City Break Paris Part XXIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 23
เราจะมาพูดถึงบรรดาอาหารฝรั่งเศสแบบคลาสสิก ที่เราควรต้องลองหรือไปสั่งชิมกันต่อนะครับ เมื่อตอนที่แล้วเราพูดถึงอาหารคลาสสิกแบบจานด่วนคือ คร๊อก เมอซิเออร์ (Croque Monsieur) ไปแล้ว จะขอแนะนำจานด่วนคลาสสิกอีกสักจานนะครับ

Quiche Lorraine

City Break Paris French National Cuisine 16

มันก็คือ คีช ลอร์เรนน์ (Quiche Lorraine) นั่นเอง คำว่า Quiche มาจากคำว่า “kuchen” เป็นภาษาเยอรมันหมายถึงเค้ก ส่วนคำว่า Lorraine ก็คือแคว้นลอร์เรนของฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อก่อนนี้ในสมัยยุคกลางก็คืออาณาจักร Lothringen ดินแดนของประเทศเยอรมนี ดังนั้นอาหารฝรั่งเศสคลาสสิกจานนี้ที่จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี

Quiche มันเป็นพายแบบเปิดหน้าที่มีส่วนประกอบคือ ไข่และคัสตาร์ครีมที่มีเบคอนรมควัน (Lardons) และชีสบ่มนาน (Mature Cheese) ส่วนเปลือกพายทำมาจากแป้งขนมปัง แต่สูตรดัดแปลงก็อาจเป็นแป้งพัฟ สำหรับสูตรของอีกเมืองที่เคยเป็นดินแดนเยอรมันเก่าเหมือนกันอยู่ไมไกลชื่อเมือง อัลซาส* (Alsace) นั้น จะมีการเพิ่มหัวหอมเข้าไปด้วยเรียกว่า Quiche Alsacienne คีช อัลซาเชี่ยน (*เมืองต้นกำเนิดของสุนัข German Shepherd หรือ อัลเซเชี่ยนนั่นเอง)

Mini-Quiche-Lorraine-and-Florentine

Quiche สมัยใหม่อาจมาในรูปแบบพอดีคำ เรียกว่า Mini Quiche

City Break Paris French National Cuisine 15

Quiche มักเสิร์ฟพร้อมสลัดเขียว

Quiche กลายเป็นที่นิยมในอังกฤษและอเมริกา เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงปี 1945 ดินแดนแถบ แคว้นอัลซาส-ลอร์เรน นั้นเป็นยุทธภูมิสู้รบ และแม่บ้านฝรั่งเศสก็มักจะทำQuiche เลี้ยงทหารพันธมิตรซึ่งก็มีชาวอังกฤษและอเมริกัน หรือบางทีก็ทำใส่กล่องไปกินระหว่างทาง จนทหารพวกนี้ติดใจก็นำสูตรกลับไปให้แม่บ้านของตัวเองทำจนทุกวันนี้ มาในสมัยปัจจุบัน Quiche มีหลายชนิด เช่น Quiche กับผักโขม (Quiche Aux Epinards) Quiche กับเห็ด (Quiche Aux Champignons)

Quiche กับผักโขม

อย่างที่บอกนะครับ แบบจานด่วนที่แนะนำไป 2 จานนั้นส่วนใหญ่หากินที่คาเฟ่ ย่านไหนก็มี ทีนี้หากท่านอยากกินกลางวันแบบเป็นเรื่องเป็นราวในร้านอาหารแบบ Bistro ก็มาว่ากันในหัวข้อต่อไปเลย

2.แบบเป็น Course หรือเป็นSet Lunch

ร้านอาหารทั่วไปในฝรั่งเศสมักจะมีการจัด Set Menu ไว้ อย่างที่เราทราบกันดีว่า อาหารฝรั่งเศส (French National Cuisine) นั้นประกอบด้วยอาหารอย่างต่ำ 3 Courses เริ่มจาก จานเรียกน้ำย่อย hors d’œuvre หรือ entrée ซึ่งก็คือจานเปิดเริ่มต้น อาจเป็นซุปหรืออาหารที่เป็นกุ้งหอยปูปลาที่ไม่ใช่ทำจากเนื้อแดง จะเป็นร้อนหรือเย็นก็ได้ ตามด้วยอาหารจานหลักplat principal (main course แต่ในแบบอเมริกัน entrée จานหลัก) มักจะเน้นโปรตีนอาจเป็นเนื้อแบบไหนก็ได้ ตบท้ายโดยจานเนยแข็ง, fromage (cheese course)หรือของหวาน dessert, แต่ก่อนจานของหวานอาจมีจานสลัด salad คั่นก่อนก็ได้ (แต่ในแบบอเมริกันสลัดจะไปอยู่ในคอร์สก่อน entrée จานหลัก) โดยถ้าเป็นอาหารกลางวันก็มักจะเป็น 3-4 Course เมนูซะเป็นส่วนใหญ่ต่างจากมื้อเย็นที่จะเป็นมื้อใหญ่ที่อาจมีประมาณ 5-7 Course หรือสมัยนี้อาจมี Menu ที่เรียกว่า Tasting Menu ซึ่งจะ Highlight จานที่เป็น Signature ของ Chef ประจำร้านจะมาเป็น Portionเล็กๆ แต่ได้ลองอาหารหลายอย่างหน่อยซึ่งเราค่อยไปพูดถึงรายละเอียดกันอีกครั้งตอนเราพูดถึง’มื้อเย็น’ในปารีสกัน คราวนี้เราจะพูดถึง 3-4 Course Menu ซึ่งเป็นเบสิคเซ็ท ปกติ 3 คอร์ส จะประกอบด้วยอองเทร่ entrée (ซึ่งในแบบอเมริกันจะเรียกว่า appetizer) แล้วตามด้วยจานหลัก ปลาต์แปลงซิปาล plat principal (main course) ตามด้วยของหวาน เดสแซรต์ dessert ในตอนนี้เราจะแนะนำไล่ไปตามลำดับครับ

อาหารจานเปิด (อองเทร่ l’entrée)
ผมจะแนะนำแต่อาหารที่เป็นแบบจารีตของฝรั่งเศสที่เราควรได้ลองเมื่อมาถึงปารีสเป็นหลักนะครับ

หอยทากเอสการ์โกต์จากบูร์โกนญ์ Escargots de Bourgogne

City Break Paris French National Cuisine 4

มันคือหอยทากไร่องุ่น Vineyard Snails ก็เนื่องจากแถบบูร์โกนญ์หรือที่เรารู้จักในภาษาอังกฤษว่า Burgundy นั้นนิยมปลูกองุ่นทำไวน์กันแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว (ตั้งแต่สมัยยังเป็นเมืองหนึ่งของอณาจักรโรมัน)หอยทากพวกนี้เดินป้วนเปี้ยนอยู่ในไร่องุ่นน่ารำคาญนัก จึงโดนจับไปทำอาหารซะงั้น ผัดกินกับเห็ดท้องถิ่นบ้าง หรือเสียบไม้ย่างทานบ้างแต่คงไม่มีสูตรไหนอร่อยเท่ากับสูตรอบเนยเครื่องเทศแบบบูร์โกนญ์อีกแล้ว

วิธีทำจะเอาหอยออกจากฝาก่อน โดยนำไปต้มในน้ำซุปเครื่องเทศ (ใบไทม์,ใบเบย์แล้วก็พริกไทย) ซึ่งน้ำซุปนี้ก็เอาไปใช้เป็นซุปขายได้เลย ผมเคยทาน’ ซุปเอสกาโกต์’ แบบรถเข็น ข้างถนนที่ กรุงบรัสเซลในเบลเยี่ยม ซึ่งจะมีขายในช่วงหน้าหนาว ตักใส่แก้วกระดาษแล้วเดินจิบแก้หนาวไป ต้องบอกว่าสุดยอดจริง แต่ในซุปนี้จะมีเศษเนื้อหอยน้อยมากจะมีก็ที่มันแตกตัวเป็นเศษเล็กๆเท่านั้น ส่วนตัวหอยน่ะเขาเอามากลับไปคลุกกับเนยเครื่องเทศแล้วยัดลงฝาใหม่แล้วไปแช่เย็นเก็บไว้ คราวนี้ก่อนเสิร์ฟก็แค่นำไปอบแล้วเสิร์ฟบนถาดอลูมิเนียมที่เป็นหลุมเหมือนถาดขนมครก จะมี 2 ขนาด คือแบบครึ่งโหล (ถาด 6 ตัว) และแบบ 1 โหล (ถาด 12 ตัว) มาพร้อมอุปกรณ์ที่คีบเปลือกหอยที่ออกแบบมาเฉพาะกันลื่นและกันร้อน เพราะต้องเสิร์ฟร้อนๆ ถึงจะถูกต้อง จะมีส้อมเล็กๆ ปลายแหลมจิ้มแล้วดึงออกมาจากฝา (ดูรูปด้านบน)

เคล็ดลับในการกินให้อร่อยคงต้อง Pairing กับไวน์จากโบโกนญ์ (Burgundy Wine) เช่น Marsannay Rosé หรือ Aligoté เย็นๆ แต่ถ้าไม่มีจะเป็นไวน์แดงก็ไม่ได้น่าเกลียดนะครับ ข้อสำคัญอย่าลืมเอาขนมปังทาซอสเนยที่อยู่ก้นถาดกินแกล้มไปด้วยนะครับ ไม่เสียมารยาทแน่นอน

ทีนี้หากอยากกินเอสกาโกต์ในปารีสในร้านที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารจานนี้ น่าจะลองไปที่ร้านข้างล่างนี้ โดย 2 ร้านแรกจะเป็นแบบคลาสสิก ส่วนร้านที่เหลือจะเป็นร้านที่อยู่ในย่านท่องเที่ยวคือถ้าแวะไปเที่ยวแถวนั้นก็น่าจะแวะทานกลางวันไปเลย

 

ร้าน L’ESCARGOT MONTORGUEIL เลสกาโกต์มงโตเกยย์

City Break Paris French National Cuisine 6

บิสโตรฝรั่งเศสแบบดั้งเดิมนี้ได้ให้บริการอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ โดยเฉพาะจานหอยทากในกรุงปารีสมากว่าสองศตวรรษแล้ว โปรดสังเกตว่าที่หน้ามุขของร้านจะเป็นรูปปั้นหอยทากทองคำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร้านนี้คือร้านที่เป็นผู้ชำนาญด้านไหน และทางการก็ได้ประกาศให้ร้านนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม (listed heritage site)การตกแต่งของร้านเป็นแบบ Second Empire หรือในยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่3 อาจจะเก่าแก่สักหน่อยแต่ถ้าหากต้องการลิ้มลองจานหอยทากที่มีชื่อเสียงที่ประกอบด้วย หอยทากเบอร์กันดี 12 ตัวปรุงแบบสามรสของแท้ต้องมาลองที่นี่ครับ หรือถ้ามาเป็นคณะใหญ่ก็สั่งแบบ 36 ตัวมาแบบถาดหลุมเงินเก่าแก่ของร้าน

City Break Paris French National Cuisine 9

City Break Paris French National Cuisine 2

ที่อยู่ 38 Rue Montorgueil, 1st arrondissement (เขต 1)

City Break Paris French National Cuisine 11

 

ร้าน ALLARD อัลลารด์

City Break Paris French National Cuisine 1

ร้านอาหารรสเลิศแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีในปีค.ศ.1932 เป็นร้านเก่าที่เก่าแก่ที่สุดร้านหนึ่งของกรุงปารีสแต่บรรยากาศดูเรียบหรูน่านั่ง และจานเด็ดของร้านซึ่งก็คือ escargots มีรสชาติไม่เก่าไปตามอายุร้าน เพราะกลิ่นเนยกระเทียมเคล้ากับผักชีฝรั่งที่อยู่ในจานเด็ดจานนี้ส่งกลิ่นหอมที่แบบว่านักท่องเที่ยวมือใหม่ต่างถิ่นที่อยู่โต๊ะข้างๆคุณต้องแอบชะเง้อมองแล้วบอกกับบริกรว่า “me too”

ความเป็นจริงแล้วที่มาของความเจ๋ง มันเริ่มจากประวัติเก่าแก่ของร้านที่ริเริ่มมาจากชาวชนบทที่ชื่อ Marthe Allard อพยพมาจาก Burgundy และตั้งใจนำเอาวัฒนธรรมอาหารแถบบูร์โกนญ์มาเผยแพร่โดยได้เปิดร้านนี้อยู่ใจกลางย่าน Saint-Germain-des-Prés แต่ที่แน่ไปกว่านั้นก็เพราะร้านนี้ปัจจุบันได้ผ่านมือมาเป็นของสุดยอดเชฟฝรั่งเศสที่ชื่อ Alain Ducasse ซึ่งมีร้านอาหารติดดาวมิชเชลแลงอยู่เป็น10 ร้าน และนโยบายที่ตั้งใจจะทำกับร้านนี้ของเขาก็คือ: “ร้านอาหารแห่งนี้ถูกคงไว้ซึ่งบุคลิกภาพและความเป็นตัวของมันเองไว้ตลอดไป” ไม่ว่าจะรสชาติอาหารบรรยากาศและราคาในแบบบิสโตรต้นตำรับ

City Break Paris French National Cuisine 17

ที่อยู่ 41 Rue St-Andre des Arts, เขต 6

 

ร้าน CHEZ FERDINAND CHRISTINE เช่ เฟอร์ดินัล ถนน คริสตีน

City Break Paris French National Cuisine 7

จริงๆ ร้านนี้นักท่องเที่ยวมักได้เคยไปลองมาแล้วเพราะเป็นร้านอาหารฝรั่งเศสที่มีบรรยากาศแบบดิบๆ แต่อบอุ่นเป็นมิตร ใช้ผ้าปูโต๊ะลายหมากรุกสีแดงตามจารีตประเพณี ตั้งอยู่แถวแซงมิชเชลใกล้กับวิหาร Notre Dame Cathedral ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งส่วนใหญ่ใครมาปารีสก็ต้องไปวิหารแห่งนี้ ก็เลยต้องจัดมื้อกลางวันอาหารฝรั่งเศสที่ดี (แถมไม่แพง) สักมื้อที่มีจานเด็ดที่เป็นจานหอยทากแสนอร่อย!

City Break Paris French National Cuisine 10

ที่อยู่ 9 Rue Christine, 6th arrondissement (เขต 6)

City Break Paris French National Cuisine 8

 

LE HIDE เลอฮิดด์

City Break Paris French National Cuisine 14

ห้องอาหารบรรยากาศสบายๆ ตั้งอยู่ห่างจากประตูชัยนโปเลียน Arc de Triomphe ไม่ไกลและให้บริการอาหารจานเปิดด้วย Escargot แสนอร่อยซึ่งปรุงด้วยสูตรพิเศษของร้าน และมาในรูปแบบใหม่ที่มีขนมปังประกบแบบแซนวิซแต่อร่อยมีชื่อ พร้อมด้วยการบริการที่อบอุ่นและเป็นมิตรประกอบกับที่ร้านอยู่ในย่านยอดนิยมทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่อาจเป็นนักท่องเที่ยวแต่คุณจะไม่รู้สึกว่าคุณกำลังรับประทานอาหารในร้านที่เป็นกับดักท่องเที่ยว (Tourist Trap Restaurant) อย่างแน่นอน

City Break Paris French National Cuisine 12

City Break Paris French National Cuisine 13

10 rue du Général Lanrezac, เขตที่ 17

 

คราวหน้าเรามาพูดถึงอาหารจานเปิด ( อองเทร่ l’entrée) จานอื่นๆ กันต่อครับ

City Break Paris Part XXII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 22

เบรกกินอาหารกลางวันในปารีส (ตอนที่2)
เมื่อคราวที่แล้วเราพูดถึงมื้อกลางวันในปารีส ซึ่งผมแนะนำว่าเราควรไปกินในร้านอาหารแบบที่เรียกว่า ‘บิสโตร’หรือไม่ก็กินตาม ‘กาเฟ่’ เลยก็ได้ เพราะหาง่ายมีอยู่ทุกมุมถนน ที่แนะนำแบบนี้ก็เพราะมื้อกลางวันเราต้องการความสะดวกและรวดเร็ว และที่สำคัญที่สุดก็คือเราจะได้มาทำความรู้จักกับอาหารฝรั่งเศสแท้ ที่เรียกว่าเป็น French Classic Dish หรือ Cuisine Classique เพราะร้านแบบนี้จะเน้นเสิร์ฟแต่อาหารพื้นบ้านฝรั่งเศสแท้ๆ เท่านั้น ต่างกับบรรดาภัตตาคารหรูสมัยใหม่ในปารีสที่จะนิยมเสิร์ฟ Nouvelle Cuisine ตำรับสมัยใหม่ที่เอาจานคลาสสิกนั่นแหละมาดัดแปลงเน้นการสร้างสรรค์ประดิษฐ์ตกแต่ง (Presentation) ตามจินตนาการและฝีมือของ Chef ชื่อดังทั้งหลาย ซึ่งควรเก็บไว้ลองเป็นมื้อเย็นจะดีกว่า เพราะร้านเหล่านั้นค่อนข้าง ‘เป็นทางการ’ ต้องจองล่วงหน้าและมี Dress Code ต้องแต่งกายให้เหมาะสม

ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงบรรดาอาหารฝรั่งเศสแบบคลาสสิก ที่เราควรต้องลองหรือไปสั่งชิมกันครับว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง โดยผมจะแบ่งเป็นประเภทออกมาให้

1.แบบอาหารจานด่วน
กรณีเร่งรีบ อาจยังไม่หิวมาก หรือเป็นการกินรวบ 2 มื้อแบบ Brunch นั้น แนะนำให้คุณเข้าไปในกาเฟ่ ที่ดูดีหน่อยแล้วลองสั่ง 2 จานนี้มาลองครับอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

City Break Paris Lunch Time In Paris 1

Croque Monsieur คร๊อก เมอซิเออร์ ก็คือ แซนด์วิชคลาสสิกของฝรั่งเศสซึ่งปรากฎขึ้นครั้งแรกในเมนูของคาเฟ่แบบปารีสมาตั้งแต่ปี 1910 ในยุค La Belle Époque ยุคสวยงาม เป็นยุคสมัยหลังการสิ้นสุดของสงคราม ฟรังโค-ปรัสเซีย ใน ค.ศ. 1871 ไปจนถึงการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน ค.ศ.1914 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ยุโรปตะวันตกมีความสงบสุข มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยี เศรษฐกิจมีการเติบโต และการเฟื่องฟูของศิลปะต่างๆ เป็นอย่างมาก มีไลฟ์สไตล์แบบหรูหราฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะที่ปารีสถือเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง และสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในปารีสส่วนใหญ่ก็จะเกิดขึ้นในยุคนี้

ในด้านงานศิลปะก็เป็นช่วงของศิลปะแบบ Impressionism ที่มี คล๊อดโมเนต์ (Claude Monet) และเรอนัว (Pierre-Auguste Renoir) หรือมาเนต์( Édouard Manet) เป็นผู้สร้างชื่อของยุค แต่ถ้าจะให้พูดถึงศิลปินแห่งยุคสวยงามจริงๆ ก็ต้องเป็น Henri de Toulouse-Lautrec เช่นภาพ At the Moulin Rouge, The Dance ข้างล่างนี้

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 5

ศิลปิน Jean Béraud. ก็ได้วาดหลายภาพที่ถ่ายทอดชีวิตหรูหราในกรุงปารีสในยุค La Belle Epoque ได้เป็นอย่างดี ดังภาพข้างล่างที่ชื่อว่า ‘A ball’

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 6

ในขณะที่มีการพัฒนาด้านแฟชั่นการแต่งกายในสมัยนั้นจนทำให้ปารีสกลายเป็นผู้นำด้านการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายมาจนถึงยุคปัจจุบัน Coco Chanel ก็เกิดในยุคนั้น ได้อิทธิพลการออกแบบของยุคสวยงามมา

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 4

ส่วนด้านบันเทิงก็จะมีโชว์แบบ Cabarets ที่เริ่มต้นจากคลับที่ชื่อ Moulin Rouge เปิดเมื่อปี 1889 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งกำเนิดทางด้านจิตวิญญาณของรูปแบบการเต้น Can Can และมีการพัฒนาให้การเต้นมาประกอบกับโชว์ที่ใช้ความสามารถหลายรูปแบบ รวมทั้งมายากลจนได้กลายเป็นรูปแบบของความบันเทิงแบบคาบาเรต์โชว์ นำไปสู่ความนิยมของการดื่มแชมเปญเพื่อเฉลิมฉลอง เพราะการมาชมคาบาเรต์นั้นมักขายบัตรคู่กับแชมเปญเท่านั้นครับ

