บำรุงราษฎร์ ครบรอบ 40 ปี มั่นใจศักยภาพการแพทย์ครบทุกมิติ นำไทยสู่แถวหน้าด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก

จากการประชุมศูนย์กลางด้านการแพทย์ ปี 2561 รายงานว่ามีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ประมาณ 3.4 ล้านครั้ง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.4 แสนล้านบาท และไทยยังมีสถานบริการสุขภาพผ่านมาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาลระดับสากลJCI ถึง 68 แห่ง มากที่สุดในอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงความได้เปรียบในการแข่งขันด้าน Medical Hub ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศ

Bumrungrad -13

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร (CEO) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Bumrungrad -7

ในโอกาสครบรอบ 40 ปี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร (CEO) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการคือวันที่ 17 กันยายน 2523 บำรุงราษฎร์ให้การบริบาลผู้ทั้งคนไทยและคนทั่วโลกมาถึง 40 ปีการรักษาคือหัวใจสำคัญที่เรายึดมั่นมาตลอดโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งมอบการรักษาและประสบการณ์ที่ดีที่สุดด้วยคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย รวมทั้งความพยายามที่จะยกระดับคุณภาพการรักษาและการบริการอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลสืบเนื่องในวันนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กลายเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับว่า เป็นต้นแบบและจุดหมายหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก (Medical Tourism Destination) โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลกที่ได้การประกาศรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) COVID-19 ซึ่งเป็นการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Bumrungrad -1

ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรายังคงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การบริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลก โดยบำรุงราษฎร์ได้ยกระดับสู่โรงพยาบาลในการรักษาขั้นจตุตถภูมิ (Quaternary Care) ซึ่งจะอยู่บนยอดปิระมิดสูงสุดในการรักษาพยาบาล เป็นการให้การบริบาลทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนอย่างมากด้วยนวัตกรรมขั้นสูง เราได้เล็งเห็นเทรนด์โลกด้าน Wellness จึงได้ทำงานร่วมกับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพการแพทย์เชิงป้องกันแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี เพื่อให้การดูแลสุขภาพครอบคลุมในทุกมิติ ตามแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสาน (Integrated Medicine) ทั้งในด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน (Conventional medicine) และการรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Medicine) แบบองค์รวม ซึ่งเป็นเทรนด์ของการดูแลสุขภาพ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกถึงระดับพันธุกรรม ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคต รวมถึงวางแผนการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรฐานและคุณภาพระดับสากล

Bumrungrad -6

รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ผู้อำนวยการปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ตลอด 4 ทศวรรษ บำรุงราษฎร์ได้ทำงานร่วมกันอย่างสอดประสาน ระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการต่างสาขากับบุคลากรทางการแพทย์ในหลายสาขาวิชาชีพ เพราะโดยลำพังแพทย์เองก็ไม่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โชคดีที่เรามีทีมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งแพทย์เฉพาะทาง อาทิ แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางระบบประสาท ทางลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทารกแรกเกิด มะเร็งเฉพาะส่วนมีพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทางในหลายสาขา เช่น พยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด ทางด้านหัวใจและหลอดเลือด ทางด้านออร์โธปิดิกส์ รวมถึงเภสัชกรวิชาชีพกว่า 100 คน ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น เภสัชกรด้านมะเร็ง เภสัชกรผู้ป่วยวิกฤต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ นักเทคนิคการแพทย์ และบุคลากรวิชาชีพอื่นๆ อีกกว่า 4,800 คน ที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งพร้อมดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งมอบการดูแลรักษาให้แก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันรวดเร็ว

บำรุงราษฎร์ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถดูแลรักษาโรคเฉพาะทางและซับซ้อนได้อย่างครอบคลุมและมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อาทิ ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery Center) เป็นการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยแพทย์ในการผ่าตัด โดยเฉพาะกับอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนละเอียดอ่อน การใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ช่วยให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น หรือการนำเทคโนโลยีขั้นสูง AI IBM Watson for Oncology เพื่อวางแผนการรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะเจาะจงให้ผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อรักษาต้นเหตุของโรคอย่างแม่นยำและตรงจุด จากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ การบริบาลด้วยความเอื้ออาทร ความร่วมมือระหว่างกัน และการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จึงทำให้บำรุงราษฎร์ ได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นจำนวนกว่า 1.1 ล้านรายในแต่ละปี และทำให้บำรุงราษฎร์ เป็นจุดหมายปลายทางทางการแพทย์ของผู้คนทั่วโลก

