“สุขนิยม”แบบมีสุขฯ
April 19th, 2017
ผ่านช่วงวันสงกรานต์มาไม่นาน หลังๆ มานี้แทนที่เราจะเน้นย้ำความสำคัญของวันครอบครัว กลายเป็นการระวังและป้องกันอุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ไปเสีย หลายปีก่อนช่วงสงกรานต์มีความรึกครื้นในวาระการเป็นวันแห่งครอบครัว วันผู้สูงอายุของบ้านเรา
คำว่า‘สูงวัย’ดูจะเป็นคำที่ทุกคนอยากลืมแต่ก็เหมือนเงาที่เราไม่ค่อยก้มลงไปดู แต่เงานั้นก็ตามติดเราเสมอ อีกไม่กี่ปีประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบุรณืและดูจะนำหน้าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แม้เราจะปลอบใจว่าเราใช้อายุ 60 ปีเป็นเกณฑ์ในขณะที่เพื่อนบ้านของเราส่วนใหญ่ใช้อายุ 65 ปีในการเป็นผู้สูงวัย
แต่จะใช้ระดับอายุเท่าไรมาเป็นเกณฑ์สังคมไทยก็จะมีจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยสูงอายุขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนแน่ๆ แทนที่เราจะมานั่งกลัวกับวัยที่เพิ่มมากขึ้น หรือการเข้าสู่วัยเกษียณทั้งๆ ที่คนในวัย 60 ปียุคนี้มีศักยภาพที่จะทำอะไรหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากมาย
จะทำอย่างไรให้สูงวัยแต่ใจเป็นสุข ต้องยอมรับว่า สภาพสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรูปแบบในการดำเนินชีวิต จากการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่มีปู่ย่าตายายพ่อแม่ลูกหลาน ปัจจุบันครอบครัวดูจะมีขนาดเล็กลง เมื่อผสานกับอัตราการเกิดที่ชะลอตัวลง และความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น การวางแผนใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตัวเองไปตลอดแม้ในยามเกษียณ จึงเป็นเรื่องที่เราควรวางแผนล่วงหน้า
แม้ในวันนี้ จะมีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุเกิดขึ้นมากมาย แต่นอกเหนือจากอาคารบ้านเรือนที่เปรียบเสมือนฮาร์ทแวร์ (Hardware) แล้ว การบริหารจัดการเพื่อความสะดวกสบายและสร้างความสุขในการดำเนินชีวิตที่เปรียบ เสมือซอฟท์แวร์ (Software) กลับเป็นเรื่องสำคัญที่ดูเหมือนจะถูกมองข้ามไป
มีโอกาสไปเยี่ยมชม มีสุข โซไซตี้ ที่เปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สำหรับสังคมผู้สูงวัยจึงเกิดขึ้น จากประสบการณ์ที่รู้จริงของคณะผู้ก่อตั้งซึ่งอยู่ในแวดวงของการแพทย์ การพยาบาล การดูแลรักษาสุขภาพ และการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มานานกว่า 3 รุ่น
ด้วยแนวคิดที่นางสาวศศิวิมล สิงหเนตร ผู้อำนวยการบริหารของ มีสุข โซไซตี้ บอกเล่าว่า“วันนี้ เราต้องมองให้ไกลไปกว่าเรื่องการดูแลผู้สูงอายุและบริการเพื่อสุขภาพ เพราะความก้าวหน้าของการแพทย์และวิทยาการในการสร้างเสริมดูแลสุขภาพ ทำให้คนเราแข็งแรงและมีอายุยืนยาวขึ้น คนวัยเกษียณในปัจจุบัน ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี อีกทั้งยังมีคนอีกมากมายที่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ก่อนวัยเกษียณ หลายคนจึงเลือกที่จะทำงานน้อยลงหรือเออร์ลี่รีไทร์ (Early Retire) เพื่อจะได้มีเวลาทำในสิ่งที่ตัวเองชอบได้มากขึ้น
“เรียกว่าขอใช้ชีวิตให้คุ้มค่าโดยไม่ยึดติดกับวิถีชีวิตดั้งเดิมแบบพึ่งพาลูกหลาน ซึ่งองค์ประกอบในการใช้ชีวิตให้มีความสุข จึงไม่ได้มีแต่เพียงบ้านและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้น ต้องมีส่วนของ การบริหารจัดการการที่ลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายให้เลือกทำโน่นทำนี่ได้อย่างที่พอใจจึงจะเป็นการใช้ชีวิตได้อย่างสุขนิยม อย่างแท้จริง”