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 8 Moulin Rouge

ยิ่งได้ศิลปินอย่าง Henri de Toulouse-Lautrec มาช่วยทำโปสเตอร์โฆษณาให้ Moulin Rouge ด้วยแล้วทำให้สถานที่แห่งนี้เป็น a-must สำหรับผู้ใหญ่ที่มาปารีสในตอนนั้น

จริงๆ แล้ว Moulin Rougeไม่ได้เป็นโรงละครประเภทนี้แห่งเดียวในตอนนั้นยังมี โฟลี่ แบแจร์ Folies Bergère ซึ่งเก่าแก่กว่า สร้างมาตั้งแต่ปี 1869 แต่ตั้งใจสร้างมาเป็นโรงละครร้องแบบโอเปร่า แล้วปรับมาเป็นละครเบาสมองแบบ Comedies แล้วก็กลายมาเป็น Music Hall จากนั้นก็เป็นการนำโชว์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นละครสัตว์ กายกรรม แล้วจึงมาเป็นคาบาเร่ต์ หลังจากที่ Moulin Rouge ประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ โฟลี่ แบแจร์ ก็ยังอยู่ที่ Rue Bergère ถนนซึ่งเป็นที่มาของโรงละครแห่งนี้

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 1

ภาพ A Bar at the Folies-Bergère โดย Édouard Manet ถือเป็นภาพสร้างชื่อให้โรงละครแห่งนี้

ในด้านสถาปัตยกรรมนั้นปารีสก็ได้มีการปฏิวัติครั้งใหญ่ เริ่มต้นมาก่อนหน้ายุคนี้เล็กน้อย โดยมีโครงการของจักรพรรดิโปเลียนที่ 3 ที่ต้องการทำปารีสให้เป็นเมืองที่ทันสมัย จึงมอบหมายให้สถาปนิกที่ชื่อ Georges-Eugène Haussmann หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Baron Haussmann เป็นผู้ควบคุมโครงการซึ่งถือว่าเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จัดการผังเมืองปารีสใหม่ทั้งหมด รื้ออาคารโบราณในยุคกลางออกแล้วสร้างอาคารในรูปแบบ Neo Classic จึงเป็นที่มาของโครงการ Haussmann’s Renovation of Paris

แบบจำลองของอาคาร Apartment Building ของ Paris ในแบบของ Haussman

ก่อนยุคของ Haussmann อาคารส่วนใหญ่ในปารีสทำจากอิฐหรือไม้และฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์ Haussmann ต้องการให้อาคารตามแนวถนนสร้างขึ้นใหม่มีระเบียบคล้องจองเป็นแบบเดียวกัน (Unify) ด้วยสถาปัตยกรรมที่กำหนดให้เท่านั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างสร้างออกแบบกันเอง จึงสังเกตได้ว่าอาคารApartment Building ที่เรียงรายอยู่บนถนทุกสายในปารีสนั้นมีความละม้ายคล้องจองความสูงเท่ากัน มีหลังคาแบบ Mansard ที่ทำมุม 45 องศาสีเทาเข้ม มีห้องใต้หลังคา และตัวตึกที่ทำจากหินปูน Lutetian ที่มีสีครีมเหมือนกันหมดซึ่งให้ความกลมกลืนกับรูปลักษณ์ของถนน

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 10

นอกจากนี้เขายังบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาจากปี ค.ศ. 1852 ที่ระบุให้อาคารทั้งหมดต้องได้รับการทาสีบำรุงรักษาขัดล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุกสิบปี ไม่เช่นนั้นจะถูกโทษปรับ สำหรับถนนส่วนใหญ่ในปารีสก็จะถูก Haussman ปรับปรุงใหม่ให้กว้างขวางมากขึ้น และมีระบบระบายน้ำด้วยท่อน้ำทิ้งขนาดใหญ่ใต้ถนนทุกสายและยังให้ความสำคัญกับอนุสาวรีย์ (Monument) ตลอดจนให้มีการปลูกต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างถนนส่วนใหญ่ในปารีสทำให้ปารีสเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์สวยงาม และมีบรรยากาศโรแมนติกอย่างยิ่ง ดังภาพวาดแบบ Impressionism ของ Pissarro ที่ชื่อ Montmartre Boulevard ข้างล่างนี้

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 3

และประกอบกับการปฏิวัตอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสทำให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของฝรั่งเศสที่เป็นรูปเป็นร่างในช่วงนั้น นำโดย Armand Peugeot ผู้ให้กำเนิดรถยนต์เปอโยต์และพี่น้องตระกูล Renault คือ Louis, Marcel และFernand ก็เริ่มนำรถเฮอโนต์ออกขาย

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 2 Peugeot

สุดท้ายก็คือจังหวะที่ปารีสได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้า World Exposition ปี 1889 ที่เป็นต้นแบบของงาน Expo ในปัจจุบันนี้ ในฐานะเจ้าภาพก็ได้มีการสร้างหอไอเฟิลขึ้นมาเพื่อเป็นการแสดงศักยภาพว่าฝรั่งเศสคือประเทศผู้นำแห่งยุคสวยงาม หรือ La Belle Époque ซึ่งถือเป็นยุด Golden Ageอย่างแท้จริง

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 9

กลับมาถึงเรื่องของ Croque-Monsieur ซึ่งมันเกิดในยุคนี้เช่นกัน มันอาจดูเหมือน Ham and Cheese Sandwich ธรรมดาๆ แต่ไม่ใช่นะครับ เพราะมันมีรายละเอียดที่ต้องประกอบด้วยขนมปังแบบแซนด์วิชแผ่นหนา 2 แผ่น ถ้าจะให้ดีควรเป็นขนมปังแป้งเปรี้ยว หรือ Sourdough ทาเนยแล้วลงไปจี่ในกระทะร้อนให้เกิดสีเหลืองเข้มปนน้ำตาลไหม้ (Light Char )พอได้ที่ก็นำมาทา ดิจง มาสตาดบางๆ แล้วนำมาประกบแฮมต้ม ที่ต้องเป็น “Jambon de Paris” หรือแฮมแบบปารีสเท่านั้น อาจใส่ชีสกรุยแยร์แผ่นไว้กับแฮมด้วย ตามด้วยการราดด้วยซอส Béchamel ที่ทำจากส่วนผสมของแป้งข้าวสาลี – ซอสแป้งและเนยลงด้านบนของแซนด์วิช แล้วขุดชีสกรุยแยร์(Gruyère อาจทดแทนด้วยชีส Emmental หรือ ชีสComté) มากๆ หน่อย เป็นTopping บนตัวซอส แล้วจึงนำเข้าเตาย่างไฟบนให้ ชีสในชิ้นขนมปัง และชีสด้านบนละลาย ในขณะที่ขนมปังจะเกรียมกรอบได้ที่

City Break Paris Lunch Time In Paris 2

บางครั้งอาจมีสูตรดัดแปลงด้วยการใช้ชีสหลายชนิดมาผสมกันอาจเป็น Goat Cheese หรือ Gorgonzola แล้วเรียกชื่อว่า “Croque aux trois fromages” แต่ถ้ามีการวางไข่ดาวไว้ด้านบนแซนด์วิชมันจะถูกเรียกว่า Croque-Madame ส่วนเครื่องเคียงก็แล้วแต่ร้านไหนจะจัด อาจเป็นแตงกวาดองหรือสลัดเขียว และมี Chip หรือไม่ก็ Duck Fat Fries คือมันฝรั่งทอดด้วยน้ำมันเป็ด(ไขมันเป็ด)ซึ่งยอดเยี่ยมมาก

 

โปรดติดตามเรื่องมื้อกลางวันในปารีสในตอนต่อไป

City Break Paris Part XXI

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 21

เบรกกินอาหารกลางวันในปารีส

City Break Paris Lunch Break Ep1 -5

หลังจากที่พูดถึงพิพิธภัณฑ์ Louvre แบบละเอียดยิบมา 4 ตอน ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีตอนที่ 5 ซึ่งจั่วหัวไว้แล้วในหัวข้อเรื่อง “มา Louvre แล้วต้องดูอะไร ?” นั้น ผมจะขอเปลี่ยนบรรยากาศไปเป็นเรื่องกินก่อนแล้วค่อยกลับมาคุยเรื่องเที่ยวกันต่อ ไม่งั้นจะเที่ยวเหนื่อยเกินไป สำหรับเรื่องกินคราวที่แล้วเราพูดถึงอาหารเช้าไปแล้ว ครั้งนี้จึงเป็นเรื่องของอาหารกลางวัน

สำหรับอาหารกลางวันนั้นไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนในโลกสมัยใหม่ ดูเหมือนว่าผู้คนจะหันมานิยมอาหารที่เป็น Fast Food มากขึ้น เนื่องจากเราจะถูกจำกัดเวลาให้ต้องจัดการให้แล้วเสร็จใน 1 ชั่วโมง เพราะช่วง Lunch Break มันมีอยู่เท่านั้น จริงอยู่แม้ว่าเราไม่ต้องรีบกลับไปทำงานเพราะเรากำลังอยู่ใน Vacation หรือกินกับลูกค้าในลักษณะ Business Lunch มันก็มักจะไม่ยืดเยื้อไปกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง เพราะหลายๆ ร้านมักจะปิดตอน 14:30 และมาเปิดอีกครั้งตอน 6 โมงเย็นสำหรับมื้อเย็น ดังนั้นการกินกลางวันในปารีสผมจะไม่แนะนำให้เราต้องไปกินร้านที่มันเป็น Restaurant หรือภัตตาคารแบบเลิศหรูซึ่งจะเหมาะกับมื้อเย็นมากกว่า แต่จะแนะนำให้เราไปกินร้านอาหารแบบ Bistro หรือไม่ก็ไปกินที่เป็น Parisian Cafés แท้ๆ กันครับ แต่ก่อนจะบอกว่าควรไปสั่งอะไรกินนั้น จะแนะนำให้รู้จักลักษณะร้านทั้ง 2 แบบนี้ก่อน

City Break Paris Lunch Break Ep1 -14

 

1. Parisian Cafés
สำหรับร้านแบบ คาเฟ่ หรือ ‘กาเฟ่’ ของปารีส ในความคิดแรกของหลายท่านนั้นพอบอกว่าให้ไปกินที่ ‘กาเฟ่ ‘นั้น มันเหมือน “จะชวนไปกินกลางวันที่ร้าน กาแฟ หรือ!?”

City Break Paris Lunch Break Ep1 -8

ใช่ครับ ‘กาเฟ่’ ของปารีส มันก็มีลักษณะการใช้งานคล้ายๆ กับ Pub ใน London นั่นแหละครับที่ย่อมาจากคำว่า Public House ซึ่งเป็นหมือนศูนย์กลางของชีวิตและสังคมของคนในละแวกหรือย่านนั้นๆ มันเป็นเหมือนสถาบัน เป็นวิถีชีวิตของชาวฝรั่งเศสที่ต้องมีการไปโรงเรียน, ที่ทำงาน, ซูเปอร์มาเก็ต ศูนย์การค้านั่นแหละครับ และมันก็ต้องมี ‘กาเฟ่’อยู่ในลิสต์ด้วย

ร้าน ‘กาเฟ่’ แบบฉบับกรุงปารีสไม่ใช่ร้านกาแฟโดยทั่วไป มันจะมีครบสูตรก็คือส่วนที่เป็น Cafe จะมีบาร์เสิร์ฟเหล้าเบียร์หรือไวน์ ที่เราสามารถสั่งไวน์เป็นแก้ว un verre de vin หรือเบียร์ครึ่งไพน์ “un demi” หรือ “une pression” เบียร์สดที่มาจากtap และแน่นอนกาแฟรสเข้มสักช็อต ” un espresso ” นอกจากนั้นร้าน ‘กาเฟ่’ แบบกรุงปารีสส่วนใหญ่ยังมีส่วนที่เป็น Dining Area มีห้องครัวที่สมบูรณ์แบบซึ่งมีเมนูอาหารสำหรับมื้อกลางวันและมื้อค่ำ แต่เมนูมักจะเป็นอาหาร Traditional ที่ยึดมั่นในประเพณีของฝรั่งเศส โดยมีรายการโปรดเช่น coq au vin, escargots, tartare du boeuf และcrème brûlée เป็นต้น แต่ในระหว่างมื้อในส่วนกาเฟ่ก็จะมีอาหารประเภทจานด่วนเสิร์ฟตลอดวัน เช่น แซนด์วิชหรืออาจเป็นพวก Pie (Tart) หรือ croque monsieur, Pizza, Salad, Soup

City Break Paris Lunch Break Ep1 -1

Cafe มันเป็นจุดนัดพบ หรือ rendez-vous และแหล่งพบปะแบบสโมสร หรือ เป็นที่ผ่อนคลายเคลียร์สมอง เติมพลัง หรือจะใช้เป็นที่ฆ่าเวลา โดยได้นั่งแบบสบาย ๆ ดูผู้คนหรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ แบบ People Watching ไปด้วย โดยในประวัติศาสตร์แม้แต่การประชุมทางการเมืองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์สำคัญในฝรั่งเศสก็ใช้คาเฟ่นี่แหละครับ

City Break Paris Lunch Break Ep1 -13

ธุรกิจกาแฟและการบริโภคกาแฟนั้นเกิดขึ้นในกรุงปารีสตั้งแต่ปีค.ศ. 1644 และคาเฟ่แห่งแรกก็เปิดขึ้นในปีพศ. 1672 แต่มันไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งมีการเปิดร้านที่ชื่อ Café Procope ในปี 1689 บนถนน Rue des Fossés-Saint-Germain ทุกวันนี้ร้าน Café Procope ถือเป็นร้านอาหารเก่าแก่ที่สุดในบรรดาร้านอาหาร / คาเฟ่ของกรุงปารีส เป็นต้นฉบับของ European Literary Café วรรณกรรมคาเฟ่

City Break Paris Lunch Break Ep1 -3

ต้องถือว่ากาเฟ่แห่งนี้เป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และวัฒนธรรมในกรุงปารีสในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคเรืองปัญญาหรือยุค Enlightenment (ในฝรั่งเศสเรียกยุค Siècle des Lumières คือเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อทางศาสนา รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ) ลูกค้าของร้านตอนนั้นก็คือผู้ที่มีอิทธิพลแห่งยุคทั้งนั้น เช่น Rousseau, Denis Diderot และ Voltaire เป็นทำให้คาเฟ่แห่งนี้ได้สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองขึ้นทำให้เป็นจุดเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมและการเมือง บางส่วนของปรัชญาที่ก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้นซึ่งจะเปลี่ยนประเทศชาติฝรั่งเศสไปให้ก้าวข้ามยุคเก่า แม้แต่อดีตประธานาธบดีอเมริกันเช่น Benjamin Franklin และ Thomas Jefferson ที่ใช้เวลาอยู่ในกรุงปารีสก็มีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยใช้เวทีที่เป็นร้านกาแฟร้านนี้มาแล้ว

City Break Paris Lunch Break Ep1 -12

ชื่อของร้านนี้ได้มาจากขื่อของผู้ก่อตั้งคือ Francesco Procopio dei Coltelli ชาวอิตาเลี่ยนจากซิซิลีที่ได้เครดิตว่าเป็นผู้คิดธุรกิจ เจลาโต้ ไอสครีมอิตาเลี่ยน ซึ่งก็ถือว่าเป็นผู้มีความสามารถมีปัญญาอยู่แล้วในการสร้างสรรค์ ยิ่งได้ทำเลร้านใกล้กับ Comédie-Française ซึ่งมักมีศิลปินและปัญญาชนมาชมละครที่นั่น

City Break Paris Lunch Break Ep1 -10

ทำให้ร้านกาแฟแห่งนี้กลายที่เป็นจุดนัดพบของปัญญาชนและผู้ที่มีชื่อเสียง ที่มาวิจารณ์หรืออภิปรายงานศิลปะ วรรณคดี ละครเวที และภาพยนตร์ รวมทั้งการเมืองทำให้ Café กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในการแลกเปลี่ยนข่าว ข่าวลือ และความคิด มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหนังสือพิมพ์ในวันนั้น และทำให้กิจการกาเฟ่ เริ่มเป็นที่นิยมต่อมา ในปี ค.ศ. 1723 มีร้านกาแฟ 323 แห่งในปารีส โดยในปี 1790 มีมากกว่า 1,800 และปัจจุบันเราเห็นมันได้ทุกหนแห่งในปารีส

แม้อายุกว่า 300 ปีร้านนี้ยังตั้งอยู่ที่เดิมในทุกวันนี้ มันได้รับการบูรณะอย่างมาก มีการออกแบบใหม่โดยพยายามฟื้นฟูสไตล์ศตวรรษที่ 18 ถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ของตกแต่งที่มีคุณค่าก็ยังถูกเก็บรักษาไว้ กำแพงสีแดงเข้มประดับด้วยภาพบุคคลในกรอบทองที่หรูหรา บอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์กรุงปารีส จากเพดานแขวนโคมไฟระย้าคริสตัลประณีตสว่างไสว ด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้มะฮอกกานี โล่ที่ระลึกถึงนักแสดงที่มีชื่อเสียงผู้เคยดื่มเหล้าหารือพูดคุย และมีการสร้างห้อง Private ที่แต่ละห้องมีการตั้งชื่อตามลูกค้ารายสำคัญ เช่น โชแปงและแฟรงคลิน ขอ งตกแต่งภายในมีความสอดคล้องกันตลอดทั้งสองชั้นและมักจะมีเสียงเพลงเบา ๆ ในพื้นหลังเพิ่มบรรยากาศโรแมนติกของปารีส

ที่อยู่ Café Procope, 13 Rue de l’Ancienne Comédie, 75006 Paris +33 01 40 46 79 00

2. Bistro
เกิดทีหลังกาเฟ่ แต่ก็มีที่มาตั้งแต่ปี 1812 คือช่วงพลิกผันของฝรั่งเศสหลังจากที่รุ่งเรืองสูงสุดโดยการนำของจักรพรรดินโปเลียนที่ยกทัพไปรบที่ไหน (Napoleonic Wars)ก็มักได้ชัยชนะทำให้เกิดกระแสการต่อต้านและเกิดการรวมกลุ่มอำนาจของประเทศต่างๆ เพื่อหยุดการรุกรานหรือลดความไม่มั่นคงของประเทศตัวเอง และเมื่อครั้งที่รัสเซียได้ดึงชาติต่างๆ มาเป็นพันธมิตรที่ประกอบด้วย รัสเซีย,ปรัสเซีย(ส่วนหนึ่งของเยอรมันในปัจจุบัน), อังกฤษ, สวีเดน, สเปน, โปตุเกต และ ออสเตรีย ก็ได้บุกไปฝรั่งเศสซะตอนที่กองทัพของนโปเลียนกำลังอ่อนแอในปี 1814 ซึ่งทำให้นโปเลียนแพ้สงคราม Battle of Paris ต่อพันธมิตรและเป็นเหตุให้นโปเลียนต้องถูกเนรเทศไปอยู่เกาะ Elba

City Break Paris Lunch Break Ep1 -11
ทหารรัสเซียบุกเข้าปารีสหลังจาก The Battle of Paris

CR: http://www.pravoslavie.ru/sas/image/101702/170222.b.jpg?0.64294786863029

ในช่วงสงครามเลิกนั้นทำให้ทหารรัสเซียเต็มเมืองปารีส บรรดาร้านอาหารเล็กๆ ในปารีสจึงมักได้ยินภาษารัสเซียคำนี้ “Bystro!Bystro!” เป็นการเรียกคนเสิร์ฟ มันมีความหมายว่า “Quick! Quick!” หรือ เร็วเข้าๆ ว่ากันว่าคำนี้แหละคือที่มาของคำว่า Bistro บิสโตร

City Break Paris Lunch Break Ep1 -7

Benoit: Classic Paris Bistro

โดยมีเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ที่จัตุรัส” Place du Terre ถือเป็นสถานที่กำเนิดของคำว่า “Bistro” ในภาษาฝรั่งเศส โดยจะมีป้ายสีขาวติดตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 6 ซึ่งก็คือที่ตั้งของร้าน Chez la mère Catherine Cafe โดยในวันที่ 30 มีนาคมปี 1814 พวกทหารรัสเซียมาตะโกนเป็นภาษารัสเซียว่า “Bystro Bystro” ที่ร้านนี้เพื่อให้พนักงานเสิร์ฟของร้านรีบเสิร์ฟเครื่องดื่มก่อนที่จะต้องเข้าร่วมกลุ่มกองทัพของพวกเขา