Bumrungrad -3

ในช่วงเสวนา “กรณีศึกษาโควิด-19 กับศักยภาพธุรกิจภาคบริการของประเทศไทยสู่อนาคตโลก”จากตัวแทนภาคธุรกิจบริการ ถือเป็นอีกแรงขับเคลื่อนที่จะร่วมฟื้นฟูและสร้างรายได้ให้กับประเทศเพื่อผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้

Bumrungrad -8

เริ่มด้วย นายคมกริช ด้วงเงิน ผู้อำนวยการกองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่า ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของ ททท. ช่วง New Normal นี้จะมุ่งทำตลาดแบบเจาะจงกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม Health and Wellness ซึ่งจะเน้นเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ และมุ่งไปสู่การท่องเที่ยว 3 แบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวร่วมกับการรักษา หรือ Medical Tourism และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร/อาหาร โดยจะชูจุดขายเรื่องความปลอดภัย เรื่องเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและอาหาร เรื่องความสวยงามของธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู และน้ำใจความเอื้ออาทรของคนไทยในการช่วยเหลือเกื้อกูล ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการทำดิจิทัลแพลตฟอร์มให้เกิดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร่วมกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

Bumrungrad -9

นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด และรักษาการ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ให้มุมมองถึงธุรกิจธนาคารว่าโควิด-19 เป็นตัวเร่งดิจิทัลแบงกิ้งส่งผลให้ธนาคารต้องปรับแผนดิจิทัลแบงกิ้งที่เคยวางไว้ที่จะทำในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ มาเป็นต้องทำให้ได้ภายใน 1-2 เดือน เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการไปสาขาและต้องย้ายการทำธุรกรรมต่าง ๆ มาอยู่บนโทรศัพท์มือถือทั้งหมด รวมถึงปรับวัฒนธรรมองค์กรเพื่อรับวิถีใหม่ โดยหัวใจสำคัญจะอยู่ที่การทำงานให้สำเร็จ ซึ่งเป็นหลักการใหม่ที่เรียกว่า ‘SCB from Anywhere คือ ทำงานที่ไหนก็ได้ แต่ต้องทำงาน เพื่อรองรับลูกค้าให้ได้’ ที่สำคัญวัฒนธรรมองค์กรก็ต้องเอื้อต่อการทดลองสิ่งใหม่ให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ธนาคารสามารถทดลองสิ่งต่าง ๆ ให้เร็วและไม่กลัวที่จะล้มเหลว แต่ก็ต้องรีบปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

Bumrungrad -10

ดร.ปิยะพงษ์ ธัญญศรีสังข์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริหาร บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล กล่าวว่าห้างเซ็นทรัล ต้องปรับแผนกลยุทธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของลูกค้า พนักงาน รวมถึงพนักงานในร้านค้า รวมทั้งนำเทคโนโลยีการอบโอโซน และ UVC มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคบนธนบัตร มีมาตรการ Social Distancing รวมถึงมีการTracking เพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของพนักงาน และลูกค้าที่มาใช้บริการในห้าง ด้านของเทคโนโลยี ได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในทุกช่องทาง และรองรับความรวดเร็วในการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออมนิแชนเนล และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ห้างเซ็นทรัลฯ ได้จับมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบริการ ‘Central at Bumrungrad’ ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริการ ‘Chat & Shop’ และ ‘Call & Shop’ ตอบโจทย์ผู้มาพักโรงพยาบาลพร้อมส่งฟรีถึงโรงพยาบาลทุกออเดอร์ไม่มีขั้นต่ำ และจัดส่งภายในวันเดียวกันเมื่อยืนยันออเดอร์ก่อนเวลา 18.00 น. เสมือนยกห้างเซ็นทรัลมาไว้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Bumrungrad -11

คุณนภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความคิดเห็นว่า ปี 2563 นับเป็นก้าวสำคัญของวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยที่จะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้สะท้อนให้เห็นถึงสปิริตของแพทย์ไทย โรงพยาบาลภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ต่างให้ความร่วมมืออย่างสุดความสามารถในการดูแลรักษาคนไทยเพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 พร้อมรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว รวมถึงช่วยเหลือสังคมไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน ทว่าแล้วท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสที่ประเทศได้สร้างชื่อเสียงด้าน Medical Tourism เพื่อก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพของโรงพยาบาล ความชำนาญการของแพทย์ไทย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ประหยัดกว่าสหรัฐอเมริกา ประมาณ 40-75% หรือสิงคโปร์ ประมาณ 30% หากเทียบกับในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการแข่งขันสู่ Medical Hub ในระดับโลก