มีสุข โซไซตี้เป็นบริการที่คำนึงถึงรายละเอียดในการใช้ชีวิตอย่างครบถ้วน โดยเน้นด้านรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ด้านไลฟ์สไตล์ โดยเริ่มจากเรื่องกิจวัตรประจำวัน เช่น บริการเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง ที่รวมเรื่องของการดูแลความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้ทั้งเทคโนโลยีทันสมัยและบุคคลากรผู้ชำนาญ บริการพื้นฐานต่างๆ เช่นพนักงานต้อนรับและประสานงานเพื่อจัดการเรื่องต่างๆ ตามความประสงค์ประดุจเลขานุการส่วนตัว บริการรถรับส่ง บริการด้านอาหารจากอาหารง่ายๆ แบบกับข้าวบ้าน อาหารเพื่อสุขภาพไปจนถึงอาหารมื้อพิเศษและการจัดเลี้ยง พนักงานดูแลสุขภาพ บริการเพื่อความสะดวกต่างๆ อาทิ การจัดการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบิน จองกอล์ฟ ตลอดจนบริการซักรีดทำความสะอาด หรือ การจัดกิจกรรมพักผ่อนต่าง ๆ ตามไลฟ์สไตล์ เป็นต้น
คุณศศิวิมล เล่ารายละเอียดเพิ่มเติมว่า
“เราไม่ได้สร้างมีสุข โซไซตี้ เพื่อบริการลูกค้าในโครงการใดโครงการหนึ่งเรามุ่งหวังให้มีสุข โซไซตี้ เป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการสำหรับทุกคนที่ตั้งความปรารถนาไว้ว่า เมื่อทำงานเพียงพอแล้ว จะสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่พอใจโดยไม่จำเป็นต้องอยู่อาศัยกับลูกหลาน ดังนั้น อย่ารอให้ถึงเวลาเกษียณแล้วค่อยคิด ควรวางแผนและเลือกสรรแนวทางการใช้ชีวิตในวัยปลอดการทำงานกันตั้งแต่เนิ่นๆ”
ไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายจะเบนเข็มเข้าสู่กลุ่มผู้สูงวัยที่มีความพร้อมและกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่สามารถอยุ่อย่างเป็นสุขได้ในวัยเกษียณ และ มีสุข โซไซตี้ คือโปรแกรมที่น่าจะตอบโจทย์ในส่วนการบริหารจัดการเพื่อการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย หรือบริการหลังการขายที่มอบ “สุขนิยม” ได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง
โดยภาพประกอบในบทความนี้คือตัวอย่างกิจกรรมที่มีสุขโซไซตี้สามารถจัดให้ผู้สูงอายุได้ ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมนิทรรศการที่หอศิลป์ฯ ใหม่เอี่ยม การไปทำบุญที่วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน แวะไปแช่ออนเซ็นที่คุ้มสะเมิง ที่มีไร่สตรอว์เบอร์รีออร์แกนิคเล็กๆ แต่ให้ผลผลิตเยอะมาก
ปิดท้ายด้วย มื้อพิเศษแบบ Chef Tableสร้างสรรค์โดย คุณแมกซ์ ชิน (Max Chin) ที่บินจากภูเก็ตมาเพื่องานนี้ ปัจจุบันเขาเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรม The Boathouse Phuket แต่ก็เปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่เชฟซึ่งเขาเคยเป็น Culinary Director ของโรงแรมในเครือ Mövenpick ประเทศไทย มื้อค่ำนั้นจึงเป็นมื้อพิเศษสุดจริงๆ
จะเห็นว่าแต่ละกิจกรรมนั้นเลือกสรรแล้วโดยมีสุขโซไซตี้ และเป็นตัวอย่างว่าชีวิตมีสุขได้แม้จะสูงวัยและมีสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน ทุกคนสามารถเป็นผุ้สุงวัยที่มีความสุขด้วยการวางแผนชีวิตของตัวเองอย่างรอบคอบ
เข้าไปดูรายละเอียดของมีสุขโซไซตี้ได้ที่หน้าเฟซบุ๊ค:Meesuk Society