City Break Paris Lunch Break Ep1 -2

แต่นักประวัติศาสตร์บางคนก็บอกว่าไม่ใช่นะ มันมาจากคำว่า “bistrouille” ที่หมายถึงกาแฟผสมกับเหล้าที่กลั่นจากผลไม้ ที่เป็นภาษาทางเหนือของฝรั่งเศสต่างหากซึ่งมักจะหาดื่มกันในร้านอาหารเล็กๆ แบบ Bistro แต่ไม่ว่าใครจะถูกจะผิด ช่วงเวลาที่ Bistro เกิดขึ้นมันก็มาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสนั่นเอง คือในช่วงระหว่างปี 1800 ถึง 1900 ซึ่งเป็นยุคที่มีการสร้างทางรถไฟกันหลายเส้นทาง และแต่ละสายก็มุ่งสู่กรุงปารีส เพราะมีงานก่อสร้างพัฒนาเมืองหลวงต้องการคนงานมากมาย ทำให้มีการอพยพของแรงงานและคนจากต่างจังหวัดเข้ามา จนกระทั่งพลเมืองที่ปารีสเพิ่มจาก 5 แสนคนเป็น 2.5 ล้านคนในช่วงศตวรรษนี้ ทำให้ Bistro กลายมาเป็นร้านอาหารในแบบจานด่วนราคาไม่แพง

City Break Paris Lunch Break Ep1 -6

ร้านอาหารแบบ  Bouchonในเมืองลียง

และในบรรดาผู้ที่อพยพมาก็มีพวกที่มาจากทางใต้คือมาจาก Lyon, Perigord และ Auvergne ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทีมาบุกเบิกการทำร้านอาหารขนาดเล็กที่ปารีส เพราะที่เมืองเหล่านี้ที่พวกเขาอยู่กันมีร้านอาหารแบบโรงเตี๊ยมต่างจังหวัดที่อร่อยขึ้นชื่อมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะที่ Lyon นั้นจะมีร้านอาหารที่เสิร์ฟเฉพาะอาหารท้องถิ่นชาวลียง Lyonnais ที่เรียกว่าบูชชง bouchon และประสบการณ์การกินที่ร้านแบบนี้ไม่ได้อยู่ในอาหารอย่างเดียว แต่บรรยากาศที่สนุกสนาน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักรู้จักกันและมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้าของเพราะเป็นร้านในละแวกบ้าน

City Break Paris Lunch Break Ep1 -4

ดังนั้นผู้ประกอบการที่จับตลาดแรงงานอพยพนั้นก็รู้ดีว่าคนเหล่านี้ต้องการร้านอาหารแบบไหน พวกเขาจึงเข้ามาเปิดร้านอาหารท้องถิ่นแบบที่พวกเค้าคุ้นเคย คือมีราคาย่อมเยาว์แต่มีรสชาติที่ยอดเยี่ยมคุ้นลิ้นแบบฝีมือคุณแม่ ที่เรียบง่ายแต่ได้ใจ ปารีสจึงเริ่มมีร้านอาหารแบบ Neighborhood Restaurant หรือร้านในละแวกบ้าน ที่เรียกว่าBistro เกิดขึ้นทุกเขตทุกย่าน มันกลายมาเป็นที่พบปะเพื่อการคุยการกินของอร่อยคู่กับการดื่มไวน์ที่วนเวียนมากันได้บ่อยๆ เพราะราคากันเอง

แต่ในปัจจุบันนี้ Bistro มันกลายเป็นร้านอาหารชั้นเยี่ยมไปแล้วแม้ยังคงเน้นอาหารแบบ French Classic อยู่แต่เน้นการใช้ Chef ที่มีฝีมือ อุปกรณ์จาน ส้อม มีด ก็ลงทุนสูงออกแบบเฉพาะมีโลโก้ร้าน ราคาอาหารก็แพงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก หลายแห่งได้ดาวมิเชลแลง แถมจองโต๊ะยากมากครับ

ข้อแตกต่างระหว่างทั้ง 2 รูปแบบ
โดยสรุปก็คือ Parisian Café ส่วนใหญ่จะมี 2 ส่วน อาจมีส่วนที่เป็น Cafe ที่ใช้นั่งดื่มและใช้กับลักษณะเป็นการกินที่ไม่Formal เราสามารถสั่งแซนด์วิซหรืออาจเป็นพวก Tart หรือ croque monsieur โดยไม่ต้องย้ายที่ แต่ถ้าเราจะทานกลางวันแบบเป็นคอร์สที่ทางร้านจัดชุดเมนูเอาไว้ หรือเราอาจอยากกิน a la carte หรือแบบเลือกเองจัดชุดเองก็ต้องย้ายไปนั่งส่วนที่เป็น Dining Area หรือส่วนภัตตาคาร คืออาจจะกินแบบ Fast Food หรือนั่งดูเมนูแล้วน่าสนใจก็กินแบบเต็มชุดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าส่วน Café จะเปิดตลอดเวลา แต่ส่วน Dining Area อาจเปิดเป็นเวลา เช่น 11:30-14:30 สำหรับมื้อกลางวัน และ 18:30-10:30 สำหรับมื้อเย็น

แต่สำหรับ Bistro นั้น มันจะมีแต่ส่วนที่เป็นอาหารแบบภัตตาคารจริงๆ ไม่มีอาหารแบบ Fast Food พวก Sandwhiches คือต้องตั้งใจมากินแบบจริงจังและควรต้องจองมาก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้ผิดหวังเนื่องจาก Bistro มักเป็นร้านขนาดเล็กแบบคูหาเดียว ยิ่งร้านดังๆ อาจต้องจองล่วงหน้าเป็นเดือนครับ

ในตอนหน้าเราจะคุยต่อเรื่องอาหารกลางวันในปารีสกันครับ

City Break Paris Part XX

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 20

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 4

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 3

แล้วก็มาถึงการต่อเติมครั้งล่าสุดและอาจเป็นครั้งที่ยากที่สุดตั้งแต่มีการพัฒนาปรับปรุงมากว่า 700 ปีของ Lourve ก็คือในช่วงปี 1980 สมัยของประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ชื่อ François Mitterrand ซึ่งมีโครงการขยายและปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ที่เรียกว่า ‘Grand Louvre’ ตอนนั้น Louvre ซึ่งมีอายุหลายศตวรรษพยายามต่อสู้กับจำนวนผู้เข้าชมที่เพิ่มขึ้น ทางเข้ามีขนาดเล็กเกินไป แต่ละปีกมีทางเข้าที่แตกต่างกัน และเค้าโครงมีความสับสน ทำให้ผู้เข้าชมต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะหาทางเข้าหรือทางออก ประธานาธิบดี Mitterrand จึงเสนอให้ขยายพิพิธภัณฑ์โดยย้ายกระทรวงการคลัง ซึ่งครอบครองปีก Richelieu ของ Louvre ตั้งแต่ 1873 ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงย่านแบร์ซี่ Bercy และในที่สุดพิพิธภัณฑ์ลูฟว์สามารถครอบครองอาคารรูปตัว U ทั้งหมด

Miterrand ไม่ได้จัดให้มีการประกวดแบบแข่งขันโครงการ Grand Louvre แต่ได้แต่งตั้งสถาปนิกชาวจีนอเมริกันชื่อ Leoh Ming Pei เพื่อมาปรับปรุง Louvre และรวมทางเข้าด้านปีกอาคารที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เมื่อครั้งที่ Miterrand ไปอเมริกาได้มีโอกาสชมผลงานของ I.M Pei ที่พิพิธภัณฑ์ดังของอเมริกามาแล้ว

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre Leoh Ming Pei

Leoh Ming Pei สถาปนิกที่ไม่ใช่ชาวฝรั่งเศสคนแรก ที่เข้ามารับงานปรับปรุง Louvre

Pei เสนอให้ขุดใจกลางลานนโปเลียน (Cour Napoléon) และสร้างห้องโถงทางเข้าใต้ดินโดยทำห้องโถงนโปเลียน Hall Napoléon ที่สามารถเข้าถึงปีกอาคารและพื้นที่ทั้งสามตึกได้ รวมทั้งยังสามารถทำพื้นที่สำหรับร้านค้าร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งจะแก้ปัญหาหลักทุกอย่างของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าชม (Accessibility Problem)

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 1

สำหรับโจทย์ที่ยากที่สุดก็คือตรง Main Entrance ที่จะมีการลงสู่ระดับใต้ดิน Pei ไม่ต้องการให้มันแค่เหมือนกับการลงไปสถานีรถไฟใต้ดินเท่านั้น มันต้องมี Impact และมี Wow factor ที่ต้องฮือฮาด้วย เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมเข้าสู่ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ แต่ครั้นจะทำให้กลมกลืนกับอาคารซึ่งเก่าหลายศตวรรษ เพราะการสร้างของเก่าในยุคสมัยใหม่มันก็เหมือนไปซื้อของ Antiqueแต่ไม่ได้ของเก่าจริงๆ แต่เป็นของ Reproduction ที่เลียนแบบ และกับโจทย์ข้อที่ว่าให้ Modernize Louvre Museum นั้นก็ต้องตอบให้ได้ด้วย คือ Modernize แล้วต้องมี Link หรือ Connection กับ Louvreและฝรั่งเศสให้ได้

Pei จึงได้ศึกษาผลงานของ André Le Nôtre นักออกแบบภูมิทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามรูปแบบทางเรขาคณิตอย่างเคร่งครัด Le Nôtre คือผู้ที่ออกแบบสวนแวร์ซายและสวนตูเลอรีใกล้ๆ กับลูฟว์ หากดูภาพ 2 ภาพด้านล่างจะเป็นงานแบบแปลนของ เลอโนตร์ ที่เน้นรูปทรงเรขาคณิตอย่างชัดเจน รูปแรกเป็นแบบพิมพ์เขียวของสวนแวร์ซายและอีกรูปเป็นแบบพิมพ์เขียวของสวนตูเลอรี (Le Nôtre ‘symmetrical style of the French Formal Garden)

Versailles Garden Plan, Plan du Jardin desTuileries

Pei จึงเลือกที่จะสร้างรูปทรงปิรามิดซึ่งจะเป็นจุดเด่นที่โผล่ขึ้นมากลางลาน เขาเลือกใช้กระจกหุ้มโครงสร้างทั้งหมดเพื่อต้องการให้มีแสงธรรมชาติส่องเข้าห้องโถงใต้ดินด้านล่างได้ และไม่สร้างความอึดอัดเหมือนลงไปในสถานีรถไฟใต้ดิน
แต่ทันทีที่มีข่าวแพร่กระจายออกไปว่าจะมีปิรามิดแก้วเกิดขึ้นตรงลานหน้าลูฟว์ ก็เกิดกระแสต่อต้านวิจารณ์จากชาวปารีสเกินกว่าครึ่งโดยเฉพาะพวกอนุรักษ์นิยม เช่นเดียวกับที่มีกรณีทำนองนี้เกิดขึ้นเมื่อตอนสร้างหอไอเฟิล Pompidu Centerประตูลาเดฟองซ์ที่เป็นประตูชัยสมัยใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 หรือแม้แต่อาคาร Montparnasse Tower ที่มีความสมัยใหม่ และยังประณามประธานาธิบดี François Mitterrand ว่าไปเลือก Pei ซึ่งไม่ใช่คนฝรั่งเศส มีความคิดที่ไม่สามารถเข้าถึงศิลปะแบบฝรั่งเศสได้

อย่างไรก็ตามไม่นานหลังจากการเปิดอย่างเป็นทางการของปิรามิดแก้วในเดือนมีนาคมปี 1989 เสียงค้านก็ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และปิรามิด Louvre กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ทันสมัยที่ชาวปารีสรักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 6

ปิรามิดแก้วมีความสูงประมาณ 22 เมตร (72 ฟุต) และอยู่ห่างจากฐานเพียง 35 เมตร (116 ฟุต) ล้อมรอบด้วยปิรามิดเล็กๆ สามแห่ง มีสระน้ำล้อมรอบ และน้ำพุที่ทันสมัย ซึ่งสระน้ำจะทำหน้าที่สะท้อนเป็นเงาของรูปปิรามิดออกมาเป็นปิรามิดกลับหัวดูคล้ายกับทรงข้าวหลามตัดหรือเพชร

ในการออกแบบ Pei มีความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ปิรามิดโปร่งใสที่สุด กรอบรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัดแบบDiamond Shape 675 รูป และกรอบรูปสามเหลี่ยม 118 รูปถูกออกแบบมาเพื่อให้ขนาดพอเหมาะ มีเหล็กเส้น 128 เส้นและสายสลิง 16 สายที่ยึดบานหน้าต่างด้วยกัน Pei นำเทคโนโลยีจากเรือยอชท์ไฮเทคมาใช้เพื่อให้ดูล้ำสมัย มีเรื่องพูดกันตอนที่มีกระแสต่อต้านปิรามิดแก้วนี้จากพวกอนุรักษ์นิยม บอกว่ากรอบรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัดแบบ Diamond Shape นั้นมีจำนวน 666 รูปซึ่งเป็นเลขของซาตาน ตามคริสต์ศาสนาทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมีมีจำนวน 675 รูป

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 2

ในการปรับปรุงLouvre Phase 2 ปี 1993 มีการขยายพื้นที่ใต้ดินไปสู่การเป็นห้างสรรพสินค้าทันสมัยที่เรียกว่า Carrousel du Louvre การออกแบบก็ยึดแนวเดิมคือต้องการให้มีแสงธรรมชาติเข้าถึงมากที่สุด มันเลยออกมาเหมือนการปักหมุดด้วยปิรามิดแก้วกลับหัวซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Pyramide Inversée (Inverted Pyramid) ซึ่งปิรามิดแก้วนั้นได้เป็นสัญลักษณ์ของ Louvre อยู่แล้วไม่แน่ใจว่าได้แนวคิดมาจากเงาของปิรามิดแก้วที่สะท้อนลงน้ำเกิดเป็นปิรามิดกลับหัวเหมือนภาพด้านบนหรือเปล่า

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 7

Inverted Pyramid

แน่นอนว่าปิรามิดกลับหัวได้รับการออกแบบโดย บริษัท สถาปัตยกรรมอเมริกันเจ้าเก่า คือ Pei Cobb Freed & Partners ซึ่งเป็นผู้สร้างปิรามิดแก้วเดิม และที่จุดจบของปิรามิดแก้วกลับหัว ยังมีปิรามิดหินที่โผล่มาจากพื้นซึ่งมีนัยยะหลายแง่มุม แม้แต่ Dan Brown ยังเอาไปใช้เป็นบทสรุปของหนังสือชื่อดัง The Da Vinci Code

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 4

ภาพบนคือปิรามิดแก้วของ Louvre ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1980 เป็นทางเข้าหลักของ Louvre Museum โครงสร้างกระจกอันทันสมัยซึ่งสร้างความ Contrast แตกต่างอย่างดีกับอาคารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ในขณะที่ตัวปิรามิดแก้วเองก็ได้กลายเป็น Landmark อีกแห่งของปารีสด้วยตัวของมันเอง

City Break Paris Louvre Museum Grand Louvre 5

ประตูทางเข้าใต้ดินไปยังโถงนโปเลียน Louvre Hall Napoléon

เป็นอันว่าการต่อเติมครั้งล่าสุดของ Louvre ก็จบไปอย่างอลังการ ปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์ลูฟว์เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีกว่า 70,000 ชิ้นงานศิลปะกระจายทั่วพื้นที่ 652,300 ตารางฟุตซึ่งเป็นพื้นที่เกือบ 15 เอเคอร์ และมีผู้เข้าชมมากที่สุดโดยเฉลี่ย 8.8 ล้านคนต่อปี โดยในแต่ละวัน Louvre ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 15,000 คนต่อวัน และ70% เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีการจ้างคนกว่า 2,000 คนทำการดูแลรักษาและบริหารพิพิธภัณฑ์และงานศิลปะ

หลังจากการเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสเป็นเวลากว่า 600 ปี และยังเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งตลอดจนอำนาจของฝรั่งเศสในยุคการล่าอาณานิคม และการขยายอาณาเขตซึ่งทำให้ได้ของมีค่ามากมายมาสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งนี้

ถ้าต้องการดูทุกอย่างในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์โดยใช้เวลาหยุดดู 30 วินาทีต่อชิ้นตลอดวันโดยไม่หยุดพัก จะต้องใช้เวลา 100 วัน จึงจะได้ดูครบทุกชิ้น!

แกลเลอรี่ที่มีกว่า 70,000 ชิ้นงานศิลปะนั้น เป็นภาพวาดประมาณ 7,500 ภาพ และ66% ของภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส และยังมีคอลเลคชั่นอียิปต์โบราณมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
แกลเลอรี่ยังแบ่งออกเป็น 8 แผนก:
•โบราณวัตถุตะวันออก
•โบราณวัตถุอียิปต์
•โบราณวัตถุกรีก, อิทรูเรียและโรมัน
•ศิลปะอิสลาม
•ประติมากรรม
•ศิลปะการตกแต่ง
•ภาพวาด
•ภาพพิมพ์และภาพวาด

ก่อนจบเรื่องราวความเป็นมาของ Louvre ในครั้งนี้ ต้องขอพูดถึง Louvre แห่งที่ 2 ที่ อาบูดาบี Abu Dhabi สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก่อตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลปารีสกับอาบูดาบีเมื่อปี 2007 แต่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้เอง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการนำเสนองานสถาปัตยกรรมที่ไม่น้อยหน้าของที่ Paris

Louvre Abu Dhabi 1

ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจแบบ Franchises นั้นมันมาใช้ในงาน G to G ก็ได้ เพราะงานนี้รัฐบาลฝรั่งเศสได้เงินถึง 399 ล้านยูโรจากรัฐบาลอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับลิขสิทธิ์การใช้ชื่อ “Louvre” เป็นเวลา 30 ปี เห็นหรือยังครับว่าชื่อ Louvre นั้นมีความขลังขนาดไหน แต่ก็ไม่ใช่ได้มาแค่ชื่อ ยังถือเป็นที่ปรึกษาในการจัดแสดงและการนำชิ้นงานศิลปะจาก Louvre Paris มาโชว์ในลักษณะยืมมา Exhibit เป็นครั้งคราวอีกด้วย ซึ่งทางลูฟว์อาบูดาบี คาดหวังจะสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของโลกในอนาคต

Louvre Abu Dhabi

พิพิธภัณฑ์ลูฟว์แห่งที่สอง หรือ พิพิธภัณฑ์ลูฟว์อาบูดาบี ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สากลแห่งแรกในโลกอาหรับ มีเนื้อที่ 24,000 ตารางเมตร (260,000 ตารางฟุต) ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะขนาดใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอาหรับ ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังชาวฝรั่งเศส ฌอง นูเวล (Jean Nouvel) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานสถาปัตยกรรมอันรุ่งโรจน์ของอารยธรรมอาหรับ และจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบโดมของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นลักษณะรังผึ้งแปดชั้นรูปทรงเรขาคณิตแบบอาหรับ มีน้ำหนักมากถึง 7,500 ตันซึ่งเท่ากับหอไอเฟล โดมสีเงินสะท้อนวัฒนธรรมและศิลปะแบบตะวันออกกลาง ความพิเศษอยู่ที่หลังคาจะสะท้อนแสงระยิบระยับเมื่อแสงแดดสาดส่องลงมา ทั้งยังช่วยลดความร้อนภายในได้อีกด้วย

มันใช้เวลาก่อสร้างนานร่วม 10 ปี โดยโครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2007 ฝ่าฟันทั้งมรสุมของราคาน้ำมันที่ลดลงและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้จากเดิมที่ตั้งงบประมาณไว้ที่ 340 ล้านปอนด์ หรือราว 14,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2012 แปรสภาพเป็นโครงการมูลค่า 1 พันล้านปอนด์ หรือราว 43,500 ล้านบาท