ซึ่งปีนี้ ถือเป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากระยะแรกของวิกฤตโควิด-19 ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญและฝากความหวังไว้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ จึงต้องก้าวให้เร็วกว่าปกติ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง กล้าคิดและกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว โดยได้เตรียมความพร้อมในเรื่อง บุคลากร องค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี รวมถึงได้มีการพัฒนายกระดับการให้บริการต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับ New Normal และพฤติกรรมของผู้มาใช้บริการที่เปลี่ยนไปให้ครอบคลุมในทุกมิติเช่น การแยกพื้นที่บริการเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ, บริการ teleconsultation, บริการ Homecare Services หรือชื่อว่า Bumrungrad @ Home Service Center เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องถึงบ้านและบริการ “60 Second Service” เพื่อให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น ฉีดวัคซีน และรับยาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เข้าถึงง่าย และปลอดภัยสูงสุดขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย ซึ่งชาวบำรุงราษฎร์สามารถแก้ปัญหาทันต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีขีดเวลาจำกัดได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร เพื่อก้าวสู่โลกแห่งอนาคตในวิถี New Normal

ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมการรักษาพยาบาลอย่างยั่งยืนต้องเดินไปพร้อมกันทั้งองคาพยพ นอกจากบุคลากรแพทย์ เทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องมือทันสมัย ตลอดจนคุณภาพการให้บริการแล้วนั้น อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ การสร้างระบบเครือข่ายพันธมิตร เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายฐานลูกค้ากว้างขึ้น ดึงจุดแข็งที่แต่ละองค์กรมี มาแบ่งปันองค์ความรู้ให้กันและกัน ประสานความร่วมมือสร้างการเติบโตไปพร้อมกัน นี่คือหัวใจสำคัญของการสร้างความยั่งยืนในธุรกิจปัจจุบัน

Bumrungrad -12

ปิดท้ายด้วย คุณลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ดีน ในฐานะตัวแทนผู้ใช้บริการ แชร์ประสบการณ์ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบทางการแพทย์ที่ดีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ มีการทำงานอย่างมืออาชีพ มีมาตรการการคัดกรองและคัดแยกที่รัดกุม มีแพทย์ที่เก่งและมีความสามารถสูง มีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ที่มีคุณภาพอย่างครบครัน มีการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้ป่วยเองก็สามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย และยังมีค่ารักษาพยาบาลที่เป็นธรรม จากที่ตนป่วยเป็นโควิด-19 ทำให้รู้สึกเข้าใจแพทย์ พยาบาล และทุกสหวิชาชีพที่ต้องทำงานท่ามกลางสภาวะกดดันแต่ทุกคนยอมสละเวลาและอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อประเทศชาติ ทำให้รู้สึกศรัทธาในอาชีพ ‘นักรบชุดขาว’ ด้วยใจจริง และขอส่งกำลังใจถึงทุกอาชีพในรั้วโรงพยาบาลทุกคน พร้อมมั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในระดับโลกได้ไม่เป็นรองใคร

Bumrungrad -4

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร (CEO) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Bumrungrad -5

ผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กับ คุณลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ดีน

Bumrungrad -2

เรื่องกินเรื่องใหญ่ 14 เมนูเด็ดจากมาม่า อยู่บ้านให้สนุกโลด โพสต์อวดอาหารชวนหิวลงโซเชี่ยล

อยู่บ้านใช่ไหม!? เรามีเวลานั่งเล่นเยอะหน่อย เลื่อนดูมือถือแบบเพลินๆ มองดูอาหารโน่นนี่นั่น ทีแรกก็ยังคิดว่าเป็นอาหารที่ร้านดังๆ เขานำมาแนะนำกัน แต่พอลองจ้องตาไม่กะพริบ งานนี้ก็เลยต้องปรบมือให้ดังๆ เพราะเป็นผลงานสร้างสรรค์ของพวกเรากันเองที่กำลังให้ความร่วมมือ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ ทำให้วันอยู่บ้านที่เหมือนจะเหงาก็เลยไม่เหงา เพราะตอนนี้หลายคนผันตัวเป็นเชฟใหญ่ที่ครีเอทเมนูอาหารได้แบบหน้าตาน่ากินสุดพลัง ส่งแรงบันดาลใจมาใหญ่ขนาดนี้ทำให้เพื่อนๆ ชาวโซเชี่ยลนึกอยากทำตามบ้างแล้วสิ…มาม่าต้องมา

