มีใครบ้างคะที่ตอนนี้ดูแลสุขภาพคุณพ่อคุณแม่ที่ท่านเป็นผู้สูงวัย เมื่อท่านอายุมากขึ้น สุขภาพย่อมไม่ได้เต็มร้อยเหมือนเมื่อก่อน เราก็ควรหมั่นดูแลท่านให้ใกล้ชิดขึ้น แต่ถ้าใครที่คุณพ่อคุณแม่มีสุขภาพแข็งแรงดีเยี่ยมแม้เข้าสู่วัยชราก็ถือว่าโชคดี แต่ไม่ว่าท่านจะมีเรื่องราวสุขภาพแบบไหนก็ตาม สิ่งที่เกิดกับท่านอยู่นั้น ก็จะบ่งบอกถึงอนาคตสุขภาพของตัวเราเองด้วยจากเหตุผลทางพันธุกรรมที่ได้รับถ่ายทอดมา ยีนพันธุกรรมของพ่อแม่ จะมีบทบาทสำคัญในความเสี่ยงสุขภาพของเราเมื่อวัยเพิ่มขึ้น เช่นการเป็นโรคซึมเศร้า หรือการมีอายุยืนยาวแค่ไหน รวมทั้งการเกิดกระบวนการความชราว่าจะเร็วหรือช้าอีกด้วย ลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านและความเกี่ยวเนื่องที่เราจะได้รับว่ามีอะไรบ้างอย่างไร:
สิ่งนี้แปลว่าเราจะมีความเสี่ยงน้อยมากกับปัญหาโรคระบบของหัวใจเมื่อมีวัยเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงเรื่องโรคของหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและโรคคอเลสเตอรอลที่จะน้อยกว่าคนอื่นๆ และถ้าหลังจากการฉลองวันเกิดครั้งนี้แล้ว ท่านยังมีอายุยืนยาวถึง 80 และ 90 ปี การวิจัยระบุว่าในทุกๆ 10 ปีที่ท่านยังมีชีวิตอยู่หลังวัย 70 ความเสี่ยงของคุณที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจก็จะลดลงไป 20% ในทุกๆสิบปีที่ว่านี้ด้วย จากที่พบว่าพ่อแม่ที่อายุเกิน 70 ปี จะมีแนวโน้มส่งต่อยีนป้องกันโรคเหล่านี้ให้ลูกได้รับสืบทอดต่อมา
เพื่อผลดีแบบเดียวกัน: บริโภคส้มวันละสองผลทุกวัน วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจลงได้ 22% โดยวิตามินซีในส้มจะช่วยลดระดับของโปรตีนที่ทำให้เกิดการข้นตัวของโลหิตที่จะไปเกาะผนังเส้นเลือดจนอุดตันให้น้อยลงได้
โรคจอตาเสื่อม คือโรคจากการเสื่อมบริเวณจุดภาพชัดของจอตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งมีอาการนี้ ก็แสดงว่าเรามีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้ด้วยเช่นกัน จากสถิติประวัติครอบครัวพบว่า คนที่มีพ่อแม่เป็นโรคนี้ 7 คน จะมี 1 คนที่ได้รับการสืบทอดมา เนื่องจากมีองค์ประกอบในยีนที่มีความเสี่ยง ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราอายุ 40 ปีขึ้นไป
วิธีรับมือ: เพิ่มการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี ให้มากขึ้น การวิจัยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันของการขาดวิตามินดีกับความเสี่ยงการเกิดโรคจอตาเสื่อม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เสี่ยงจากกรรมพันธุ์ ซึ่งวิตามินดีจะช่วยได้จากบทบาทของมันที่ต้านการติดเชื้อ ควรให้ร่างกายสัมผัสกับแสงแดดช่วงเช้าตรู่หรือบ่ายแก่ๆ ซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายสะสมวิตามินดีไว้ได้ดีที่สุด
ความเสี่ยงเรื่องนี้ของเราก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งจะรู้ได้เมื่อเราอายุ 50 -90 ปี อันเป็นเวลายีนของเราจะบอกเรื่องความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งยีนที่ว่านี้จะควบคุมความหนาแน่นของกระดูก และทำให้เราเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักได้มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 50%
