City Break Paris Part XXXIV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 34

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 3 (Life in the court)

เวลา 13.00 น. พิธีอาหารกลางวัน

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -2

โดยหลักการแล้วอาหารมื้อกลางวันนี้จะจัดให้พระองค์เสวยแบบส่วนตัว แต่ความเป็นส่วนตัวของพระองค์มักจะไม่มีอยู่แล้วเพราะผู้ติดตามทั้งหลายก็ใช้เวลานี้กราบทูลเรื่องต่างๆได้อยู่

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -3

หลังจากทรงงาน กษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินไปเสวยพระอาหารกลางวันของพระองค์ตอน 13.00 น. ในพระตำหนักส่วนพระองค์หรือห้องบรรทมพระองค์เองโดยนั่งที่โต๊ะที่หันหน้าไปทางหน้าต่าง โดยหลักการอาหารมื้อนี้จะเป็นแบบส่วนตัว แต่พระเจ้าหลุยส์ที่14 ก็ยอมรับรองแขกผู้ชายซึ่งได้อยู่ในพิธีตื่นจากเตียง (levée)ในตอนเช้า ให้ได้เข้ามาร่วมพระราชเลี้ยงอาหารกลางวันของพระองค์ด้วยก็เลยกลายเป็นพิธีมโหฬารที่มีผู้เข้าร่วมหลากหลายด้วยกัน

บุคคลที่มีเกียรติมากที่สุดจะมีสิทธิ์ที่จะมอบผ้าเช็ดมือให้กษัตริย์ เพื่อให้ท่านทรงเช็ดมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร จะมีสุภาพบุรุษ 6 คนทำหน้าที่เสิร์ฟพระกระยาหาร และพิธีการอันยืดเยื้อไร้ประโยชน์นี้ก็เป็นที่มาของการทำให้พระองค์ได้เสวยอาหารที่เย็นชืดนั่นเอง

ช่วงบ่ายเวลา 14.00 น พิธีสันทนาการ

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -4

โดยปกติพระองค์จะประกาศโปรแกรมสำหรับช่วงบ่ายที่ตั้งใจจะทำในช่วงเช้าของวันนั้น (ในพิธีตื่นจากเตียง) ในทุกๆฤดูกาลพระเจ้าหลุยส์ชอบที่จะอยู่กลางแจ้งในที่โล่ง บ่ายวันรุ่งขึ้นท่านอาจจะไปล่าสัตว์ในป่ารอบๆแวร์ซายหรือเดินเล่นหรือขี่ม้าเล่นในสวนก็แล้วแต่ ในช่วงเวลาดังกล่าวพระองค์จะทรงผ่อนคลายและมีอารมณ์ที่ดี ดังนั้นพวกข้าราชบริพารก็ชอบที่จะมาห้อมล้อมพระองค์เผื่อได้รับความสนใจและได้รับความโปรดปรานจากท่าน สวนของแวร์ซายยังมีสวนสัตว์ (ménagerie) ที่เต็มไปด้วยสัตว์ เช่น ม้าลายและยีราฟ ที่ได้รับมอบมาจากประเทศในแอฟริกาและเอเชีย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -1

พระราชาทรงมีกิจกรรมล่าสัตว์ถือเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบของราชวงศ์บูร์บอง จะเกิดขึ้นบริเวณป่าทึบรอบแวร์ซาย โดยหัวหน้าหน่วยกองกำลังล่าสัตว์จะจัดให้เกมส์การล่า มีความบันเทิงไม่น่าเบื่อ ในระหว่างการล่าสัตว์กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 อนุญาตให้ผู้คุ้มกันท่านพกอาวุธและมีสิทธิ์ยิงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการล่าสัตว์ พระเจ้าหลุยส์ทรงโปรดปรานสุนัขล่าสัตว์ของท่านมาก ท่านมีสุนัขล่าสัตว์กว่า 100 ตัว และจำชื่อพวกมันได้ทั้งหมด เพราะล่าสัตว์บ่อยมากบนหลังม้า โดยความช่วยเหลือจากสุนัขของท่าน พระเจ้าหลุยส์จะไล่ล่าเป็นเวลาหลายชั่วโมงในช่วงบ่ายที่แวร์ซาย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -5