มัดรวมมาให้แล้ว “14 เมนูเด็ดจากมาม่า” อร่อยไม่ซ้ำ กักตัวอยู่บ้านนานก็ไม่เบื่อ

“มาม่า” ก็เลยไปรวบรวมเมนูเด็ดๆ แหวกๆ ที่แฟนคลับคนรักมาม่าครีเอตกันมา เผื่อจะเป็นไอเดียเอาไว้ทำกินกันในช่วงกักตัว ทำตามวันละเมนูก็ได้ 14 วัน รับรองอาการเบื่ออาหารจะหายไป กลายมาเป็นเอ็นจอยอีทติ้ง ใครมีหัวการค้า ฝีมือดีๆ อาจจะเอาไปประยุกต์ต่อยอดทำขายได้เลย ลองไปดูกันว่า 14 เมนูที่มาม่าคัดมาว่าเด็ดมีอะไรบ้าง

Mama-Food-11

1) มาม่าผัดพริกหอมพร้อมสหายหมูกรอบ เมนูนี้มีพริกหอมเป็นพระเอก เอามาผัดกับเส้นมาม่า นางเอกคือหมูกรอบชิ้นพอคำ ที่ใส่ลงไปแบบแน่นๆ กัดเมื่อไหร่กรอบเมื่อนั้น โปะหน้าด้วยไข่ต้มยางมะตูม เพิ่มความฟินเข้าไปอีก

Mama-Food-6

2) มาม่าคั่วไก่แซ่บ ถ้าอยากกินแซ่บๆ ต้องเมนูนี้ ใช้พริกแกงคั่วที่ทำจากเครื่องแกงเผ็ด อุดมไปด้วยสมุนไพรอย่างตะไคร้ ใบมะกรูด พริกไทยอ่อน ข่า ผัดให้หอมแล้วใส่ไก่ลงไปผัด ตามด้วยเส้นมาม่าที่ลวกแล้ว แค่นี้แซ่บถึงใจ

Mama-Food-13

3) มาม่ายามเย็น เมนูนี้เจ้าของไอเดียใช้ผักที่ปลูกเองมาเป็นวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นต้นหอม หรือกวางตุ้ง แล้วเพิ่มปูอัด และไข่เจียวหั่นฝอยเข้าไป โรยหน้าด้วยงา แค่นี้ก็ได้มื้อเย็นอร่อยๆ ให้ทานอิ่มท้องแล้ว

Mama-Food-4

4) มาม่าไส้อั่วกะเพรา เป็นอีกเมนูแซบของคนชอบรสจัด ใครมีฝีมือ จะทำไส้อั่วเองก็ทำ หรือจะซื้อไส้อั่วเจ้าโปรดก็ได้ หั่นชิ้นพอคำ นำลงไปผัดกับเส้นมาม่า ใส่พริกขี้หนูทุบ ใส่มากใส่น้อยเอาตามดีกรีความแซบที่ชอบ แล้วตามด้วยใบกะเพรา

Mama-Food-3

5) มาม่าไข่มดแดงยอดผักหวาน เจ้าของไอเดียบอกว่าเป็นเมนูชั้นสูง แน่ล่ะ เพราะกว่าจะได้ไข่มดแดงมาต้องปีนขึ้นไปสอยจากต้นไม้สูงๆ เมนูนี้เด็ดที่วัตถุดิบ จึงไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ทำไข่มดแดงให้สุก รองจานด้วยยอดผักหวาน ปรุงรสซะหน่อย แค่นี้ก็ได้ทั้งโปรตีนและวิตามินครบ

Mama-Food-1

6) เมี่ยงมาม่าพริกหนุ่ม ใครคิดว่ามาม่าทำเมี่ยงไม่ได้ มาดูเมนูนี้เลย ทำก็ง่าย แค่ใช้ผักกาดแก้วที่หั่นชิ้นพอคำ ตามด้วยเส้นมาม่าลวก ท็อปปิ้งด้วยน้ำพริกหนุ่ม แตงกวา และหมูทอดเจียงฮายชิ้นพอคำ อร่อยอย่าบอกใคร