วิธีรับมือ: เพิ่มการบริโภคถั่วเหลืองให้มากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองด้วยเช่น เต้าหู้ มิโสะ เพราะอาหารเหล่านี้มีสารไอโซฟลาโวน( isoflavone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีโครงสร้างคล้ายกับโครงสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (oestrogen) ซึ่งช่วยป้องกันผู้หญิงช่วงวัยทองจากโรคกระดูกพรุน
ความเสี่ยงของเราต่อโรคนี้ก็จะสูงถึงหนึ่งในสาม จากแนวโน้มของยีนที่จะส่งต่อยังรุ่นต่อๆไปพบว่า จะมียีนเอกลักษณ์บุคคลที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคนี้ ซึ่งนักวิจัยอธิบายว่า ในขณะที่ 60% ของการเกิดโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มาจากสถานการณ์ชีวิตประจำวัน แต่ก็มีอีก 40% ที่จะถูกตัดสินจากยีนพันธุกรรม
วิธีรับมือ: บริโภคเนื้อสัตว์แดงปลอดไขมันที่เลี้ยงในทุ่งหญ้าเช่นเนื้อวัวในขนาดชิ้นเท่าฝ่ามือให้ได้ 3 ครั้งทุกๆสัปดาห์ ซึ่งนักวิจัยระบุว่า หากเรามียีนพันธุกรรมนี้และบริโภคเนื้อสัตว์แดงปริมาณน้อยกว่านี้ ก็จะยังมีแนวโน้มเป็นสองเท่าที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เนื้อวัวที่เลี้ยงในทุ่งหญ้าเป็นอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กและกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการอารมณ์สุขภาพที่ดีของสภาวะจิตใจ
เราก็จะได้รับสิ่งดีๆนี้สืบทอดจากแม่เช่นกัน เนื่องจากไมโตคอนเดรีย ( mitochondria) ซึ่งเป็นเสมือนบ้านแห่งพลังงานของเซลล์ ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องสภาวะความชราของร่างกาย และทำหน้าที่ควบคุมว่าเราจะชราลงอย่างไร ไมโตคอนเดรียนี้ก็จะถูกสืบทอดจากแม่มายังเรา ทำให้เรามีผิวสวยใสไร้ริ้วรอยดูอ่อนเยาว์ได้นานกว่าแบบเดียวกันด้วย
เพื่อผลดีแบบเดียวกัน: ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดทุกวันเป็นประจำ ทำแบบนี้จะทำให้ลดโอกาสการเกิดริ้วรอยของผิวพรรณลงได้ถึง 24% จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย
Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดมีการอุดตันหรือแตก ทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงักลง ถ้าพ่อหรือแม่ของเราเป็นโรคนี้ก่อนที่ท่านจะมีวัย 65 ปี โอกาสความเสี่ยงโรคนี้ของเราก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า ได้มีการวิจัยในเรื่องของยีนกับความเกี่ยวเนื่องของโรคนี้ว่า มียีนบางตัวที่เกี่ยวข้องกับการเกิด Stroke ทั้งสองชนิดคือ 1. ภาวะเลือดออกในสมองหรือ hemorrhagic Stroke ที่มาจากการมีเลือดออกในสมอง ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก และ 2. ภาวะสมองขาดเลือดหรือ Ischemic strokes ที่เกิดจากมีลิ่มเลือดไปอุดตันการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง
วิธีรับมือ: หัดสวดมนต์ทำสมาธิให้จิตใจสงบ การศึกษาพบว่าเมื่อทำแบบนี้เป็นประจำทุกวันเป็นเวลาแปดสัปดาห์ จะช่วยลดความดันโลหิตที่เคยสูงให้ลดลงอย่างน่าพอใจ การมีความดันโลหิตสูง คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคสโตรค ซึ่งนักวิจัยได้พบว่า การสวดมนต์ต่อเนื่องจะช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ผลดี