Louvre Abu Dhabi 3

ภายในลูฟว์อาบูดาบี บรรจุชิ้นงานทางศิลปะกว่า 600 ชิ้น เป็นงานศิลปะที่นี่ และอีก 300 ผลงานที่ยืมมาบางส่วนจากลูฟว์ และจาก 13 สถาบันชั้นนำของฝรั่งเศสจาก 23 แกลเลอรี่ เช่น Paul Gauguin, Vincent Van Gogh, Pablo Picasso มีทั้งงานศิลปะ จิตรกรรม ประติมากรรม งานประดิษฐ์ล้ำค่ารวมทั้งศิลปินชาวอเมริกันอย่าง เจมส์ แอบบ็อตต์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ รวมไปถึงผลงานของศิลปินจีนอย่าง อ้ายเหว่ยเหว่ย อีกต่างหาก

Louvre Abu Dhabi 2

ทางพิพิธภัณฑ์หวังว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จากทั่วโลก เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนกรุงอาบูดาบีกันมากขึ้น หลังจากเมื่อปีที่แล้วเมืองหลวงของยูเออีแห่งนี้มียอดนักท่องเที่ยวไปเยือนเพียง 4.4 ล้านคน ในพิธีเปิดตัว ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ‘เป็นเสมือนสะพานเชื่อมอารยธรรม’

 

โปรดติดตามตอนจบของ Louvre ในหัวข้อเรื่อง “มา Louvre แล้วต้องดูอะไร?” ในตอนหน้า

City Break Paris Part XIX

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 19

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 3
การปรับเปลี่ยนของ Louvre จากการเป็นพระราชวังมาเป็นพิพิธภัณฑ์

กลับมาพูดเรื่อง Louvre จริงๆ แล้วในช่วงที่มีการย้ายเมืองหลวงไปแวร์ซายส์ในช่วง 3 รัชสมัยนั้น ได้มีความคิดจากราชสำนักจะนำเอาวัง Louvre ไปทำประโยชน์ เช่น การทำเป็นหอศิลป์ นำโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้นำภาพศิลปะที่พระองศ์สะสมจากวังลุกซอมบูรก์ The Luxembourg Palace โดยมีผลงานสุดยอดจากศิลปินชั้นนำ

เช่น Andrea del Sarto, Raphael, Titian, Veronese, Rembrandt, Poussin มีการเปิดให้สาธารณะชนชมอาทิตย์ละ 2 วัน ทำให้ในรัชสมัยของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีนโยบายที่จะทำ Louvre ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเหตุการณ์บ้านเมืองไม่อำนวย จนกระทั่งมาถึงยุคปฏิวัติก็มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ Louvre เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปี ค.ศ 1793 โดยมีภาพวาดชั้นนำ 537 ชิ้น และศิลปวัตถุอื่นๆ อีก 184 ชิ้น โดย 3 ใน 4 ของทั้งหมดมาจากราชสำนัก

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -8

ภาพวาดในปี 1810 ของ  Louis Léopold Boilly (1761–1845 Paris) ชื่อ The Public Viewing David’s “Coronation” at the Louvre ซึ่งเป็นภาพสาธารณะชนไปชมภาพราชาภิเษกของนโปเลียน Coronation of the Emperor ที่ Louvre ซึ่งวาดโดย Jacques Louise David ศิลปินประจำพระองค์ของนโปเลียน

หลังจากการสลายตัวของการปฏิวัติ เมื่อถึงยุคของ จักรพรรดินาโปเลองโบนาปารด์ หรือ นโปเลียนที่ 1 เข้ามามีอำนาจ ท่านได้เปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเอง โดยใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์นโปเลียน “Museum Napoleon” ในปี ค.ศ. 1803

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -4

Napoléon on the Battlefield of Eylau เป็นภาพสีน้ำมันวาดในปี 1808 โดย Antoine-Jean Gros. บรรยายเหตุการณ์หลังการสู้รบที่ ไอลอ โดยในครั้งนั้นกองทัพใหญ่ของนโปเลียนโบนาปาร์ต (Grande Armée )สามารถเอาชนะกองทัพรัสเซียได้ ภาพนี้อยู่ที่ Louvre ในยุคปัจจุบัน เป็นภาพในสไตล์ที่เรียกว่า French Romanticism

เนื่องจากศิลปวัตถุส่วนใหญ่ได้มาจากชัยชนะในสงครามต่างๆ เรียกว่าพิพิธภัณฑ์นั้นล้นไปกับงานศิลป์ที่กองทัพใหญ่ของนโปเลียนโบนาปาร์ต (Grande Armée) ไปกวาดมาจากทั้งทวีปยุโรปรวมทั้งแอฟริกาตอนเหนือโดยเฉพาะประเทศอียิปต์

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -1

ภาพวาดงานแต่งงานครั้งที่ 2 ของนโปเลียนกับมารีหลุยส์ ที่ Louvre โดยศิลปินชื่อ Corbis จะเห็นว่าตอนนั้น Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เต็มรูปแบบแล้ว

หลังจากที่ลูฟว์ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ และได้ทำการอนุรักษ์และนำเสนอผลงานศิลปะนับพันๆ ชิ้น รวมทั้งมรดกของอารยธรรมในอดีต ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จักรพรรดิได้เปลี่ยนการตกแต่งภายใน และยังได้สร้างประตูชัยที่ยิ่งใหญ่ 2 แห่ง เนื่องจากท่านถือว่าท่านเป็นจักรพรรดิเฉกเช่นจักรพรรดิโรมันแห่งโรมที่มีประเพณีตัดไม้ข่มนาม ด้วยการนำกองทัพเดินลอดประตูชัยเอาฤกษ์เอาชัยก่อน ทำให้ทหารมีกำลังใจและฮึกเหิมและดูเหมือนว่าจะได้ผลดี เพราะกองทัพใหญ่ของนโปเลียนโบนาปาร์ตนั้นแทบจะไม่เคยปราชัยจากการสู้รบ 60 สงคราม นโปเลียนแพ้เพียง 8 ครั้ง ส่วนใหญ่ก็เป็นสงครามหลังจากที่ไม่สามารถบุกยึดรัสเซียได้ก็ไม่ค่อยได้ชนะอีกจนแพ้ครั้งสุดท้ายที่ Waterloo เมื่อปี 1815

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -9

ภาพทหารของนโปเลียนสวนสนามลอดประตูชัย  Carrousel หน้าวัง Tuileries วาดโดย Hippolyte Bellangé ในปี 1810

ทั้งนี้ นโปเลียนได้สร้างประตูชัยเล็กที่ชื่อการ์รูเซล Arc de Triomphe du Carrousel อยู่ใกล้กับพระราชวัง Tuileries ตรงจุดที่เรียกว่า Place du Carrousel มันถูกสร้างขึ้นระหว่างปี 1806 และ1808 เพื่อรำลึกถึงชัยชนะทางทหารของนโปเลียนเมื่อปีก่อนๆ เช่น ชัยชนะที่ออสเตรียและเพื่อเป็นเกียรติกองทัพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -7

Arc du Carrousel หรือประตูชัยเล็กนี้ สร้างขึ้นตรงพื้นที่ระหว่าง Louvre และ Palais de Tuileries

มันมี 3 ซุ้มประตู ซึ่งก็ได้ต้นแบบมาจากประตูชัยคอนสแตนตินและประตูชัยเซปติมุส ( Arch of Constantine, Arch of Septimius Severus) ในกรุงโรม ออกแบบโดย Charles Percier และ Pierre François Léonard Fontaine มีจุดเด่นอยู่ที่เสาโครินธ์ทั้ง 8 ต้น ทำจากหินอ่อนสีชมพู และรูปปั้นด้านบนของซุ้มประตูเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่เรียกว่า “Triumphal Quadriga” เป็นชุดรถม้าโรมัน Chariot ทองสัมฤทธิ์เทียมม้า 4 ตัวที่นโปเลียนนำมาจากจัตุรัสเซนต์มาร์กในเวนิส โดยตั้งใจจะทำรูปปั้นนโปเลียนเป็นผู้ทรงรถม้าแต่ในที่สุดรูปปั้นทั้งหมดก็ถูกส่งกลับไปยังเมืองเวนิสหลังจากการล่มสลายของ นโปเลียนที่ Waterloo แต่ก็ทำแทนที่ด้วยชุดรถม้าที่สร้างโดย François Joseph Bosio ในปี 1828

ในขณะที่ประตูชัยใหญ่ หรือ ประตูชัยนโปเลียน Arc de Triomphe de l’Étoile ที่อยู่ปลายสุดของถนน Champs Élysées ก็เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์โครินธ์ และได้รับการออกแบบในปีเดียวกัน แต่มันใหญ่กว่าประตูการ์รูเซลถึงสองเท่า ทำให้ยังไม่แล้วเสร็จจนถึงปี 1836 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ – ฟิลิปป์

สำหรับ Arc de Triomphe de l’Étoile นั้นถูกสลักด้วยชื่อแม่ทัพนายพลของนโปเลียน และชื่อสงครามที่นโปเลียนชนะ มันออกแบบโดย Jean Chalgrin มีต้นแบบเป็นประตูชัยติตัส Arch of Titus ในกรุงโรมแต่ Arc de Triomphe ที่ปารีสสูงกว่ามาก (50 เมตรเทียบกับ 15 เมตร) แต่ก็มีความสมมาตรและมีสัดส่วนที่เท่ากัน

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -11

ประตูชัยประดับประดาเป็นปูนปั้นมีมิติที่ส่วนใหญ่เป็นที่ระลึกถึงการสู้รบของจักรพรรดินโปเลียน เช่น การต่อสู้ที่ Aboukir หรือชัยชนะของนโปเลียนเหนือตุรกีและการต่อสู้ Austerliz ที่นโปเลียนชนะออสเตรีย ด้านล่างซุ้มประตูเป็นหลุมฝังศพของทหารนิรนามซึ่งเป็นอาสาสมัครหลายคนที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สาเหตุที่ประตูชัยนี้เรียกว่า Arc de Triomphe de l’Étoile ที่หมายถึงประตูชัยแห่งดาว (l’Étoile) นั้นก็เพราะประตูชัยนี้ตั้งอยู่ที่จัตุรัสดาว หรือ Place de l’Étoile (ชื่อเป็นทางการปัจจุบันคือ Place Charles de Gaulle) เป็นวงเวียนซึ่งมีถนน 12 สายวิ่งเข้าสู่วงเวียนนี้ มองจากด้านบนจะเหมือนดาวกระจายนั่นเอง

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -6

เราสามารถขึ้นไปดูวิวกรุงปารีสจากดาดฟ้าของประตูชัยนโปเลียนนี้ ซึ่งเราสามารถมองเห็นวิวของ La Defense, Champs-Elysées และSacré-Coeur แต่ควรใช้อุโมงค์ลอดใต้วงเวียนไปโผล่ที่ประตูชัยอย่าข้ามถนนเด็ดขาดมันอันตรายมาก แต่อย่าคิดว่าได้ขึ้นลิฟท์ไปดาดฟ้านะครับคุณต้องปีนบันได 234 ขั้นเพื่อแลกกับวิวสวยๆ

เมื่อตอนที่ประตูชัยทั้ง 2 แห่งสร้างเสร็จนั้น เราจะเห็นว่ามันมีพระราชวัง Tuileries บังหรือกั้นประตูทั้ง 2 อยู่แบบภาพด้านล่างนี้ครับ

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -2

ในขณะที่ปัจจุบันนี้กลับเปิดโล่งก็เพราะต่อมาในปี 1871 พระราชวัง Tuilerie ก็ถูกวางเพลิงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิปป์ โดยพวกปฏิวัติหลังจากการที่ท่านไปแพ้สงครามกับปรัสเซียและซากอาคารก็ถูกทุบทิ้งโดยไม่มีการบูรณะใหม่

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -12

ในภาพด้านบนจะเห็นส่วน (อาคารที่เป็นสีแดง)ที่เคยเป็นพระราชวัง Tuilerie ที่ถูกไฟไหม้ไปแต่ไม่มีการบูรณะ จึงทำให้ (ดูภาพด้านล่าง)ทิศตะวันตกของ Louvre เปิดโล่งไปหาสวน Tuilerie และได้ทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองปารีส

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -3

ซึ่งในยุคของประธานาธิบดี Charles de Gaulle เคยพยายามจะหาทุนสร้างอาคารส่วนนี้ขึ้นมาใหม่เพราะมีแบบของเดิมอยู่แต่แล้วจนถึงวันนี้ก็ไม่มีการสร้างใหม่เพราะใช้ทุนสูงมาก

ดังนั้น Louvre ด้านทิศตะวันตกนี้จึงเปิดโล่งต่อเนื่องกับสวน Tuilerie มองเห็นจัตุรัสกองกอร์และ ต้นถนนชองเซลิเซ ตลอดไปจนถึงประตูชัยนโปเลียน เป็นมุมมองที่สวยงามมากที่หันหน้าไปทางตะวันตกของกรุงปารีส มันถูกเรียกว่าแกนประวัติศาสตร์ของปารีส Paris Axe historique (“historic axis”) ยาว 9 กิโลเมตรเป็นเส้นตรงวัดจากประตูชัยเล็กหรือประตูชัย Carrousel

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -5

โดยถ้าเราไปยืนใต้ซุ้มประตูชัย Carrousel และมองไปจะเห็น Landmarks ของกรุงปารีสที่สำคัญเป็นเส้นตรง ตั้งแต่จัตุรัสคองคอรด์ที่มีเสาโอเบลิกซ์ยอดแหลม,ประตูชัยนโปเลียน,ไปสิ้นสุดที่ประตูลาเดฟองซ์ที่เป็นประตูชัยสมัยใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 สร้างในยุคของประธานาธิบดีฝรั่งเศสฟรองซัวร์มิเตอรงด์ โดยรำลึกถึง 200 ปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส 14 กรกฏาคม 1989

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -10

ในรูปทรงลูกบาศก์และมีความสูง 110 เมตร Arch ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองอุดมคติด้านมนุษยธรรมมากกว่าชัยชนะทางทหารใดๆ มันทันสมัยมากและค่อนข้างตรงกันข้ามกับความ “เก่า” ของปารีส ทำให้มีทั้งคนรักและเกลียดมัน ผู้ออกแบบเป็นชาวเดนมาร์กชื่อ Otto von Spreckelsen

City Break Paris Louvre Museum ตอน 3 -13

กลับมาเรื่อง Louvre ซึ่งในที่สุดก็มีการปรับปรุงต่อเติมในส่วนอาคารครั้งใหญ่อีกครั้งในยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งทำให้กลุ่มอาคารครบถ้วนเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้าง ปีก Denon ทางด้านแม่น้ำเซน และ ปีก Richelieu Wing บนถนน Rivori (ดูจากภาพด้านบนก็คืออาคารส่วนที่มี color code เป็นสีส้ม) เพื่อให้ส่วนหนึ่งใช้เป็น พระราชวังของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 Napoleon III ด้วยซึ่งถือเป็น State Apartment ที่ Louvre ซึ่งภายหลังต่อมาก็เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ชม ห้องพักแสดงถึงพลังและความมั่งคั่งของรัฐฝรั่งเศสในเวลานั้น

กลับมาติดตามเรื่องราวของการต่อเติมครั้งสุดท้ายล่าสุด และอาจเป็นครั้งที่ยากที่สุดตั้งแต่มีการพัฒนาปรับปรุงมากว่า 700 ปี ของ Louvre ในตอนต่อไปครับ

City Break Paris Part XVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 18
เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 2
การปรับเปลี่ยนของ Louvre ในศตวรรษที่17-18

กลับมาเรื่องพระราชวังลูฟว์กันต่อครับ สำหรับเรื่องการต่อเติมที่เป็นเรื่องราวหลังจากสมัยพระเจ้าอองรีที่ 4 ก็มามีในสมัยเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ที่ทำลายกำแพงด้านเหนือของปราสาท (ในปี 1624) เพื่อหาวิธีที่จะทำให้ลูฟว์ไม่ใช่ลูกผสมคือเป็นทั้งสถาปัตยกรรมแบบยุคกลางและยุคเรเนอซองส์ปนกันอยู่ เพราะ Lescot Wing ที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นเรเนอซองส์ไปแล้ว ดังนั้นแนวคิดของสถาปนิกคนใหม่ Jacques Lemercier ก็คือการทำเลียนแบบปีกเลส์โกต์นี้ทางเหนือด้วย จึงมี Lemercier Wing (1636) เกิดขึ้น และสร้าง Pavilion หรือมุขระหว่างสองปีกคือ Pavillon de l’Horloge แต่ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Pavillon de Sully

City Break Paris Louvre 3

ภาพลานจัตุรัสของ Louvre ด้านใน หรือ Cour Carrée (ไม่ใช่ลานนโปเลียนซึ่งปัจจุบันมีปิรามิดแก้วตั้งอยู่) จะเห็นปีกเลสโก้ Lescot Wing ที่อยู่ด้านซ้าย โดยมีหน้ามุขนาฬิกา Pavillon de l’Horloge และมีปีกเลแมซิเอ Lemercier Wing อยู่ด้านขวา ที่สร้างcopyให้เข้ากับปีกเลสโก้

จากนั้นก็มาถึงยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ในปี ค.ศ. 1659 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ภายใต้สถาปนิก Louis Le Vau และจิตรกร Charles Le Brun (ผู้ซึ่งเป็น 2 ใน 3 ประสานของโครงการพระราชวังแวร์ซายย์ ประกอบด้วย Louis Le Vau ออกแบบพระราชวัง, Charles Le Brun ออกแบบงานศิลปะ เช่น ประติมากรรมรูปปั้นรวมทั้งงานภาพวาด และ André Le Nôtre ออกแบบภูมิทัศน์ ซึ่งทั้งหมดจะมีการพูดถึงเมื่อเราไปเที่ยวพระราชวังแวร์ซายย์) มีการทุบกำแพงทางทิศเหนือและทิศตะวันออกที่เป็นส่วนของ Louvre ยุคกลางออกไป แต่แม้ว่ากำแพงถูกทลายไปแต่โครงสร้างคือฐานของกำแพงก็ยังอยู่มีซากให้เห็นในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ในปัจจุบันดูจากรูปด้านล่าง

City Break Paris Louvre 2

จากนั้น มีการดูแลปรับปรุงและความสมบูรณ์ของพระราชวัง Tuileries และได้มีการก่อสร้างปีกอาคารให้ล้อมรอบตรงลานจัตุรัสหรือ Cour Carrée ให้ครบทั้ง 4 ด้านจากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ปีกเลสโก้ Lescot และมีปีกเลแมซิเอเท่านั้น โดยการสร้างปีกทางทิศเหนือและเพิ่มความยาวของปีกใต้เป็นสองเท่ามีการสร้างมุขกษัตริย์ Pavillon du Roi และสร้างแกรนด์ Cabinet du Roi (หอศิลป์คู่ขนานกับ Petite Galerie) รวมทั้งโบสถ์ เลอบูร์น และการตกแต่ง Galerie d’Apollon

City Break Paris Louvre 10

ภาพด้านบนจะเห็น square court หรือ Cour Carrée ที่มีกลุ่มอาคารล้อมรอบทั้ง 4 ด้านครบแล้ว แต่ในภาพจะเห็นว่าส่วนหลังคาของตึกที่ถูกต่อเติมใหม่นั้นยังถูกทิ้งค้างไว้ และมาเสร็จในช่วงของจักรพรรดินโปเลียน เนื่องจากเจ้าหลุยส์ที่ 14 กำลังจะย้ายไปที่พระราชวังแวร์ซายย์ ทำให้มุ่งไปสนพระทัยพระราชวังใหม่ ซึ่งทำให้งานของลูฟว์ไม่เดินหน้าจนในที่สุดก็ถูกทอดทิ้งไปอีก 2 รัชสมัยคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15และ16

Cabinet du Roi ประกอบด้วยห้องพัก 7 ห้องทางด้านตะวันตกของ Galerie d’Apollon ที่ชั้นบนของ Petite Galerie ที่ได้รับการออกแบบใหม่ ภาพวาดของกษัตริย์หลายพระองค์ถูกประดับไว้ในห้องเหล่านี้ในปี ค.ศ. 1673 และกลายเป็นแกลเลอรีศิลปะย่อมๆที่เปิดให้สำหรับคนรักศิลปะสามารถเข้าถึงได้ ที่สำคัญมีหลักฐานระบุไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสว่าห้องแกลเลอรี่นี้ได้เคยแสดงให้ทูตจากสยามได้เข้าชมใน ปี ค.ศ.1686

