นโคเนื้อ ซึ่งมีต้นตอมาจาก Charolais ย่าน Charolles ในประเทศฝรั่งเศส พวกมันถูกเลี้ยงดูมาเพื่อเป็นวัวเนื้อและมีคุณสมบัติเหมาะกับการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Angus และ Hereford ของอังกฤษ

City Break Paris Eat Steak in Paris 8

 

Limousin
วัวลีมูแซงเป็นสายพันธุ์ของวัวเนื้อที่ปริมาณเนื้อสูงต่อน้ำหนัก เกิดจากเขต Limousin และ Marche ของประเทศฝรั่งเศส

City Break Paris Eat Steak in Paris 11

 

เรื่องที่สองก็คือต้องดู ‘Cut’ คือว่าตัดมาจากส่วนไหน ชอบติดมันหรือชอบแบบleanแต่นุ่ม ตัองเลือกซะหน่อย

ในปารีส cut ที่นิยมสูงสุดจะมี Top 5 ดังนี้

City Break Paris Eat Steak in Paris 10

1. Entrecôte (องเทรอะโก๊ต)หรือส่วนที่เป็น Rib eye นั่นเอง จะเป็นชิ้นที่ในฝรั่งเศสไม่นิยมตัดหนามากแต่นุ่มเพราะว่ากันว่าสเต็กที่มาจากส่วนของเนื้อที่ติดชายโครงนั้นเป็นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวน้อย หมายถึงไม่มีการออกกำลังมันจึงไม่มีกล้ามเนื้อหรือ muscle แถมมีไขมันแทรกเลยทำให้มันอ่อนนุ่ม(tender) และได้รสชาติก็ตรงไขมันนี่แหละครับเป็นที่ต้องการของนักบริโภคสเต็กทั้งหลาย
2. Faux filet (โฟ ฟิเลต์) หรือส่วนสันนอก คือเนื้อที่อยู่ด้านหลังเหนือแถบกระดูกสันหลังสำหรับคนที่นิยมเนื้อตัดแบบหนาและมันน้อยแต่นุ่ม คือที่เรารู้จักกันในชื่อ Sirloin
3. Filet, tournedo( ฟิเลต์,ตูร์เนโด) หรือส่วนสันใน ถ้าเป็นในชื่อที่เรารู้จักก็คือ Tenderloin คือส่วนที่นุ่มที่สุดและแถบมีไขมันเลย เป็นชิ้นส่วนของเนื้อที่อยู่ตามแนวหลังด้านล่างของกระดูกสันหลังและในบรรดาสันในช่วงกลางและปลายก็มีแยกย่อยไปเป็นส่วน Filet Mignon ชิ้นหนา จากด้านปลายแคบของเนื้อที่อยู่ตามแนวล่างกระดูกสันหลัง, หรือส่วน Châteaubriand มาจากส่วนหนาจากช่วงใจกลางของเนื้อที่อยู่ตามแนวล่างกระดูกสันหลังเนื้อสันส่วนหลัง
4. rumsteck (รัมสเต็ก)เป็นบริเวณเนื้อขนาดใหญ่ที่ด้านหลังใกล้หางตัดเป็นที่ๆใกล้กับส่วนสะโพกหรือ top round
5. bavette (บาเว๊ต) ในรูปด้านบนคือเบอร์7 เป็นเนื้อเรียบจากหน้าท้องก่อนถึงหน้าขาหลัง