บางครั้งท่านก็ไล่ล่าไปกับสุนัขตัวเดียวเท่านั้นหากตัวอื่นตามไม่ทัน และในการล่าสัตว์ขุนนางหญิงจะติดตามการล่าสัตว์ในรถม้า เมื่อสิ้นวันพระเจ้าหลุยส์ที่14 จะเสนอรางวัลที่ดีที่สุด (เช่น กวาง) กับผู้หญิงที่ท่านโปรด

หากท่านตัดสินใจที่จะเดินเล่นก็จะเดินเท้าในสวนหรือนั่งรถม้ากับสุภาพสตรีคนโปรดในสำนัก ต้องยอมรับว่าบริเวณสวนของแวร์ซายนั้นมีภูมิทัศน์ในรูปแบบของการออกแบบสวนอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศส มีเอกลักษณ์ที่เป็นพิธีการและมีความเฉียบขาดเพื่อสะท้อนถึงอำนาจของกษัตริย์

แต่ก็ถึงตอนนี้ก็ต้องกล่าวถึงสวนและปัญหาซึ่งเป็นภาพในด้านลบของแวร์ซายสักเล็กน้อย สวนแวร์ซายถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1630 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่14 ได้ว่าจ้างสถาปนิกภูมิทัศน์ยอดเยี่ยมแห่งยุค นายอังเดรเลอโนต์เพื่อออกแบบสวนพระราชวังภาคพื้นดิน ซึ่งในท้ายที่สุดมีถึง 4 ขั้นตอนของการก่อสร้างสวนกว่าจะจบลงก็ไปถึงยุคที่หลุยส์ที่16 ครองราชย์ สวนแห่งแวร์ซายส์ระยะที่ 1 ก็คือตอนระยะแรกของการก่อสร้างสวนเริ่มขึ้น

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -6

บริเวณ Orangerie ลานปลูกต้นส้มmandarin ที่มีสายพันธุ์จากเมืองจีน

ลำดับแรกของงานคือการปรับเปลี่ยนและจัดเรียงชุดไม้พุ่มที่มีอยู่ทั้งหมด (กลุ่มของต้นไม้ชนิดเดียวกัน) ในบริเวณ เมื่อเฟสแรกเสร็จสิ้นเมื่อปีคศ.1664 ก็ต้องถือว่าเป็นสวนที่น่าประทับใจที่สุด โดยเฉพาะเมื่อ (สวน) Orangerie เสร็จสมบูรณ์ Orangerie เป็นสวนส้มที่มีมากกว่า 1,000 ต้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ส้มจากเมืองจีนมีกลิ่นหอม ตอนหลังนำมาปลูกบริเวณรอบๆพระราชวังเพื่อดับกลิ่น เพราะก็เป็นที่รู้กันว่าแวร์ซายไม่มีห้องน้ำและห้องสุขาเวลาจะปลดทุกข์ไม่ว่าหนักหรือเบาก็จะมองหากระโถนที่อาจมีแอบหลบมุมอยู่ตามห้อง แต่กระโถนมักจะเต็ม ทำให้ผู้มาทีหลังก็จะอาศัยตามเหลือบมุมของอาคารในพระราชวังนั่นแหละ ส่วนคนใช้ที่ทำหน้าที่เทกระโถนก็มักง่าย จะใช้วิธีเปิดหน้าต่างและเทลงไปเลย เพราะเต็มตลอดเทกันไม่ทัน ลองคิดดูว่าอยู่กันหลายพันคนแต่ไม่มีห้องสุขาหรือห้องน้ำ ความคิดในการนำสวนส้มมาปลูกนั้นตอนแรกก็จะให้พวกผู้ติดตามแขกเหรื่อทั้งหลายมาปลดทุกข์กันในสวนส้มนอกวัง แต่เวลาอากาศหนาวมากๆหรือกลางวันแสกๆก็มักไม่มีใครลงมาประเจิดประเจ้อจึงใช้เหลือบมุมลึกลับต่างๆของพระราชวังนั่นเอง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -7

ว่ากันว่ากลิ่นที่แวร์ซายนั้นไม่ต่างกับการที่เราไปเข้าห้องส้วมสาธารณะตามชนบทของเมืองจีนเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วที่ไม่มีระบบสุขอนามัยหรือ hygiene ใดๆ