City Break Paris Louvre 5

ปีกด้านตะวันออกของ Louvre (1665-80) ซึ่งมีรูปแบบด้านหน้าอาคารที่คลาสสิก และมีอิทธิพลต่อการออกแบบอาคารต่างๆ ในหลายประเทศทางซีกโลกตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป ข้างหน้าอาคารคือลาน Claude Perrault’s Colonnade ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้รับผิดชอบอาคารด้านตะวันออกนี้

สำหรับปีกอาคารด้านตะวันออกนั้นรับผิดชอบโดย Claude Perrault หลังจากที่มีความพยายามจะให้ปรมาจารย์ศิลปะสไตล์บาร็อค ที่ชื่อ Gian Lorenzo Bernini สถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อดังจากโรมแสดงฝีมือออกแบบซึ่งเขาก็เดินทางมาปารีสโดยเฉพาะเพื่องานนี้ แต่ปรากฎว่ารูปแบบโดนปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์เพราะรูปแบบมันได้อิทธิพลมาจากดีไซน์ของอิตาเลียนจนเกินไปไม่ใช่ฝรั่งเศส สถาปนิก Claude Perrault ก็จัดการดำเนินการต่อไปโดยใช้สไตล์บาร็อคแบบ Classic ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับว่ามีความคลาสสิกแบบฝรั่งเศส และมีอิทธิพลต่อการออกแบบอาคารต่างๆ ในหลายประเทศในยุโรปและอเมริกา

City Break Paris Louvre 9

ภาพบนนี้เป็นภาพลานจัตุรัสหรือ Cour Carrée ในปัจจุบันถ่ายจากจุดกึ่งกลางลานที่เป็นบ่อน้ำพุแทบไม่มีใครทราบว่าอาคารแต่ส่วนแต่ละปีกด้านหน้าด้านข้างนั้นสร้างกันคนละยุคสมัยแค่ดูกลมกลืนได้อย่างดี

นอกจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงให้ปรับเปลี่ยนสวนตุยเลอรี Tuileries ให้เป็นสวนแบบฝรั่งเศสหรือที่เรียกว่า Jardin à la Française หรือ The French Formal Garden เพราะในยุคของพระองค์ซึ่งมีฉายาว่า “สุริยะราชา” หรือ The Sun King นั้น ฝรั่งเศสถือเป็นประเทศมหาอำนาจมีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร จะต้องมีสไตล์ของฝรั่งเศสเอง

City Break Paris Louvre 11

ภาพแบบแปลนของสวนสวนตุยเลอรี Tuileries ที่เน้นรูปทรงเรขาคณิตและวางรูปแบบให้สมมาตรโดย เลอ โนตร์

เพราะก่อนหน้านั้นพระราชวังนี้มาพร้อมกับสวนในสไตล์อิตาเลียน Italian Renaissance Garden ตามคำสั่งของพระนางคัทรินเดอเมดิชี ที่ให้ใช้ นักออกแบบภูมิทัศน์ จากเมือง Florence ที่ชื่อ Bernard de Carnesse

City Break Paris Louvre 8
รูปปั้นที่สวนตุยเลอรี Tuileries ของ เลอ โนตร์ André Le Nôtre สถาปนิกภูมิทัศน์ ออกแบบสวนตุยเลอรีส์ในสไตล์ฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1564

จริงๆ แล้วสวนสไตล์ฝรั่งเศสก็มีวิวัฒนาการและได้แรงบันดาลใจจากสวนสไตล์เรอเนซองส์ของอิตาลีในตอนต้นของศตวรรษที่ 16 นั่นเอง ต้นแบบก็คือสวนสไตล์อิตาเลียนเรอเนซองส์ที่สวน Boboli ในเมืองฟลอเรนซ์และ Villa Medici in Fiesole มีลักษณะการวางแปลง parterres ไม้ดัดไม้ดอกที่เป็นเหมือนกำแพงมีเส้นขอบมุมตัดกันชัดเจน สร้างขึ้นในรูปทรงเรขาคณิตและวางรูปแบบให้สมมาตร มีการใช้น้ำพุและน้ำตกเพื่อให้มีชีวิตชีวาในสวน มีบันไดและทางลาดไล่ระดับต่างๆ ของสวน, มีถ้ำหรือgrottos, มีเขาวงกต และรูปปั้นประติมากรรม โดยสวนจะถูกออกแบบมาเพื่อแสดงถึงกลมกลืน และความเป็นระเบียบตามอุดมคติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพื่อระลึกถึงสวนโรมันต้นแบบในกรุงโรมเก่า

City Break Paris Louvre 6

แต่ในที่สุดสวนแบบฝรั่งเศสก็หาจุดยืนที่มีความแตกต่างจากสวนอิตาลี ทั้งในด้านรูปลักษณะและในด้านจิตวิญญาณ ส่วนผู้ที่เป็นต้นตำรับและถูกยกย่องว่าเป็นผู้ให้กำเนิด Jardin à la Française นั้น ก็คือนักออกแบบ ภูมิทัศน์ที่ชื่อเลอ โนตร์ André Le Nôtre นั่นเอง สวนที่เขาสร้างขึ้นได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่และความมีเหตุมีผลของฝรั่งเศสทำให้กลายเป็นสวนสไตล์ยุโรป จนกระทั่งถึงในศตวรรษที่ 18 English Garden หรือสวนภูมิทัศน์แบบอังกฤษจึงมาเป็นที่นิยมแทน

City Break Paris Louvre 1

ภาพบนเป็นผลงานชิ้นแรกๆ ที่สร้างชื่อให้กับ André Le Nôtre (1613-1700) ซึ่งเป็นนักออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสวนฝรั่งเศส มันคือผลงานการออกแบบสวนในปี 1656 ที่ปราสาท โวเลอวีกงต์ Vaux-le-Vicomte ของ นิโกลา ฟูเกต์ Nicolas Fouquet ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ดูแลท้องพระคลัง (เทียบเท่ารัฐมนตรีกระทรวงการคลัง) ให้พระเจ้าหลุยศ์ที่ 14

อย่างไรก็ตามการทำงานการปรับเปลี่ยนในช่วงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นค่อนข้างล่าช้า เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องกว้านซื้อที่ดินและบ้านบริเวณนั้น ถ้าดูจากรูปภาพวาดขาวดำด้านบนจะเห็นว่าบริเวณรอบๆ Louvre นั้นค่อนข้างแออัดแม้แต่ในลานจัตุรัสก็ยังมีบ้านคนปลูกอยู่ซึ่งต้องมีการซื้อที่เวรคืน ยิ่งไปกว่านั้นช่วงปี ค.ศ. 1674 พระเจ้าหลุยส์กำลังจะย้ายไปที่พระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้มุ่งไปสนพระทัยพระราชวังใหม่ซึ่งทำให้งานของลูฟว์ไม่เดินหน้า

จนในที่สุดโครงการ Louvre ก็ถูกทอดทิ้งไปอีก 2 รัชสมัยคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ16 ซึ่งก็ทรงประทับที่แวร์ซายส์จนมีเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส และในวันที่ 6 ตุลาคมปี ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่16 และพระบรมวงศานุวงศ์ถูกเชิญให้กลับมาอยู่ปารีสใกล้กับประชาชนที่พระราชวังตุยเลอรี Tuileries เนื่องจากประชาชนชาวปารีสเดือดร้อนเศรษฐกิจย่ำแย่ แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่ได้ดีขึ้น เพราะกองทัพของพระองค์ก็พยายามจัดการให้พระองค์และคณะหลบหนี จากปารีสไปที่ Montmédy ทำให้เกิดเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาคม ปี 1792 ที่เรียกว่า Journée du 10 août หรือ “The Second Revolution” มีการบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรีโดยพวกปฏิวัติ ซึ่งในตอนนั้นทหารที่ปกป้องคุ้มครองพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็คือ Swiss Guard (หรือกลุ่มทหารรับจ้างสวิส Mercenary Soldiers ที่ทำหน้าที่รับจ้างคุ้มครองพระราชวังหลายแห่งในยุโรปตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 มีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์และภักดีต่อผู้ว่าจ้างสูงสุด จนถึงปี 1874 กฎหมายรัฐธรรมนูญสวิสให้ยกเลิกไป ถือว่าทหารสวิสต้องปกป้องสวิสเท่านั้นไม่ใช่ต่างชาติ ยกเว้นกรณีที่ คุ้มครองพระสันตะปาปาที่กรุงวาติกัน)

City Break Paris Louvre 7

ภาพนี้ก็คือเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาคม ปี 1792 ที่ชื่อ Capture of the Tuileries Palace วาดโดย Jean Duplessis-Bertaux (1747–1819) จะเห็น Swiss Guard อยู่ในชุดสีแดงปัจจุบันดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ที่พระราชวังแวร์ซายส์ National Museum of the Chateau de Versailles

ดังนั้นเหตุการณ์ที่มีการบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรีก็เป็นไปตามคาดก็คือ Swiss Guard ไม่ยอมวางอาวุธไม่ยอมให้กลุ่มทหารปฏิวัติ หรือ National Guard ผ่าน จึงเกิดการต่อสู้แบบยอมตายแม้ว่าฝ่ายปฏิวัติจะมีกำลังมากว่าหลายเท่า ทำให้ Swiss Guard เสียชีวิต เพราะความกล้าหาญและซื่อสัตย์ภักดีมากว่า 600 นาย แม้ว่าหลังการต่อสู้ไม่นานพระเจ้าหลุยส์ทรงมีคำสั่งให้ Swiss Guard ยอมแพ้ก็ตาม จึงเป็นที่มาของอนุสาวรีย์ ‘สิงโตเศร้า’ The Lion Monument ที่หน้าผาเมืองลูเซินน์ Lucerne ที่เรารู้จักกันดี โดยมีข้อความจารึกสดุดี ถึงความภักดีและกล้าหาญของคนสวิสจากเหตุการณ์ครั้งนั้น in memory of the Swiss Guards : HELVETIORUM FIDEI AC VIRTUTI (To the loyalty and bravery of the Swiss) โดยเปรียบเสมือนสิงโตผู้เก่งกล้าแต่ก็ยังแพ้ได้แบบมีศักดิ์ศรี ไม่มีหนีแม้รู้ว่าต้องพ่าย

มาถึงตรงนี้ชอบมีคำถามแบบแฟนพันธุ์แท้ถามว่า “แล้วทำไมต้องไปสร้างอนุสรณ์สถานนี้ที่เมืองลูเซินน์Lucerne ทำไมไม่ซูริคหรือเจนีวาล่ะ?” คำตอบก็คือ The Lion Monument เกิดจากแรงผลักดันของร้อยตรีคาลล์ (second lieutenant Carl Pfyffer von Altishofen) นายทหารรับจ้างสวิสชาวลูเซินน์ที่อยู่ในช่วงลาพักร้อนกลับบ้านที่ลูเซินน์พอดี ในขณะที่เพื่อนๆ ต้องต่อสู้กับเหตุการณ์วันที่ 10 สิงหาที่ปารีส ทำให้เกิดสำนึกและรู้สึกผิดอยู่เฉยไม่ได้ต้องสร้างอนุสรณ์ที่รำลึกถึงเพื่อนทหารผู้กล้า จึงได้วิ่งเต้นกับเทศบาลเมืองลูเซินน์และนักการเมืองท้องถิ่นจนได้รับการอนุมัติให้สร้าง The Lion Monument ซึ่งออกแบบโดย Bertel Thorvaldsen ชาวเดนมาร์ก และมีการแกะสลักในปี 1820–21 โดย Lukas Ahorn ชาวเยอรมัน

City Break Paris Louvre 4

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของ Louvre ในตอนต่อไปครับ

City Break Paris Part XVII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 17

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ Louvre ตอนที่ 1

City Break Paris Louvre Museum 10

มีสถาปนิกชื่อดังคนหนึ่งเคยพูดว่า “ประวัติศาสตร์ของกรุงปารีสนั้นมันก็ฝังอยู่ในอิฐหินปูนทรายของอาคารเก่าๆในปารีสนี่แหละ” ดังนั้นถ้าเราศึกษาที่มาของอาคารต่างๆนี้ดีๆก็เหมือนเราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ไปในตัว ผมก็เลยใช้วิธีอธิบายเรื่องราวของเมืองหลวงของของฝรั่งเศสแห่งนี้ผ่านอาคารสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ต่างๆ

ในบรรดาสิ่งก่อสร้างทั้งหลายในกรุงปารีสที่มีอยู่นั้น ไม่น่าจะมีอาคารหรือโครงการไหนที่มีความยิ่งใหญ่เก่าแก่และใช้เวลาต่อเติมปรับปรุงยาวนานข้ามยุคสมัยเหมือนกับพระราชวังแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

ใช่แล้วครับแม้ว่าคุณไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของฝรั่งเศส คุณก็น่าจะรู้จักพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ แต่คุณอาจจะไม่ทราบว่ามันเป็นโครงการที่เริ่มในยุคกลางจากการเป็นป้อมปราการแห่งศตวรรษที่ 12 ที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ฟิลิปออกุสตุส แล้วเป็นเวลาอีกเกือบเจ็ดร้อยปีที่อาคารแห่งนี้ใช้เป็นพระราชวังที่ประทับหลักของกษัตริย์และจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส City Break ตอนนี้ของเราก็เลยจะพูดถึงประวัติความเป็นมาของที่นี่ก่อนที่ตอนต่อๆ ไปจะพูดถึงสิ่งที่เราต้องไปชื่นชมเมื่อเรามาถึงลูฟว์

ประวัติความเป็นมาของ Louvre

ในปี ค.ศ. 1190 ก่อนที่กษัตริย์ฟิลิปออกุสตุสจะออกไปทำสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ซึ่งต้องใช้เวลานาน ท่านรู้สึกเป็นห่วงเมืองปารีสว่าอาจถูกรุกรานระหว่างที่ท่านไม่อยู่ จึงมีดำริให้สร้างกำแพงและป้อมปราการป้องกันล้อมรอบกรุงปารีส เพื่อปกป้องเมืองจากผู้บุกรุกซึ่งกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ก็ในปีพศ. 1202 แม้ในปัจจุบันนี้ป้อมปราการทรงกระบอกที่เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงยังมีหลักฐานให้เห็นอยู่ หากท่านไปชมพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ในส่วนที่จัดแสดงงานศิลปะยุคกลางใต้ทางเข้าปิรามิดแก้วที่เรียกว่า Sully Wing และนั่นคือปราสาทลูฟว์ในยุคแรกซึ่งจะมีลักษณะแบบปราสาทยุคกลางตามแบบจำลองที่เห็นตามภาพด้านล่าง

City Break Paris Louvre Museum 8

พื้นที่ของ Louvre ยุคแรกนั้นเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสในมีขนาด 78ม. x 72ม.โดยล้อมรอบด้วยกำแพงหนาถึง 2.6 เมตร โครงสร้างทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำที่ติดอยู่ด้านนอกของกำแพงมีสองหอคอยป้องกันสอดส่องผู้บุกรุก ที่มุมหนึ่งและช่วงกลางของกำแพงทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีป้อมปราการทรงกระบอก ส่วนทางทิศใต้และทิศตะวันออกกำแพงจะมีทางเข้าเป็นประตูแคบๆ

ที่ป้อมทรงกระบอก (Golden Donjon Tower) ซึ่งสูงสามสิบเมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 เมตรมีผนังหนามาก ล้อมรอบด้วยคูน้ำลึก ห้องพักในป้อมปราการเป็นห้องเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นที่ประทับของกษัตริย์ เพราะกษัตริย์ยังประทับอยู่ที่ Palais de la Cité หรือพระราชวังแห่งเมือง แต่ลูฟว์ก็ได้รับการบูรณะบ่อยครั้งในยุคกลาง ภายใต้หลุยส์ที่ 9 ในช่วงกลางศตวรรษที่ 13 ซึ่งลูฟว์กลายเป็นท้องพระคลัง และภายใต้ราชวงศ์วาลัวส์ บางส่วนก็ใช้เป็นคุกและห้องพิจารณาคดี

จนกระทั่งมาถึงยุคของ พระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ที่ได้รับฉายาว่า “ชาลส์ผู้ชาญฉลาด” (Charles V, or Charles the Wise) ช่วงนั้นเกิดของสงครามร้อยปีกับอังกฤษนำโดยกษัตริย์เฮนรี่ที่ 5 ท่านจึงต้องการย้ายไปประทับในพระราชวังที่ปลอดภัยจึงย้ายออกจาก ‘พระราชวังแห่งเมือง’ Palais de la Cité มาอยู่ที่ปราสาทลูฟว์ทำให้ลูฟว์มีการเปลี่ยนแปลงจากป้อมปราการไปเป็นพระราชวัง (Palais du Louvre) ในปี 1863 มีการต่อเติมกำแพงให้สูงขึ้นเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มรายละเอียดของป้อมปราการและยอดแหลมด้านบน ทำให้ Louvre กลายเป็นที่รู้จักในฐานะพระราชวังที่งดงาม

City Break Paris Louvre Museum 5

ภาพวาด Charles V’s Louvre ที่ชื่อยุคแห่งความอุดมสมบูรณ์ของดยุคแห่งแบร์รี (‘les très riches heures’ du duc de berry) ซึ่งจะเห็นปราสาท Louvre ที่กลายมาเป็นพระราชวังครั้งแรกในยุคของ พระเจ้าชาลส์ที่ 5

City Break Paris Louvre Museum 7

ภาพ Louvre ในช่วงที่เป็น Royal Residence ที่ยังเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุคกลาง

จากนั้นก็ไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรจนถึงศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นยุคที่เรียกว่า “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” ซึ่งเราก็จะถือโอกาสจบเรื่องราวของยุคกลางของปารีสไว้ตรงนี้ เรื่องราวของลูฟว์ก็จะไปต่อในยุค ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเลยครับ

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา The Renaissance (1515-1643)
ในขณะที่อิตาลีได้เข้าสู่ยุคเรอเนซองซ์หรือที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูศิลปวัฒนาการไปตั้งแต่ช่วงปี 1400 แล้ว ฝรั่งเศสกว่าจะเริ่มก็ต้องรอถึงปี 1515 ในสมัยของ กษัตริย์ฟรองซัวที่ 1 (François 1er หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็คือ Francisที่ 1) ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำเรเนซองซ์มาฝรั่งเศส เพราะพระองค์ทรงโปรดด้านศิลปะและการอ่านเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ได้ศึกษาศิลปะของอิตาลีอย่างลึกซึ้งและถึงขนาดเชิญอัจฉริยะแห่งยุคเรอเนซองซ์มาเองเลย นั่นคือ ลีโอนาโด ดาวินซี่ Leonardo da Vinci โดยเริ่มจากการให้มาสร้างปราสาทล่าสัตว์แถวลุ่มแม่น้ำลัวร์ให้พระองค์ที่ชื่อว่า ‘ชองบอรด์’ (Château de Chambord)

City Break Paris Louvre Museum 6

ภาพบนคือปราสาทชองบอรด์ (Château de Chambord )ของกษัตริย์ฟรองซัวหรือฟรานซิสที่ 1

และให้เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาปรับปรุงสถาปัตยกรรมในกรุงปารีส มีการจ้างช่างฝีมือจากอิตาลีเข้าปรับปรุงเปลี่ยนโฉม พระราชวังลูฟว์ Louvre ที่พระองค์ประทับอยู่ตอนนั้นให้สวยงามยิ่งใหญ่ ไม่ให้เชยเหมือนปราสาทยุคกลางที่เป็นอยู่

François 1er ฟรานซิสที่ 1 (1515-1547)

City Break Paris Louvre Museum 13

ท่านถือเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะแห่งยุคนี้และนำมาซึ่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศส มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่สำคัญอื่นๆ และการครองราชย์ของพระองค์มีการเพิ่มความสมบูรณ์แบบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีการแพร่กระจายของระบอบมนุษย์นิยมและนิกายโปรเตสแตนต์ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการสำรวจโลกใหม่ สำหรับอีกบทบาทของพระองค์ก็คือการพัฒนามาตรฐานภาษาฝรั่งเศส ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระบิดาแห่งภาษาและจดหมาย

แนวคิดของเรอเนซองซ์ในด้านสถาปัตยกรรม (Renaissance Style) จะเน้นเรื่องความสมส่วนสมบูรณ์แบบเรียบร้อยแบบร่างกายมนุษย์ คือมีฐานรากที่แข็งแรงแบบขาของคน มีส่วนร่างกาย (Body) ที่ได้สัดส่วน มีส่วนหัวที่เป็นหลังคาโดยมีหน้าต่างที่จั่วหลังคาที่เปรียบเหมือนหมวก โดยมีกลิ่นอายและแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมแบบคลาสิกยุคกรีกและโรมันมาประยุกต์ใหม่ให้มีความกลมกลืนสมดุลกับยุคสมัยในขณะนั้น