เมื่อสั่งสเต็กในประเทศฝรั่งเศสเราต้องระบุระดับของความสุกของสเต็กดังนี้
• Au bleu (โอ เบลอ) คือดิบๆ โดยมีการจึ่ (Sear) เฉพาะด้านนอกไม่นานคือให้ร้อนเท่านั้นแต่เนื้อด้านในยังเย็นมีลักษณะแบบเจล อยู่มีสีแดง 90% เคี้ยวยากไม่มีjuiceหรือฉ่ำน้ำ
• Saignant (เซิยนยอง) คือ Rare ก็คือยังไม่สุกแต่ด้านเนื้อในมีความรู้สึกอบอุ่น มีสีแดง 75% มีความนุ่มและฉ่ำมาก
•À point (อา ปวง) กึ่งดิบหรือประมาณ medium rare ด้านในเป็นมีสีแดง 50% ขอบด้านในเป็นสีชมพูมีความนุ่มและฉ่ำปานกลาง
• Bien (เบียง) เป็นอะไรที่ชาวอเมริกันเรียกว่า medium หรือปานกลางใกล้สุกมีสีชมพู 25%ด้านในมีความนุ่มและฉ่ำน้อย
• Bien cuit (เบียงคุยต์) แม้ว่าจะมีคำแปลตรงๆ แบบที่ชาวอเมริกันเรียกว่า well done แต่ chef ชาวฝรั่งเศสมักไม่อยากทำsteak แบบ well done ให้ใครเพราะมันไม่มีรสชาติและทำให้เสียของเปล่าๆ ดังนั้นในความหมายของ เบียงคุยต์ เมื่อถ่ายทอดไปให้พ่อครัว เนื้อจะออกมาในลักษณะ medium well มากกว่าคือเป็นแบบสุกกำลังดีด้านในยังเห็นเป็นสีชมพูจางๆ แต่เนื้อเริ่มเหนียวเคี้ยวยากขึ้น แต่ผู้ที่สั่งแบบต้องการให้สุกมักคิดว่าเนื้อดิบจะมีแบคทีเรีย ซึ่งแตกต่างจากบรรดาเซียนกินสเต็ก เค้าจะบอกว่าแบคทีเรียจะอยู่ด้านรอบนอกของชิ้นเนื้อเท่านั้น หากมี การจึ่ (Sear) หรือแนบกดกับกระทะร้อนจัด แบคทีเรียที่อยู่ด้านนอกก็ตายหมดแล้ว

City Break Paris Eat Steak in Paris 9

Credit pic: http://www.dantesdevine.com

 

พูดถึงการจี่ หรือ sear นั้น ก็เป็นเทคนิคการทำสเต็กแบบ pan fry ซึ่งที่ฝรั่งเศสนิยมทำโดยเฉพาะ กับ Entrecôte (องเทรอะโก๊ต)หรือส่วนที่เป็น Rib eye

การทอด หรือ pan fry มีขั้นตอนที่อาจต้องเข้าเตาอบต่อด้วยหากว่าเนื้อชิ้นหนาและหลังจากทอดหรืออบต้องมาผ่านขั้นตอนที่เรียกว่าการพัก(rest)ก่อนเสิร์ฟ วิธีที่ดีที่สุดในการทำสเต็กคือการไม่ทำให้มันสุกเกินไป เพราะมันจะสุกต่อตอนพักสเต็กอีก

มาถึงตรงนี้เรามาพูดถึงวิธีการทำสเต็กสูตรดั่งเดิม Butter-basted Pan-seared แบบง่ายๆ แบบพ่อครัวฝรั่งเศสซึ่งมีขั้นตอนไม่ยากดังนี้

1. กระทะที่ใช้ควรต้องเป็นกระทะเหล็กหล่อ cast iron pan ที่มีน้ำหนักมากนั่นคือมีส่วนประกอบของเหล็กสูงไม่ปนโลหะอื่น ที่สำคัญไม่ควรเป็นมีการเคลือบผิวด้วย Teflon หรือ ceramic อาจเป็น searing plate ที่เป็นแผ่นทองแดงหรืออลูมิเนียมที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมยังดีกว่า สำหรับยี่ห้อ cast iron pan ที่เราหาซื้อได้ที่เป็นของฝรั่งเศสที่ใช้ได้ก็คือ De Buyer

City Break Paris Eat Steak in Paris de buyer 1

City Break Paris Eat Steak in Paris de buyer grillpfanne

2. เปิดไฟที่เตาที่ medium high ถึง High ขึ้นอยู่กับว่าเตาใครให้ความร้อนระดับไหนแล้วตั้งกะทะใส่น้ำมันสัก 1 ช้อนโต๊ะอาจเป็นน้ำมันดอกคาโนล่าก็ได้ เพราะถ้าใช้น้ำมันมะกอกจะไหม้เร็ว ควันเยอะ มันมีจุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่า

City Break Paris Eat Steak in Paris 4

3. เอาสเต็กลงเมื่อควันเริ่มขึ้น อย่าลืมว่าสเต็กต้องมีการเตรียมคือควรต้องเอาออกจากตู้เย็นก่อนทำโดยใช้กระดาษ paper towel ซับให้แห้งสนิทแล้วโรยด้วยเกลือพริกไทอย่างดีแบบหยาบที่ใช้เครื่องบดยิ่งดีเพราะเมื่อจี่จะเกิดเป็น crust ที่ผิวด้านนอก จากนั้นพักเนื้อไว้ที่อุณหภูมิพอเหมาะอย่างต่ำสัก 20 นาที