Mama-Food-5

7) มาม่ากรอบราดหน้าผักแขนง เอาเส้นมาม่าไปลวกแล้วนำไปทอดให้กรอบพักรอไว้ แล้วไปทำน้ำราดหน้า ใส่ผักแขนง เพิ่มโปรตีนด้วยลูกชิ้นปลา หรือจะเปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์ชนิดอื่นก็ได้ไม่ว่ากัน แล้วแต่ชอบเลย

Mama-Food-7

8) มาม่าซ่อนกุ้ง เมนูนี้มากับคอนเซ็ปต์ว่า ความอุดมสมบูรณ์แห่งทะเลอันดามัน อาจดูเหมือนไม่มีอะไร จุดขายก็แค่กุ้งตัวโต ๆ แต่อย่าสบประมาทไป เพราะในกุ้งมีขุมทรัพย์ที่ซ่อนไว้ นั่นก็คือ เนื้องกุ้งผัดเนยและเส้นมาม่าเหนียวนุ่ม กินแล้วเข้ากันซะไม่มี

Mama-Food-10

9) มาม่าผัดกะปิสามชั้น เส้นเหนียวนุ่มของมาม่าที่คลุกเคล้าด้วยเครื่องกะปิที่ประกอบด้วยหอมแดง กระเทียม พริกตำ และกะปิ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ผัดให้ความเค็มจากกะปิหมูสามชั้นเคลือบเส้นให้ทั่ว ตามด้วยพริกขี้หนูทั้งเม็ด เวลากินก็ลุ้นไปว่าจะกินโดนหมูสามชั้นหรือพริกลูกโดดที่ซ่อนไว้

Mama-Food-2

10) มาม่าแกงเผ็ดเป็ดย่าง น้ำแกงเผ็ดจากแกงไก่ที่เหลือคือของมีค่า อย่าทิ้ง!! เพราะนี่คือวัตถุดิบสำคัญของเมนูนี้ เพียงแค่ลวกเส้นมาม่าใส่ลงไปในน้ำแกง แล้วหาเป็ดย่างที่เหลือจากข้าวหน้าเป็ดมากินคู่กัน แค่นี้ก็ฟินแล้ว

Mama-Food-8

11) มาม่าติ่งจังกึม เมนูนี้ได้ไอเดียมาจากการเป็นติ่งหนังเกาหลีของคนทำ แค่ใส่กิมจิลงไปต้มกับมาม่า แล้วเอาเบค่อนมาใส่ตามใจชอบ โรยด้วยหอมเจียว ใส่เนื้อไก่เข้าไปอีกนิด ฟินประหนึ่งเหมือนกินอยู่ที่เกาหลีเลยทีเดียว

Mama-Food-14

12) มาม่าต้มยำกุ้งผัดปลาร้า ปลาร้าไม่ได้มีไว้ใส่ส้มตำหรือแกงลาวเท่านั้น ใครจะเอาปลาร้ามากินกับมาม่าก็ไม่ผิดกติกา เหมือนกันเมนูนี้ ที่เจ้าของไอเดียเขาเอามาม่ารสต้มยำกุ้งไปผัดใส่ไข่ กุ้ง หมูยอ เพิ่มผักที่ชอบ และเติมน้ำปลาร้าเข้าไปสักนิด นัวมากพูดเลย

Mama-Food-12

13) มาม่าผัดพริกอ่อง น้ำพริกอ่องประจำขันโตกเอามามิกซ์กับมาม่าก็เข้าท่าดี แค่เอามะเขือเทศยีๆ ผัดๆ เคี่ยวๆ กับหมูสับและพริกแห้ง ปรุงรสตามชอบ แล้วลวกเส้นมาม่าพอกรุบ ๆ ลงไปผัดคลุกเคล้ากับน้ำพริก โปะด้วยไข่ต้มยางมะตูม ใครรักอาหารเหนือ ชามเดียวไม่พอ

Mama-Food-9

14) มาม่าน้ำพริกอ่องแคปหมู แทนที่จะเอาเส้นมาม่าลงไปคลุกในน้ำพริกอ่อง ลองทำอีกแบบหนึ่ง คือ ให้เส้นมาม่าเป็นเหมือนข้าวสวย แล้วตักกับข้าวซึ่งก็คือน้ำพริกอ่องมาโปะบนเส้น กินคู่กับแคปหมูกรอบๆ อร่อยไปอีกแบบ

 

ใครถูกใจเมนูไหน มีวัตถุดิบอะไรอยู่ที่บ้านก็ลองทำกันดู ทำวนไปรับรองไม่เบื่อ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ “มาม่าปลิดชีพ”