ที่มันควรต่างกันก็ตรงแวร์ซายนั้นเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่แต่กลับไม่ให้ความสำคัญด้านนี้ ทั้งที่ระบบระบายน้ำ Sewer หรือระบายของเสียนั้น โรมันทำมานานแล้วก่อนจะมีคริสต์ศาสนาด้วยซ้ำ(ก่อนสมัยแวร์ซายสร้างเสร็จตั้งกว่า1000 ปี) แม้อาจจะไม่ใช่ผู้ริเริ่มแต่โรมันคือผู้พัฒนาให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยโรมันนั้นสร้างห้องสุขารวม Communal Toilets แบบสาธารณะ(มักอยู่ไม่ไกลจากที่อาบน้ำสาธารณะแบบ Roman Bath) มีให้เห็นหลายๆแห่งที่เคยเป็นเมืองขึ้นของโรม เช่น รูปข้างล่างนี้พบที่เมืองโบราณในตุรกีที่ชื่อ Ephesus

42-64089355

แต่โรมันไม่ได้มีการพัฒนาห้องสุขาในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการใช้กระโถน Potty อยู่แล้วนำไปเททิ้งตอนเช้าที่ระบบระบายน้ำเสียของเมือง(ถ้าเป็นเมืองใหญ่แบบโรม) ต่อมายุคกลางก็เริ่มพัฒนาเป็นที่นั่งเท่ๆแต่ก็ซ่อนกระโถนไว้ด้านในอยู่ดี ไม่ได้ต่อกับระบบระบายน้ำที่ต้องมีการเดินท่อมากมายแบบสมัยนี้ ถ้าเป็นในวังที่นั่งก็จะออกแบบดีหน่อย เช่น ข้างล่างนี้เป็นอุปกรณ์ถ่ายทุกข์ที่อยู่ในแวร์ซายในยุคของพระนางมารีอังตัวเนตสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -9

แม้จะมีการประดิษฐโถส้วมชักโครกที่ต่อท่อระบายน้ำทิ้งในปี 1596 โดยนาย John Harington จากแคว้น Yorkshire ของอังกฤษที่จดสิทธิบัตรเอาไว้ ฝรั่งเศสที่ไม่ถูกกับอังกฤษอยู่แล้วก็ไม่ยอมรับ เพราะมีความเชื่อโบราณว่าถ้ามีการต่อท่อระบายของเสียลงไปในท่อน้ำทิ้ง Sewer นั้น จะมีสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท่อน้ำทิ้ง เช่น หนู งู โผล่ออกจากส้วมแบบนี้เข้ามาในบ้านได้ ความเชื่อเรื่องนี้ทำให้การพัฒนาเรื่องสุขานี้ช้ามาก เพราะกว่าจะสมบูรณ์แบบก็มาในปี 1852 โดยนาย George Jennings ซึ่งจดสิทธิบัตรไว้มีต้นแบบที่ใกล้เคียงของปัจจุบันนี้ พวกเราสมัยนี้โชคดีมากที่เกิดมาในยุคที่ระบบสุขอนามัยค่อนข้างสมบูรณ์แบบแล้ว

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -10

จริงๆแล้วผู้ที่เข้ามาอยู่ที่แวร์ซายจะได้รับคู่มือเรื่องสุขอนามัยให้ปฎิบัติตาม แต่ไม่มีใครสนใจเพราะมักง่ายและยึดเอาความสะดวกเข้าว่า

อย่างไรก็ตามแวร์ซายไม่ได้มีปัญหาแค่กลิ่นของเสียจากการขับถ่ายของผู้คนที่นั่นเท่านั้น แม้กลิ่นของเสียก็หนักแล้วยังมาเจอกลิ่นตัวอีกน่ะสิครับ เพราะข้าราชบริพารหรือ Courtiers ที่อยู่ใน Court ไม่อาบน้ำ ในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการอาบน้ำอุ่นทำให้รูขุมขนเปิดกว้างและมีเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายได้ง่าย ยิ่งไม่นานก่อนหน้านั้นในยุโรปเจอปัญหาไข้กาฬโรค (Plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดมาในประวัติศาสตร์ยุโรป เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้

ดังนั้นภาพสวยหรูของแวร์ซายในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั้นเป็นแบบ” สวยแต่รูปจูบไม่หอม” จริงๆ ดูรูปข้างล่างนี้ประกอบ

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -11

หรือรูปข้างล่างนี้โชว์ให้เห็นความแตกต่างของรูปตอนแอ๊ปกับรูปชีวิตจริง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -12