City Break Paris Eat Steak in Paris 3

Credit pic: www.splendidtable.org

4. ทอดแบบที่เรียกว่าจี่หรือ sear เพื่อทำให้ผิวด้านนอกสุกกรอบ ป้องกันไม่ให้น้ำในเนื้อออกมาได้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการทำให้ด้านในสุกจนเกินไป ให้ทำที่ละด้านโดยด้านนึงใช้เวลา 4 ถึง 10 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นสเต็ก แต่พอกลับหน้าให้ลดเวลาลงไป 20% อย่างไรก็ตามสูตรสมัยใหม่บอกว่า ไม่ต้องทำทีละด้านแบบเดิมก็ได้ให้พลิกด้านทุก 30 วินาทีจะทำให้ความร้อนได้เท่าเทียมกันดีกว่า(ให้ลดความร้อนของเตาถ้าเนื้อเป็นสีน้ำตาลไหม้เร็วเกินไป) โดยที่พอผ่านไปซักระยะให้สไลด์เนยลงไปสัก 2-3 ช้อนโต๊ะพอเนยละลายก็ให้ใส่เครื่องเทศที่เราชอบลงไป เช่น กระเทียมสด โรสแมรี่หรือใบไทมม์ ก็ได้ แล้วใช้ช้อนตักเนยที่ละลายแล้วมีกลิ่นเครื่องเทศวิดราดบนสเต็กบ่อยๆ

20121205-big-steak-in-a-skillet-porterhouse- - 31

Credit pic: www.splendidtable.org

กลับด้านโดยใช้ที่คีบ (tongs เพราะถ้าใช้ส้อมจิ้มอาจทำให้น้ำในสเต็กออกมา) เมื่อครบกำหนดเวลาทำเช่นเดียวกับอีกด้าน อย่าลืมจี่ด้านสันหรือขอบด้วย เคล็ดลับเรื่องเนยก็คือ ใส่ก่อนนานไม่ได้เพราะเนยไหม้เร็ว แต่ที่สำคัญเนยทำให้สีของสเต็กเข้มสวยและมีกลิ่นหอมน่ากิน

City Break Paris Eat Steak in Paris 12

5. เมื่อครบเวลาตามกำหนดทั้ง 2 หน้า ถ้าสเต็กชิ้นบางก็อาจนำไปพักเลยแต่ถ้าชิ้นหนาก็อาจต้องเข้าเตาอบต่อที่อุณหภูมิ pre heat ที่ไว้ก่อนแล้วที่ 375องศาF (เวลาในการอบเตาจะอยู่ที่ใดก็ได้ตั้งแต่ 5-15 นาทีขึ้นอยู่กับความชอบที่ต้องการของสเต็กของคุณเป็น rare หรือ medium สำหรับ rare อุณหภูมิด้านในสเต็กไม่ควรเกิน 140-145 องศาF และสำหรับmediumที่ 155-160 องศาF โปรดอย่าลืมว่าอุณหภูมิจะยังคงทำให้สเต็กสุกต่ออีกระยะนึงหลังจากที่เอาสเต็กออกจากเตา จึงขอแนะนำให้ดึงกระทะออกก่อนเวลาเล็กน้อยก่อนเพื่อที่จะความสุกหรือ doneness ที่ต้องการ)

20121205-big-steak-in-a-skillet-porterhouse- - 30

Credit pic: www.splendidtable.org

6. ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญมากคือต้องให้มีขั้นตอนการพัก(rest)สเต็ก สัก 5นาทีก่อนเสิร์ฟ ตอนนี้สเต็กจะยังสุกต่อไปอีกเล็กน้อยอาจหุ้มด้วยกระดาษฟอยล์หลวมๆ ก็ได้ และจึงนำมาหันตามขวาง (across the grain) เพื่อให้เคี้ยวง่ายขึ้นอีกหน่อย

การทำสเต็กยังทำด้วยการ Grill หรืออบได้ และข้างล่างนี้เป็นตารางความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับอุณหภูมิและเวลาในการทำกรณีที่เป็นการอบ

City Break Paris Eat Steak in Paris 6

 

คราวหน้าเราจะมาพูดถึงซอสสเต็กแบบต่างๆ ของฝรั่งเศส ที่เราควรต้องลอง และแน่นอนว่าจะมีร้านสเต็กชื่อดังที่ควรไปลองมาแนะนำด้วย