ในปี ค.ศ. 1528 หลังจากที่กษัตริย์ ฟรานซิสได้กลับจากการถูกจองจำสองปีในอิตาลีและสเปน เนื่องจากความพ่ายแพ้ที่ Pavia (ค.ศ. 1524) ท่านได้กลับมาปรับปรุงพระราชวังลูฟว์ให้กลายเป็นพระราชวังสไตล์เรอเนซองส์ให้เหมือนกับวังในอิตาลีและสเปนตอนที่ท่านได้ประจักษ์ตอนช่วงที่ถูกจับกุม เริ่มจากการทำลายหอคอยใหญ่ทั้ง 4 ที่เรียกว่า “Grosse Tour” โดยในปี 1546 ท่านให้สุดยอดสถาปนิก ปีแยร์ เลสโก้ (Lescots) ผู้ชำนาญสถาปัตยกรรมสไตล์เรเนสซองแบบฝรั่งเศส จากการที่เขาเคยไปศึกษางานศิลปะในอิตาลีและได้คุ้นเคยกับในโครงการปราสาทหรือชาโตต่างๆของหุบเขาแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley) มาก่อน ทำให้ได้รับตำแหน่งเป็นสถาปนิกโครงการของการปรับปรุงพระราชวังลูฟว์ แม้ว่าต่อมาฟรานซิสที่ 1ได้สิ้นพระชนม์ลง แต่งานของเขาก็ยังคงดำเนินต่อไปภายใต้กษัตริย์อองรี ที่ 2*Henry II (1547-1559) กำแพงด้านตะวันตกถูกทำลายและสร้างเป็นพระราชวังเรอเนซองส์ที่มีความยาวเท่ากัน ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1546 ถึงเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1549 ปัจจุบันเรียกว่า เลส์โก้วิง ( Lescot Wing) ซึ่งวิงนี้ถือว่าเป็นส่วนที่เก่าแกที่สุดของ Louvre เหนือพื้นดิน(เพราะถ้าเป็นใต้ดินจะเห็นส่วนที่เป็นฐานของหอคอยที่หลงเหลืออยู่)

City Break Paris Louvre Museum 11

ภาพปีกอาคาร เลส์โก้วิง (Lescot Wing) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนของอาคารที่เก่าแกที่สุดของ Louvre เหนือพื้นดินและถือเป็นอาคารแบบเรเนอซองซ์หลังแรกๆ ของปารีส Credit:Pic from Wikipedia

ปีกอาคารเลส์โก้วิง ( Lescot Wing) มีห้องโถงที่เรียกว่า “salle des caryatides” (caryatids คือเสารับน้ำหนักเป็นรูปเทพยาดา อิงงานกรีกและโรมัน) ซึ่งเป็นห้องสำหรับปาร์ตี้หรือห้องบอลรูม มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นที่ห้องนี้มากมาย เช่น การแต่งงานของกษัตริย์อองรีที่ 4, เหตุการณ์สังหารหมู่ St. Bartolomew เนื่องจากสงครามศาสนาคาธอลิคและโปแตสแตนท์, งานศพของ อองรีที่ 4 ตลอดจนการแสดงครั้งแรกของ Molière (นักเขียนบทละครและนักแสดงแบบ comedy ชื่อดังของฝรั่งเศส) ต่อหน้ากษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ในวันที่ 16 ตุลาคม 1658

หมายเหตุ* เนื่องจากกษัตริย์ฝรั่งเศสและอังกฤษในช่วงมีสงคราม100 ปีและต่อเนื่องมามีพระนามเหมือนกันบ่อยครั้ง ผมจะพยายามใช้ชื่อเป็นฝรั่งเศสเช่น ‘อองรี’ (Henry)ถ้าเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส และใช้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษถ้าเป็นกษัตริย์อังกฤษ เช่น ‘เฮนรี่’( Henry)

City Break Paris Louvre Museum 2

ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของ Lescot ก็คือ Cour Carrée (Square Court, 1546-1551) ลานจัตุรัสของ Louvreด้านใน และ Hôtel Carnavalet (1545-1550 ) รวมทั้ง Lescot’s Fontaine des nymphes(1549), หรืออีกชื่อคือ Fontaine des innocents น้ำพุผู้ไร้เดียงสา (1547-1549) ดูภาพด้านบน ซึ่งถือเป็นน้ำพุที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงปารีส Credit:Pic from Wikipedia

จากนั้นอองรีที่สองก็ทำลายและสร้างกำแพงด้านใต้ขึ้นใหม่ (1553-1556) โดยมีมุมที่สร้าง king’s pavilion มุขของกษัตริย์ ทำให้ตอนนั้นอาคารมีความหลากหลายไม่เหมือนกันเนื่องจากทั้งสองด้านเป็นพระราชวังสไตล์เรอเนซองส์และอีกสองแห่งยังคงเป็นปราสาทยุคกลางที่มีกำแพงป้อมและหอคอย

ต่อมากษัตริย์อองรีที่ 2 สิ้นพระชนม์ไป พระมเหสีพระองค์ซึ่งก็คือ พระราชินีแคทเธอรีนเดอเมดิชิ (Catherine de Medici) พระนางเป็นชาวอิตาเลี่ยนจากเมืองฟลอเร็นซ์ ต้นกำเนิดสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์ของจริงซึ่งมักมาพร้อมกับสวนอิตาเลี่ยนแบบเรอเนซองส์ซึ่งยิ่งใหญ่อลังการ พระนางก็เลยอยากได้พระราชวังเรอเนซองส์แท้ๆ พร้อมสวนแบบอิตาเลี่ยนบ้าง พระนางทรงให้สร้าง พระราชวัง Tuileries ที่มีต้นแบบมาจากพระราชวัง Pitti และสวน Boboli ที่พระนางคุ้นเคยตอนอยู่ที่เมืองฟลอเร็นซ์ (แม้ว่าตอนนั้นพระนางอยู่ที่พระราชวังเก่าหรือ Palazzo Vecchio) และเพื่อให้ได้วิวสวยๆ ของแม่น้ำเซนจึงต้องมี Grande Galerie “แกลเลอรี่ตามแนวแม่น้ำ” มันเหมือนเป็นการต่อขยายจากอาคาร Louvre ส่วนเลส์โก้วิง (Lescot Wing) ที่สร้างไว้แล้ว ( แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในยุคสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 4)

City Break Paris Louvre Museum 12

ภาพด้านบนคือ Palazzo Pitti พระราชวังเรอเนซองซ์ยุคแรกถือเป็นต้นแบบของพระราชวังต่างๆ ในยุโรป ซึ่งมีสวน Boboli ถือเป็นสวนอิตาเลี่ยนแบบเรเนซองซ์ (Italian Renaissance garden) มีต้นแบบมาจากสวนโรมัน พระราชวังนี้สร้างโดย Luca Pitti ซึ่งเป็นคหบดีคู่แข่งกับตระกูล Medici ที่ยิ่งใหญ่ของเมืองฟลอเร็นซ์ซึ่งพำนักอยู่ที่ Palazzo Vecchio แต่เนื่องจากการเมืองทำให้พระราชวังนี้ตกเป็นของตระกูลMedici ในที่สุด มีบทบาทไม่ต่างกับ Louvre เพราะเคยเป็นวังแล้วปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ของอิตาลีโดดเด่นเรื่องงานศิลปะของยุคเรอเนซองส์

แน่นอนว่าพระราชวังนี้มาพร้อมกับสวนตุยเลอรี Tuileries ที่ยิ่งใหญ่ พระนางสั่งให้ใช้ landscape architect จากเมืองFlorence ที่ชื่อ Bernard de Carnesse, ให้สร้างสวนในสไตล์ Italian Renaissance garden, มีน้ำพุ มีรูปปั้น และถ้ำ ไม้ดัด รวมทั้งทางกลแบบ labyrinth แต่ต่อมาในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ท่านก็ทรงให้ เปลี่ยนเป็นสวนแบบฝรั่งเศสโดยให้ landscape architect ที่ชื่อ André Le Nôtre, ผู้ที่เป็นหลานของคนจัดการเรื่องสวนในสมัยพระนางแคธอรีนนั่นแหละที่ชื่อ Pierre Le Nôtre ทั้งนี้หลานของตาปิแอร์ได้ไปสร้างชื่อมาแล้วจากการไปออกแบบสวนให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซายย์

ดูจากรูปด้านล่างจะทำให้เราเข้าใจพัฒนาการของพระราชวังลูฟร์ในยุคสมัยต่างๆตามที่เล่ามาจนจบยุคของพระเจ้าอองรีที่ 4

City Break Paris Louvre Museum 4

Credit:Pic from Wikipedia

แต่จริงๆแล้วไม่แน่ใจว่าสาเหตุของการก่อสร้างพระราชวัง Tuileries นั้น เพราะพระนางต้องการลืมช่วงเวลาหรือวังเก่า Chateau of Tournelles ซึ่งเคยประทับอยู่กับพระสวามีหรือไม่เนื่องจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ในช่วงหลังไม่สนพระทัยใครเลยนอกจากพระสนมเอกที่ชื่อ ดีอาน จากเมืองปัวติเอ Diane de Poitiers ที่มีเสน่ห์และมีความฉลาดแหลมคม เป็นผู้ร่างจดหมายและบทสุนทรพจน์ให้พระองค์ ถึงขนาดที่ตัดบทบาทพระราชินีแคทเธอรีนออกไปจากงานราษฎรงานหลวง นอกจากนั้นยังได้ยกปราสาทกลางแม่น้ำเชอร์(Cher) ที่ชื่อเชนองโซ Château de Chenonceau ที่งดงามและเป็นทรัพย์สินของกษัตริย์ให้ไปทั้งที่รู้ว่าพระราชินีแคทเธอรีนอยากได้มาเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์มานานแล้ว ในขณะที่ดีอานก็มีปราสาทอเนต์ Château d’Anet ที่อยู่ใกล้เมือง Dreux ซึ่งทรงประทานให้ก่อนหน้านี้

City Break Paris Louvre Museum 3

รูปนี้ชื่อว่า A Lady in Her Bath วาดโดย François Clouet ว่ากันว่านางแบบในรูปก็คือ Diane de Poitiers

แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าอองรีที่ 2สวรรคต เธอก็เริ่มตกต่ำ เพราะพระนางแคทเธอรีนขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการของฝรั่งเศสเนื่องจากองค์รัชทายาทสืบราชวงศ์ซึ่งเป็นโอรสของพระนางเองยังทรงพระเยาว์จึงเกิดดราม่าบังคับยึดปราสาทเชนองโซคืนมาเป็นของพระองค์ แต่ก็ยังใจดียกปราสาทโชมองท์ Château de Chaumont ให้เป็นการแลกเปลี่ยน ต่อมาในปี 1566 ดีอานก็เสียชีวิตว่ากันว่ามีสาเหตุมาจากการที่เธอบริโภคทองคำเปลว เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้คงความสาวสวยไม่แก่ มาตั้งแต่เป็นสนมเอกของพระเจ้าอองรีที่ 2

City Break Paris Louvre Museum 1

ภาพบนคือ ปราสาทกลางแม่น้ำเชอร์ (Cher) ที่ชื่อเชนองโซ Château de Chenonceau

เราคงต้องจบตอนนี้ไว้ในยุคของพระนางแคธรินเดอเมดิชิก่อนครับ แม้ว่าเรื่องราวของพระราชวัง Tuileries ส่วนต่อขยายของ Louvre ยังไม่จบดี จะมีต่อในตอนหน้าครับ

City Break Paris Part XV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 15

เที่ยววิหารแซ็งต์-ชาแปล

City Break Paris St.Chapelle 11

ก่อนที่เราพักเบรกเรื่องเที่ยวในตอน 12-14 เพื่อคุยเรื่องอาหารเช้าในปารีสนั้น เราอยู่กันแถวๆ วิหารโนเตรอดามซึ่งก่อนจะออกจากย่าน Île de Cité นี้ ผมว่าสมควรอย่างยิ่งที่เราควรแวะชมวิหารแบบกอทิกที่มีการประดิษฐ์แบบประณีตบรรจงซึ่งพิเศษน่าทึ่งอีกแห่งหนึ่ง แล้วก็อยู่ไม่ห่างจากโนเตรอดาม สามารถเดินข้ามถนนผ่านกระทรวงตำรวจมาบล็อกเดียวเราก็จะพบกับวิหาร St.Chapelle

City Break Paris St.Chapelle 3

ภาพด้านบนคือเกาะซิเต้  Île de Cité ในปัจจุบันจะเห็น west façade ของโนเตรอดามและยอดแหลมของวิหารน้อย St.Chapelle

City Break Paris St.Chapelle 4

คำว่า Chapelle ก็มาจากคำว่า Chapel (มีรากมาจากภาษา Latin คือ cappella) ซึ่งหมายถึงโบสถ์ขนาดเล็กหรือแท่นบูชา เราจะสังเกตเห็นแม้ในวิหารขนาดใหญ่ก็จะมี Chapel หรือแท่นบูชาขนาดย่อมอยู่ตามมุมต่างๆ ดังนั้นสำหรับผู้นับถือคริสต์แล้ว ในโรงเรียน,ในโรงพยาบาลหรือแม้แต่ในคุกก็มักจะมี Chapel ไว้สำหรับสักการะบูชาหรือสวด จะว่าไปก็เหมือนห้องพระของพวกเราชาวพุทธหรือแท่นบูชาพระสำหรับบ้านที่ไม่มีห้องพระ แต่สำหรับในวังหลวงแล้ว Chapel ของกษัตริย์นั้นยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับ โบสถ์(Church) ของชาวบ้านทั่วไปครับ และนั่นคือที่มาของโบสถ์น้อยแซ็งต์-ชาแปล

City Break Paris St.Chapelle 5

จะเห็นว่าถ้าดูจากด้านนอกแล้ว St.Chapelle มีขนาดไม่ใหญ่

City Break Paris St.Chapelle 1

Altar ทีเป็นซุ้มหลังคาในรูปก็คือจุดที่เคยใช้เก็บเรลิกหรือมงคลวัตถุ

วิหารแซงต์-ชาแปล ถือเป็นผลงานชิ้นที่มีความงดงามมากที่สุดของสถาปัตยกรรมรูปแบบกอทิกในปารีส สถานที่ตั้งของวิหารแห่งนี้อยู่ภายในพื้นที่ของอาคารศาลยุติธรรม (Palais de Justice) ในปัจจุบัน ซึ่งใน สมัยนั้นถือเป็นบริเวณลานพระราชวังหลวง Palais de la Cité โบสถ์น้อยแห่งนี้มีการประดับประดาหน้าต่างด้วยกระจกสีในช่วงศตวรรษที่ 13 ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งนับเป็นยุคหนึ่งของศิลปะแบบกอทิก วิหารแซงต์-ชาแปลก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ทั้งนี้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่แท้จริงไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในบันทึกใด (คาดว่ามหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่13 เริ่มจากปี 1239) ส่วนสถาปนิกผู้ออกแบบก็ไม่ปรากฏว่าเป็นใครเช่นกันแม้ว่าจะมีการอ้างว่าเป็นฝีมือของปีแยร์เดอมงเตอโร แต่ก็ยืนยันไม่ได้เต็มที่

City Break Paris St.Chapelle 9

แต่ที่แน่ๆ ก็คือวัตถุประสงค์ในการสร้างแซ็งต์ชาเปลนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรักษามงคลวัตถุหรือ(relics) เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล ซึ่งประกอบด้วย มงกุฎหนามของพระเยซู, ภาพเอเดสซา และเรลิกอื่น ๆ เกี่ยวกับพระเยซูอีก 22 ชิ้นที่เดิมเป็นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9

City Break Paris St.Chapelle 2

ภาพบนนี้คือเรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล ที่มีค่าของชาวคริสต์ นั่นคือเศษไม้กางเขนที่ใช้ตรึงพระเยซู

โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1239 ที่ทรงได้รับมาจากนักบวชคณะดอมินิกันสององค์ที่เวนิสจากนั้นเมื่อครั้งที่พระเจ้าหลุยส์ทรงเสด็จไปทำสงครามครูเสด ก็ได้ทำการซื้อเรลิกที่เกี่ยวกับพระทรมานของพระเยซูจาก จักรพรรดิโบดูอินที่ 2 Emperor Baudouin II แห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นจำนวนเงินมหาศาลถึง 135,000 ลีฟวร์ตูร์นัว ซึ่งตอนนั้นจักรพรรดิท่านได้จำนำเรลิกนี้ จำนำไว้กับธนาคารในเวนิส Venetian bank (ซึ่งมาถึงตอนนี้บางท่านอาจะสงสัยว่าสมัยนั้นมี Bank ด้วยหรือ? ต้องบอกว่าในยุโรปนั้นระบบการเงิน (Monetary system)นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วครับ แต่มาเริ่มเป็นระบบธนาคารแบบจริงจังก็ในสมัยปี 1397 โดยนาย Giovanni Medici ตระกูลMedici ก็คือเศรษฐีดังของเมืองฟลอเรนซ์อิตาลี เป็นผู้ตั้งธนาคารชื่อ Banca Monte dei Paschi di Siena, มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Siena, Italy ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังเปิดบริการอยู่ถือเป็นธนาคารแห่งแรกของโลก และคำว่า Bank ก็มาจากคำว่า Banca ซึ่งหมายถึง Bench หรือม้านั่ง ในยุคแรกนั้นพ่อค้าเงินจะนั่งอยู่ตามม้านั่งแถวหน้าตลาด เพื่อรับแลกเงินหรือให้กู้เงินโดยผู้กู้ต้องเอาหลักประกันมาจำนำไว้)

City Break Paris St.Chapelle 12

ภาพบนเป็น นิทรรศการที่จัดเรื่อง กรุสมบัติของกษัตริย์แซงต์ลุยส์

กลับมาเรื่องเดิมจะเห็นว่า เมื่อเทียบกับ ค่าก่อสร้างแซ็งต์-ชาแปลเองที่เป็นที่เก็บตกมงคลวัตถุซึ่งมีราคาเพียง 40,000 ลีฟวร์ตูร์นัว ถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ทรงลงทุนในเรลิกหรือมงคลวัตถุเป็นเงินมหาศาลทีเดียว และก่อนหน้าที่จะสร้างเสร็จ เรลิกได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังแวงแซนส์ และในชาเปลที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล โดยในปี ค.ศ. 1241 ก็ได้เรลิกเพิ่มขึ้นอีกรวมทั้งไม้กางเขนแท้และอื่นๆ ฉะนั้นแซ็งต์-ชาแปลที่สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26 เมษายนค.ศ. 1248 จึงเป็นเสมือน “หีบบรรจุวัตถุมงคล” (Reliquary) ไปโดยบริยาย โดยที่ในสมัยของกษัตริย์ Saint-Louis ท่านจะนำวัตถุมงคลหรือ relics ออกแสดงให้กับชาวคริสต์ทุกวันศุกร์ของเทศกาลอีสเตอร์หรือที่เรียกว่า Good Friday ของทุกๆ ปี

City Break Paris St.Chapelle 16

ภาพบนนี้คือ:เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล ที่มีค่าของชาวคริสต์ มงกุฎหนามของพระเยซู

นั่นหมายความว่าจะมีนักแสวงบุญหรือ pilgrims มากมายมาที่ที่นี่ เพื่อสักการะบูชาและแน่นอนมียอดบริจาคและทำให้ปารีสมีศักดิ์ศรีเป็นเมืองเอกทางคริสต์ศาสนาอย่างน่าภาคภูมิ ต้องให้เครดิตนี้แก่พระเจ้าหลุย์ที่ 9 ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับพระราชทานตำแหน่ง ‘Saint’ให้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมืองปารีสสมกับที่ท่านเป็นผู้มุ่งมั่นทุ่มเททำนุบำรุงและสนับสนุนคริสต์ศาสนาอย่างแท้จริง

City Break Paris St.Chapelle 13

รูปปั้นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 หรือ เซ็นต์หลุยส์ อยู่ที่บริเวณ ชาเปลด้านล่าง

City Break Paris St.Chapelle 14

เเซ็งต์ชาเปล จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น โดยชาแปลชั้นล่าง the lower chapel จะเป็นที่สวดบูชาสำหรับเจ้าหน้าที่พนักงาน