เราก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้เพิ่มเป็นสิบเท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ ที่จริงแล้ว ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นอาการสมองเสื่อม เราก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่จากการวิจัยแสดงผลว่าโอกาสที่เราจะได้รับสืบทอดโรคนี้ทางแม่มีโอกาสสูงกว่าได้รับจากทางพ่อ
วิธีรับมือ: ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลักของไลฟสไตล์บางเรื่องที่ทำเป็นประจำ โดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอขึ้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้ไม่เกินมาตรฐาน ลดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ให้มากเกินไป บริโภคอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการและงดสูบบุหรี่ การศึกษาพบว่าถ้าใครทำได้แบบนี้อย่างน้อย 4 อย่าง ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อมลงได้ถึง 60 %
ถ้าพ่อของเรามีชีวิตอยู่ผ่านวัย 78 ปี หรือแม่ของเรามีชีวิตอยู่ผ่านวัย 84 ปี ซึ่งหมายถึงอายุยืนยาวกว่ามาตรฐานเกณฑ์อายุเฉลี่ยของคนไทยประมาณ 7 ปี เราก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งน้อยลง 24% ซึ่งสิ่งนี้เป็นรายงานการมีอายุยืนจากผลของยีนพันธุกรรม ไม่ใช่เรื่องของไลฟสไตล์การใช้ชีวิต
เพื่อผลดีแบบเดียวกัน: ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะลดความเสี่ยงโรคมะเร็งอวัยวะสำคัญๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมลง 10% โรคมะเร็งลำไส้ 16% และโรคมะเร็งตับ 27%
ความเสี่ยงของเราต่อโรคนี้ก็จะเพิ่มเป็นสองเท่า แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ทั้งคู่ เราก็จะเสี่ยงต่อโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อพ่อหรือแม่หรือทั้งคู่เป็นโรคนี้ก่อนท่านจะอายุ 50 ปี เพราะมันจะมียีนบ่งชี้ว่าคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานประเภท 2 เช่นเดียวกับท่าน แต่ก็มีการวิจัยของสวีเดนพบว่า องค์ประกอบความเสี่ยงนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการควบคุมพฤติกรรมไลฟสไตล์การบริโภคที่เหมาะสม
วิธีรับมือ: เพิ่มการบริโภคธัญพืช, ผักผลไม้สด, ถั่วชนิดต่างๆให้มากขึ้น พืชผักเหล่านี้มีกรดอมิโนที่สามารถช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ลงได้ถึง 20% ทั้งยังมีไฟเบอร์, สารโภชนาการจากพืช, สารต้านอนุมูลอิสระและกรดไขมันที่มีประโยชน์ ทั้งหมดนี้จะช่วยสนับสนุนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้และปรับสมดุลระดับกลูโคสในกระแสโลหิตให้เหมาะสม
ได้รู้อย่างนี้แล้วจะเห็นใช่ไหมคะว่า สายสัมพันธ์ของครอบครัวเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง นอกจากในเรื่องของภาพลักษณ์และจิตใจแล้ว ก็ยังส่งผลมาถึงเรื่องสุขภาพที่สืบทอดถึงกันได้ด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพคุณพ่อคุณแม่ให้ใกล้ชิดขึ้น พร้อมทั้งเรียนรู้และดูแลสุขภาพตัวเองไปด้วยพร้อมๆกัน เพื่อจะได้เป็นครอบครัวสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจกันทุกคนค่ะ
Copy right © 2016 The Editors. All right reserved.
For Advertising Contact
086-3260374
, 081-7856188