ภาพด้านบนและล่างคือเหตุการณ์เดียวกันคือสิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในแวร์ซายของบรรดาขุนนางทั้งหลาย ก็เหมือนตอนวางท่าให้ถ่ายรูป(สมันนั้นไม่มีกล้องต้องจ้างศิลปินวาดเอา) แต่สำหรับความเป็นจริงแล้วผู้เคยเข้าไปในแวร์ซายแล้วเล่าต่อๆกันมาบอกว่าในแวร์ซายนั้นเหม็นมากๆ(บรรยากาศจะเป็นแบบรูปล่างต่างหาก)ในช่วงยุคของหลุยส์ที่14 มาดีขึ้นก็ยุคของหลุยส์ที่15 ไปแล้ว ที่มีการลงทุนระบบน้ำเพื่อช่วยระบายของเสีย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -13

กลายเป็นว่ายิ่งไม่อาบน้ำก็เกิดการนำน้ำหอมมาใช้กันดับกลิ่นเหม็น แล้วยังมีการนำแป้งและเครื่องสำอางมาใช้จะเห็นว่าจะมีการแต่งหน้าขาววอก ทาปากกับแก้มมีแดงสด แม้แต่ผู้ชายก็แต่งหน้า เพื่อกลบเกลื่อนโรคผิวหนังกลากเกลื้อนที่เกิดจากความสกปรกไม่อาบน้ำนั่นเอง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -14

พระเจ้าหลุยส์ที่14 เองท่านก็ไม่ใช่ผู้นิยมน้ำชำระล้างเช่นกัน มีเกร็ดประวัติศาสตร์ว่าตลอดรัชกาลพระวรกายของพระองค์ก็มีโอกาสสัมผัสน้ำไม่เกิน 3 หน แต่ท่านก็ทรงเป็นผู้นำแฟชั่นโดยเฉพาะรองเท้าส้นสูงเพราะท่านมีพระวรกายที่ไม่สูง อีกทั้งพระเกศาร่วงหมดเมื่อพระชันษาแค่ 25 จึงมีแฟชั่นวิกผมเข้ามาอีกด้วย โดยวิกผมก็เป็นทรงสูงเพื่อเสริมบุคลิกที่พยายามใช้รองเท้าส้นสูงช่วยแล้วต่อหนึ่ง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -15

ภาพบนเป็นรูปพ่อค้าขายน้ำหอมและเครื่องสำอางค์ในแวร์ซาย

โดยสรุปแวร์ซายส์นั้นไม่มีสุขอนามัยเอาซะเลยจนกระทั่งถึงยุคของมารีอังตัวเนตที่เป็นราชนีชาวออสเตรียจึงมีอ่างอาบน้ำในส่วนของ Queen Apartment เนื่องจากพระนางเป็นชาวออสเตรียซึ่งอาจชอบอาบน้ำมากกว่าไม่ใช้แนวคิดของฝรั่งเศส แต่ก็พบว่าพระนางทรงเครื่องสำอางและน้ำหอมแบบชาวฝรั่งเศสเช่นกัน

ดูจากภาพข้างล่างจะเป็นภาชนะใส่เครื่องสำอางและน้ำหอมของพระนาง

Versailles' dirty secrets - Toute L'Histoire [720p].mp4_001621240

ที่ใส่เครื่องประทินโฉม หรือเครื่องสำอาง ในสมัยของมาเรียอังตัวเนต ส่วนภาพล่างเป็นที่ไส่น้ำหอม

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -16

แต่จุดที่ไม่ดีในเรื่องสุขอนามัยนี้ก็ถือเป็นการจุดประกายเริ่มต้นทำให้อุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางของฝรั่งเศสกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในทุกวันนี้ของประเทศ และถือได้ว่าเป็นของดีที่สุดในโลก ไม่น่าเชื่อว่าเคยมีบริษัทสบู่แห่งหนึ่งทำวิจัยออกมามีข้อสรุปว่าคนฝรั่งเศสคือผู้ใช้สบู่ต่อคนต่อก้อนเฉลี่ยนานที่สุดคือสบู่หมดช้าที่สุด จึงเป็นที่เชื่อว่าสิ่งที่ปฏิบัติต่อเนื่องมาและการใช้น้ำหอมดับกลิ่นอาจทำให้ชาวฝรั่งเศสน่าจะมีการอาบน้ำน้อยครั้งกว่าชาติอื่น(วิจัยนี้ทำมานานแล้วปัจจุบันอาจมีผลที่เปลี่ยนไป)

 

ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของแวร์ซายครับ โปรดติดตามได้ที่นี่ต่อไป