City Break Paris St.Chapelle 15

ในชาเปลชั้นบน the upper chapel จะเป็นชาเปลสำหรับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนสิ่งที่เด่นที่สุดของแซ็งต์-ชาแปลโดยเฉพาะในชาเปลชั้นบนคือหน้าต่างประดับกระจกสีที่แคบและสูงและตกแต่งด้วยกระจกที่เป็นสีแพรวพราวมีความสูงโปร่งบางแบบไร้น้ำหนักเพราะกำแพงโดยรอบแทบจะประกอบด้วยกระจกทั้งหมด เป็นพื้นที่ถึง 618 ตรม. ของกระจกย้อมสี stained glass และเป็นเรื่องราวจากพระคัมภีร์เก่าและใหม่ที่มีตัวละครประกอบ biblical figures ถึง 1,130 รูป

City Break Paris St.Chapelle 6

และยังมีหน้าต่างกุหลาบมาเพิ่มเติมบนชั้นบนของชาเปลภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยมีการประกอบส่วนของกระจกทั้งหมด 87 ชิ้นงาน (petals)

ชาเปลได้รับความเสียหายอย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อยอดและเบญจา“grande châsse” ก็ถูกรื้อ และเรลิกกระจัดกระจายหายไป ยังคงเหลืออยู่แต่ “เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล” ที่ประกอบด้วย ชิ้นส่วนของกางเขน เล็บของพระเยซู และมงกุฎหนาม( a fragment of the cross, a nail, and the crown of thorns) ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่มหาวิหารโนเตรอดามแห่งปารีส

และชาเปลที่เห็นในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างใหม่ แต่สองในสามของหน้าต่างประดับกระจกสีนั้นเป็นหน้าต่างดั้งเดิม งานบูรณะปฏิสังขรณ์ที่ได้รับการบันทึกอย่างถี่ถ้วนทำโดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกในปี ค.ศ. 1855 ถือกันโดยผู้ร่วมสมัยว่าเป็นงานบูรณะปฏิสังขรณ์ชั้นเยี่ยม และเที่ยงตรงต่อภาพวาดและคำบรรยายดั้งเดิมของชาเปลที่ยังหลงเหลืออยู่โดยเฉพาะ ในส่วนที่เป็น upper chapel ต่างจากส่วนที่เป็น lower chapel นั้นถือว่าเป็นงานสร้างใหม่ล้วนๆ “reinvented” เพราะไม่มีต้นแบบพิมพ์เขียวดั่งเดิมหลงเหลืออยู่

City Break Paris St.Chapelle 10

แซ็งต์-ชาแปลมีฐานะเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862

City Break Paris St.Chapelle 7

นอกจากนี้วิหารแซงต์-ชาแปลยังเป็นสถานที่ในการจัดแสดงดนตรีคลาสสิกในเทศกาลหรือวาระต่างๆ เพื่อมอบความบันเทิงให้แก่ประชาชนด้วย ผมได้มีโอกาสมาปารีสครั้งล่าสุดเป็นช่วงสัปดาห์วันคริสต์มาสยังอยากซื้อตั๋วเข้าฟังดนตรีที่นี่ ต้องยอมรับระบบ Acoustic ในโบสถ์วิหารต่างๆ ในยุโรปนั้นดีเยี่ยมสำหรับการแสดงดนตรีตั้งแต่ 3-5 ชิ้นขึ้นไป หรือแม้แต่บางแห่งก็สามารถรองรับวง Orchestra ขนาดเล็กถึงกลางโดยเสียงยังไม่ก้องจนเกินไป ก็จริงๆ แล้ววิวัฒนาการทางดนตรีก็เริ่มจากโบสถ์ครับ จากการฟังพระเทศน์ฯอย่างเดียวก็กลายมาเป็นร้องเพลงประสานเสียงแล้วก็เกิดการนำเครื่องดนตรีเข้ามาในโบสถ์ทีละชิ้น 2 ชิ้น โมซาร์ต Mozart ก็เริ่มดังมาจากในโบสถ์ครับ

ก่อนจะออกจาก Île de Cité ก็คงต้องขอพูดถึงเรื่องราวของ La Conciergerie ลา กงซีแยร์เฌอรี ซึ่งเคยเป็นวังเก่าคือ ปาเลเดอลาซีเต แต่คงต้องมาสรุปกันในตอนหน้าครับ

City Break Paris Part IV

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 4
By Paul Sansopone

เที่ยวปารีสแบบคุ้มค่า
เที่ยวปารีสแบบไหนดี เริ่มต้นแบบไหนถึงจะเรียกว่าได้ทำความรู้จักนครหลวงแห่งนี้ในทุกแง่ทุกมุม สมกับสิ่งที่ปารีสมีนำเสนอให้ จากประวัติศาสตร์กว่า 2000 กว่าปี จากการบรรจงก่อร่างสร้างความศิวิไลซ์ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรมหรือศิลปะของแต่ละยุคสมัย ประกอบกับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตในแบบชาวปารีเซียนที่รักความสนุกร่าเริงแบบมีสไตล์ ตลอดจนความประณีตพิถีพิถันในการกินการดื่มที่ไม่ธรรมดา นั่นทำให้การมาเที่ยวที่นี่แบบผิวเผินถือว่าไม่คุ้มค่าเลยครับ เริ่มจากตอนนี้ผมจะพาท่านไปเที่ยวปารีสในแบบที่มีสาระ

1.เที่ยวชมสถาปัตยกรรมระดับโลกของกรุงปารีส 

เป็นธรรมดาที่โปรแกรมท่องเที่ยวไม่ว่าไปที่ไหนย่อมต้องมี “ทัวร์วัด-ทัวร์วัง” (ยกเว้นประเทศเกิดใหม่อย่างอเมริกาหรือออสเตรเลียซึ่งมักไปดูทิวทัศน์ของเมืองหรือสถาปัตยกรรมที่เป็นLandmarkของเมืองแทน) เราต้องยอมรับว่าการที่ปารีสติดอันดับเมืองที่สวยติดอันดับโลกมาก็เพราะ สิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากทำเลที่ตั้งของปารีสก็ไม่ได้ถือว่าโดดเด่นเหมือนกับเมือง Sydneyหรือ San Francisco ที่ตั้งอยู่บนอ่าวธรรมชาติมองไปทางไหนก็สวยงาม เพียงแค่ปารีสตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเซนซึ่งหากไม่มีสถาปัตยกรรมของนครหลวงแห่งนี้มาช่วยเสริมบารมีแล้วมันก็อาจเป็นแม่น้ำธรรมดาสายหนึ่ง

ปารีสเป็นเมืองเก่าแก่ ทำให้มีสถาปัตยกรรมของแต่ละยุคสมัยเกือบทุกรูปแบบ เริ่มจากความที่เป็นเมืองคาธอลิคที่เคร่งครัดศรัทธาในคริสต์ศาสนา ประกอบกับความที่เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ของยุโรปและมีระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุข จึงสามารถเกณฑ์ช่างฝีมือหรือสถาปนิกหัวหน้าโครงการที่เก่งที่สุดในแต่ละยุคมาสร้างสรรค์งานในแบบที่ไม่มีขอบเขตจำกัดได้ ทำให้วัดวังของที่นี่ไม่เป็นรองที่ไหนๆ

เราจะเที่ยวชมสิ่งก่อสร้างของกรุงปารีสโดยไล่จากยุคเริ่มแรกมาจนถึงยุคปัจจุบันไปด้วยกัน ได้เรียนรู้(เล็กๆ น้อยๆ)เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละยุคไปด้วยในตัว

I.สถาปัตยกรรมในยุคโรมัน Gallo Roman Era (50BC -508AD)

ตั้งแต่สมัยยุคปี 225 BC มีหลักฐานบ่งชัดว่าบริเวณที่ตั้งเมืองปารีสนั้นเป็นที่อยู่ของชาว ‘Celtic’ เผ่าปาริซี่ ‘Parisii’ มานมนานแล้ว โดยจุดที่ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก็คือที่เกาะกลางแม่น้ำเซนที่ชื่อ ‘ซิเต้’ ซึ่งชื่อเผ่านี้ก็เป็นที่มาของชื่อเมืองParis นั่นเอง แต่พอมาในปี 52 BC ซึ่งเป็นยุคที่โรมันเรืองอำนาจนั้น ต้องบอกว่าไม่มีใครทานอำนาจของกองทัพโรมันได้ ที่นี่จึงกลายมาเป็นเมืองอาณานิคมของโรมัน นำโดยจอมพลชื่อ Titus Labienus และถูกตั้งชื่อว่าเมือง ลุดเตเตีย Lutetia(Lutèce)หรือ Lutetia Parisiorum (Lutece of the Parisii) และแน่นอนว่าถ้าทหารโรมันไปที่ไหนก็มักจะฝากผลงานในรูปแบบของวิศวกรรมโรมันอย่างใดอย่างหนึ่งฝากเอาไว้ อาจเป็นป้อมค่าย หรือถนน หรือ Aqueduct สะพานลำเลียงน้ำหรือบ่ออาบน้ำ Roman Bath และสนามกีฬาหรือโรงละครกลางแจ้งที่เรียกว่า Amphitheatre สำหรับในฝรั่งเศสนั้นจะพบมรดกของโรมันได้ทุกรูปแบบแต่มักจะอยู่ในหัวเมืองทางตอนใต้เป็นส่วนใหญ่แถบ Provence

City Break PARIS Roman Paris Architecture 13

ภาพบนเป็น ปารีสในศตวรรษที่ 3 ตอนเป็นเมืองอาณานิคมของโรมันที่ชื่อลุดเตเตีย Lutetia (Lutèce)

สำหรับที่ปารีสนั้นก็ถือว่ามีโรมันสถานเกือบทุกรูปแบบที่กล่าวมาแต่หลงเหลืออยู่ไม่มาก เพราะหลังจากโรมันเริ่มเสื่อมอำนาจไป พวกบาร์บาเรี่ยน (Barbarians) ก็เข้ามาทำลายหลายๆ อย่างแบบไม่เห็นคุณค่าและพอเข้าช่วงยุคกลางหรือที่ได้รับฉายาว่ายุคมืดนั้น ทุกอย่างเหมือนเป็นการเดินถอยหลัง สิ่งที่โรมันทิ้งไว้ถูกรื้อถอนทำลายเพื่อเอาอิฐหินปูนไปทำอาคารบ้านเรือนของตนเอง แทบไม่เหลืออะไรในยุคโรมันให้ดูเท่าไร แต่เนื่องจากเราเป็นนักท่องเที่ยวแบบชอบเสาะแสวงหา ดังนั้นบทความในตอนนี้ขอเอาใจนักโบราณคดี แบบ Indiana Jones หน่อยครับ จึงแนะนำให้ไปดูสถานที่เหล่านี้

1.ถนนโรมันในปารีส
ถ้าเป็นถนนก็แน่นอนว่าไม่ว่าโรมันไปที่ไหนจะมีการวางผังเมือง โดยการวางถนนสายหลักเป็นเส้นจากทิศเหนือลงทิศใต้ (north–south-oriented street ) เสมอไม่ว่าไปสร้างเมืองที่ไหน โดยถนนนี้จะเรียกว่า ‘Cardo Maximus’ ปัจจุบันเป็นถนนแซงช๊าคและแซงค์มาแตง (Rue Saint-Jacques, Rue Saint-Martin) ที่ตัดผ่านกลางเมือง แม้ว่าหลักฐานในปัจจุบัน(วัสดุก่อสร้างเดิม)ไม่มีให้เห็นมากนัก

City Break PARIS Roman Paris Architecture 14

City Break PARIS Roman Paris Architecture 10

และยังมีที่ถนน Rue de la colombe ในเกาะซิเต้ ที่มีร่องรอยของถนนในยุคโรมันชัดเจน ในส่วนที่คล้ายกับเป็นทางข้ามแต่มันคือแนวกำแพงเดิมที่ใช้หินในยุคนั้น

City Break PARIS Roman Paris Architecture 2

City Break PARIS Roman Paris Architecture 9

 

2.สนามกีฬาหรือโรงละครกลางแจ้งแบบโรมันในปารีส (Les Arènes de Lutèce – Paris Amphitheatre)

City Break PARIS Roman Paris Architecture 1

ภาพปัจจุบันเปรียบเทียบกับสมัยที่ยังสมบูรณ์แบบภาพล่าง

City Break PARIS Roman Paris Architecture 3

ไม่น่าเชื่อว่าปารีสก็มีสนามกีฬาหรือโรงละครกลางแจ้งที่เรียกว่า Amphitheatre แบบคอลอสเซี่ยมที่กรุงโรม แต่ขนาดแตกต่างกันเยอะ เนื่องจากประชากรของ Lutetia ตอนนั้นมีแค่ไม่ถึง 20,000 คน สนามกีฬาแห่งนี้จึงทำไว้ที่ความจุประมาณ 17,000 ที่นั่งเท่านั้น สร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ใช้เป็นที่แสดงให้ความบันเทิงทุกรูปแบบและเป็นสนามประลองของเชลยศึกที่เรียกว่า Gladiatorial Combats ด้วย สนามกีฬานี้ถูกทำลายลงโดยพวกบาร์บาเรี่ยนในปี ค.ศ.280 โดยมีการนำอิฐหินไปก่อสร้างกำแพงที่เกาะซิเต้ อย่างไรก็ตามในปี 1860 สถานที่แห่งนี้ได้ถูกค้นพบอีกครั้งในช่วงการก่อสร้างอาคารและพบว่ามันเป็นโบราณสถานที่มีค่า ทำให้มีการบูรณะอีกครั้ง นำโดย Victor Hugo นักเขียนบทกวีชื่อดังชาวฝรั่งเศส และถูกเรียกว่า เลซาเรนน์ Les Arènes ที่แปลว่า Arena มาตั้งแต่ตอนนั้น และกลายเป็น จัตุรัสสาธารณะ( Public Square) มาตั้งแต่ปี 1896

 

3. บ่ออาบน้ำสาธารณะแบบโรมัน Roman Bathhouse – Thermes de Cluny

City Break PARIS Roman Paris Architecture 8

แตร์เม เดอ คลูนี (Thermes de Cluny) เป็นสถานที่อาบน้ำสาธารณะแบบโรมันที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่3 แต่มีความสมบูรณ์แบบอยู่มาก เนื่องจากมีการใช้ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงยุคกลาง การออกแบบและการใช้วัสดุเป็นแบบโรมันแท้ๆ มีบ่อน้ำร้อนและน้ำเย็นที่ Frigidarium และมีกำแพงสูง 14 เมตร ของเดิมที่ในสมัยนั้นจะประดับด้วย Mosaics ปัจจุบันเราสามารถไปดูได้เพราะสถานที่นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์สถานชาติแห่งยุคกลางหรือ Musée National du Moyen Age ของปารีส

 

4. ซากปรักโรมันหรือ Roman Ruin ที่ Notre Dame Archaeological Crypte

City Break PARIS Roman Paris Architecture 6

ซากปรักโรมันหรือ Roman Ruin ที่ชัดๆ ในปารีสและเป็นเรื่องเป็นราวน่าศึกษาอีกแห่งจะอยู่แถวบริเวณใต้ลานหน้าวิหารโนเตรอดามที่เรียกว่า พลาซดูปาร์วิส (Place du Parvis) ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่จอดรถใต้ดิน มีทั้งที่เป็นซากที่เหลือของท่าเรือริมแม่น้ำเซนและที่อาบน้ำสาธารณะแบบโรมัน

City Break PARIS Roman Paris Architecture 7

ภาพบนเป็นที่อาบน้ำแบบโรมันที่ค้นพบอีกแห่งที่นี่

แต่ที่นี่ไม่ได้มีแต่ซากปรักของโรมันเท่านั้น เนื่องจากต้นกำเนิดของเมืองนี้มีชาว Celtic เผ่าปาริซี่ ‘Parisii’ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ และต่อจากสมัยโรมันเข้าสู่ยุคกลางจุดนี้ก็ถือเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของพวก Franks บรรพบุรุษของชาวฝรั่งเศสที่สามารถเอาชนะพวกโรมันได้อย่างราบคราบ และปักหลักสร้างฐานอยู่ที่นี่ ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เรียกว่ามีโบราณวัตถุของหลายยุคหลายสมัยอยู่จนเข้าสู่ยุคกลาง น่าสนใจมากเพราะไหนๆ เราก็ต้องมาเที่ยวโนเตรอดามอยู่แล้ว

 

5.สุสานใต้ดินของปารีส THE CATACOMBS OF PARIS

City Break PARIS Roman Paris Architecture 12

ไม่น่าเชื่อว่าสุสานใต้ดินของกรุงปารีสจะอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวหลายๆ คนที่มาแล้วต้องไปดูให้ได้ จริงๆ แล้วที่สุสานมันไม่ได้มีความเก่าแก่อะไรขนาดอยู่ในสมัยโรมัน ซึ่งเป็นธีมการเที่ยวของเราในตอนนี้ แต่ว่าอิฐหินปูนที่นำมาสร้างอุโมงค์ใต้ดินนั้นต่างหากที่พบว่ามันเป็นวัสดุของยุคเมืองลุคเตเตียอยู่มากพอสมควร ประกอบกับการเก็บศพไว้ในสุสานใต้ดินที่เรียกว่า คาตาคอม แบบนี้ชาวโรมันเป็นผู้ริเริ่ม ท่านที่ไปเที่ยวโรมมาแล้วก็จะทราบ เพราะโรมในยุคนั้นมีสิ่งก่อสร้างมากมาย เริ่มต้องการพื้นที่ก่อสร้างเพิ่มเรื่อยจึงต้องมีการรื้อสุสานหลายแห่งและนำศพหรือโครงกระดูกลงไปเก็บไว้ใต้ดินและตามแนวถนนAppiaที่เก่าแก่ เลยขอเอารวมในตอนนี้ด้วย

City Break PARIS Roman Paris Architecture 5

หนังสือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ช่วงเกิดสงครามศาสนา ที่มีการพูดถึง ป่าช้าที่เก่าแก่ที่สุดของปารีสที่ชื่อ Cimetière des Saints-Innocents

เรื่องราวของกรุงโรมก็เหมือนที่ปารีสหรือเมืองใหญ่ทุกแห่งในโลกก็คือต้องมีการย้ายหรือล้างป่าช้า เมื่อเมืองมีการขยายตัว

ที่ปารีสนั้นป่าช้าในเมืองแห่งแรกที่ถูกย้ายคือป่าช้าที่เก่าแก่ที่สุดของปารีสที่ชื่อ Cimetière des Saints-Innocents ในสมัยก่อนยุคปฏิวัติฝรั่งเศสช่วงปี 1785 นี่เอง เนื่องจากเมืองขยายและผู้คนก็กลัวเรื่องเชื้อโรคและต้องการสุขลักษณะในการอยู่อาศัยเลย ย้ายไปอยู่ใต้ดินในย่านนั้นซึ่งใต้ดินแถวนั้น(ปารีส ฝั่งซ้าย)จะเป็นหินปูนที่มีโพรงมีช่องอยู่มากมาย จนช่วงต่อมาเริ่มนำศพลงไปมากขึ้นจึงมีการทำระบบอุโมงค์ที่มีกำแพงแข็งแรงยาวเป็นระยะทาง 2 กม.ลึกลงไปใต้ดิน 30 เมตรและว่ากันว่ามีศพที่อยู่ใน คาตาคอม ถึง 6 ล้านศพ ถึงขนาดมีชื่อฉายาว่า เป็น Empire of the dead บ้าง Largest grave in the world บ้าง ภาพข้างล่างคือผู้ที่มาเข้าคิวชมสุสานใต้ดินที่บางครั้งคิวยาวเป็น 2-3 ชั่วโมง และต้องเดินเกือบ 45 นาที (ไม่มีห้องน้ำ) กว่าจะสุดทางกลับออกมาได้แถมราคาตั๋วจองล่วงหน้าก็ไม่ถูกครับ €27 สำหรับผู้ใหญ่ เรียกว่าต้องใจรักจริงๆ

City Break PARIS Roman Paris Architecture 11

Credit: Wikipedia https://archaeology-travel.com/

เจอกันคราวหน้าเราจะไปเที่ยวชมสถาปัตยกรรมและศิลปะในช่วงยุคกลางของปารีสกันนะครับ

City Break Paris Part III

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 3
By Paul Sansopone

…… “แม้ว่าย่านนี้จะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากนักแต่ความที่มีแม่น้ำเซนให้เดินเลียบเลาะไป ยิ่งถ้าชอบออกกำลังเป็นประจำทุกวัน ต้องวิ่งหรือขี่จักรยาน แถบนี้เหมาะมากมีสวนสาธารณะเปิดโล่งไม่อึดอัด”…

พักย่านไหนดีในปารีส
เรารู้ว่ามาปารีสทั้งทีก็ควรอยู่ในเมืองชั้นในก็คือภายในกรอบถนนวงแหวน แต่มันไม่ละเอียดพอ คราวนี้เราจะลงรายละเอียดลงไปอีกหน่อยให้รู้ว่าเขตไหนเป็นอย่างไร ต้องขอบอกว่าแต่ละ Neighborhood หรือที่นี่เรียกว่า ก๊า(ก)ร์ติเอ (Quartier )ของกรุงปารีสนั้นมีบุคลิกที่แตกต่างกันพอสมควรทีเดียว จริงๆ ของกรุงเทพฯ ก็มี Em-quartier ซึ่งเคยมีการถกเถียงกันใน social network แบบสนุกสนานว่าควรอ่านแบบไหนจึงจะถูก

ย่านไหนในปารีสที่เราควรเลือกจองที่พัก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 1860 ปารีสถูกแบ่งออกเป็น 20 เขตเทศบาลหรือที่เรียกว่า ‘อารรองดีสมงท์’ ( arrondissements) ซึ่งถ้าดูจากแผนที่มันจะถูกวางเรียงแบบลักษณะก้นหอย ขดเป็นวงจากในม้วนวนขวาออกนอกโดยที่ด้านในสุดจะเป็นเขต 1 และนอกสุดก็คือเขต 20 โดยก่อนหน้านั้นปารีสมีแค่ 12 เขตเท่านั้น แต่ละเขตมักจะถูกแบ่งออกไปเป็น 4 ย่านหรือแขวง เรียกว่า Quartier การ์ติเอ และที่มีชื่อก็เช่น Quartier Latin, Quartier des Champs-Élysées และ Quartier Saint-Germain-l’Auxerrois ในแต่ละเขตก็จะมีสำนักงานเขตของตัวเองที่เรียกว่าโอเตลเดอวิล ( Hôtel-de-Ville)และรวมทุกเขตก็มีสถานีตำรวจอยู่ถึง 350 แห่ง

City Break PARIS Population density map of Paris in 2012

1st Arrontissement of Paris – Louvre
2th Arrondissement of Paris – Bourse
3th Arrondissement of Paris – Temple
4th Arrondissement of Paris – Hôtel-de-Ville
5th Arrondissement of Paris – Phantéon
6th Arrondissement of Paris – Luxembourg
7th Arrondissement of Paris – Palais-Bourbon
8th Arrondissement of Paris – Élysée
9th Arrondissement of Paris – Opéra
10th Arrondissement of Paris – Enclos-St.Laurent
11th Arrondissement of Paris – Popincourt
12th Arrondissement of Paris – Reuilly
13th Arrondissement of Paris – Gobelins
14th Arrondissement of Paris – Observatoire
15th Arrondissement of Paris – Vaugirard
16th Arrondissement of Paris – Passy
17th Arrondissement of Paris – Batignolles-Monceau
18th Arrondissement of Paris – Butte-Montmartre
19th Arrondissement of Paris – Buttes-Chaumont
20th Arrondissement of Paris – Ménilmontant

แต่ถ้าเราดูภาพใหญ่สมัยก่อนที่จะมีการแบ่งเป็น 20 เขตแบบนี้ ปารีสนั้นถูกแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ฝั่งแม่น้ำเซน (La Seine) คล้ายกรุงเทพฯกับฝั่งธนบุรีในสมัยก่อน โดยแบ่งเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา แต่คนช่างสงสัยมักจะถามว่าทำไมไม่เรียกว่าฝั่งเหนือหรือฝั่งใต้เพราะดูจากแผนที่มันไม่น่าจะเรียกฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ต้องอธิบายว่าไม่งั้นมันต้องก็มีฝั่งตะวันออกและตะวันตกด้วย เพราะแม่น้ำเซนมันไหลมาจากใกล้เมืองดีจง Dijon เข้าเขตปารีสทางตะวันออกเฉียงใต้แล้วก็โค้งไปออกจากปารีสทางตะวันตกเฉียงใต้แล้วไหลต่อไปลงทะเลเหนือที่เมืองท่าชื่อ เลอ อาฟร์ Le Havre (ให้ดูรูปจากแผนที่ด้านบน) จะเห็นว่าตอนเข้าตอนออกมันก็จะมีฝั่งตะวันออกและตกด้วยทำให้งง เค้าก็เลยแบ่งเป็นฝั่งซ้ายและขวาโดยถือจากการไหลของแม่น้ำเป็นหลัก เนื่องจากแม่น้ำมันจะไหลจากต้นกำเนิดไปสู่ทะเล ถ้าเรานั่งเรือเข้ามาตามกระแสน้ำ (down stream) เข้าสู่เขตเมืองปารีส ขวามือของเราก็จะเรียก“ฝั่งขวา”ส่วนซ้ายมือก็คือ “ฝั่งซ้าย”เท่านั้นเองง่ายๆ

ในยุคแรกนั้นความเจริญเริ่มมาจากฝั่งซ้ายเพราะมีย่านละติน การ์ติเย ลาแตง Quartier Latin ซึ่งมีศูนย์การศึกษายุคเริ่มต้นเกิดขึ้นที่นั่นซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และในสมัยนั้นมีการสอนเป็นภาษาละติน

ทีนี้เราก็ลองมาพิจารณากันดูว่าน่าพักฝั่งไหนมากกว่ากันซึ่งผมก็จะขอสรุปความน่าสนใจออกมาให้เลือกเฉพาะเขตที่น่าสนใจจริงๆ เท่านั้น

 

I. ปารีสฝั่งขวาThe Right Bank “La Rive Droite”

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 13

ถ้าดูจากแผนที่ของเมืองปารีสแล้วมันก็คือเขตฝั่งที่อยู่เหนือแม่น้ำเซนแต่ถูกเรียกว่าฝั่งขวา มันมีความหนาแน่นของอาคารสำนักงานสถานที่ทำการค้าขายตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวที่เพียบพร้อมไปด้วยแหล่งเอ็นเทอร์เทน และพร้อมสรรพไปด้วยแหล่งอาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้งตลอดจนที่อยู่อาศัยราคาแพง ทำให้มันพลุกพล่านวุ่นวายอยู่บ้างแต่บรรยากาศมันคึกคักและมีชีวิตชีวาตลอดเวลา แม้ในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ฝั่งนี้มีเขตเทศบาลอยู่ถึง 14 เขต (arrondissements) ขอแนะนำเขตที่น่าสนใจดังนี้

เขต 1 และเขต 2 ย่านเลอาน Les Halles, ลูฟร์ Louvre และปาเลส์ ฮัวยัล Palais Royal

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 10

ย่านนี้ถือว่าเป็นย่านสุดเก๋ très chic ใจกลางปารีส ไม่ว่าคุณจะเดินเล่นไปตามริมแม่น้ำเซน promenade of the Seine สุดโรแมนติกหรือเข้าชมพิพิธภัณฑ์ Louvre ที่เป็นที่สุดของโลกด้านศิลปะสะสม เดินเล่นไปบนถนน boulevardที่มีเอกลักษณ์ของที่นี่หรือชมสวน Jardin des Tuileries แม้แต่จะช็อปปิ้งแบบไม่หยุด ย่านนี้มีครบทุกอย่างจริงๆ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือไวน์บาร์ ข้อเสียมีอย่างเดียวคือtouristเยอะไปหน่อย

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 15

 

เขต 3และเขต 4 ย่านมารายLe Marais, เกาะแซงหลุยส์ Ile St-Louis และเกาะซิเต้ Ile de la Cité

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 17

ย่านมาราย เป็นย่านTrendyมีความสมัยใหม่ก้าวล้ำแบบไม่ต้องหรูหรา มี Art Galleries มี Brand Start Up และ SMEของคนยุคใหม่ โดยเฉพาะย่านถนน Rue de Bretagne โดยรวมแล้วเป็น Neighborhood ที่มีความคึกคักทั้งกลางวันกลางคืน เป็นแหล่งชาวยิวและชาวเกย์

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 12

ย่าน Marais พอตกกลางคืนก็คึกคักไม่น่าเบื่อ

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 16

ในขณะที่ย่านเกาะแซงหลุยส์และซิเต้มีความโรแมนติกน่าเดินเล่นถ่ายรูป มีโบสถ์และสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ให้ดูพอควรเช่น วิหารโนเตรอดาม Cathedral of Notre Dame, วิหาร St-Chapelle, หรือ Conciergerie หากข้ามสะพานที่ต่อจากเกาะซิเต้หลังโบสถ์โนเตรอดามไปยังเกาะแซงหลุยส์ก็ให้เดินไปตามถนนสายเมนของเกาะคือ St.Louis en l’Ile ก็จะเจอร้านไอติม หมายเลข1ของกรุงปารีส นั่นคือ แบรติลยง Bertillon (เราจะพูดถึงร้านนี้ตอนแนะนำเรื่องอาหารการกินในปารีสต่อไป)

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 5

 

เขต 8, 16 และเขต 17 ย่านชองเซลิเซ่ Champs-Élysées และฝั่งตะวันตกของปารีส Western Paris 

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 7

ย่านนี้คือย่านหรูหราที่เงินและอำนาจเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นย่านธุรกิจและร้านค้าที่ขายของแบบไม่ต้องง้อลูกค้าเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟหรือร้านอาหารก็เช่นกัน มันเหมาะที่จะมาเดินเที่ยวชมมากกว่ามาหาโรงแรมเพื่อพักแถวนี้ซึ่งก็มีให้เลือกเยอะอยู่ แต่ผมว่ามันขาดเสน่ห์ของความเป็นท้องถิ่นแบบต้นตำรับ(Local Charm) เพราะดูเป็นการค้าเกินไป เช่น ตื่นเช้ามาอยากจะหาร้านกาแฟเล็กๆ กับครัวซองส์หอมๆ สักชิ้นมันมักจะเจอแต่ร้านที่ตั้งใจจะขายแต่นักท่องเที่ยว มันได้รับฉายาว่าเป็นสามเหลี่ยมทองคำ The “Golden Triangle” โดยเฉพาะในย่าน 3 ถนนนี้ คือ ถนน Montaigne, George V, และถนน Champs-Élysées เหมาะกับผู้ที่ชอบบรรยากาศหรูหรา และชอบแต่งตัวดีๆ ตลอดเวลา

 

เขต 9 และเขต 10 ย่านโอเปร่าOpéra และคลองแซงมาแตง Canal St-Martin 

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 18

ย่านนี้น่าจะเหมาะกับท่านที่ชอบเดินช็อปปิ้งแบบเดินได้ทั้งวัน เพราะมีห้างแปรงตอง และแกลเลอลี่ลาฟาแย็ต (Printempt ,Gallerie La Fayette) 2 ดีพาร์ทเม็นท์สโตรส์หลักของนครหลวงแห่งนี้และร้านค้าย่อยๆ อีกพอสมควร แล้วก็ยังมีร้านอาหารและร้านกาแฟดีๆ แบบup scale ให้เลือกพอสมควร ในขณะที่ย่านที่อยู่ติดกัน คือย่านคลองแซงมาแตง(Canal St-Martin neighborhood) จะเป็นอีกแบบที่คนปารีเซียนท้องถิ่นชอบไปhangout คือเป็นย่านที่ติดดินหน่อยแต่ก็เท่มีสไตล์ ไม่มีฟอร์มไม่ฟอร์มัล

 

เขต 18 ย่านปิกัลPigalle และย่านมงมาตร์ Montmartre

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 3

ปิกัลเคยเป็นย่านโคมแดงของกรุงปารีสแต่ในปัจจุบันนี้ปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นย่านnightlifeที่ลดความอีโรติกลงไป แต่ก็ยังมีความคึกคักอยู่เ พราะมันมี มูแลงรูจ (Moulin Rouge) กังหันลมสีแดง คลับคาบาเรต์ชื่อดัง อยู่ใกล้ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการท่องราตรีของที่นี่มานมนาน ถึงเคยมีการเปรียบว่าย่าน ปิกัลนั้นก็เหมือน นรกภูมิที่อยู่เชิงเขามงมาตร์ที่เปรียบเป็นสวรรค์ภูมิเพราะมีวิหาร Sacré Cœur (ซัคเคร เกอ(เรอะ) ที่ตั้งอยู่นะจุดสูงสุดของปารีสและมีความศักดิ์สิทธิ์ ส่วนบริเวณรอบๆ ก็ยังถือเป็นย่านศูนย์รวมของเหล่าบรรดาศิลปิน จิตรกร ที่มาปล่อยฝีมือและขายผลงานแถบนี้อยู่

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 8

 

เขต 11ตะวันออก และ12 ย่านรีพุบบริค République, บาสตีล์ Bastille และปารีส

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 14

แถบนี้ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยมาก แต่สะท้อนถึงบรรยากาศความเป็นอยู่แท้ๆ ของชนชั้นกลางชาวปารีเซียนอาจรวมถึงผู้อพยพอยู่บ้าง เพราะที่นี่เคยเป็นย่านโรงงานเก่า ปัจจุบันมันเป็นแหล่ง Hangout ตอนหลังเลิกงานมีร้านอาหารแบบBistroหรือ Brasseries ในแบบต้นฉบับของ Paris ตลอดจนไวน์บาร์และคาเฟ่ที่มีบรรยากาศสนุกสนาน ผมก็ชอบย่านนี้ครับไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมากและที่จอดรถก็หาง่ายหน่อย
II. ปารีสฝั่งซ้าย The Left Bank “La Rive gauche”
ในขณะที่ฝั่งขวามีความเป็นการค้ามากกว่าฝั่งซ้ายซึ่งมีสวนสาธารณะที่เปิดโล่ง กระทรวง ทบวง กรม และสถานศึกษา แต่ก็ไม่ใช่ว่าฝั่งซ้ายจะขี้เหร่และไม่สนุกคึกคัก เนื่องจากฝั่งนี้เป็นย่านนักศึกษามหาวิทยาลัยและบรรดาศิลปินartistที่มีอุดมการณ์ ย่านที่จะแนะนำก็ดังนี้ครับ

เขต 5 ย่านละติน Latin Quartier

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 4

ความที่เป็นแหล่งนักศึกษาเพราะมีสถาบันการศึกษาชั้นนำอยู่หนาแน่นเช่นมหาวิทยาลัย Sorbonne และอื่นๆ เช่น École Normale Supérieure, École des Mines de Paris, Panthéon-Assas University, Schola Cantorum, และ Jussieu University Campus ทำให้ย่านนี้คึกคักแบบวัยรุ่นและไม่แพงมากมาตั้งแต่สมัยก่อนซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของพวกฮิปปี้ บุปผาชน นักศึกษาศิลปกรรม นักศึกษารัฐศาสตร์นิติศาสตร์ที่มีอุดมการณ์สูง เรียกว่าถ้ามีการประท้วงเดินขบวนก็มักเริ่มจากย่านนี้ แต่ปัจจุบันมันมีสไตล์เป็นของตัวเองตามยุสมัย มีร้านอาหารแบบBistroคลับพับบาร์ทุกรูปแบบ แต่ถ้าชอบร้านขนมปังต้นตำรับระดับartisanในย่านนี้ ให้ไปที่เลขที่ 8 rue Monge จะเป็นร้านดั่งเดิมก่อนจะมีสาขามากมายของ Eric Kayser ที่มักได้รับโหวตให้เป็นร้านที่มีขนมปังฝรั่งเศส (Baguette) และCroissant ที่อร่อยที่สุดในปารีส (จริงหรือไม่เราจะเก็บไว้คุยกันตอนเรื่องอาหารการกินในปารีส)

City Break PARIS Eric Kayser

ส่วนร้านขายของทั่วไปก็เป็นแบบมีสไตล์ในราคาไม่ต้องคิดเยอะ แต่ย่านนี้ก็มีร้านอาหารดีราคาแพงอย่าง ตูดาร์ชง Tour d’Argent อยู่ใกล้ๆ และก็มีสวนสาธารณะลุกซอมบูรก์ ( Luxembourg Gardens ) อยู่ ได้บรรยากาศแบบชีวิตในเมืองแบบ New York, London และถ้าชอบพิพิธภัณฑ์โรมันก็น่าไปชม Museum Cluny

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 11

 

เขต 6 แซงแจแมง เด เพรส์ St-Germain-des-Prés

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 2

เขตที่น่าสนใจที่สุดในฝั่งซ้ายก็คงเป็นเขตนี้มันเป็น Glamorous Neighborhood ที่เป็นที่ชื่นชอบของนักปราชญ์, ศิลปิน,จินตกวี ทั้งชาวฝรั่งเศสและต่างชาติมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วอย่างเช่น Delacroix, ManetหรือBalzac, Benjamin Franklin, Hemingway หรือแม้แต่ Pablo Picasso ก็ยังเคยฝากผลงานที่เป็นรูปที่ชื่อว่า Guernica ตอนที่เขามาอยู่ในย่านนี้ในปี1937 นอกจากนั้นบรรดาศิลปินแจ๊สทั้งหลายอย่าง Miles Davis หรือ John Coltrane ก็แวะเวียนกันมาเล่นในคลับแจ๊สที่มีอยู่พอสมควรในแถบนี้ แต่แฟนฟุตบอลที่ชื่อชอบทีม PSG (Paris Saint Germain) คงทราบนะครับว่า Home Stadium ของทีมที่ชื่อ ปาค เดอ แปรง Parc De Princes นั้นไม่ได้อยู่ย่านนี้ แต่ไปอยู่ทางใต้ของ Bois de Boulogne ใกล้กับสนามเทนนิส ฮอลอง การอส Roland Garros ที่ใช้แข่ง French Open โน่นเลย

City Break PARIS Pablo Picasso GUERNICA

ปัจจุบันชาวปารีส(ท้องถิ่นแท้ๆ แบบไม่ใช่มาจากต่างจังหวัด)มักอยากจะมีอพาร์ตเมนท์อยู่ในเขตนี้ มันมีร้านอาหารร้านกาแฟที่ติดโผ เช่น ร้านกาแฟ Les Deux Magots, Café de Flore หรือBrassarie Lipp มีร้านขายของแบบไม่เชย และมี Modern Art Galleries เหมาะกับคนที่มีความเป็น‘อา-ตีส’มากหน่อย และชอบลองอะไรที่เป็นท้องถิ่นแท้ๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวเยอะแยะ

City Break PARIS Les Deux Magots

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 1

สำหรับ Landmark ของที่นี่นั้นต้องอย่าลืมไปแวะเที่ยวโบสถ์ St-Germain-des-Prés

 

เขต 7 ย่านหอไอเฟล Eiffel Tower

City Break PARIS Eiffel Tower

แม้ว่าย่านนี้จะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากนักแต่ความที่มีแม่น้ำเซนให้เดินเลียบเลาะไป ยิ่งถ้าชอบออกกำลังเป็นประจำทุกวัน ต้องวิ่งหรือขี่จักรยาน แถบนี้เหมาะมากมีสวนสาธารณะเปิดโล่งไม่อึดอัด แถวๆ ใกล้หอไอเฟลที่มองเท่าไรก็ไม่เบื่อหรือจะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ดอเซ่ Musee d’Osay ที่มีศิลปะ Impressionism หรือจะล่องเรือไปตามแม่น้ำเซนทานมื้อเย็นก็ไม่เลว ผมว่าหากชอบถ่ายรูปและบรรยากาศโรแมนติก ชอบสะพาน ย่านนี้ก็เหมาะครับ

รู้จักย่านที่น่าสนใจของปารีสกันพอสมควรแล้ว ก็แค่ใช้ Booking Application ที่ท่านใช้อยู่จองโรงแรมได้เลยครับแค่filterตัวsearch engineของappให้เอาที่พักในเขตที่คุณชอบเท่านั้น คราวหน้ามาดูกันว่าประสบการณ์ท่องเที่ยวในเมืองหลวงแห่งนี้นั้นไม่ควรพลาดที่ไหน

หมายเหตุ : การออกเสียงภาษาท้องถิ่นที่เขียนเป็นตัวเอียงนั้น เป็นการใช้ภาษาไทยเขียนให้ออกมาใกล้เคียงเท่านั้นเพื่อให้ได้อรรถรส อาจไม่ใช่ภาษาเขียนและการออกเสียงที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการ